เวลาในการทำงาน|เวลาในการทำงาน

เวลาในการทำงาน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

เวลาในการทำงาน

จาก พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 23

บทความวันที่ 27 ม.ค. 2557, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 8386 ครั้ง


เวลาในการทำงาน

           จาก พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541  มาตรา 23 ให้นายจ้างประกาศเวลาทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบ โดยกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานแต่ละวันของลูกจ้างได้ไม่เกินเวลาทำงานของแต่ละประเภทงานตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่วันหนึ่งต้องไม่เกินแปดชั่วโมง ในกรณีที่เวลาทำงานวันใดน้อยกว่าแปดชั่วโมง นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันให้นำเวลาทำงานส่วนที่เหลือนั้นไปรวมกับเวลาทำงานในวันทำงานปกติอื่นก็ได้ แต่ต้องไม่เกินวันละเก้าชั่วโมงและเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้ว สัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง เว้นแต่งานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยของลูกจ้างตามที่กำหนดใน กฎกระทรวงต้องมีเวลาทำงานปกติวันหนึ่งไม่เกินเจ็ดชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกินสี่สิบสองชั่วโมง
            คำถาม ถ้านายจ้างขอให้ทำงานวันละ 9 ชม.ได้หรือไม่ เพราะยังไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมงต่อสัปดาห์ และการที่นายจ้างจะใช้เวลาการทำงานที่เกินว่าแปดชั่วโมงต่อวันหรือสี่สิบชั่วโมงต่อสัปดาห์ เป็นเงื่อนไขในการขึ้นเงินเดือนได้หรือไม่


คำแนะนำสำนักงานทนายความ ทนายคลายทุกข์
            1.หากการทำงานเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วสัปดาห์หนึ่งไม่เกิน 48 ชั่วโมง โดยลูกจ้างลงทำงานวันละ 9 ชม. ตามที่นายจ้างขอ ก็สามารถกระทำได้ไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 23
           2.นายจ้างสามารถใช้เงื่อนไขเวลาการทำงานปกติที่เกินชั่วโมงทำงานในแต่ละวันหรือสัปดาห์ เป็นเงื่อนไขหรือหลักเกณฑ์กับปรับขึ้นอัตราค่าจ้างได้ ไม่มีกฎหมายจำกัด ห้ามนายจ้างแต่อย่างใด

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงเวลาทำงาน

จาก 8:30 - 17:30 (8 ชม./วัน) ทำ จ-ศ, เสาร์เว้นเสาร์ 

มาเป็น 8:10 - 18:30 (8.8 ชม./วัน) ทำ จ-ศ

อยากถามว่าในการทำงานวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ (โอที) จะให้ทำงาน 8.8 ชม. โดยให้ค่าจ้างรายเดือน x 1 เท่า แบบนี้ถือว่าผิดกฏหมายไหมค่ะ

โดยคุณ sumalee 8 มี.ค. 2561, 00:19

ความคิดเห็นที่ 1

 ขอสอบถามครับ

1.เวลาทำงานปกติ จันทร์-เสาร์ เวลา 8.00-17.00 น. แต่ขาดงานวันพุธ แล้วบริษัทสามารถนำโอทีมาชดเชยวันที่พุธที่ขาดงานได้หรือไม่ครับ

โดยคุณ 18 ม.ค. 2559, 18:31

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก