ธนาคารต้องใช้ความระมัดระวังขั้นสูงสุดในการให้บริการ|ธนาคารต้องใช้ความระมัดระวังขั้นสูงสุดในการให้บริการ

ธนาคารต้องใช้ความระมัดระวังขั้นสูงสุดในการให้บริการ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ธนาคารต้องใช้ความระมัดระวังขั้นสูงสุดในการให้บริการ

เมื่อรอบสัปดาห์ที่ผ่านมามีคดีความเกี่ยวกับประชาชนนำเงินไปฝากไว้กับธนาคารและมีการใช้โมบายแบงค์กิ้ง

บทความวันที่ 25 ส.ค. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3936 ครั้ง


 ธนาคารต้องใช้ความระมัดระวังขั้นสูงสุดในการให้บริการ

เมื่อรอบสัปดาห์ที่ผ่านมามีคดีความเกี่ยวกับประชาชนนำเงินไปฝากไว้กับธนาคารและมีการใช้โมบายแบงค์กิ้ง หมายถึง การฝาก ถอน โอน ย้าย เงินในบัญชีโดยการใช้ธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิกส์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เมืองไทยกำลังเปลี่ยนมาใช้ใหม่จากระบบเดิมเพื่อสร้างความก้าวหน้า ทำให้การทำธุรกรรมและการให้บริการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งของธนาคารและของลูกค้า ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ปรากฏว่าเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น มีมิจฉาชีพขโมยเงินจากบัญชีลูกค้าของธนาคารแห่งหนึ่ง ไปโดยอาศัยช่องว่างของขั้นตอนกระบวนการของธนาคารที่หละหลวม จนต่อมาธนาคารแห่งนั้นได้แสดงความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบธุรกิจที่ดีมีธรรมาภิบาล ชดใช้เงินให้กับผู้ฝากเงินเต็มจำนวน ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายกย่องและก็มีบริษัทโทรศัพท์มือถือและบริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งทำงานร่วมกับธนาคารมีส่วนร่วมในการบกพร่องด้วยเช่นกัน และบริษัทดังกล่าวก็ได้แสดงความรับผิดชอบโดยการเยียวยาลูกค้ารายดังกล่าวไปแล้วตามที่เป็นข่าว ซึ่งตามกฎหมายแล้วธนาคารและผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือหรืออินเตอร์เน็ต ที่ทำงานร่วมกัน มีผลประโยชน์ร่วมกันกับการให้บริการโมบายแบงค์กิ้ง หากเกิดความบกพร่องในระบบหรือการให้บริการมีช่องโหว่ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังขั้นสูงสุด หากมีเงินหายออกไปจากบัญชีของลูกค้า ธนาคารและผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือก็ต้องร่วมรับผิด ซึ่งตามกฎหมายมีความผิดฐานผิดสัญญาฝากทรัพย์และละเมิด ส่วนบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือมีความผิดฐานผิดสัญญาให้บริการและละเมิดเช่นเดียวกัน อีกคดีหนึ่ง กรณีธนาคารของรัฐแห่งหนึ่งถูกคนร้ายเป็นชาวยุโรปตะวันออกประมาณ 25 คน ถอนเงินโดยผ่านตู้เอทีเอ็ม ที่ตั้งอยู่นอกสถานที่อาคารโดยปล่อยไวรัสมัลล์แวร์ได้เงินจากตู้เอทีเอ็ม 22 เครื่อง ไปเป็นเงินประมาณ 12 ล้านบาทเศษ คดีดังกล่าวธนาคารออกมาแจ้งเตือนประชาชนแล้ว ถือเป็นเรื่องที่ดีแต่ถ้ามีความเสียหายอันเกิดจากระบบของตู้เอทีเอ็มไม่ดีพอ ไม่มีระบบป้องกันตามมาตรฐานสูงสุด เจ้าของตู้เอทีเอ็มซึ่งเป็นเจ้าของเทคโนโลยี ก็ต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้เสียหายที่รับฝากเงิน โดยต้องร่วมรับผิดกับธนาคารด้วย ตามกฎหมายเงินที่ลูกค้าฝากไว้กับธนาคารกรรมสิทธิ์จะตกเป็นของธนาคารทันที ธนาคารมีหน้าที่คืนเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 672 ไม่ว่าเงินจะเกิดสูญหายไปเพราะเหตุใด และธนาคารจะอ้างข้อตกลงยกเว้นความรับผิดเพื่อปฏิเสธไม่รับผิดชอบไม่ได้ (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 6280/2538)
ตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับความรับผิดของธนาคารที่ศาลฎีกาเคยตัดสินมาก่อนหน้านี้
คำพิพากษาฎีกาที่ 6280/2538
ธนาคารรับฝากเงินถือเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะในกิจการค้าขายหรืออาชีวะ จึงต้องมีความระมัดระวังในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คที่ผู้ฝากสั่งจ่าย หากขาดความระมัดระวังเป็นการกระทำละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ ธนาคารจะยกข้อตกลงยกเว้นความรับผิดที่ระบุไว้ในคำขอเปิดบัญชีมาอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดไม่ได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 520/2554
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสาม ได้กำหนดมาตรฐานในการระมัดระวังในการปฏิบัติตามสัญญาในขั้นสูงสุดเยี่ยงผู้มีวิชาชีพจะพึงปฏิบัติในกิจการที่กระทำ เมื่อเงินฝากของลูกค้าธนาคารถูกเบิกถอนไปจนหมดธนาคารจึงผิดสัญญาฝากเงิน เพราะไม่ได้ใช้ความระมัดระวัง ธนาคารจึงต้องรับผิดชดใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนลูกค้าผู้ฝากเงิน
คำพิพากษาฎีกาที่ 3113/2534
พนักงานของธนาคารปฏิบัติงานผิดพลาดถอนเงินจากบัญชีของผู้ฝากเงินคนหนึ่งไปเข้าบัญชีของอีกคนหนึ่ง เงินที่ถอนออกไปเป็นเงินของธนาคาร ธนาคารจึงมีสิทธิติดตามเอาคืนจากลูกค้าคนหลังที่ได้เงินไปโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 ไม่มีอายุความ
คำพิพากษาฎีกาที่ 1795/2541
ธนาคารผู้รับฝากเงินเป็นอาชีพโดยหวังผลประโยชน์ในการนำเงินฝากของลูกค้าไปแสวงหาผลประโยชน์ จึงต้องใช้ความระมัดระวังและความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ หากธนาคารจ่ายหรือหักบัญชีของลูกค้าไปให้บุคคลอื่น ถือเป็นการประมาทเลินเล่อของธนาคาร
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 657  อันว่าฝากทรัพย์นั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ฝาก ส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้รับฝาก และผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้
มาตรา 659  ถ้าการรับฝากทรัพย์เป็นการทำให้เปล่าไม่มีบำเหน็จไซร้ ท่านว่าผู้รับฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินซึ่งฝากนั้นเหมือนเช่นเคยประพฤติในกิจการของตนเอง
              ถ้าการรับฝากทรัพย์นั้นมีบำเหน็จค่าฝาก ท่านว่าผู้รับฝากจำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อสงวนทรัพย์สินนั้นเหมือนเช่นวิญญูชนจะพึงประพฤติโดยพฤติการณ์ดังนั้น  ทั้งนี้ ย่อมรวมทั้งการใช้ฝีมืออันพิเศษเฉพาะการในที่จะพึงใช้ฝีมือเช่นนั้นด้วย
ถ้าและผู้รับฝากเป็นผู้มีวิชาชีพเฉพาะกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างหนึ่งอย่างใดก็จำต้องใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการค้าขายหรืออาชีวะอย่างนั้น
มาตรา 672  ถ้าฝากเงิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้รับฝากไม่พึงต้องส่งคืนเป็นเงินทองตราอันเดียวกันกับที่ฝาก แต่จะต้องคืนเงินให้ครบจำนวน
             อนึ่ง ผู้รับฝากจะเอาเงินซึ่งฝากนั้นออกใช้ก็ได้ แต่หากจำต้องคืนเงินให้ครบจำนวนเท่านั้น แม้ว่าเงินซึ่งฝากนั้นจะได้สูญหายไปด้วยเหตุสุดวิสัยก็ตาม ผู้รับฝากก็จำต้องคืนเงินเป็นจำนวนดังว่านั้น
ธนาคารในการให้บริการต้องใช้มาตรฐานขั้นสูงสุดจะอ้างว่าลดขั้นตอนความยุ่งยากเพื่อความสะดวกสบายของลูกค้าไม่ได้นะครับ 
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก