การผิดนัดชำระค่างวดกับความผิดทางอาญา|การผิดนัดชำระค่างวดกับความผิดทางอาญา

การผิดนัดชำระค่างวดกับความผิดทางอาญา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การผิดนัดชำระค่างวดกับความผิดทางอาญา

ในช่วงนี้ผู้เช่าซื้อมีความสามารถในการชำระค่างวดเช่าซื้อน้อยลง

บทความวันที่ 9 ก.ย. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3410 ครั้ง


 การผิดนัดชำระค่างวดกับความผิดทางอาญา

 
ในช่วงนี้ผู้เช่าซื้อมีความสามารถในการชำระค่างวดเช่าซื้อน้อยลง ทำให้ผู้เช่าซื้อหาทางออกโดยการนำรถยนต์ที่อยู่ระหว่างชำระค่างวดไปจำนำหรือไปขายต่อบุคคลอื่นเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ทนายคลายทุกข์ฝากเตือนผู้เช่าซื้อต้องระมัดระวังว่า ถ้าเอารถไปตีใช้หนี้หรือเอาไปขายในลักษณะตัดกรรมสิทธิ์มีความผิดฐานยักยอก แต่ถ้าขายสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อและให้ผ่อนในนามผู้เช่าซื้อไม่ผิดยักยอก รายละเอียดปรากฎตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่เคยตัดสินคดีประเภทนี้มาแล้วข้างล่างนี้
 
เพียงแต่ไม่คืนทรัพย์ที่เช่าซื้อ ไม่ผิดยักยอก
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4256/2534
               จำเลยเอารถยนต์ของกลางของผู้เสียหายไปไว้ในครอบครองของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันในการเช่าซื้อซึ่งภริยาจำเลยเช่าซื้อไปจากผู้เสียหาย และรถยนต์ของกลางยังคงอยู่ในครอบครองของจำเลยตลอดมา จำเลยมีหน้าที่จะต้องชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระและมีหน้าที่จะต้องส่งคืนรถยนต์ของกลางแก่ผู้เสียหาย การที่จำเลยเอารถยนต์ของกลางไปขับรับจ้างขนส่งผู้โดยสารในต่างจังหวัดและยังไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ผู้เสียหายชอบที่จะบังคับเอาทางแพ่งได้ การกระทำของจำเลยยังไม่เป็นการเบียดบังทรัพย์อันจะเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ตามฟ้อง
 
เอาทรัพย์ไปตีใช้หนี้หรือเอาไปขายผิดฐานยักยอก
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6540/2548
            จำเลยเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ของโจทก์ร่วมไป แม้จำเลยจะมีสิทธิใช้สอยและครอบครองรถจักรยานยนต์ตามสัญญาเช่าซื้อ แต่รถจักรยานยนต์ยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ร่วม เมื่อโจทก์ร่วมประสงค์จะตรวจดู จำเลยจำต้องยอมให้ผู้เช่าซื้อตรวจดูทรัพย์สินที่เช่าซื้อได้เป็นครั้งคราวในเวลาและระยะอันสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 555 การที่จำเลยไม่สามารถนำรถจักรยานยนต์มาให้โจทก์ร่วมตรวจดูได้ แม้จำเลยได้แสดงเจตนาที่จะชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ร่วม แต่จำเลยกับพวกนำรถไปขายที่ต่างประเทศแล้ว ถือได้ว่าจำเลยเบียดบังเอารถจักรยานยนต์ของโจทก์ร่วมไปเป็นของตนเองหรือบุคคลอื่นโดยสุจริต เป็นความผิดฐานยักยอก
 
3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2716/2554
              จำเลยนำรถจักรยานยนต์ที่เช่าซื้อไปขายให้บุคคลอื่นเป็นความผิดฐานยักยอก
 
4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4781/2555
      รถยนต์กระบะเป็นของผู้เสียหายที่ 2 โจทก์ร่วมทำสัญญาเช่าซื้อจากผู้เสียหายที่ 2 ขณะเกิดเหตุยังอยู่ระหว่างการผ่อนชำระค่าเช่าซื้อ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะจึงยังเป็นของผู้เสียหายที่ 2 จนกว่าจะมีการชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วน ในการตกลงซื้อขายรถยนต์กระบะให้แก่จำเลย มีเงื่อนไขว่าโจทก์ร่วมจะโอนทะเบียนให้จำเลยต่อเมื่อจำเลยชำระราคาค่ารถยนต์ครบถ้วนแล้ว ซึ่งรวมถึงข้อตกลงให้จำเลยผ่อนชำระค่าเช่าซื้อที่โจทก์ร่วมยังคงค้างชำระแก่จำเลยที่ 2 ด้วย ข้อตกลงในการซื้อขายรถยนต์กระบะระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยจึงมิใช่การซื้อขายเสร็จเด็ดขาด กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จึงยังไมตกเป็นของจำเลยที่จำเลยเป็นผู้ครอบครองรถหลังจากมีการทำสัญญาซื้อขายดังกล่าว ถือเป็นเพียงการครอบครองรถยนต์กระบะไว้แทนโจทก์ร่วมเท่านั้น จำเลยไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์กระบะที่แท้จริง ภายหลังจากทำข้อตกลงซื้อขายรถยนต์กระบะดังกล่าว จำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อและไม่ชำระราคารถยนต์กระบะให้ครบถ้วน โจทก์ร่วมแจ้งให้จำเลยคืนรถยนต์กระบะให้โจทก์ร่วม แต่จำเลยเพิกเฉยและอ้างว่ารถยนต์กระบะสูญหาย การที่จำเลยยังคงครอบครองรถยนต์กระบะของโจทก์ร่วมต่อมาโดยไม่ส่งมอบคืน น่าเชื่อว่าจำเลยมีเจตนาเบียงบังปกปิดและซุกซ่อนรถยนต์กระบะโดยมีเจตนาจะไม่ส่งมอบคืนแก่โจทก์ร่วม  การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์
 
5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5228/2554
           การกระทำที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ จะต้องเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริต มิใช่ได้ทรัพย์เพราะผู้อื่นยินยอมมอบให้ การที่ผู้เสียหายยินยอมส่งมอบรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เนื่องจากถูกจำเลยที่ 1 และที่ 2 หลอกลวงให้ทำสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่มีเจตนาที่จะผูกพันตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกัน เพียงแต่อาศัยสัญญาดังกล่าว เพื่อเป็นช่องทางให้ได้รถจักรยานยนต์ของกลางก็ตาม ก็ถือเป็นส่งมอบการครอบครองโดยสมัครใจ จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง มิใช่ลักทรัพย์
             จำเลยที่ 4 รับซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางไว้โดยรู้ว่าเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากทางพิจารณา แม้จะแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่ได้กล่าวในฟ้องที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 กระทำผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์ และจำเลยที่ 4 รับซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ ก็มิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยทั้งสี่มิได้หลงข้อต่อสู้ และไม่ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอหรือเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ การกระทำของจำเลยที่ 4 ถือว่าครบองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร
              จำเลยที่ 4 จ่ายเงินค่าซื้อรถจักรยานยนต์ของกลางให้แก่จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 มอบกุญแจรถของกลางให้แก่จำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 4 ขึ้นนั่งคร่อมรถจะขับออกไป แต่ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมเสียก่อน ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 ได้รับทรัพย์ที่ซื้อจากจำเลยที่ 3 ไว้แล้ว เป็นความผิดฐานรับของโจรสำเร็จแล้ว หาใช่เป็นเพียงพยายามรับของโจร การปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ และศาลลงโทษจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ฐานร่วมกันฉ้อโกงและลงโทษจำเลยที่ 4 ในความผิดฐานรับของโจร ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความจากการพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม
สุดท้ายนี้ขอฝากไปยังผู้เช่าซื้อว่าถ้าผ่อนไม่ไหวก็ควรเอารถไปคืนให้ผู้ให้เช่าซื้อดีกว่านะครับ
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก