คำแนะนำในการซื้อขายที่ดิน|คำแนะนำในการซื้อขายที่ดิน

คำแนะนำในการซื้อขายที่ดิน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำแนะนำในการซื้อขายที่ดิน

ผู้จะซื้อที่วางมัดจำซื้อขายที่ดินต้องระวังนะครับ เพราะถึงกำหนดที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์

บทความวันที่ 4 ต.ค. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1913 ครั้ง


 คำแนะนำในการซื้อขายที่ดิน

             ผู้จะซื้อที่วางมัดจำซื้อขายที่ดินต้องระวังนะครับ เพราะถึงกำหนดที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ คนขายก็มักจะเอาที่ดินไปจำนองหรือเอาไปผู้อื่นเช่าไปก่อนแล้วจะต้องทำอย่างไร  ทางแก้ ผู้จะซื้อต้องไปฟ้องศาลเป็นคดีแพ่งขอให้เพิกถอนการจำนองหรือการเช่านะครับ  (อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 399 / 2521 และฎีกาที่ 4676 / 2557) เพราะถ้าไม่ฟ้องเพิกถอนฉ้อฉลก็ไม่มีโอกาสที่จะได้ที่ดินตามที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายไว้นะครับ  สมัยนี้ทำอะไรก็ต้องระมัดระวังนะครับ อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจคน  ด้วยความปรารถนาดีจากทนายคลายทุกข์
คำพิพากษาฎีกาที่เกี่ยวข้อง
1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2521 
             จำเลยที่ 1 จัดสรรที่ดินขายโจทก์ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งไว้จึงอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาซื้อขาย เมื่อจำเลยที่ 1 เอาที่ดินแปลงที่ขายให้โจทก์ไปจำนองแก่จำเลยที่ 2 ทั้งที่รู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบและจำเลยที่ 2 รับจำนองที่ดินไว้โดยทราบแล้วว่าจำเลยที่ 1 จัดสรรขายให้บุคคลอื่นไปแล้ว ซึ่งเป็นการรู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบนั้นด้วย โจทก์จึงชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมจำนองดังกล่าว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237
            ก่อนครบหนึ่งปีนับแต่วันที่โจทก์ทราบถึงการจำนอง ได้มีคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติให้อายัดที่ดินของจำเลยที่ 1 และให้ตกเป็นของรัฐแต่ให้โจทก์มีสิทธิยื่นเอกสารต่อเจ้าหน้าที่แสดงสิทธิในที่ดินของโจทก์ได้ เมื่อโจทก์ได้ยื่นเอกสารแสดงสิทธิของโจทก์แล้ว ย่อมถือเสมือนหนึ่งว่าโจทก์ทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173
 
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4676/2557 
            ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังเป็นที่ยุติได้ว่า เดิมโจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินจากเรืออากาศตรีหญิง ว. เมื่อขณะยังมีชีวิตอยู่ ระยะเวลาเช่า 30 ปี ครบกำหนดวันที่ 1 กันยายน 2562 ต่อมาจำเลยที่ 1 มีชื่อในโฉนดที่ดินดังกล่าวในฐานะผู้จัดการมรดกของเรืออากาศตรีหญิง ว. จากนั้นวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2550 โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว แล้วโจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลชั้นต้นในข้อหาผิดสัญญาจะซื้อจะขาย และขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวแก่โจทก์ ในระหว่างพิจารณาอันเป็นเวลาก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ระงับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินนั้นไว้จนกว่าคดีถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนการเช่าที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 2 มีกำหนดเวลา 30 ปี นับแต่วันที่ 2 กันยายน 2562 เป็นต้นไป ต่อมาศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองเพียงว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนการเช่าระหว่างจำเลยทั้งสองหรือไม่ เห็นว่า ไม่ว่าการเช่าที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองจะทำให้สิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้เช่าตามสัญญาเช่าเดิมได้รับผลกระทบหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายของจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนอยู่อีกด้วย และได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยการยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ต่อศาลขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้แก่โจทก์ตามสัญญาดังกล่าวแล้ว แม้ว่าศาลชั้นต้นจะพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาจะซื้อจะขาย คดีเดิมมีประเด็นว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ คดีนี้มีประเด็นว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนการเช่าระหว่างจำเลยทั้งสองหรือไม่ เป็นคดีฟ้องขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลระหว่างจำเลยทั้งสอง อันเป็นการทำให้โจทก์เสียเปรียบ ป.พ.พ. มาตรา 237 ที่ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะสงวนไว้ซึ่งกองทรัพย์สินของลูกหนี้เนื่องจากทรัพย์สินของลูกหนี้เหล่านี้ย่อมเป็นหลักประกันการชำระหนี้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 214 มิได้ฟ้องขอบังคับชำระหนี้โดยตรงจากที่ดินพิพาทดังเช่นในคดีก่อนอีกด้วย กรณีจึงเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับคำพิพากษาผูกพันคู่ความหรือไม่ จำเลยทั้งสองไม่อาจอ้างเอาผลคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในคดีก่อนที่ยังไม่ถึงที่สุดมาผูกพันโจทก์ในคดีนี้ได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามสัญญาดังกล่าวได้ทำสัญญาเช่าที่ดินให้จำเลยที่ 2 โดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบอันเป็นการฉ้อฉลโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้เพิกถอนนิติกรรมการเช่าที่ดินนั้นได้ตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องโจทก์ถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ก่อนในอันที่จะได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายโดยปลอดภาระผูกพันใด ๆ แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนการเช่าระหว่างจำเลยทั้งสองได้

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก