กฎหมายที่นักการตลาด 4.0 ต้องรู้|กฎหมายที่นักการตลาด 4.0 ต้องรู้

กฎหมายที่นักการตลาด 4.0 ต้องรู้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

กฎหมายที่นักการตลาด 4.0 ต้องรู้

ปัจจุบันการตลาดได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและรวดเร็ว กล่าวคือ จากเดิมเป็นระบบออฟไลน์ขายโดยเน้นหน้าร้าน เน้นตัวสินค้า

บทความวันที่ 9 ธ.ค. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 7800 ครั้ง


 กฎหมายที่นักการตลาด 4.0 ต้องรู้

ปัจจุบันการตลาดได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากและรวดเร็ว กล่าวคือ จากเดิมเป็นระบบออฟไลน์ขายโดยเน้นหน้าร้าน เน้นตัวสินค้า เน้นการลดต้นทุน เน้นการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเน้นแบรนด์หรือตราสินค้า เปลี่ยนมาเป็นการตลาดแบบ 4.0 โดยเน้นไปที่ค้นหาความต้องการของผู้บริโภค มีความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้บริโภค อาศัยข้อมูลสำคัญจำนวนมากในโซเชียลมีเดียเป็นหลัก และสามารถทำให้ร่ำรวยชั่วข้ามคืนหรือเป็นที่รู้จักชั่วข้ามคืน รวมทั้งอาจจะเสียชื่อเสียงชั่วข้ามคืน หรือติดคุกชั่วข้ามคืนในเวลาเดียวกัน การทำการตลาดแบบ 4.0 จึงมีทั้งโอกาสและความเสี่ยง แต่สิ่งที่ผมอยากจะนำเสนอในวันนี้ในฐานะที่เป็นนักกฎหมายและผู้บรรยายกฎหมาย คือความรู้ด้านกฎหมายที่นักการตลาด 4.0 ต้องรู้การทำการตลาดทางอินเตอร์เน็ต นอกจากหลักการทำการตลาดและข้อมูลพื้นฐานที่ทุกท่านทราบดีอยู่แล้ว โดยขอให้ความรู้เป็นรายประเด็นดังนี้
1.ความรู้ด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ 
         ผู้ที่ใช้การตลาดทางโซเชียลมีเดีย จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะการนำข้อมูลที่เป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำภาพของบุคคลอื่นมาใช้ประโยชน์ทางการค้า หรือดัดแปลงประกอบคำพูดของตนเองโดยไม่ได้รับอนุญาต จะมีความผิดตามกฎหมายคอมพิวเตอร์ซึ่งมีทั้งโทษจำและโทษปรับ 
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 3 ข้อมูลคอมพิวเตอร์, มาตรา 14 และมาตรา 16 
2.ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
     พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน จะต้องไม่ถูกบังคับให้ซื้อสินค้าและสินค้าที่นำมาขายต้องปลอดภัย และราคาต้องเป็นธรรม รวมทั้งต้องมีมาตรการในการชดใช้ความเสียหาย หากนักการตลาดขายสินค้าโดยหลอกลวงหรือให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือไม่มีความปลอดภัย รวมถึงการทำสัญญาที่เอารัดเอาเปรียบ ไม่มีการรับประกันคุณภาพสินค้าหรือการคืนสินค้า จะต้องรับโทษตามกฎหมาย
3.กฎหมายเกี่ยวกับการฉ้อโกงและฉ้อโกงประชาชน
        หากผู้ขายสินค้าทางอินเตอร์เน็ตมีเจตนาตั้งแต่แรกที่จะหลอกลวงประชาชน โดยนำเรื่องโกหกหลอกลวงมานำเสนอทางโซเชียลมีเดีย เพื่อหว่านล้อมชักจูงให้ผู้บริโภคซื้อสินค้าหรือใช้บริการ หรือแสดงตนเป็นคนอื่น เช่น การใช้ชื่อปลอม จนมีผู้หลงเชื่อโอนเงินหรือทรัพย์สินให้กับตน หรือทำให้เข้าใจผิดในแหล่งกำหนด สภาพ คุณภาพ ปริมาณหรือสาระสำคัญ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอันเป็นเท็จ ก็อาจมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, มาตรา 342 และมาตรา 343 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 47  เป็นต้น 
4.การรับผิดชดใช้ค่าเสียหาย ในกรณีกระทำละเมิดทางโซเชี่ยลมีเดีย 
        การโฆษณาขายสินค้าหรือบริการทางโซเชี่ยลมีเดีย หากเป็นการจงใจหรือประมาทเลินเล่อ เช่น โฆษณาหลอกลวงหรือทำไม่ได้ตามที่โฆษณาไว้ เป็นเหตุให้ผู้บริโภคหลงเชื่อซื้อสินค้าหรือใช้บริการ ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนทางแพ่ง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 และมาตรา 438 
5.การจัดทำนิติกรรมสัญญาเกี่ยวกับการซื้อขายหรือการให้บริการ
        ผู้ขายสินค้าทางอินเตอร์จะต้องมีการจัดทำสัญญาซื้อขายหรือสัญญาให้บริการให้เป็นสัญญามาตรฐาน และจะต้องตรวจสอบกับสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคด้วยว่ากิจการที่ทำอยู่ มีกฎหมายควบคุมสัญญาหรือไม่อย่างไรตามพระราบัญญัติ คุ้มครองผู้บริโภค มาตรา  35 ทวิ ,มาตรา 35 เบญจ และมาตรา 35 อัฐฎ เช่น ธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์ ธุรกิจการขายก๊าซหุงต้ม บัตรเครดิต และสัญญาต้องไม่เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540  มาตรา 4 ถึงมาตรา 13 ซึ่งอาจทำให้เป็นโมฆะ หรือบังคับได้เท่าที่เป็นธรรม  เป็นต้น  
6.พระราชบัญญัติขายตรงและการตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545
        มาตรา 5 ของพระราชบัญญัติขายตรงและการตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 มาตรา 3 ได้ให้ความหมายของการทำตลาด ในลักษณะการทำเสนอสินค้าถึงผู้บริโภคโดยตรง มีการสื่อสารข้อมูลเสนอขายสินค้าโดยตรงต่อผู้บริโภค ผู้ประกอบธุรกิจ จะต้องไม่ชักชวนบุคคลเข้าร่วมเป็นเครือข่ายโดยตกลงจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการมาร่วมเครือข่ายตามมาตรา 19 และจะต้องจดทะเบียนตามมาตรา 20 หากฝ่าฝืนก็จะมีบทลงโทษ ตามมาตรา 47 ดังนั้น นักการตลาดจึงต้องให้ความสนใจกับกฎหมายขายตรงด้วยนะครับ
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

อยากได้หลักสูตรที่สอน

- Update กฎหมายเกี่ยวกับการตลาด  เรื่องการกำหนดสินค้าและบริการควบคุม ปี2553,
การแสดงราคาสินค้าและค่าบริการปี 2553
- กฎหมายเกี่ยวกับการผลิตสินค้าและบริการ (รับรู้มาตรฐานผลิตภัณฑ์ที่กำหนดโดยกฎหมายเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์)
- กฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดราคาสินค้าและบริการ (พฤติกรรมทางการค้าที่ส่งผลต่อราคาที่ไม่ปรกติ)
- กฎหมายเกี่ยวกับการจัดจำหน่าย (ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับกรทำการตลาด ระบบ Franchise,
Direct-Selling, Direct-Marketing, E-Commerce)
- กฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณา (กฎเกณฑ์ข้อความโฆษณาและสลาก อาหาร,ยา,และอื่นๆ)
-กฎกณฑ์การใช้สื่อสารมวลชนเพื่อการโฆษณา(สื่อสิ่งพิมพ์,สื่อภาพยนตร์,สี่อวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์)
- หลักฐาน/หน้าที่ในการพิสูจน์ความเป็นจริงของข้อความโฆษณาเมื่อถูกฟ้องร้อง (นอกจาก Agency แล้วรวมถึงผู้ประกอบการ ผู้ประกอบธุรกิจ ผู้นำเข้า ผู้จัดจำหน่าย)
- กฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการขาย(ลด แลก แจก แถม ชิงโชค ชิงรางวัล เสี่ยงโชค เกมโชว์ ฯลฯ)
- การคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา/ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม
- กลยุทธ์/ปัญหา/ข้อควรระวัง/ตัวอย่าง กรณีศึกษาที่สำคัญ

รบกวนขอ Course Outline และใบเสนอราคา
ผู้เข้าอบรมเป็นพนักงานการขาย ประมาณ 30 คน
อบรมที่ G-Tower กทม.
อบรม 1 วัน  งบประมาณ 60,000 บาท


โดยคุณ สุภาพร (หยก HR) 5 ต.ค. 2565, 09:45

ความคิดเห็นที่ 1

 ดีออก

โดยคุณ 10 ก.พ. 2560, 17:04

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก