การดำเนินคดีกับเจ้าหนี้นอกระบบ|การดำเนินคดีกับเจ้าหนี้นอกระบบ

การดำเนินคดีกับเจ้าหนี้นอกระบบ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การดำเนินคดีกับเจ้าหนี้นอกระบบ

เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2560 รัฐบาลได้ออกกฎหมายใหม่เรียกว่าพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560

บทความวันที่ 23 มี.ค. 2560, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 10479 ครั้ง


 การดำเนินคดีกับเจ้าหนี้นอกระบบ

เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2560 รัฐบาลได้ออกกฎหมายใหม่เรียกว่าพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน ทำให้บทบัญญัติในพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ประกอบกับการให้กู้ยืมเงินที่มีการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราหรือการเรียกเอาประโยชน์อย่างอื่นนอกจากดอกเบี้ยยังเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก สมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

สาระสำคัญของพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560
มาตรา 4  บุคคลใดให้บุคคลอื่นกู้ยืมเงินหรือกระทำการใด ๆ อันมีลักษณะเป็นการอำพรางการให้กู้ยืมเงิน โดยมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
(1) เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้
(2) กำหนดข้อความอันเป็นเท็จในเรื่องจำนวนเงินกู้หรือเรื่องอื่น ๆ ไว้ในหลักฐานการกู้ยืมหรือตราสารที่เปลี่ยนมือได้เพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด หรือ
(3) กำหนดจะเอาหรือรับเอาซึ่งประโยชน์อย่างอื่นนอกจากดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็นเงิน หรือสิ่งของหรือโดยวิธีการใด ๆ จนเห็นได้ชัดว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้นมากเกินส่วนอันสมควรตามเงื่อนไขแห่งการกู้ยืมเงิน
มาตรา 5  บุคคลใดได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องจากบุคคลอื่นโดยรู้ว่าเป็นสิทธิที่ได้มาจากการกระทำความผิดตามมาตรา 4 และใช้สิทธินั้นหรือพยายามถือเอาประโยชน์แห่งสิทธินั้น ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 4
มาตรา 6  เมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดแต่รอการกำหนดโทษหรือรอการลงโทษไว้ไม่ว่าจะมีคำขอหรือไม่ ศาลอาจนำวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามมาตรา 39 (3) และ (5) แห่งประมวลกฎหมายอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม
ตัวอย่างคดีเกี่ยวกับการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา
1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2506 
การคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายห้ามนั้น หาใช่จะเป็นความผิดเฉพาะการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราในขณะที่กู้ยืมเงินกันไม่ การเรียกภายหลังการกู้ยืมเงินก็เป็นความผิด
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำนองที่ดินไว้แก่จำเลย คิดดอกเบี้ยชั่งละบาทต่อเดือน ต่อมาจำเลยคิดดอกเบี้ยที่ค้าง 16 เดือนเป็นจำนวนเกินอัตราไป 480 บาท ขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3,4 ดังนี้ ศาลจะมีคำสั่งที่คำฟ้องว่ายกฟ้องเสียเลยทีเดียวหาได้ไม่
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 708/2496 
ความผิดตาม พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475มาตรา 3 นั้น ความสำคัญอยู่ที่การให้กู้โดยเรียกหรือคิดเอาดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่นทำหนังสือสัญญาในการกู้ยืมเงินว่าให้ดอกเบี้ยตามกฎหมายหรือในเอกสารกู้ยืมเงินจะมิได้กล่าวถึงเรื่องดอกเบี้ยเลยแต่ในทางปฏิบัติผู้ให้กู้ได้คิดหรือเรียกเอาดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายได้กำหนดไว้ก็เป็นความผิดตามกฎหมายแล้ว
3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2513 
การกู้ยืมเงินรายนี้จำเลยให้ดอกเบี้ยร้อยละ2 บาทต่อเดือน ดังนี้ เป็นเพียงเสนอด้วยวาจาเบื้องต้นเท่านั้น แต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญากันแน่นอน ก็คิดดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 1.25 บาทต่อเดือน จึงไม่ฝ่าฝืนอัตราดอกเบี้ยตามกฎหมาย
4. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2501 
ถ้าผู้ให้กู้ฝ่าฝืน พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราแล้วก็ย่อมมีความผิดความยินยอมของผู้กู้หาเป็นเหตุสำคัญที่จะทำให้ผู้ให้กู้พ้นความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ไม่
5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1222/2502 
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราโดยบรรยายฟ้องว่า โจทก์ได้กู้เงินจำเลยรวม 32,000 บาท โจทก์ต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 3 บาทต่อเดือน ดอกเบี้ยนี้โจทก์ได้ชำระให้จำเลยตามที่จำเลยเรียกร้องเอาเสมอมา ดังนี้ แสดงว่าโจทก์ยินยอมตามที่จำเลยเรียกร้องเสียเอง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหาย จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1281/2503 
ผู้กู้ที่ยอมตกลงในการกู้ให้เขาเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรานั้นไม่ใช่ผู้เสียหายในกรณีความผิดฐานเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา (อ้างฎีกาที่ 643/2486,1222/2502)
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

เขียนเช็คแลกเงินกับคนที่รู้จักกัน 160,000 บาท คิดดอกร้อยละ7 ไม่มีสัญญาเงินกู้แลกเช็คอย่างเดียวพอถึงเวลาไม่สามารถนำเงินผ่านเช็คได้ ผู้รับแลกเอาเช็คไปแจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดี อยากสอบถามว่ากรณีนี้สามารถดำเนินการเป็นคดีอาญาได้ด้วยเหรอคะ เพราะมันคือการปล่อยเงินกู้เกินตามที่กฎหมายกำหนด ตอนนี้ตำรวจออกหมายเรียกครั้งที่1 แล้วค่ะ 

โดยคุณ คุณ เจเจ 15 ก.ค. 2560, 14:02

ความคิดเห็นที่ 1

ขอปรึกษานะคะให้คนยืมเงินไป100000 บาทคิดดอกร้อยละ5 ต่อเดือนและทยอยต้นเดือนละ5000 บาทส่งค้นมาได้20000 บาทหยุดส่งทั้งค้นและดอกมาเกือบครึ่งปีแล้ว เลยบอกเรายกดอกให้ที่ค้างไม่ต้องจ่ายแล้วขอต้นคืนเดือนละ5000 บาทลูกหนี้ไม่จ่ายแถมบอกจะฟ้องคสช. ในฐานะคิดดอกเบี้ยเกินกฏหมายกำหนด...เราจะทำอย่างไรดีคะ..คนเดี๋ยวนี้อ้างทหารข่มขู่เจ้าหนี้ไม่นึกถึงตอนเดือดร้อนมาขอความข่วยเหลือเลย
โดยคุณ วิวรรณ 14 ก.ค. 2560, 21:09

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก