กฎหมายแรงงานที่ต้องรู้| กฎหมายแรงงานที่ต้องรู้

กฎหมายแรงงานที่ต้องรู้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

กฎหมายแรงงานที่ต้องรู้

ในวันพรุ่งนี้เวลา 10.00-12.00 น. ผมได้รับเชิญไปเป็นผู้บรรยายพิเศษให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานกับนักศึกษา ม.จันทรเกษม ซึ่งกำลังจะจบการศึกษาในปีนี้ โดยจะให้ความรู้เกี่ยวกับการสมัครงาน

บทความวันที่ 27 ต.ค. 2550, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 77014 ครั้ง


 

                                                            กฎหมายแรงงานที่ต้องรู้

 

            ในวันพรุ่งนี้เวลา 10.00-12.00 น. ผมได้รับเชิญไปเป็นผู้บรรยายพิเศษให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแรงงานกับนักศึกษา ม.จันทรเกษม ซึ่งกำลังจะจบการศึกษาในปีนี้ โดยจะให้ความรู้เกี่ยวกับการสมัครงาน การหางานทำ กฎหมายแรงงานที่นักศึกษาควรจะต้องรู้ก่อนเข้าสู่ระบบงาน ประกอบกับในช่วงนี้มีการเลิกจ้างลูกจ้างเป็นจำนวนมาก โดยนายจ้างใช้วิธีการแตกต่างกัน เช่น บีบให้ออกจากงาน ย้ายแผนก ย้ายที่ทำงาน ลดเบี้ยเลี้ยง โอที ยัดข้อหา หรือประเมินผลงานทำงานว่าไม่มีประสิทธิภาพ

 

            ยุบฝ่าย หรือยุบกิจการหรือนำเทคโนโลยีมาใช้แทน ทนายคลายทุกข์จึงขอนำตัวบทกฎหมายและคำพิพากษาของศาลฎีกาที่น่าสนใจ การที่เป็นประโยชน์ต่อนายจ้างและลูกจ้าง โดยขอนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจเป็นข้อ ๆ ดังนี้คือ

 

            1.ลูกจ้างซึ่งทำงานก่อสร้างหรือใช้แรงงานกับผู้รับเหมาช่วง ถึงกำหนดใช้จ่าย ผู้รับเหมาช่วงอ้างว่าผู้รับเหมาชั้นต้นไม่ยอมจ่ายค่าจ้าง กรณีนี้ลูกจ้างสามารถเรียกเงินจากผู้รับเหมาช่วง ผู้รับเหมาหลักและเจ้าของโครงการได้ ตามมาตรา 5

 

            2.การเลิกจ้างทำได้ 3 กรณี

-          สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลา เมื่อสิ้นสุดระยะเวลา

-          ลูกจ้างกระทำความผิดตามมาตรา 119 และ ปพพ.มาตรา 583

-          การเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน

 

3.การเลิกจ้างต้องทำเป็นหนังสือเท่านั้น จะเลิกจ้างด้วยวาจาไม่ได้ มาตรา 17 และต้องบอกเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง

 

            4.การเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน ถ้าลูกจ้างกระทำความผิด หรือหย่อนประสิทธิภาพ เลิกจ้างได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แต่ถ้าลูกจ้างมิได้กระทำความผิด ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามมาตรา 17 วรรค 2 และ 4

 

            5.การทดลองงานจะถือว่าเป็นการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลา จะต้องระบุให้ชัดเจนว่า ทดลองงานจนถึงวันที่เท่าใด ถ้าระบุว่าทดลองงานไม่เกิน 120 วัน ถือว่าเป็นการจ้างโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ดังนั้นเมื่อจะเลิกจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ยกเลิกกระทำความผิด

 

            6.การร้องขอความเป็นธรรมต่อเจ้าพนักงานตรวจแรงงาน ให้ลูกจ้างยื่นคำร้องในท้องที่ที่ลูกจ้างทำงานอยู่หรือที่ลูกจ้างมีภูมิลำเนาอยู่ ตามมาตรา 123

 

-          พนักงานตรวจแรงงานต้องมีคำสั่งภายใน 60 วัน นับแต่วันที่รับคำร้อง และถ้าลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินค่าชดเชย ต้องมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินภายใน 15 วัน นับแต่วันที่นายจ้างทราบหรือถือว่าได้ทราบคำสั่ง มาตรา 124

 

            7.นายจ้างหรือลูกจ้างไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานให้ฟ้องศาลแรงงานได้ภายใน 30 วัน นับแต่ทราบคำสั่ง ถ้าไม่ฟ้องศาลภายในกำหนดให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุด ในกรณีนายจ้างฟ้องศาลต้องนำเงินค่าจ้างหรือค่าชดเชยไปวางต่อศาลก่อนจึงจะฟ้องคดีได้ มาตรา 125

 

            8.ค่าชดเชยลูกจ้างจะเรียกได้มากหรือน้อยเป็นไปตามมาตรา 118 แต่ถ้าลูกจ้างทำผิดนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119

 

            หากพี่น้องประชาชนท่านใดมีปัญหาเกี่ยวกับคดีแรงงานไม่ว่าจะเป็นนายจ้างหรือลูกจ้าง ตั้งกะทู้ถามมาที่เวบไซด์นี้หรือโทร.02-948-5700

                                                                                                                                               

 

 

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 643

ขออนุญาตสอบถามหน่อยครับ 

ในกรณีที่เราทำงานบริษัทซับคอนแทรคแล้วเราได้ปรับเป็นพนักงาน เรามีวันทำงานค้างกับบริษัทซับคอนแทรค 15 วัน เราจะได้เงิน 15 วันนี้ไหมครับหรือได้แค่เงินเดือนใหม่เต็มเดือนที่บริษัทที่เราปรับเป็นพนักงานครับ



โดยคุณ กฤษณ์ 26 ก.ค. 2566, 14:55

ความคิดเห็นที่ 642

เรียนท่านทนายความ ผมรบกวนสอบถามหน่อยครับ  ผมทำงานในบริษัทแห่งหนึ่งโดยมีระยะเวลาทดลองงาน119 วัน เริ่มงาน 8/1/2562  แต่เลยระยะเวลาทดลองงานมาจนถึง 2/9/2562 ผู้จัดการเพิ่งเอาใบประเมินการทำงานมาให้เซ็นและระบุในใบประเมินการทำงานว่าให้ผ่านการทดลองงานและปรับบรรจุเป็นพนักงานประจำ  แต่ผ่านไปหนึ่งอาทิตย์ผู้จัดการบอกใบประเมินยังไม่ใด้ส่งและจะเรียกมาคุยเพื่อให้เซ็นใบประเมินใหม่และไม่ให้ผ่านทดลองงาน  แบบนี้ผมควรทำยังไงและเรียกร้องอะไรจากบริษัทได้บ้างครับ  ขอบคุณครับ

โดยคุณ กมลวิทย์ ธรรมพร 8 ก.ย. 2562, 07:35

ความคิดเห็นที่ 641

ทำงานในตำแหน่งผู้บริหารสูงสุดมา5ปีอยู่ๆก็โดนเจ้านายกดดันหาว่าบริหารงานไม่ดีทำงานต่อไม่ได้ใหเปลี่ยนไปทำงานอื่นแทนด่าเราให้อับอาย

กรณีอย่างนี้ทำอะไรได้บ้างคะ  

โดยคุณ อารยา จิตจักร์ 10 ก.ค. 2562, 06:35

ความคิดเห็นที่ 640

ผมเป็นซับคอนแทค ทำงานมา1ปีกว่า อยู่ดีๆบริษัทเค้าปลดออกโดยไม่มีความผิดเราสามารร้องเรียนหรือฟ้องได้ใหมคับ

โดยคุณ พนา นนทะพันธ์ 25 มิ.ย. 2562, 21:11

ความคิดเห็นที่ 639

กรณีที่ 1 นายจ้างปิดกิจการแล้วโยกย้ายพนักงานให้ไปทำงานที่บริษัทอื่นซึ่งไม่ใช้บริษัทตัวเองหรือสาขาแต่อย่างใดสามารถทำได้หรือไมคะ มีค่าชดเชยอะไรให้ไมคะ ถ้าพนักงานไม่ประสงค์จะไปทำงานที่บริษัทอื่นสามารถทำได้ไมคะ และได้ค่าชดเชยหรือป่าวคะ


ขอบคุณล่วงหน้านะคะ


โดยคุณ Joy 20 ก.พ. 2561, 17:17

ความคิดเห็นที่ 638

ผมเป็นพนักงานขับรถให้ต่างชาติแล้วผมไปรับนายสายวันนั้นมีตีกอล์ฟเป็นวันเสาร์เขาเรียกผมเข้าออฟฟิศให้ใบเตือนผม

ในข้อความใบเตือนนั้นเขียนไว้ว่าเมื่อวันที่8.เดือนกันยายนปีหดกนึงผมขับรถประมาททำให้บริษัทได้รับความเสียหายออ้คือก่อนน่าเคยมีอุบัติเกตุครั้งหนึ่ง. แต่ประกันมาตรวจสอบที่เกิดเหตุระบุในใบแจ้งช่อมว่าผมเป็นฝ่ายถูกชนครับ(เป็นฝ่ายถูกครับ)ไม่เท่าไหร่เอามารวมเป็นใบเดียว

แล้วพูดอีกว่าถ้ามารับนายสายอีกทีก็ำม่ต้องมาแล้วเงินเดือนนั้นก้อไม่ได้ให้เอากุญแจรถมาคืนก็พอ

แล้วผมก็ถามว่าใบเตือนกนึ่งใบมีอายุความกี่เดือนกี่ปีมีลา่มคนหนึ่งบอกว่าตลอดชีพเลยถ้าผิดอีกให้ออกอย่างเดียว

แต่ไม่เท่าไหร่นายที่ขับให้อยุ่ทุกวันที่ผมไปรับสายจากเยคอยุ่โอทีเด๋ยวนี้ไปเช้าเย็นกัลบตามเวลาเลยครับเหมือนบีบผมไม่ให้โอเลย

โดยคุณ นาย คมสัน ทองมาก 18 ม.ค. 2561, 13:22

ความคิดเห็นที่ 637

อยากรู้ว่า ระบบซับคอนแทคมีการจุพนักงานไหมครับ (ทำงานมา 5-6ปีแล้วไม่เคยได้บรรจุเลย)

โดยคุณ นิกร 18 ธ.ค. 2560, 16:40

ตอบความคิดเห็นที่ 637

แล้วแต่นโยบายของสถานประกอบการนั้นๆครับ ว่ามีว่าอย่างไร 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 26 ม.ค. 2561, 13:52

ความคิดเห็นที่ 636

ขอสอบถามหน่อยครับ.. 
ผมเป็นซัพฯอยู่บริษัทแห่งหนึ่งทำมาอยู่3ปีล่ะแต่เป็นซัพแบบไม่มีสัญญา ตอนเข้ามาทำใหม่ๆบริษัทบอกว่ามีการปรับบรรจุทุกปีแต่ผ่านมา2ปีให้หลังไม่มีการสอบบรรจุพนักงานสักคนทั้งดีผลประกอบการดีมาก
โดย :อำนวย ยาจิตร
วัน/เวลา :23/9/2560 6:19:15
บางคนทำมานาน5-7ปีก็ยังไม่มีวี่แววการบรรจุอย่างนี้เขาเรียกว่าเอาเปรียบลูกจ้างรึป่าวครับ???ทั้งโบนัทยังคิดเป็น%1-2-3-4-5ปีตามอายุงานไม่ได้คิดปีต่อปีเงินบวกก็ไม่ได้ แล้วมาตรา11/1บังคับใช้ส่วนหนัยบ้างครับ???


โดยคุณ อำนวย ยาจิร 23 ก.ย. 2560, 07:01

ตอบความคิดเห็นที่ 636

มาตรา 11/1 ตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เป็นเรื่องสถานประกอบกิจการ มอบหมายให้บุคคลใดเป็นผู้จัดหาคนมาทำงาน ให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการนั้นเป็นนายจ้างของคนที่มาทำงานดังกล่าว บทบัญญัติดังกล่าวจะไม่ใช้ในกรณีที่หากผู้จัดหาคนมาทำงานนั้นเป็นผู้ประกอบธุรกิจจัดหางาน ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 โดยการทำงานนั้นเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดในกระบวนการผลิตหรือธุรกิจในความรับผิดชอบของผู้ประกอบกิจการ เมื่อกฎหมายให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการเป็นนายจ้างของคนที่มาทำงานดังกล่าว ผู้ประกอบกิจการก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ของนายจ้างตามพระราชบัญญัตินี้ทุกมาตราต่อคนที่มาทำงานนั้นเสมือนเป็นลูกจ้าง

ดังนั้นแล้ว ถ้าเห็นว่านายจ้างเอาเปรียบลูกจ้างเกินสมควร ก็สามารถร้องเรียนไปยังกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ครับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 24 ต.ค. 2560, 14:48

ความคิดเห็นที่ 635

รบกวนสอบถามดังนี้คะ

1.หัวหน้าแผนก ทำหนังสือขอปรับเงินเดือนขึ้นเองโดยไม่ผ่านฝ่ายบุคคล แล้วนำไปยื่นขออนุมัติจากนายจ้างเองสามารถทำได้ไหมคะ

2. แล้วถ้านายจ้างมีการเซ็นต์อนุมัติแล้วแบบโดยไม่ตั้งใจ  และจะมาแจ้งให้ยกเลิก หลังจากเซ็นต์ไปแล้วได้ไหมคะ

.........................รบกวนด้วยนะคะ.................

โดยคุณ ต้อม 28 ก.ค. 2560, 23:30

ตอบความคิดเห็นที่ 635

กรณีตามปัญหา  หากหัวหน้าแผนกเป็นผู้มีอำนาจในเรื่องการทำเงินเดือน และปรับขึ้นเงินเดือนให้ตัวเอง อาจถูกดำเนินคดีความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 ได้ หรือหากมีข้อสงสัยให้โทรปรึกษาทนายคลายทุกข์เบอร์ 02-9485700

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 24 ส.ค. 2560, 16:01

ความคิดเห็นที่ 634

สวีสดีค่ะ ขอปรึกษาหน่อยค่ะ คือทำงานอยู่ที่ปั้มน้ำมัน พอดีวันเกิดเรื่องเข้ากะดึก เรื่องมีอยู่ว่าพนักงานมีทั้งหมด4คน แล้วมีคนนึ่งซึ่งเป็นพม่า แต่ไม่มีใบอะไรเลย (รับต่างดาวมาทำงานแบบผิดๆอ่ะค่ะ) เขาได้รูดบัตรเครดิตเอาเงินของลูกค้า โดยไม่มีใครรู้ค่ะ แต่ก็โดนจับได้ และอีก3คนนั่นก็ถูกสงสัยไปด้วยว่าร่วมมือกันหรือป่าว เปิดกล้องวงจรดูก็แล้ว สอบถามทั้ง4คนก็แล้ว แต่หัวหน้าเขาคงไม่เชื่อ ซึ่งคนที่ทำก็ยอมรับว่าทำคนเด่วไม่ได้มีใครรู้เห็นเป็นใจด้วย เห็นเรื่องเงียบๆไป คิดว่าจบแล้วเพราะทางบริษัทเอาความผิดอะไรกับคนที่ทุจริตไม่ได้เพราะเป็นต่างดาว แต่ก็มีข้อสรุปคือส่งตัวกับบ้านแล้วเอาเงินเดือนคนที่ทุจริตไปชดใช้แทน เหมือนเรื่องจะจบค่ะ แต่พอมาวันที่5 พ.ค 60 เปนวันเงินเดือนออก ซึ้งก็ออกตรงทุกเดือน แต่พนักงาน 2 คน เงินไม่ออก แต่อีกคนทำไมเงินเดือนถึงออกให้ เราก็สงสัย พอไปถามเขาก็บอกโดนระงับเงินเดือน เขาบอกจ่ายให้แต่ไม่รุ่เมื่อไร เขาบอกต้องรอให้เรื่องพนักงานที่ทุจริตจบก่อน เราก็เอ้ายังไม่จบอีกหรอ ไหนหักเงินเดือนแล่วไง แล้วจะเอาผิดอะไรอีกเพาะเอาอีกไม่ได้อยู่แล้วเขาเป็นพม่า แต่อีกคนซึ่งก็อยู่กะด้วยกัน แต่ไม่โดนระงับเงินเดือน คือเรางงมาก แล้วเมื่อไรจะจ่าย เราก็เดือนร้อนเรื่องเงิน มีภาระต้องจ่าย ก็อยากทราบว่าถ้าไปแจ้งกรมแรงงานได้ไหม แล้วต้องเอาหลักฐานอะไรบ้าง ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ AB 5 มิ.ย. 2560, 23:33

ตอบความคิดเห็นที่ 634

แม้ท่านจะทุจริต หรือทำงานบกพร่องก็ยังมีสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้างอยู่ เพราฉะนั้น หากนายจ้างไม่จ่ายเงินเดือนให้ท่านตามวันเวลาที่ระบุไว้ขณะเริ่มต้นจ้างงาน หากนายจ้างไม่จ่าย ท่านสามารถร้องเรียนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานที่มีอำนาจดูแลสถานที่ที่ที่ทำงานของท่านตั้งอยู่ได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 27 มิ.ย. 2560, 14:27

ความคิดเห็นที่ 633

สวัสดีค่ะ ขอปรึกษาหน่อยค่ะ ขณะนี้กำลังทำงานอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นค่ะ ซึงมาทำงานที่ญี่ปุ่นเมื่อประมาณเดือนตุลาปี59 ค่ะ ซึ่งก่อนมาทำงานที่นี่ได้มีการเซ็นสัญญา ว่าต้องทำงานกับบริษัท 2 ปี ในสัญญาบอกว่าถ้าทำไม่ถึง 2 ปี ต้องชดเชยค่าเสียหาย ประมาณสองแสนบาท แต่ตอนที่เซ็นสัญญาทางบริษัทแจ้งว่าจะให้ทำงานที่ญี่ปุ่นสองปี ซึ่งตอนนี้ทำงานที่ญี่ปุ่นผ่านมาแค่หกเดือน

ทางบริษัทมาแจ้งว่ากับดิฉันว่าจะให้กลับเมืองไทย ซึ่งไม่ได้ทำที่ญี่ปุ่นครบสองปีอย่างที่บริษัทแจ้งไว้ในตอนแรก อีกทั้งในสัญญาก็ไม่ได้มีระบุไว้ค่ะว่าจะให้ทำที่ญี่ปุ่นสองปี ซึ่งเป็นการแจ้งปากเปล่าจากผู้จ้างเท่านั้น ซึ่งพอเราทราบว่า จะไม่ได้ทำการที่ญี่ปุ่นสองปีอย่างที่เค้าแจ้งเราในตอนแรก เราต้องการลาออกก่อนกำหนดสองปียังงี้เราต้องเสียค่าปรับสองแสนบาทไหมค่ะ ซึ่งเค้าก็ทำผิดสัญญากับเราค่ะ และเราจะมีสิทธิที่จะฟ้องบริษัทได้ไหมค่ะ
ถ้าเป็นอย่างนี้เรามีสิทธิ์เรียนร้องไรบ้างไหม หรือว่าต้องทำตามสัญญาค่ะ กรุณาแจ้งอธิบายตามหลักข้อกฎหมายแรงงานให้หน่อยได้ไหมค่ะเพื่อใช้ในการตัดสินใจและอาจจะมีการเรียกร้องสิทธิค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

โดยคุณ Apinya(Whan) (สมาชิก) 28 มี.ค. 2560, 09:33

ตอบความคิดเห็นที่ 633

กรณีตามปัญหา   แนะนำให้ท่านโทรปรึกษาทีมทนายคลายทุกข์ได้โดยตรงที่เบอร์ 02-9485700

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 8 พ.ค. 2560, 14:48

ความคิดเห็นที่ 632

 สอบถามครับเคยทำงานเป็นชิ้บปิ้งผ่านพิธีการศุลกากรตั้งแต่เริ่มงานทำมาแล้วเกือบ17ปีแต่อยู่ก็มีคำสั่งให้โอนย้ายไปทำงานอีกสาขาโดยฝ่ายบุคคลได้เอาเอกสารมาให้เซ็นต์ซึ่งอ่านแล้วเห็นว่าแค่เป็นการโอนย้ายธรรมดาโดยระบุว่าตำแหน่งเดิมแค่ย้ายไปอีกสาขาไม่มีอะไรก็เลยเซ็นต์เมื่อเซ็นต์แล้วกลับมาบอกทีหลังว่าไม่ได้ให้ทำงานในลักษณะเดิมที่เคยทำแต่ให้ไปทำอยู่แผนกแอดมินตำแหน่งงานเท่าเดิมแต่ลักษณะงานที่ให้ทำคือรับผิดชอบงานทาสีบริเวณบริษัทและงานซ่อมบำรุงทั่วไปรวมถึงลักษณะงานชิ้บปิ้งเดิมที่เคยทำถือเป็นพนักงานออฟฟิศซึ่งมีสิทธิ์ได้หยุดเสาร์อาทิตย์ตามประกาศของบริษัทแต่เมื่อมาทำที่สาขานี้กลายเป็นพนักงานOPERATIONซึ่งต้องมาทำงานเดือนนึงสองเสาร์แบบนี้ถือเป็นการสับเปลี่ยนหน้าที่การงานที่เป็นไปโดยไม่สมควรรึเปล่าครับแล้วเราสามารถร้องเรียนหรือเรียกร้องอะไรได้บ้างครับ

โดยคุณ แนท 6 ก.พ. 2560, 09:36

ความคิดเห็นที่ 631

 สอบถามค่ะ 

1. บริษัทA เป็นบริษัทหลักและได้มีการ เซ็นสัญญา กับ บริษัท B เป็น subcontract ในการจัดหาพนักงานมาเพื่อนทำงานให้ บริษัท A โดย พนักงานจะอยู่ในสังกัดหรือภายใต้การดูแล ของ บริษัทฺ ฺB ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น รับค่าจ้างต่างๆ โดน บริษัท B จะมาเบิกเงินค่าจ้าง กับ บริษัท A เพื่อไปจ่ายให้พนักงานเอง แต่ที่นี้ถ้าเราต้องการ ปรับพนักงานให้เป็นประจำภายใต้สังกัดA อายุงานของพนักงานต้องเริ่มให่กับ A หรือนับต่อ จาก B เลยคะ

2. บริษัท A สามารถให้พนักงานลาออกจาก บริษัท B เพื่อไม่เสียค่าเบี้ยปรับ ให้กับ บริษัท B แล้วมาเริ่มใหม่กับ บริษัท A เลยได้หรือไม่คะ

โดยคุณ Aomie 25 ม.ค. 2560, 13:29

ตอบความคิดเห็นที่ 631

 นับต่อจาก b ครับ ส่วนการให้ลาออกต้องดูสัญญาระหว่างพนักงานกับบริษัท b ครับ หากระบุให้ลาออก ไม่เสียค่าปรับ ก็สามารถทำได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 8 ก.พ. 2560, 10:32

ความคิดเห็นที่ 630

 นับต่อจาก b ครับ ส่วนการให้ลาออกต้องดูสัญญาระหว่างพนักงานกับบริษัท b ครับ หากระบุให้ลาออก ไม่เสียค่าปรับ ก็สามารถทำได้

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ (สมาชิก) 8 ก.พ. 2560, 10:32

ความคิดเห็นที่ 629

 ดิฉันอยากถามว่าแฟนของดิฉันทำงานที่คาแคร์แห่งหนึ่งโดยไม่ได้เช็นสัญญาจ้างงาน แฟนดิฉันทำงานมา7 เดือนเข้าเดือนที่ 8 ทำงานได้ 15 วันหักวันหยุด 4 วันเหลือ 11 วันแล้วลาออกกระทันหัน ตอนออกก็โทรไปบอกเค้าแล้ว แต่นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้ในวันที่แฟนดิฉันทำงาน ดิฉันจะสามารถร้องเรียนอะไรได้บ้างคร้า 

ขอบคุนมากคร้า

โดยคุณ วิภาดี 21 ม.ค. 2560, 10:02

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก