อายุความบัตรเครดิต|อายุความบัตรเครดิต

อายุความบัตรเครดิต

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

อายุความบัตรเครดิต

ฎีกาที่ 1311/2539 จำเลยที่ 2 สมัครเป็นสมาชิกผู้ใช้บัตรเครดิตประเภทบัตรเสริมของโจทก์ โดยจำเลยที่ 2 สามารถนำบัตรไปซื้อสินค้าและบริการตลอดจนเบิกเงินสดจากสถานประกอบกิจการที่เป็นสมาชิกของโจทก์ได้ โดยโจทก์เป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยที่ 2 ให้แก่สถานประกอบกิจการค้าต่าง ๆ ไปก่อน

บทความวันที่ 8 ม.ค. 2551, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 1759 ครั้ง


อายุความบัตรเครดิต

อายุความบัตรเครดิต

            ฎีกาที่ 1311/2539

            จำเลยที่ 2  สมัครเป็นสมาชิกผู้ใช้บัตรเครดิตประเภทบัตรเสริมของโจทก์  โดยจำเลยที่ 2  สามารถนำบัตรไปซื้อสินค้าและบริการตลอดจนเบิกเงินสดจากสถานประกอบกิจการที่เป็นสมาชิกของโจทก์ได้  โดยโจทก์เป็นผู้ออกเงินทดรองจ่ายแทนจำเลยที่ 2  ให้แก่สถานประกอบกิจการค้าต่าง ๆ  ไปก่อน 

 

            จากนั้นโจทก์จะเรียกเก็บเงินที่ทดลองจ่ายแทนจากจำเลยที่ 2  เป็นรายเดือน  ตามรอบระยะทางบัญชีที่โจทก์กำหนด  เช่นนี้  โจทก์จึงเป็นผู้ค้ารับทำการต่าง ๆ  ให้แก่สมาชิกและการที่โจทก์ได้ชำระเงินแก่เจ้าหนี้สมาชิกแทนไปก่อนแล้ว  จึงเรียกเก็บเงินจากสมาชิกภายหลัง  เป็นการเรียกเอาค่าที่โจทก์ได้ออกเงินทดรองไป  สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีอายุความ  2  ปี  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 165(7) เดิม

 

       คดีนี้จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5  เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2  มูลค่าแห่งคดีเป็นการชำระหนี้  ซึ่งแบ่งแยกออกจากกันมิได้  สิทธิเรียกร้องของโจทก์แก่ต่อจำเลยทั้งห้าเป็นอย่างเดียวกัน  การที่จำเลยที่ 2  ยกอายุความขึ้นมาต่อสู้  ถือว่าจำเลยที่ 1 ที่ 3  ถึงที่ 5  ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วม  ได้ยกอายุความขึ้นต่อสู้แล้วเช่นกัน  แม้จำเลยที่ 1  ที่ 3  ถึงที่ 5  มิได้ฎีกา  แต่เมื่อคดีของโจทก์ขาดอายุความ  ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลให้จำเลยที่ 1  ที่ 3  ถึงที่ 5  ได้ด้วย  ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง  มาตรา 245(1),247

 

ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา

 

           

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก