งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
ศาลปกครองกลางพิพากษายกฟ้องมอเตอร์ไซต์ขอขึ้นสะพานลอย
เมื่อวันที่
15 สิงหาคม 2551 คนขับรถมอเตอร์ไซด์ได้ฟ้องต่อศาลปกครองให้ยกเลิกคำสั่งของตำรวจจราจร
ที่ห้ามมอเตอร์ไซด์ขึ้นสะพานลอยข้ามแยกในกรุงเทพมหานคร
ทั้ง 27 แห่ง
โดยอ้างว่าเป็นการเลือกปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ
มาตรา 30
และเป็นการเพิ่มภาระในการเดินทางให้กับผู้ขับขี่มอเตอร์ไซด์
ผลของคำพิพากษาปรากฏตามรายงานข่าวของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐข้างล่างนี้
ทนายคลายทุกข์นำมาฝากพี่น้องมอเตอร์ไซด์ทั้งหลาย
รายงานข่าว
รายงานข่าวจากศาลปกครองกลาง
เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2551 แจ้งว่า ศาลได้อ่านคำพิพากษา
คดีที่นายธนวัฒน์
เจริญชัยสมบัติ
ฟ้องกองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
ในฐานะเจ้าพนักงานจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร ว่ากระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โดยห้ามรถจักรยานยนต์ขึ้นสะพานลอยข้ามทางแยก บนถนนสายต่างๆและสะพานลอยข้ามแม่น้ำรวม
27 แห่ง
เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม และสร้างภาระแก่ผู้ขับขี่จักรยานยนต์เป็นพาหนะในการเดินทางฯ และสะพานบางแห่งมิได้ห้ามรถจักรยานยนต์ขึ้นใช้ทาง ทำให้เกิดความสับสนในการปฏิบัติตาม จึงขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งห้ามดังกล่าวทั่วกรุงเทพมหานคร
รายงานข่าวแจ้งว่า
คดีดังกล่าว
ศาลมีคำพิพากษาสรุปว่า
พ.ร.บ.จราจรทางบก
พ.ศ. 2522 ให้อำนาจเจ้าพนักงานจราจร
มีอำนาจออกประกาศข้อบังคับหรือระเบียบ ห้ามรถทุกชนิดหรือบางชนิดเดิน...หรือทำเครื่องหมายบนผิวทาง หรือติดตั้งสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร
กำหนดให้ผู้ขับขี่ต้องปฏิบัติตาม รวมทั้งกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืน
ดังนั้น
ผู้ใดที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม
จึงเป็นความผิด ทั้งนี้
ในส่วนสะพานลอยข้ามทางแยกทั้ง
27 แห่งนั้น
มีลักษณะทางกายภาพร่วมกัน
คือ 1. สร้างขึ้นในช่องทางเดินรถทางด้านขวามือ ซึ่งเป็นช่องเดินรถที่ให้ขับขี่ด้วยความเร็วสูงกว่าช่องเดินรถด้านซ้าย
2. เป็นสะพานมิได้กำหนดช่องทางเดินรถจักรยานยนต์
ไว้เป็นการเฉพาะ เพียงแต่มีไหล่ทางด้านซ้ายกว้างระหว่าง
0.40-0.90 เมตร
หรือบางแห่งน้อยกว่า
3. เป็นสะพานที่มีความลาดชันตั้งแต่
2.86-3.46 องศา
ดังนั้น
ในขณะขับขี่ขึ้นสะพาน เครื่องยนต์ของรถจึงใช้กำลังฉุดมากกว่าปกติ และขณะที่ลงจากสะพานจะมีความเร็วเพิ่มขึ้น ต้องใช้แรงในการหยุดรถเพิ่มขึ้นเพื่อมิให้เกิดอันตราย
นอกจากนี้
ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก
พ.ศ. 2522 มาตรา 35 วรรค
2 กำหนดให้รถจักรยานยนต์ ในทางเดินรถที่แบ่งช่องเดินรถไว้ตั้งแต่
2 ช่องขึ้นไป
ต้องขี่รถในช่องด้านซ้ายสุด การขับขี่รถจักรยานยนต์ขึ้นสะพาน จึงต้องเปลี่ยนช่องทางจากซ้ายสุดบริเวณทางราบขึ้นไป
ช่องเดินรถซ้ายสุดของสะพาน จึงเป็นการฝ่าฝืนมาตรา
35 วรรค
2 ของ
พ.ร.บ.จราจรทางบก
2522 และตัดกระแสการจราจร นอกจากนี้
ในขณะที่จะขึ้นสะพานต้องเร่งเครื่องใช้แรงฉุดมากกว่าปกติ เห็นได้ชัดว่าย่อมเกิดอันตรายแก่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เองและผู้ขับขี่อื่นๆ การออกข้อบังคับเจ้าพนักงานจราจร
จึงเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ อีกทั้งเป็นการห้ามรถจักรยานยนต์ทั้งหมดเป็นการทั่วไป มิใช่รถจักรยานยนต์คันใดคันหนึ่ง จึงไม่ใช่เป็นการเลือกปฏิบัติตามที่ผู้ฟ้องกล่าวอ้าง ส่วนกรณีที่อ้างว่าเป็นการสร้างภาระแก่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์นั้น
สะพานลอยทั้ง
27 แห่ง
สร้างขึ้นเพื่อระบายการจราจรพื้นราบให้คล่องตัวขึ้น มิได้สร้างภาระเพิ่มขึ้นให้แก่ผู้ใช้รถพื้นราบอย่างใด
จึงพิพากษายกฟ้อง
ข้อมูลข่าวจากเว็ปไซด์ หนังสือพิมพ์
ไทยรัฐ