ข่าวทนาย - \'ส่วนต่างดอกเบี้ย\' แบงก์ \'ฮั้ว\' ในนามกลไกตลาด|ข่าวทนาย - \'ส่วนต่างดอกเบี้ย\' แบงก์ \'ฮั้ว\' ในนามกลไกตลาด

ข่าวทนาย - \'ส่วนต่างดอกเบี้ย\' แบงก์ \'ฮั้ว\' ในนามกลไกตลาด

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ข่าวทนาย - \'ส่วนต่างดอกเบี้ย\' แบงก์ \'ฮั้ว\' ในนามกลไกตลาด

ทนายคลายทุกข์ขอนำข่าวเกี่ยวกับสถาบันการเงิน เกี่ยวกับความเห็นต่างต่อประเด็น

บทความวันที่ 30 ม.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 859 ครั้ง


ธนาคาร

ข่าวทนาย - 'ส่วนต่างดอกเบี้ย' แบงก์ 'ฮั้ว' ในนามกลไกตลาด

           

ทนายคลายทุกข์ขอนำข่าวเกี่ยวกับสถาบันการเงิน  เกี่ยวกับความเห็นต่างต่อประเด็นส่วนต่างดอกเบี้ยหรือสเปรด (SPREAD) ของแบงก์พาณิชย์ ซึ่งจับคู่วิวาทะระหว่าง กรณ์ จาติกวณิชรมว.คลัง ที่เปิดประเด็นเหน็บแบงก์กินส่วนต่างดอกเบี้ยถึง 6% ไม่เป็นธรรมต่อ ผู้กู้และผู้บริโภค และเรียกร้องให้แบงก์รับผิดชอบต่อสังคม ด้วยการหดสเปรดลง

 

ก่อนถูกสวนกลับจาก ซีอีโอ เคแบงก์ บัณฑูร ล่ำซำที่นอกจากจะออกมายืนยัน แบงก์ไม่มีฮั้วแล้ว ยังอ้างถึง ประเด็นดอกเบี้ยที่ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดเหมาะสมกว่าการเข้าแทรกแซงโดยทางการ ถึงแม้ว่าขณะนี้จะไม่ได้ปรากฏชัดว่าทางการเข้าแทรกแซง แต่การออกมาให้ความเห็นถึงส่วนต่างดอกเบี้ยที่สูงของแบงก์ ก็เหมือนการแทรกแซงทางวาจา

 

พร้อมกันนี้ บัณฑูรยังยกโจทย์ที่ธุรกิจ (แบงก์) ต้องทำกำไร สร้างความมั่นใจ แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องอยู่ภายใต้การบริหารความเสี่ยงที่ถูกธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กำกับดูแลอยู่

 

วิจารณ์จบซีอีโอคนดังแล้ว เสนอทางออกให้ทางการไว้ 2 ทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่ไม่เหมาะสม คือ หนึ่ง ให้แบงก์รัฐนำขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากและลดดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อลดส่วนต่างดอกเบี้ย หรือแนวทางที่ สอง คือ ทางการกำหนดราคา ซึ่งหมายถึง กำหนดความเหมาะสมของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

 

บีบแบงก์ลงดบ.ตามกนง.

ทั้งนี้ทั้ง 2 แนวทางข้างต้น ไม่มีเสียงขานรับจากทางการ เห็นได้หลังเสียงท้าทายให้ทางการใช้แบงก์รัฐนำร่องเรื่องดอกเบี้ย ศุภรัตน์ ควัฒน์กุลปลัดคลัง ให้ความเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องใช้แบงก์รัฐนำ เพราะการลดดอกเบี้ยนโยบายโดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เป็นการส่งสัญญาณอยู่แล้ว

เช่นเดียวกับแนวทางหลังซึ่งใน อดีตเคยมีข้อเสนอกำหนดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย แต่ก็ไม่ได้รับความเห็นชอบจากหลายฝ่าย เพราะส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดตายตัวไปแล้ว อาจไม่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป

 

ธปท.เห็นใจแบงก์

การถกเถียงเรื่องส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยขยายวงกว้างออกไปเมื่อทั้ง 2 ฝ่ายมีผู้สนับสนุน เช่น ความเห็นของบัณฑูรมีเสียงเชียร์จาก ดร.อัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการแบงก์ชาติ ที่เห็นว่ารัฐบาลควรใช้วิธีเข้าไปช่วยภาคธุรกิจด้วยการค้ำประกันสินเชื่อให้มากกว่าที่จะเรียกร้องให้แบงก์พาณิชย์ปรับลดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย เพราะแบงก์เองก็ต้องปรับตัวไปตามสถานการณ์ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น

 

ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานี้ ท่าทีของแบงก์ชาติเองเปลี่ยนไป จากเดิมที่มองแบงก์พาณิชย์อย่างใกล้ชิดและมักเรียกร้องให้ลดอัตราดอกเบี้ยพร้อมกันทั้ง 2 ขา (ดอกเบี้ยเงินฝาก และดอกเบี้ยเงินกู้) แต่ในระยะหลังมานี้แบงก์ชาติมักอ้างกลไกตลาดสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยของแบงก์พาณิชย์

 

ท่าทีที่ดูเป็นมิตรกับแบงก์พาณิชย์มากขึ้นของแบงก์ชาติ ทำให้อดีตนายแบงก์ วิโรจน์ นวลแขอดีตกรรมการผู้จัดการแบงก์กรุงไทย และอดีตประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.)ภัทรฯ ที่เคยถูกแบงก์ชาติยุค ม.ร.วปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการแบงก์ชาติ ปฏิเสธการกลับมานั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการแบงก์กรุงไทยสมัยที่สองออกมาให้ความเห็นแบบไม่เกรงใจว่า แบงก์ชาติในฐานะผู้กำกับดูแลสถาบันการเงิน ไม่เหลียวแลกำกับแบงก์เรื่องส่วนต่างดอกเบี้ย และเหน็บกลับวาทะ บัณฑูรว่า ไม่ฮั้วก็เหมือนฮั้วโดยยกข้อเท็จจริงที่แบงก์ไม่สามารถปฏิเสธได้คือ การปรับขึ้นและลดอัตราดอกเบี้ยทุกครั้งเท่ากันและในเวลาที่พร้อมกัน

 

อดีตนายแบงก์วิจารณ์ ทิ้งท้ายว่าปัญหาส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในตลาด เกิดจากคู่แข่งในระบบสถาบันการเงินมีไม่เพียงพอ เมื่อผู้มีอำนาจไม่สนับสนุนให้มีการแข่งขันอย่างแท้จริง หากสถานภาพสถาบันการเงินไทยยังอยู่แบบเดิม โอกาสที่ส่วนต่างดอกเบี้ยจะแคบลงแทบไม่มี

 

ยุคเสือนอนกิน

ย้อนกลับมาดูข้อเท็จจริงในอดีต 10-20 ปีที่ผ่านมา หรือยุคที่แบงก์มักถูกประณามว่าเป็น เสือนอนกินแต่ข้อเท็จจริงปัจจุบัน ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (Net Interest Margin :NIM) ที่ปรากฏในรายงานงบดุลแบงก์สูงสุดขณะนี้อยู่ที่ระดับไม่เกิน 4.00% ไม่ใช่ต่างกันถึง 2 หลัก เหมือนเช่นในอดีต

 

แม้ว่าระดับของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (เอ็มแอลอาร์) จะอยู่ที่ 6.50% เทียบกับผลตอบแทนจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 1 ปีที่ 1.25-1.75% หักลบแล้วสเปรดแบงก์ควรจะอยู่ที่ 4.75-5.25 % แต่เมื่อรวมค่าใช้จ่ายด้านปฏิบัติงาน ค่าภาษี และค่าดำเนินงานของแบงก์แล้ว ส่วนต่างดอกเบี้ยแบงก์ที่แท้จริงเหลือไม่ถึง 4.00 %

 

เห็นได้จากส่วนต่างดอกเบี้ย ปี 2551 แบงก์กรุงเทพอยู่ที่ 3.4% แบงก์กรุงไทย 3.85% แบงก์ไทยพาณิชย์ 3.9% แบงก์กสิกรไทย 4.0% แบงก์นครหลวงไทย 3.25% แบงก์ทหารไทย 2.65% เป็นต้น

 

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าสถานการณ์ปัจจุบันแบงก์สามารถอธิบายที่มาที่ไปของส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยได้มากกว่าในอดีต แต่คำถามที่แบงก์พาณิชย์ยังไม่สามารถตอบได้อยู่ ก็คือ การส่งสัญญาณของแบงก์ชาติ ที่ปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย (อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน )ลงแล้วถึง 1.75% นับตั้งแต่ผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)3 ธ.ค. 2551 และ ผลประชุม กนง. 14 มกราคม 2552)

 

เทียบกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยของแบงก์ แม้ว่าจะเป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงทั้ง 2 ขา คือ อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ แต่เป็นการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงมากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลง หลังการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายรวม 2 ครั้ง แบงก์พาณิชย์ตอบสนองด้วยการปรับลดดอกเบี้ยเงินกู้ลงไม่ถึง 1.00% แต่ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไปแล้วมากกว่า 1.00 %

 

แบงก์เพิ่มเงินฝากออมทรัพย์

 

ภาพสะท้อนในอุตสาหกรรมแบงก์ในปี 2552 ที่จะได้เห็น คือ แบงก์ต้องพยายามรักษาส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไม่ให้ต่ำกว่าระดับที่เคยได้รับ ซึ่งจะดำเนินการผ่าน การปรับลดต้นทุนทางด้านเงินฝาก เห็นได้จากในปีนี้หลายแบงก์มีแผนปรับโครงสร้างระหว่างสัดส่วนเงินฝากประจำ และเงินฝากออมทรัพย์กับเงินฝากกระแสรายวัน เพื่อลดภาระต้นทุนดอกเบี้ยเงินฝาก

 

ยกตัวอย่าง แบงก์กรุงศรีอยุธยา ซึ่ง ตัน คอง คูนประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนฐานเงินฝากกระแสรายวันและออมทรัพย์จาก 33% เป็น 34 % ขณะที่ ชัยวัฒน์ อุทัยวรรณ์ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร แบงก์นครหลวงไทย มีแผนปรับสัดส่วนเงินฝากประจำต่อสัดส่วนเงินฝากกระแสรายวันและเงินฝากออมทรัพย์จาก 75 : 25 เป็น 70 : 30 เพื่อลดต้นทุนทางการเงินให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 2.39% ในปี 2552 จากปี 2551 ซึ่งต้นทุนการเงินอยู่ที่ 2.39% และปี 2550 อยู่ที่ 2.62 %

 

อย่างไรก็ดีกรีวิวาทะว่าด้วยส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเริ่มลดลง เมื่อรัฐมนตรีคลังคน  จุดประเด็น ขอถอนคำพูด ด้วยการออกตัวชี้แจงว่า ทางการไม่ได้มีแนวคิดเข้าไปแทรกแซงส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก แต่สาเหตุที่เคยให้ความเห็นในช่วงเวลาดังกล่าวเพียงแค่ต้องการพูดเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน(จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย)ที่ไม่เป็นธรรม หรือ นัยหนึ่งคือไม่ต้องการพูดให้แบงก์พาณิชย์ไม่สบายใจแต่ต้องการแสดงความเห็นใจประชาชนตามประสานักการเมืองเท่านั้น

 

ถึงรัฐมนตรีคลังจะขอถอนตัวจากสงครามความคิดที่ตัวเองเปิดฉากขึ้น แต่แบงก์ก็ยังคงต้องตอบคำถามต่อสังคมอยู่ดี เพราะข้อเท็จจริงจากตัวเลขกำไรสุทธิของแบงก์พาณิชย์ทั้งระบบปี 2551 ที่สูงกว่า 80,000 ล้านบาท ปฏิเสธไม่ได้ว่าที่มาที่ไปของกำไรก็มาจากสเปรดแบงก์นั่นเอง

 

ตัวเลขกำไรข้างต้นไม่ต่างจากคำถามว่า ด้วยที่มาที่ไปของสเปรดอัตราดอกเบี้ยที่บรรดานายแบงก์เพียรอธิบายในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านนั้นยังไม่เคลียร์ และทิ้งเป็นปมให้นักการเมืองหยิบยกมาใช้เป็นเครื่องมือสร้างนิยมทางการเมืองเป็นคราวๆเช่นเดียวกับเรื่องภาษีมรดก ภาษีที่ดิน โดยที่ไม่ใครคิดจะหาข้อเท็จจริงมาให้ประชาชนรับรู้กันว่าแท้จริงแล้ว ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ ยุติธรรมหรือแบงก์ ฮั้วในนามของกลไกตลาด” .

ขอขอบคุณรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก