ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม มีสิทธิเรียกร้องอะไรได้บ้าง|ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม มีสิทธิเรียกร้องอะไรได้บ้าง

ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม มีสิทธิเรียกร้องอะไรได้บ้าง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม มีสิทธิเรียกร้องอะไรได้บ้าง

บทความวันที่ 2 พ.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 201457 ครั้ง


ถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม มีสิทธิเรียกร้องอะไรได้บ้าง

                ทนายคลายทุกข์โดยทีมงานทนายด้านคดีแรงงาน ขอเสนอข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาแรงงาน พ.ศ. 2522 มาเสนอแนะให้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมนำไปใช้เป็นฐานข้อมูลในการเรียกร้องเงินค่าชดเชยและค่าจ้างตลอดจนค่าเสียหายพิเศษต่อพนักงานตรวจแรงงานและศาลแรงงานต่อไป โดยขอนำเสนอเฉพาะเท่าที่จำเป็นต้องรู้ดังนี้  (สอบถามคดีแรงงานได้ที่ 02-948-5700 และ 081-912-5833)

1.             พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

การเลิกจ้างต้องทำเป็นหนังสือและบอกกล่าวล่วงหน้า ก่อนถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด

มาตรา 17 สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้าง โดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
            ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเกินสามเดือน
            ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้
            การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตามจำนวนที่จะต้องจ่ายจนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกำหนดทีบอกกล่าวและให้ลูกจ้างออกจากงานทันทีได้และให้ถือว่าการจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างตามวรรคนี้ เป็นการจ่ายสินจ้างให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 582 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
            การบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

 

ค่าชดเชยที่นายจ้างต้องจ่ายตามระยะเวลาการทำงาน

มาตรา 118 ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างดังต่อไปนี้
            (1) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่ไม่ครบหนึ่งปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
            (2) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปี แต่ไม่ครบสามปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
            (3) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปี แต่ไม่ครบหกปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน  หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
            (4) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบหกปี แต่ไม่ครบสิบปี ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
            (5) ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันครบสิบปีขึ้นไป ให้จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
            การเลิกจ้างตามมาตรานี้ หมายความว่า การกระทำใดที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะเหตุสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุอื่นใด และหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้าง
ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไป
             ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น
             การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกินสองปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง

นายจ้างเลิกจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเพราะลูกจ้างกระทำความผิด

             มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้
            (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
            (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
            (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
            (4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
           หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
            (5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
            (6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

ค่าชดเชยพิเศษที่นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้างในกรณีย้ายสถานประกอบกิจการและมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของลูกจ้างและครอบครัว

 มาตรา 120 ในกรณีที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่นอันมีผลกระทบสำคัญต่อการดำรงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว นายจ้างต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสามสิบวันก่อนวันย้ายสถานประกอบกิจการ ในการนี้
ถ้าลูกจ้างไม่ประสงค์จะไปทำงานด้วย ให้ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของอัตราค่าชดเชยที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิได้รับตามมาตรา 118
            ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างทราบการย้ายสถานประกอบกิจการล่วงหน้าตามวรรคหนึ่ง ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยด้วย
            ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำขอให้คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานพิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการว่า เป็นกรณีที่นายจ้างต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษตามวรรคหนึ่งหรือไม่
             คำวินิจฉัยของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานให้เป็นที่สุด เว้นแต่นายจ้างหรือลูกจ้างจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนำคดีไปสู่ศาล นายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ต้องจ่ายแก่ลูกจ้างที่ยื่นคำขอตามวรรคสาม จึงจะฟ้องคดีได้
            การบอกเลิกสัญญาจ้างตามมาตรานี้ ลูกจ้างต้องใช้สิทธิภายในสามสิบวันนับแต่วันที่นายจ้างย้ายสถานประกอบกิจการ หรือนับแต่วันที่คำวินิจฉัยของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานหรือคำพิพากษาของศาลเป็นที่สุด

 

เลิกจ้างเนื่องจากนายจ้างนำเครื่องจักรเทคโนโลยีมาแทนลูกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษนอกจากค่าชดเชยตามมาตรา 118 อีก 60 วันของค่าจ้างอัตราสุดท้าย

 

มาตรา 122 ในกรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างปรับปรุงหน่วยงาน กระบวนการผลิต การจำหน่าย หรือการบริการ อันเนื่องมาจากการนำเครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเหตุให้ต้องลดจำนวนลูกจ้าง
ห้ามมิให้นำมาตรา 17 วรรคสอง มาใช้บังคับ และให้นายจ้างแจ้งวันที่จะเลิกจ้าง เหตุผลของการเลิกจ้างและรายชื่อลูกจ้างต่อพนักงานตรวจแรงงาน และลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อนวันที่จะเลิกจ้าง
            ในกรณีที่นายจ้างไม่แจ้งให้ลูกจ้างที่จะเลิกจ้างทราบล่วงหน้า หรือแจ้งล่วงหน้าน้อยกว่าระยะเวลาที่กำหนดตามวรรคหนึ่ง นอกจากจะได้รับค่าชดเชยตามมาตรา 118 แล้ว ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหกสิบวัน หรือเท่ากับค่าจ้างของการทำงานหกสิบวันสุดท้ายสำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วยด้วย
            ในกรณีที่มีการจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามวรรคสองแล้ว ให้ถือว่านายจ้างได้จ่ายสินจ้างแทนการ
บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย

 

2.             พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522

 

การฟ้องคดีแรงงานได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียม

มาตรา 27  การยื่นคำฟ้องตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ในศาลแรงงานให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียม

ฟ้องคดีที่มูลคดีเกิดหรือที่โจทก์ที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่

มาตรา 33  คำฟ้องคดีแรงงานให้เสนอต่อศาลแรงงานที่มูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลแรงงานนั้น ถ้าโจทก์มีความประสงค์จะยื่นคำฟ้องต่อศาลแรงงานที่โจทก์หรือจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลแรงงาน เมื่อโจทก์แสดงให้ศาลแรงงานเห็นว่าการพิจารณาคดีในศาลแรงงานนั้นๆ จะเป็นการสะดวก ศาลแรงงานจะอนุญาตให้โจทก์ยื่นคำฟ้องตามที่ขอนั้นก็ได้

เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้ถือว่าสถานที่ที่ลูกจ้างทำงานเป็นที่ที่มูลคดีเกิดขึ้น

ไม่ว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาจะได้ดำเนินไปแล้วเพียงใด ก่อนศาลแรงงานมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี คู่ค

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 997

.คือได้ทำงานบริษทยูโนโมริ​ได้เป็นเวลาเกือบ120วัน​ แต่​ได้รับแจ้งว่าไม่ผ่านงาน​แจ้งเมื่อวัน26ต.ค​2562  นู๋เริ่มงานวันที่8ก.ค​2562

การเข้ามาทำงานไม่ได้ให้เวลาอ่านสัญญาบีบเร่งให้เซน​ แล้วมาบอกที่หลังตอนมาทำงานแล้วว่ามีค่าประกันเสียหาย​ 3000บาท​แต่ต้องทำงานครบ1ปี​และออกงานแจ้งก่อน1เดือนถึงได้คืน​  แต่ในกรณีนู๋ทำงานไม่ผ่านโปรเพีนงขาด10คะแนน​ ให้ใบเตือนนู๋เรื่องไม่เคาพหัวหน้าทั้งๆที่นู๋ไม่ได้ใช้วาจาไม่สุภาพอันได้มีแต่หัวหน้าใช้คำไม่สุภาพกะนู๋

แถมซ้ำบีบกลั่นแกล้งประจานให้นู๋เกิดความอับอายในที่ทำงานทางจิตใจ​ และบีบให้ทำงานที่กะงานไม่เหมาะสมกัยนู๋​ซึ่งได้แจ้งตั้งแต่แรกการทำงานแล้วว่าจะขอเข้างานกะเช้ากะเที่ยงได้​ และไม่ให้ความเห็นใจในการจัดกะเข้างาน​ คือ​ สามารถเรียกร้อวสิทธิและเอาเรื่องอย่างไรได้บ้างค่ะ​ นู๋ทุกข์ใจมากค่ะ​ ขอบคุณที่ช่วยเหลือค่ะ

โดยคุณ โชติรส 29 ต.ค. 2562, 00:37

ความคิดเห็นที่ 996

ขอความช่วยเหลือและวิธีแก้ไขเพราะครอบครัวเดือดร้อนมาก คือเรื่องมีอยู่ว่าแหนหนูได้ทำงานเป็นหัวหน้าสจวตใโรงแรมชื่อดังของหัวหิน ฮอลิเดอินวานานาวา ได้แค่2เดือนเองค่ะแล้วจู่ๆฝ่ายบุคคลก็เรียกเข้าพบแล้วแจ้งว่าแฟนหนูไม่ผ่านโปร โดยไม่บอกถึงสาเหตุที่ทำให้ไม่ผ่านโปร เข้าเลยเขียนใบลาออกเองเพราะถ้าเราไม่เขียนลาออกเองมันจะส่งผลให้ประวัติการทำงานไม่ดีได้ ทางฝ่ายบุคคลกล่าวอ้างแบบนี้เราจึงจำใจที่จะต้องเขียนทั้งๆที่ไม่ได้เต็มใจเขียนเลย และการทำงานของแฟนหนูจะสิ้นสุดลงภายในวันที่30มิ.ค.62ค่ะเหตุผลอะไรเขาไม่บอกเลยว่าทำไมไม่ผ่านทั้งที่แฟนหนูได้ทำงานตามแพลนงานที่ได้รับมอบหมายผ่านหมดและยังมีลายเช็นต์จากเชฟรับรองพร้อมพยานด้วยแค่ก็ไม่ให้ผ่านโปรแต่ว่าตลอดเวลา2เดือนก่อนจะไม่ผ่านโปรแฟนหนูได้ทำเอกสารของการตรวจสิ่งของที่แตกหักเสียหายเพื่อมาำเป็นครอสไว้และได้เจอว่ามีการทุจริตในการสั่งชื้อของและค่าแรงของพนังงานชั่วคราวได้หายไปโดยไม่สาเหตุแต่แฟนหนูก็ำม่ได้กล่าวให้เชฟรู้หนูคิดว่านี้คงเป็นสาเหตุที่เขาให้แฟนหนูออกจากงานโดยมิชอบแถมตอนจ่ายเงินเดือนก็ได้รับแค่ครึ่งเดียวเขาอ้างว่าพนักงานที่ไม่ผ่านโปรจะจ่ายเงินเดือนแค่ครึ่งเดียวตามที่กำหนดไว้ในคู่มือพนักงานแต่ที่หนูได้อ่านในคู่มือพนักงานมันไม่เห็นเขียนระบุไว้ว่า ถ้าพนักงานคนไหนไม่ผ่านโปรจะต้องได้รับค่าแรงที่ทำงานครึ่งเดียวเลย หนูจึงอยากขอความกรุณาจากคุณทนายช่วยชี้แนะแนวทางให้พวกหนูหน่อยเพราะตอนนี้พวกหนูเดือดร้อนยังพอทนค่ะแต่สงสารลูกหนู2คนที่เรีบนอยู่ตอนนี้ที่จะต้องย้ายโรงเรียนเพื่อลดค่าใช้จ่ายทั้งหมดลงเพราะ ณ ตอนนี้แฟนหนูยังไม่ได้งานใหม่เลยและตัวหนูเองก็ไม่ได้ทำงานเพร่ะอยู่เป็นแม่บ้านดูแลลูกที่บ้าน จากสาเหตุนี้อาจารย์พอจะมีทางช่วยเหลือหนูได้ไมค่ะ ( แฟนหนูเป็นคนตรงๆค่ะไม่เคยคดโกงในหน้าที่มาโดยตลอดและเหจุการแบบนี้ก็เป็นครั้งที่2แล้วตลอเระยะการทำงานทางด้านนี้มาตลอดจนุงปัจจุบัน )หนูกราบขอความช่วยเหลือจากอาจารย์ด้วยนะค่ะ ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะที่อาจารย์จะมีเมตตาช่วยครอบครัวหนู

โดยคุณ มณี ชัยวิก 7 ก.ค. 2562, 14:17

ความคิดเห็นที่ 995

สวัสดีค่ะ หนูมีเรื่องขอคำปรึกษาค่ะ พอดีแฟนหนูทำงานอยู่บริษัทเคอรี่ ทำงานมาได้เกือบ 1 ปี ทางบริษัทมีการลดต้นทุน ลดคน และมีการปรับบรรจุพนักงาน แต่ทางบริษัทได้ตรวจเช็คประวัติของพนักงานทุกคน ปรากฎว่า แฟนหนูถูกเลิกจ้างเพราะตรวจเจอประวัติเคยต้องโทษจำคุกคดียาเสพติด แต่แฟนของหนูพ้นโทษมา 5 ปี และไม่เคยทำผิดอีกเลย แฟนหนูยอมรับนะคะ และกำลังเริ่มต้นหางานใหม่ ถึงแม้ยังต้องทำงานที่เก่าอยู่ แต่ก็ยังทำหน้าที่ได้ดี ไม่ได้ละทิ้งหน้าที่ ไปทำงานทุกวัน หลังจากนั้นทางหัวหน้าได้ให้เวลาแฟนหนูทำงานอีกไม่เกิน 3 เดือน เพื่อหางานใหม่ไปด้วย แล้ววันนี้ทางฝ่ายที่ทำบัญชีเงินเดือนได้แจ้งว่า แฟนหนูมาทำงานสายโดนหักเงินประมาณ 500 บาท แฟนหนูเกิดอาการไม่พอใจ ที่ผ่านมาทำงานล่วงเวลา ไม่เคยจ่ายโอที เวลาเลิกงานจริงๆ 16.00น แต่เลิกงาน18.00-19.00 น ตลอดเกือบทุกวัน และบรรทุกงานไปเกินจำนวนชิ้นที่ทางบริษัทจะต้องจ่ายค่ากล่อง แต่ทางแฟนหนูไม่เคยได้รับแม้แต่บาทเดียว เพราะแฟนหนูต้องการบรรจุงานเลยอดทนทุกอย่างโดยที่ไม่เคยพูดอะไรเลย หลังจากนั้นแฟนหนูเลยโพสความอัดอั้นลงกลุ่มในfacebook ต่างๆ ทางบริษัทและหัวหน้างานได้รับรู้เลยแจ้งว่า วันจันทร์ที่ 17.6.19 ไม่ต้องมาทำงานและจะไม่จ่ายเงินเดือนให้อีกด้วย หนูเลยอยากปรึกษาค่ะว่าเราสามารถเรียกร้องอะไรได้บ้างคะ สามารถเรียกร้องค่าชดเชยได้มั้ยคะ ตอนนี้ร้อนใจมากๆค่ะ ออกจากงานไม่เป็นไรค่ะ แต่แค่คิดว่าที่ผ่านมาตั้งใจทำงานแต่ไม่เคยได้อะไรที่ดีๆกลับมาเลย โดนเอาเปรียบตลอดเลยค่ะ

โดยคุณ ธัญลักษณ์ ชาระโภค 15 มิ.ย. 2562, 13:25

ความคิดเห็นที่ 994

ขอสอบถาม กรณี ลากิจ ติดกัน 3วันคครึ่ง นายจ้างอ้างว่า ไล่ออก ปกติที่ผ่านมาไม่เคยลากิจเลยและพักร้อนก็ไม่ได้ใช้สิทธ์เลย

ทำงานมา22ปี ทำงานไม่เคยผิดพลาดไม่มีประวัติเสีย

แบบนี้ แค่ลากิจครั้งเดียว แบบนี้ไม่ยุติธรรม คะ แล้วเราควรรับมือกับนายจ้าง แบบไหนดี เพือเราจะได้ ค่าชดเฉยที่เราควรจะได้ โดยที่เค้าจ้างเราออก หรือมีกฎหมายคุ้มครอง แนะนำด้วยคะ

พฤติกรรมนายจ้างจ่ายเงินเดือนไม่ตรง

ชอบใช้คำพูดกดดันลูกน้องไม่เป้นธรรม

ใช้อำนาจกดดันให้ผู้อื่นเกิดความกลัว

ชอบพูดขุ่ลูกน้องไม่มีทางสู้


  E:mail  :[email protected]




โดยคุณ วาชาบิ 26 ก.พ. 2562, 21:05

ความคิดเห็นที่ 993

ขอสอบถามค่ะ ปัจจุบันสามีทำงานอยู่ที่บริษัทเอกชนแห่งนึง ย่านสมุทรปราการ แล้วตอนนี้บริษัทมีคำสั่งย้ายให้สามีไปทำงานที่ จ. นครปฐม ที่ห่างจากบ้านมาก(บ้านอยู่ปทุม) แล้วเงินเดือนก้อลดลงจากเดิมเยอะมาก สามีไม่เต็มใจไป อย่างนี้ใช่การโยกย้ายไม่เป็นธรรมหรือไม่ค่ะ แล้วอย่างนี้เราสามารถทำอะไรได้บ้างคะ รบกวนช่วยตอบกลับด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

โดยคุณ Nannnnnn 22 ม.ค. 2562, 15:56

ความคิดเห็นที่ 992

ผมถูกเลิกจ้างวันที่ 17 พค. 2561 ในข้อหา 1.ลูกค้าตรวจสอบแล้วส่งเอกสารที่ไม่ใช่เอกเป็นที่ปัจจุบันซึ่งไม่ใช่เอกสารของฝ่ายผมดูแล ผมเป็นประสานการตรวจสอบเท่านั้นและหลักฐานต่างๆเป็นของแผนกนั้นๆจะต้องส่งมอบ 

2. ส่งตัวอย่างสินค้าให้กับลูกค้าโดยเอาอุปกรณ์บางอย่างออก ในวันที่ 19 กพ. 2561 และบริษัทบอกว่าเสียหายซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวไม่จำไม่ได้แต่ถ้าเป็นจริงทำไมแจ้งผมในวันถัดมาแล้วจะต้องชี้แจ้งว่าเสียหายอย่างไร 

สรุปบริษัทเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยโดยนายจ้างอ้างมาตรา 119

วันที่ 18 ผมได้ไปยื่นคำร้องกับพนักงานตรวจแรงงานที่ศรีราชา แต่ผมมีอายุ 49 ปี เงินเดือนสุดท้ายที่ได้รับคือเงินเดือน 60000 บาท และค่ตำแหน่ง 3000 บาทต่อเดือน ซึ่งผมมีอายุงานอีก 10 ปี ครึ่ง แล้วอนาคตผมยังไม่รู่ว่าผมจะหางานได้ไหมในเงินเดือนที่ไม่ต่ำไม่กว่าเดิมรบกวนช่วยให้คำแนะนำและถ้าจะฟ้องร้องตามสิทธิเลิกจ้างไม่เป็นธรรมผมจะมีโอกาสชนะไหมและมีค่าใช้จ่ายเท่าไร

เบอร์ผม 0865515624

[email protected]

โดยคุณ ชัยธวัฒน์ ทรงสิทธิ์อารยะ 19 พ.ค. 2561, 08:32

ความคิดเห็นที่ 991

   ผมเริ่มทำงาน 20 กุมภาพันธ์ 2561 ในตำแหน่งผู้จัดการทั่วไป โดยทางบริษัทให้ทดลองงานในอัตราเงินเดือน 18,000บาท ถ้าผ่านงาน 3 เดือนจะปรับขึ้นให้ 25,000บาทโดยไม่มีการเซ็นต์สัญญาอะไรเลย จนกระทั่งวันที่ 5 เมษายน 2561 ที่ผ่านมาผมได้รับหนังสือยกเลิกสัญญาจ้าง ในหนังสือลงวันที่ 1 เมษายน 2561 มีผลเลิกจ้างวันที่ 5 เมษายน 2561 โดยอ้างเหตุผลว่ากรรมการบริษัทไม่อนุมัติ (ผมทำงานได้แค่เดือนครึ่ง)

  ในกรณีแบบนี้ผมมีสิทธิ์จะได้เงินชดเชยในส่วนไหนบ้างครับ หรือพอจะมีช่องทางไหนในการเรียกร้องค่าชดเชยได้บ้าง

  ถึงตอนนี้ทางบริษัทก็ยังค้างค่าล่วงเวลา 4 วัน ค่าแรงของเดือนเมษายนอีก 4 วันและค่าสึกหรอของรถยนต์ส่วนตัวที่นำไปใช้งานกับบริษัท รวมแล้วประมาณเกือบ 9,000 บาท

  ผมรบกวนขอความกระจ่างด้วยนะครับ

โดยคุณ ธันยา 23 เม.ย. 2561, 14:40

ความคิดเห็นที่ 990

กรณีเป็นบุคคลที่มีรายชื่ิอตามมาตรา13 แล้วถูกเลิกจ้างในระหว่างที่ยื่นข้อเรียกร้อง และบริษัทได้จ่ายค่าชดเชยตามกฏหมายแล้ว 

คำถามข้อที่1. การฟ้อง ครส. ถ้าบริษัทไม่รับกลับเข้าทำงานแล้วต้องจ่ายเงินชดเชยให้เราเพิ่มใช่หรือไม่

ข้อที่2.ในระหว่างฟ้อง ครส.ถ้าเราไปทำงานที่บริษัทอื่น เราจะได้ค่าชดเชยเพิ่มอีกหรือไม่

โดยคุณ ปุ้ยจัง 20 เม.ย. 2561, 22:46

ความคิดเห็นที่ 989

เอาคร่าวๆนะคับ คือว่าผมได้สมัครงานทางออนไลน์ไว้ แล้วที่บริษัท เขาก็เรียกมาสัมภาษณ์งาน  แล้วทางบริษัทก็บอกว่าที่นี่เราทดลองงาน 3 เดือน ค่าจ้างก็จะได้ตามที่ผมกรอกไปคือ 15,000 แล้วถ้าผ่านงานเขาจะเพิ่มให้เป็น 18,000 ผมก็ตอบตกลง  แต่ไม่ได้มีการเซ็นสัญญากันเป็นลายลักษณ์อักษรนะคับ คือตกลงกันปากเปล่า


แล้วทีนี้ผมก็ทำงานไปได้ 12 วัน พอเลิกงาน วันที่ 12 ฝ่ายบุคคล ก็แจ้งมาทางไลน์ว่า ผมไม่ผ่านการทดลองงาน เขาก็บอกว่าทางบริษัทของเราดูแค่ 7 วัน  แล้วแจ้งว่าค่าแรงจะให้ตามจำนวนวันที่ทำงาน ผมก็ไม่ว่าอะไร ไม่ผ่านก็ออก พอมาวัน 2 วันนี้ เขาก็แจ้งมาว่า เขาจะโอนค่าแรงให้ได้ค่าแรงวันละ 300 บาท เพราะไม่ผ่านการทดลองงาน แบบนี้ถูกต้องหรือไม่คับ ผมก็เถียงไปว่า ช่วงทดลองงานตกลงกันว่า 15,000 ซึ่งไม่ได้ชี้แจงก่อนว่า ถ้าไม่ผ่านงาน จะให้วันละ 300  ที่จริงต้องได้วันละ 500 กว่าบาทตามฐานเงิน 15,000 หรือเปล่าคับ แล้วมีสิทธิได้รับเงินชดเชยในกรณีที่ไม่มีการแจ้งล่วงหน้าด้วยหรือเปล่าคับ รบกวนขอคำตอบขอคำชี้แนะด้วยคับ ขอบคุณมากคับ

โดยคุณ donnapat.su 4 เม.ย. 2561, 13:17

ตอบความคิดเห็นที่ 989

ความเห็นของผม ผมว่าสามารถฟ้องร้องได้ทั้งสองกรณีครับ

รีบไปดำเนินการโดยด่วนครับ ที่แรงงานพื้นที่นะนๆครับ

โดยคุณ รัชย์ชวัล ศุภสุวรรณพงษ์ 16 เม.ย. 2561, 20:59

ความคิดเห็นที่ 988

    รบกวนขอคำตอบขอคำชี้แนะด้วยคับ ขอบคุณมากคับ

โดยคุณ donnapat 4 เม.ย. 2561, 13:14

ความคิดเห็นที่ 987

สวัสดีคะอยากสอบถามหน่อยคะ


คือว่าหนูทำงานออนไลน์ในโทรศัพท์ เป็นเกี่ยวกับแอทมินเพจ ทำได้มาหลายเดือนแล้วคะไม่มีการเซ็นสัญญาอะไรทั้งนั้นเพราะเป็นพนักงานที่ทำงานอยู่นอกสถานที่คะ ไม่ต้องเข้าบริษัท แต่จะมีกลุ่มไลน์คะ คือว่าวันนี้ทำงานในโทรศัพท์คะแล้วก็โดนไล่ออกวันนี้ ทางหัวหน้าแผนกเป็นคนไล่ออก แล้วเค้าก็บอกหนูอีกว่าขอระงับไม่ให้เงินเดือน เงินเดือนจะออกทุกวันที่5ของเดือน ซึ่งโอนผ่านบัญชีธนาคาร ซึ่งหนูอยากถามว่าหัวหน้าแผนกมีสิทธิ์ระงับไม่จ่ายเงินเดือนเราได้ด้วยหรอคะ ทั้งๆที่เค้าไม่ใช่เจ้าของหรือนายจ้างเรา เป็นแค่หัวหน้าแผนกและเป็นคนคิดใบตอกบัตรว่าหยุดวันไหนบ้าง แต่ไม่ได้เป็นคนโอนจ่ายเงินหรือเป็นคนถือเงินอะคะและก็ไม่ได้เป็นเจ้าของหรือเกี่ยวข้องอะไรกับเจ้าของบริษัทเลยคะ

ช่วยแนะนำหน่อยคะว่าหนูสามารถทำอะไรได้บ้าง

โดยคุณ Phaveena 3 เม.ย. 2561, 06:01

ตอบความคิดเห็นที่ 987

ตามความเห็นของผม ผมว่าฟ้องร้องได้นะครับ เพราะว่ามีหลักฐานในการโอนเงินเดือนมา 

แต่ต้องรีบไปแรงงานพื้นที่ของที่บริษัทนั้นตั้งอยู่ หรือถ้าไปไม่ได้ไปหารือที่พื้นที่ที่เราอยู่ก็ได้ครับ 

แต่อย่าให้เกิน 30 วันนับจากบอกเลิกจ้างครับ ยิ่งเร็วยิ่งดีครับ

โดยคุณ รัชย์ชวัล ศุภสุวรรณพงษ์ 16 เม.ย. 2561, 20:23

ความคิดเห็นที่ 986

แล้วถ้าบริษัทเลิกจ้างพนักงานประจำเพราะไม่มีงานลดคนลดค่าใช้จ่าย  งานน้อยลงจะเข้าข่ายปรัปปรุงองค์กร/หน่วยงานมั๊ยครับ

และจะได้รับเงินชดเชยพิเศษหรือไม่ครับ

โดยคุณ เรวัตร ศิริกานนท์ 26 มี.ค. 2561, 14:01

ความคิดเห็นที่ 985

ในกรณีถูกเลิกจ้าง มีการจ่ายชดเชยตามกฏหมายกำหนดเป็นที่เรียบร้อย แต่ไม่มีหนังสือแจ้งสาเหตุการจ้างออก มีเพียงบันทึกข้อตกลงระบุว่าได้จ่ายเงินชดเชยตามกฏหมายเป็นเงิน..... เรียบร้อย และทางเราจะไม่ติดใจเอาความเรียกร้องใดๆอีก พร้อมหนังสือรับรองเงินเดือน 12 เดือนสุดท้าย และหนังสือรับรองการทำงานระบุวันที่เริ่มงาน วันสิ้นสุดการทำงน และเงินเดือน ได้ยื่นเรื่องภาษีประจำปี ทางสรรพากรได้ขอเอกสารเพิ่มเติมหลายอย่าง ได้จัดส่งให้เป็นที่เรียบร้อย ขาดแต่หนังสือแจ้งสาเหตุการจ้างออกจากงาน พยายามขอเอกสารไปทางฝ่ายบุคคลก็เงียบ ทางผมจะดำเนินการอะไรได้บ้างครับ

โดยคุณ สุรชัย จิตรพึงธรรม 14 มี.ค. 2561, 13:07

ความคิดเห็นที่ 984

ที่ทำงานของแฟนเค้าไลน์มาบอกเลิกจ้าง ไม่ได้บอกเหตุผลและไม่ได้บอกซึ้งๆน่า บอกแค่ว่าพรุ่งนี้ไม่ต้องไปทำงานแล้ว

แต่ว่าแฟนทำงานมาตั้งแต่บริษัทเปิดมา2ปีได้แล้วค่ะ 

ทางเจ้าของเค้าทำแบบนี้ 

จึงขอคำปรึกษาว่าเราสามารถเรียกร้องอะไรจากทางบริษัทได้บ้างค่ะ 

โดยคุณ ณัฏฐา 28 ก.พ. 2561, 21:45

ความคิดเห็นที่ 983

เริ่มงาน 7 สิงหาคม 2560

บริษัทแจ้งทดลองงาน 90วัน 

แต่ 90 วันผ่านไป ไม่มีการแจ้งบรรจุเป็นพนักงานประจำ


วันที่เท่าไหร่จำไม่ได้ชัดเจน มีเอกสารส่งมาขยายเวลาทดลองงานถึง 31 มกราคม 2561 (หาเอกสารไม่เจอ กำลังพยายามหาอยู่ค่ะ เพราะย้ายของออกจากที่ทำงาน )


วันที่ 20 มกราคม 2561 ทางผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ส่งข้อความมาแจ้งทางไลน์ว่า ผลการปฏิบัติงาน ไม่เป็นที่น่าพอใจ จำเป็นต้องยุติการทดลองงาน ในวันที่ 31 มกราคม 2561 และพยายามบังคับให้เขียนใบลาออก มิฉะนั้น จะออกหนังสือเลิกจ้าง และบันทึกประวัติเสียไว้ (พูดคุยทางโทรศัพท์ เนื่องจากสำนักงานใหญ่อยู่ กทม และ เราทำงานที่สาขาภูเก็ต ) 


เราไม่อยากมีปัญหา เลยจะส่งใบลาออกให้ แต่ขอตรวจดูเงินเดือนเดือนมกราคม 2561 ก่อน เนื่องจากบริษัท มักจะหักเงินเดือนโดยไม่มีการบอกกล่าวเสมอ พบว่ามีการหักเงินอย่างไม่ถูกต้อง

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 เราไม่เข้าไปทำงาน เพราะเค้าแจ้งเลิกจ้าง เราจึงส่งเมลเพื่อให้ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคลช่วยตรวจสอบเนื่องจากแจ้งทางการเงินแล้ว ไม่มีการตอบกลับ และคิดว่าคงไม่มีคนสนใจเนื่องจาก เราต้องออกจากงานอยู่แล้ว และ แจ้งให้จ่ายเงินชดเชย 1 เดือน เนื่องจากบริษัทแจ้งยุติการทดลองงาน และบังคับให้เขียนใบลาออก ในวันที่ 20 มกราคม 2561 และมีผลวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 ซึ่งน้อยกว่า 30 วัน โดยที่เราไม่ได้ทำผิดทางวินัยใดๆ แค่ยอดขายไม่เป็นไปตามเป้า 


ขอสอบถาม


1.เนื่องจากเค้าแจ้งเลิกจ้างทางวาจา และเราไม่เข้าไปทำงานตามที่นายจ้างแจ้ง หากบริษัทไม่ตอบสนองใดๆ หากเราขาดงานวันที่ 3 เราจะพ้นสภาพพนักงานทันที เราจะมีความผิด และไม่ได้เงินชดเชยหรือไม่


2.หากนายจ้างไม่ตอบสนองใดๆ เราควรร้องเรียนที่หน่วยงานใด ในจังหวัดภูเก็ต และควรกระทำให้เร็วที่สุดหรือไม่ วันไหน



โดยคุณ บุศรินทร์ 2 ก.พ. 2561, 12:03

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก