จัดระเบียบค่าธรรมเนียม+ดอกเบี้ย มะกันคุมเข้มธุรกิจบัตรเครดิต|จัดระเบียบค่าธรรมเนียม+ดอกเบี้ย มะกันคุมเข้มธุรกิจบัตรเครดิต

จัดระเบียบค่าธรรมเนียม+ดอกเบี้ย มะกันคุมเข้มธุรกิจบัตรเครดิต

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

จัดระเบียบค่าธรรมเนียม+ดอกเบี้ย มะกันคุมเข้มธุรกิจบัตรเครดิต

ข่าวทนายคลายทุกข์วันนี้เป็นข่าวเกี่ยวกับสหรัฐอเมริกาจะออกกฎหมายใหม่เกี่ยวกับการออกบัตรเครดิตสำหรับผู้บริโภค

บทความวันที่ 19 พ.ค. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 822 ครั้ง


จัดระเบียบค่าธรรมเนียม+ดอกเบี้ย มะกันคุมเข้มธุรกิจบัตรเครดิต

จัดระเบียบค่าธรรมเนียม+ดอกเบี้ย มะกันคุมเข้มธุรกิจบัตรเครดิต

 

ข่าวทนายคลายทุกข์วันนี้เป็นข่าวเกี่ยวกับสหรัฐอเมริกาจะออกกฎหมายใหม่เกี่ยวกับการออกบัตรเครดิตสำหรับผู้บริโภค โดยตามกระบวนการออกกฎหมายขณะนี้ผ่านความเห็นชอบจากวุฒิสภาแล้ว หลังจากผ่านออกมาจากสภาล่างเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา อีกทั้ง ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ยังประกาศเสียงเข้มว่าเขาต้องการเห็นร่างกฎหมายนี้ออกมาบังคับใช้โดยเร็วที่สุด

 

ร่างกฎหมายการออกบัตรเครดิตดังกล่าวจะมีผลโดยตรงต่อเงื่อนไขการออกบัตรเครดิตในสหรัฐ โดยมีเจตนารมณ์คุ้มครองผู้บริโภคและผู้ใช้บัตรไม่ให้ถูก เอาเปรียบจากการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรืออัตราดอกเบี้ยซ้ำซ้อนย้อนหลัง

 

แต่ในฝ่ายของบริษัทผู้ออกบัตรเครดิต ที่ต้องหารายได้จากค่าธรรรมเนียมและ ส่วนต่างดอกเบี้ยของหนี้ค้างชำระบัตรเครดิตแล้ว กฎหมายใหม่นี้กำลังสร้างความปั่นป่วนให้กับธุรกิจนี้อยู่ไม่น้อย ท่ามกลางสถิติการใช้บัตรเครดิตที่ลดลงของผู้บริโภค เนื่องจากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ ทำให้บริษัทผู้ออกบัตรต้องปรับอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงและเข้มงวดกับการจัดเก็บเงินค้างชำระให้เร็วมากขึ้น

 

ประเด็นสำคัญของกฎหมายฉบับนี้ คือ การระบุให้บริษัทผู้ออกบัตรเครดิตต้องแจ้งกับลูกค้าหรือผู้ถือบัตรตั้งแต่ครั้งแรกของการสมัครใช้บัตรว่าจะจัดเก็บอัตราดอกเบี้ยสูงสุดในกรณีมีเงินค้างชำระเท่าใด แทนที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยจากส่วนต่างของวงเงินค้างชำระเมื่อตามระยะเวลาที่ผ่านไป

 

แล้วยังกำหนดให้บริษัทบัตรเครดิตต้องเปิดเผยข้อมูลสำคัญหลายเรื่อง และจำกัดค่าธรรมเนียมให้เป็นแบบคงที่ ห้ามขึ้น ดอกเบี้ยย้อนหลังในกรณีมีเงินค้างบัญชี

 

ขณะที่สมาคมธนาคารอเมริกันกลับแสดงความกังวลและระบุว่ากฎหมายดังกล่าวจะทำให้เกิดข้อจำกัดของการเข้าถึง สินเชื่อที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะกับผู้ถือบัตรเครดิตกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ผู้บริโภค และเจ้าของกิจการขนาดเล็ก

 

ส่วนสมาพันธ์ผู้ค้าปลีกสหรัฐอเมริกา หรือ NRF ออกมาเรียกร้องให้วุฒิสภาพิจารณาการแก้ไขกฎหมายว่าควรต้องคำนึงถึงการดำเนินการของผู้ค้าปลีกที่ต้องการมอบส่วนลดราคาสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภคในกรณีที่ต้องการเลือกชำระค่าสินค้าและบริการด้วยเงินสด หรือ รูปแบบการชำระเงินอื่นๆ ที่มีราคาถูกกว่าการชำระด้วยบัตรเครดิตด้วย

 

สตีฟ ฟิชเตอร์ รองประธานอาวุโสของเอ็นอาร์เอฟ ด้านกิจการความร่วมมือกับภาครัฐระบุว่า ผู้ค้าปลีกน่าจะสามารถเสนอส่วนลดให้กับลูกค้าได้ตามกฎหมายโดย ไม่ต้องถูกแทรกแซงจากบริษัทบัตรเครดิตเพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายของผู้บริโภค

 

เนื่องจากปัจจุบันธนาคารผู้ออกบัตรเครดิตทั้งระบบวีซ่าและมาสเตอร์การ์ดกำหนดให้ผู้ค้าปลีกต้องจ่ายเงินจากการชำระด้วยบัตรเครดิตดังกล่าว 2% ของราคาสินค้าและบริการที่ลูกค้ารูดบัตรชำระ โดยเมื่อปี 2551 มีรายได้จากการจัดเก็บ ค่าธรรมเนียมนี้ 4.8 หมื่นล้านดอลลาร์ และเป็นภาระภาคครัวเรือนเฉลี่ยหลังละ 427 ดอลลาร์

 

ทั้งนี้ ธนาคารกลางสหรัฐระบุว่า เมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาหนี้บัตรเครดิตลดลง 6.8% โดยมีหนี้ค้างชำระถึงเดือน มี.ค. 9.32 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งนับว่าลดลงจากช่วงสูงสุดในเดือน ธ.ค. ที่อยู่ที่ระดับ 9.92 แสนล้านดอลลาร์

ขอขอบคุณ รายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์ประชาชาติ

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก