ธปท.เปิดช่องแบงก์ดึงกูรูแก้ไขหนี้เน่า |ธปท.เปิดช่องแบงก์ดึงกูรูแก้ไขหนี้เน่า

ธปท.เปิดช่องแบงก์ดึงกูรูแก้ไขหนี้เน่า

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ธปท.เปิดช่องแบงก์ดึงกูรูแก้ไขหนี้เน่า

ข่าวเกี่ยวกับสถาบันการเงินวันนี้ ทีมงานทนายความรายการทนายคลายทุกข์ขอนำข่าวของธปท.

บทความวันที่ 18 มิ.ย. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 873 ครั้ง


ธปท.เปิดช่องแบงก์ดึงกูรูแก้ไขหนี้เน่า 

          ข่าวเกี่ยวกับสถาบันการเงินวันนี้  ทีมงานทนายความรายการทนายคลายทุกข์ขอนำข่าวของธปท.เปิดช่องให้ธนาคารจับมือนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตั้งบริษัทบริหารเอ็นพีเอและเอ็นพีแอลได้

          นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายความเสี่ยง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ได้เสนอแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่ 2 (มาสเตอร์เพลน เฟส 2) ต่อรมว.คลังแล้ว หากผ่านความเห็นชอบจะสามารถนำมาใช้ได้ในปลายปีนี้
ทั้งนี้ สาระของแผนจะเสนอเพิ่มช่องทางในการบริหารสินทรัพย์รอการขาย (เอ็นพีเอ) และสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ได้คล่องตัวมากขึ้น เพราะมาสเตอร์เพลน เฟส 2 จะเปิดให้ธนาคารพาณิชย์สามารถร่วมมือกับนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ตั้งบริษัทร่วมทุนขึ้นมาทำหน้าที่คล้ายๆ บริษัทบริหารสินทรัพย์ เพื่อให้ช่วยระบายเอ็นพีเอและเอ็นพีแอลเป็นการเฉพาะได้

          นายสมบูรณ์ กล่าวว่า ธปท.จะจำกัดสัดส่วนการถือหุ้น บริษัทร่วมทุนบริหารที่จะจัดตั้งขึ้น และจำกัดว่าเป็นเอ็นพีแอลหรือเอ็นพีเอที่เข้ามาในช่วงเวลาใด รวมทั้งจำกัดขอบเขตในการพัฒนาด้วย ซึ่งสาเหตุที่จะให้ธนาคารพาณิชย์ถือหุ้น น้อยกว่าฝ่ายนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เช่น อาจจะให้ถือหุ้นในสัดส่วน 40 : 60 เพราะมองว่าการบริหารทรัพย์ไม่ใช่ธุรกิจหลัก เป็นแค่เครื่องมือเสริมในการให้ได้เงินกลับมาเร็วขึ้นเท่านั้น และส่วนหนึ่งต้องระมัดระวังผลกระทบที่จะมีต่อเงินกองทุนของธนาคารด้วย

          “บริษัทร่วมทุนจะช่วยแบงก์ได้ เช่น แบงก์รับที่ดินแปลงใหญ่ 100-200 ไร่เข้ามา จะขายออกทั้งแปลงก็ทำไม่ได้ เพราะทำเลไม่เหมาะ ต่อไปก็ใช้บริษัทนี้ไปพัฒนา น้ำ ไฟ หรือซอยย่อยที่ดินแบ่งขายตามความเหมาะสมได้ ถ้าเหมาะทำการค้าพาณิชย์หรือเหมาะทำการเกษตรก็ขายเพื่อทำการเกษตรได้ แต่ในเรื่องรายละเอียดขอบเขตการพัฒนาธปท.คงจะดูอีกครั้งก่อนใช้” นายสมบูรณ์ กล่าว

          นายสมบูรณ์ กล่าวว่า สาเหตุที่ธปท.เล็งเปิดช่องการบริหารสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เพราะได้รับคำแนะนำจากโครงการประเมินความพร้อมในการกำกับดูแลภาคการเงินตามมาตรฐานสากล (Financial Sector Assess ment Program : FSAP) ซึ่งเข้ามาตรวจสอบการกำกับดูแลของธปท.ก่อนหน้านี้ด้วย

ขอขอบคุณรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก