คดีทุจริตคอรัปชั่น/ป.ป.ช./งานวิจัย|คดีทุจริตคอรัปชั่น/ป.ป.ช./งานวิจัย

คดีทุจริตคอรัปชั่น/ป.ป.ช./งานวิจัย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คดีทุจริตคอรัปชั่น/ป.ป.ช./งานวิจัย

ทนายคลายทุกข์ขอนำรายงานพิเศษจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

บทความวันที่ 1 ก.ย. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 20664 ครั้ง


วิจัยปปช.เผยขรก.ระดับสูง-ส.ส.-ส.ว.-รมต.ร่วมทุจริต3พันคดี

 

          ทนายคลายทุกข์ขอนำรายงานพิเศษจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ  วิเคราะห์เกี่ยวกับ "วิชา"หวั่นชาติล่มจม เหตุส.ส.-ส.ว.-รมต.ร่วมทุจริตร่วม 3,000คดี อัดโครงการชุมชนพอเพียงเข้าข่ายทุจริตนโยบาย พบธุรกิจจ่ายสินบน1.2แสนล้านบาท/ปี

ที่สโมสรกองทัพบก ถนนวิภาวดีรังสิต เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ที่ผ่านมา สถาบันป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สัญญา ธรรมศักดิ์ ได้จัดสัมมนาวิชาการประจำปี และมีการอภิปรายเรื่อง“ทุจริตคอร์รัปชั่นหมดไปสังคมไทยได้อะไรคืนมา” โดยนายวิชา มหาคุณ กรรมการป.ป.ช. และนางเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

นายวิชา กล่าวตอนหนึ่งว่า ปัจจุบันมีคดีคอร์รัปชั่นค้างพิจารณาของ ป.ป.ช. 3,657 คดี แยกเป็นคดีทุจริตทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 371 คดี ผู้ทำผิดเป็นลูกจ้างของรัฐ กระทำการทุจริตและประเภทการทุจริตการจัดทำบริการสาธารณะ 34 คดี ผู้ทำผิดเป็นข้าราชการและลูกจ้างของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน ส่วนทุจริตการก่อสร้างสถานที่ราชการ 26 คดี ผู้ทุจริตส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ และลูกจ้างของรัฐ

ขณะที่ การทุจริตการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ 293 คดี พบข้าราชการและลูกจ้างของรัฐทำผิดมากที่สุด 256 คดี โดยมีข้าราชการระดับสูง และ ส.ส. ส.ว. และ รัฐมนตรีเข้าไปเกี่ยวข้องถึง 14 คดี

สำหรับการทุจริตผิดกฎหมาย มาตรา 157 เรื่องการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ พบข้าราชการระดับสูงถึง 2,933 คดี ข้าราชการระดับสูง ส.ส. และส.ว. รัฐมนตรี ร่วมกระทำการทุจริต 76 คดี โดยมีข้าราชการและลูกจ้างของรัฐร่วมทำผิด 2,481 คดี พนักงานรัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน 363 คดี เจ้าหน้าที่ของรัฐตาม พ.ร.บ.ประกอบ 3 คดี

นอกจากนี้ ปปช. ยังพบอีกว่า ยังมีการทำทุจริตของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองระดับท้องถิ่น 2,632 คดี โดยแยกเป็นการทุจริต 2,054 คดีทุจริตและร่ำรวยผิดปกติ 36 คดี ฮั้วและทุจริต 542 คดี ขณะที่การทุจริตของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในเขต กทม. พบว่ามีการทุจริต 132 คดี แยกเป็นทุจริต 106 คดี ทุจริตและร่ำรวยผิดปกติ 2 คดี ฮั้วและทุจริต 24 คดี

การทุจริตของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท้องถิ่นในเขตเมืองพัทยาพบการทุจริต 4 คดี เช่นเดียวกับการทุจริตของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในท้องถิ่น อบต.มีมากกว่า 1,000 คดี ซึ่งจะเห็นได้มีปริมาณเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ปัจจุบันมีบัญชีที่ ป.ป.ช.ต้องตรวจสอบ 48,035 ราย แต่ตรวจสอบเสร็จได้เพียงเกือบ 6,000 ราย และค้างการตรวจสอบแยกเป็น ส.ส. ส.ว.และรมต.จำนวน 8,511 ราย และนักการเมืองท้องถิ่น 37,074 ราย

นายวิชา กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหาการทุจริต ป.ป.ช.ตรวจสอบพบมากที่สุดขณะนี้ คือ การคอร์รัปชั่นเชิงนโยบาย และผลประโยชน์ทับซ้อนโดยออกกฎหมายมารองรับในลักษณะถูกกฎหมาย แต่ขัดผลประโยชน์สาธารณะ โดยใช้ความได้เปรียบและเงื่อนไขทางการเมืองเอาเปรียบประชาชน คิดโครงการเพื่อโกงอย่างเดียว

"นักการเมืองบางคนทำธุรกิจกับตัวเอง โดยการตั้งบริษัทและเสนอโครงการเพื่อทำสัญญากับตัวเอง โดยเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขกับเครือญาติและจัดสรรทรัพยากรของรัฐ นำโครงการลงในเขตเลือกตั้งของตัวเอง ใช้อำนาจแทรกแซงรัฐวิสาหกิจ จัดซื้อจัดจ้าง และมีการทำทุจริตเป็นฤดูกาลกับภาคการเกษตร เช่น ทุจริตเรื่องข้าว ลำไย มันสำปะหลัง หาเรื่องโกงได้ทุกโครงการ ถือเป็นเรื่องอันตรายทำให้ชาติล่มจมได้ ที่ผ่านมาป.ป.ช.ยอมรับว่าการพิจารณาคดีบางเรื่องล่าช้าไปบ้างเพราะติดขัดเจ้าหน้าที่ ซึ่งกำลังแก้ไขปัญหาด้วยการสร้างพนักงานไต่สวนขึ้นมาทำงานตามกฎหมายใหม่ ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภา” นายวิชา กล่าว

ด้าน นางเสาวนีย์ กล่าวว่า หลังจากได้รับทุนจากป.ป.ช.ทำวิจัยเรื่องสถานการณ์การทุจริตในประเทศไทยเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา จากการสุ่มตัวอย่างจากนักธุรกิจที่มองปัญหาการคอร์รัปชั่นในประเทศไทย โดยเปรียบเทียบกับในช่วง 5 ปีที่ผ่านมากับปัจจุบัน ส่วนใหญ่เห็นการทุจริตยังมีปริมาณเท่าเดิม ไม่แตกต่างกันนัก

นักธุรกิจถือเอาการทุจริตเป็นต้นทุนการประกอบธุรกิจ จำเป็นต้องจ่ายให้กับหน่วยงานรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐ โดย องค์กรหน่วยงานของรัฐ 5 ลำดับก่อการทุจริตคอร์รัปชั่นมากที่สุด คือ องค์กรตำรวจ นักการเมือง กรมศุลกากร องค์กรท้องถิ่น อบต. อบจ. สาธารณสุข กรมทางหลวง อย่างโยธาและผังเมือง โดยจ่ายเป็นจำนวนเงิน 1-2 % ของรายรับจากธุรกิจ เพื่อต้องการได้รับใบอนุญาตในการติดต่อเสียภาษี ความสะดวกสบายในการอนุมัติโครงการ

ผลการวิจัยยังระบุอีกว่า นักธุรกิจได้เปรียบเทียบปัญหาการทุจริตในช่วงรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร, ชวน หลีกภัย และอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในช่วงรัฐบาลทักษิณ มีการอำนวยความสะดวกให้กับนักธุรกิจมาก แต่ก็พบการทุจริตมากเป็นอันดับ 1 นอกจากนี้ ยังมีการปั้นโครงการเพื่อฮั้วประมูล ทำสัญญานิติกรรม มีการล็อคสเปคโครงการการตัดถนนผ่านที่ดินของพวกพ้องเครือญาติ การสร้างมูลโครงการอันเป็นเท็จ การแก้แบบเพื่อเลี่ยงภาษี และการเลือกตรวจสอบโครงการบางประเภทเพื่อรับมอบงาน

"เทรนใหม่การทุจริตที่จะพบเพิ่มขึ้นในอนาคต คือ การปั้นโครงการ การทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง การใช้ข้อมูลภายในโดยอ้างความจำเป็นเร่งด่วน เป็นโครงการประชานิยม นอกจากนี้นักธุรกิจส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการจ่ายเงินใต้โต๊ะเป็นเรื่องปกติ เพื่ออำนวยความสะดวก โดยไม่ต้องระบุตัวเลข หากดูจากประวัติศาสตร์การเปลี่ยนรัฐบาลจะพบว่า การทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นทุกรัฐบาล และถูกนำมาเป็นเงื่อนไขในการทำรัฐประหาร หากประเมินตัวเลขรัฐสูญเสียจากการทุจริตรูปแบบต่างๆ พบว่ามีมูลค่าความเสียหายอยู่ระหว่าง 30,000 - 1.2 แสนล้านบาทต่อปี"

นักวิจัย ป.ป.ช.ยังกล่าวอีกว่า การจ่ายเงินสินบนในความเป็นจริงแล้วพบว่า ยิ่งจ่ายมากยิ่งทำให้โครงการล่าช้า เพื่อจะเอาเงินต่อไปเรื่อยๆ ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น และที่สำคัญทำให้สังคมเกิดการสูญเสียได้รับผลกระทบจากโครงการสาธารณะที่ไม่มีประสิทธิภาพ

องค์กรอิสระ-นักวิชาการชี้บรรษัทข้ามชาติร่วมวงทุจริตนโยบายรัฐ

อีกตอนหนึ่ง นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) อภิปรายว่า การทุจริตที่สังคมไทยเผชิญอยู่ขณะนี้คือการทุจริตเชิงนโยบาย หรือผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นการคอร์รัปชั่นที่บางครั้งถูกกฎหมาย แต่ผิดหลักประโยชน์ของสาธารณะ หลักจริยธรรม ใช้เงื่อนไขทางการเมืองเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มบุคคล เช่น กรณีเครื่องกดน้ำที่ยัดเยียดให้ชุมชน ไปบังคับให้ชาวบ้านเซ็นรับ เป็นการโกงทางนโยบาย บางเครื่องยังเอากุญแจล็อคไว้ เปิดใช้ไม่ได้ นี่คือการคอร์รัปชั่นที่ผิดกฎหมายและจริยธรรมในระยะเวลาเดียวกัน

ทั้งนี้ ป.ป.ช.พร้อมสอบโครงการชุมชนพอเพียง ขณะนี้มีคนร้องเรียนป.ป.ช.แล้ว และยังพบว่า นักการเมืองเริ่มล้วงลูกข้าราชการไปจนถึงระดับ ซี 3 - 4 แล้ว ไม่ได้ล้วงเฉพาะหัวเหมือนในอดีต ซึ่งป.ป.ช.กำลังออกกฎหมายใหม่ว่า หากข้าราชการไม่ให้ความร่วมมือกับการทุจริต และนำข้อมูลการทุจริตมาให้ จะไม่สามารถโยกย้ายข้าราชการคนดังกล่าวออกจากตำแหน่งได้ และจะถูกกันไว้เป็นพยาน หากสามารถปราบการทุจริตได้สำเร็จ   ข้าราชการก็จะได้รับรางวัลเป็นการปูนบำเหน็จด้วย  

นายจรัญ ภักดีธนากุล ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า อยากเรียกร้องให้ป.ป.ช.เข้าไปตรวจสอบโครงการชุมชนพอเพียง เพราะมีการนำเงินจำนวนมากลงไป แต่ไม่มีการตรวจสอบ เพราะทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ก็ได้ประโยชน์ทุกคน ทั้งคณะกรรมการและชาวบ้าน นโยบายและกฎหมายก็ทำถูกต้อง การบริหารจัดการลงตัวหมด แต่มีผู้เสียประโยชน์คือประเทศชาติที่ถูกล้างผลาญ ดังนั้นป.ป.ช.ควรเข้าไปเป็นหัวขบวนตรวจสอบ

ตัวแทน"สภาพัฒน์"ระบุต่างชาติโดดร่วมวงคอร์รัปชั่นนโยบาย

นายอุทิศ ขาวเธียร รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)กล่าวว่า ในอนาคตการทุจริตเชิงนโยบายจะขยายตัว นอกจากจะเป็นความร่วมมือของนักการเมือง ข้าราชการ และนักธุรกิจแล้ว ยังมีกลุ่มธุรกิจข้ามชาติมาร่วมเป็นผู้เล่นด้วย เนื่องจากมีผลประโยชน์ต้องกัน

โดยการทุจริตเชิงนโยบายในอนาคตจะเป็นโครงการใหญ่ขึ้น ไม่มีโครงการกระจอกอีกแล้ว เพราะเสียเวลา ไม่คุ้มค่า หากเป็นโครงการขนาดเล็กก็จะรวมเป็นแพ็คเกจ เพื่อให้ได้งบมากขึ้น โดยอ้างความจำเป็นเฉพาะหน้า และการแก้ปัญหาให้คนยากจน จะจูงใจชาวบ้านด้วยผลประโยชน์ส่วนเสี้ยว การทุจริตในอนาคตจะเป็นแบบไฮบริด เป็นพันธุ์ผสมและมีการดื้อยา หากไม่เตรียมตัวตั้งแต่ต้น ป.ป.ช.ก็จะกลายเป็นตัวตลก

ขอขอบคุณรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

 ผมคิดว่าถ้าประเทศของเรานั้นไม่มีการโกงประเทศชาติของเรานั้นก็จะดียิ่งขึ้น

โดยคุณ ดลวัชร ใจนันตา 2 มี.ค. 2559, 14:04

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก