นักสืบ/ดีเอสไอ/ละเมิดเครื่องหมายการค้า/การสืบสวนและดำเนินคดีเครื่องหมายการค้า|นักสืบ/ดีเอสไอ/ละเมิดเครื่องหมายการค้า/การสืบสวนและดำเนินคดีเครื่องหมายการค้า

นักสืบ/ดีเอสไอ/ละเมิดเครื่องหมายการค้า/การสืบสวนและดำเนินคดีเครื่องหมายการค้า

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

นักสืบ/ดีเอสไอ/ละเมิดเครื่องหมายการค้า/การสืบสวนและดำเนินคดีเครื่องหมายการค้า

นักสืบทนายคลายทุกข์ขอให้คำแนะนำเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ถูกละเมิดเครื่องหมายการค้า

บทความวันที่ 10 ก.ย. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 4320 ครั้ง


นักสืบ/ดีเอสไอ/ละเมิดเครื่องหมายการค้า/การสืบสวนและดำเนินคดีเครื่องหมายการค้า

 

          นักสืบทนายคลายทุกข์ขอให้คำแนะนำเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ถูกละเมิดเครื่องหมายการค้าเป็นข้อ ๆ ดังนี้
         1.  เมื่อมีข่าวว่ามีการลักลอบผลิตสินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าให้ว่าจ้างนักสืบสืบหาข้อมูลในทางลับก่อน
         2.  หลังจากได้ข้อมูลแล้ว  ให้ร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกรมสอบสวนคดีพิเศษ คือ ปสท  เพื่อขอหมายศาลจากศาลทรัพย์สินทางปัญญา  เข้าทำการตรวจค้นและยึดของกลาง
         3.  การละเมิดเครื่องหมายการค้า  มีความผิดตาม พรบ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534  มาตรา 108(ปลอมเครื่องหมายการค้า), มาตรา 109  (เลียนแบบเครื่องหมายการค้า), มาตรา 110  (นำเข้าหรือให้บริการเครื่องหมายการค้าปลอม),มาตรา 111 (แสดงจำหน่ายให้บริการโดยรู้ว่าเป็นเท็จ), ถ้าผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล  บุคคลผู้รับผิดชอบนิติบุคคลต้องร่วมรับผิดตามมาตรา 114, สินค้าที่ละเมิดเครื่องหมายการค้าให้ริบ ตามมาตรา 115
          4.  สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้ามีสิทธิแต่ผู้เดียวในการใช้ประโยชน์ ตามมาตรา 44  เครื่องหมายการค้าต้องมีการจดทะเบียนจึงจะมีสิทธิตามกฎหมาย ตามมาตรา 46
          5.  เครื่องหมายการค้ามีอายุ 10 ปี  นับแต่วันจดทะเบียนตามาตรา 53
 
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
มาตรา44 
ภายใต้บังคับมาตรา 27 และมาตรา 68 เมื่อได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าแล้ว ผู้ซึ่งได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า เป็นผู้มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้เครื่องหมายการค้านั้นสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้

มาตรา 46  บุคคลใดจะฟ้องคดี เพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน หรือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดสิทธิดังกล่าว ไม่ได้
         บทบัญญัติมาตรานี้ไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ไม่ได้จดทะเบียน ในอันที่จะฟ้องคดีบุคคลอื่นซึ่งเอาสินค้าของตนไปลวงขายว่าเป็นสินค้าของเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น

มาตรา 53  การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้มีอายุสิบปีนับแต่วันที่จดทะเบียนตามมาตรา 42และอาจต่ออายุได้ตามมาตรา 54
         อายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามวรรคหนึ่ง มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างการดำเนินคดีทางศาลตามมาตรา 38 ด้วย

มาตรา 108  บุคคลใดปลอมเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักรต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสี่ปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 109  บุคคลใดเลียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นที่ได้จดทะเบียนแล้วในราชอาณาจักร เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 110  บุคคลใด
(1) นำเข้ามาในราชอาณาจักร จำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมปลอมตามมาตรา108 หรือที่เลียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่น ตามมาตรา 109 หรือ
(2) ให้บริการหรือเสนอให้บริการที่ใช้เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมปลอมตามมาตรา108 หรือที่เลียนเครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมของบุคคลอื่นตามมาตรา 109
ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้นๆ

มาตรา 111  บุคคลใด
(1) แสดงเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมที่มิได้จดทะเบียนในราชอาณาจักรว่าเป็นเครื่องหมายดังกล่าวที่ได้จดทะเบียนในราชอาณาจักรแล้ว
(2) จำหน่ายหรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วมตาม (1) ที่ตนรู้อยู่ว่าเป็นเท็จ หรือ
(3) ให้บริการหรือเสนอให้บริการโดยแสดงเครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง หรือเครื่องหมายร่วมตาม (1) ที่ตนรู้อยู่ว่าเป็นเท็จ
         ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

มาตรา 114 ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของนิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการ การกระทำ หรือไม่สั่งการ หรือไม่กระทำการอันเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำของกรรมการผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆด้วย

รายละเอียดรายงานข่าว
         ดีเอสไอบุกจับโรงงานผลิตน้ำมันเครื่องเถื่อนย่านบางพลี สมุทรปราการ มูลค่ากว่า 10 ล้าน ด้าน ผู้จัดการ รง. อ้างมีสัญญาดำเนินการถูกต้อง แต่ยังไม่สามารถนำมายืนยันต่อ จนท. ได้

         เมื่อเวลา15.00 น.วันที่ 9 ก.ย. พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข ผู้บัญชาการสำนักคดีทรัพย์สินทางปัญญา กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) พ.ต.ท.วีรวัชร เดชบุญภา ผู้อำนวยการส่วนคดีทรัพย์สินทางปัญญา กรมสอบสวนคดีพิเศษ พ.ต.ท.บรรณฑูรย์ ฉิมกรา พนักงานสอบสวน คดีพิเศษ  เข้าตรวจค้น บริษัท อาร์ เอ ซี โกบอลอินเตอร์เนชั่นแนล เลขที่ 90 หมู่ 18 ต.ราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ หลังรับแจ้งจาก นายสมาน รอดศิลป์ ตัวแทนของบริษัทเอลฟ์อากิแตน จำกัด ว่าโรงงานดังกล่าวลักลอบผลิตและจำหน่ายน้ำมันเครื่องเอลฟ์ สำหรับใช้กับรถจักรยานยนต์

          นายสมานกล่าวว่า ก่อนหน้านี้บริษัทตนได้ว่าจ้างให้บริษัทดังกล่าวผลิตน้ำมันเครื่อง แต่เมื่อหมดสัญญา  ก็มิได้มีการต่อสัญญาให้โรงงานดังกล่าวผลิตน้ำมันแต่อย่างใด จากนั้น  ได้สืบทราบว่า โรงงานดังกล่าวได้ลักลอบผลิตน้ำมันเครื่องรถจักรยานยนต์โดยติดยี่ห้อเอลฟ์  ออกจำหน่ายอยู่ จึงได้ประสานเจ้าหน้าที่ดีเอสไอเข้ามาตรวจสอบที่โรงงานดังกล่าว

          พ.ต.อ.ประเวศน์  กล่าวว่า หลังได้รับการร้องเรียนจึงได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าสืบสวนติดตามพฤติกรรมการ ทำงานของบริษัทดังกล่าว กระทั่งทราบว่า ที่โรงงานดังกล่าวยังผลิตน้ำมันเครื่องยี่ห้อเอลฟ์ ออกจำหน่าย  จึงได้นำน้ำมันเครื่องดังกล่าวไปตรวจสอบแล้วพบว่าน้ำมันเครื่องที่ลักลอบ ผลิตไม่ได้มาตรฐานจริง จึงได้ขอหมายค้น เลขที่ 602และ603/2552  จากศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เข้าทำการตรวจค้น พบว่า ที่โรงงานดังกล่าวยังมีการลักลอบผลิตน้ำเครื่องโดยใช้ยี่ห้อ เอลฟ์ ออกจำหน่าย จริง จึงทำการยึดน้ำมันเครื่องทั้งหมด ที่อยู่ระหว่าง ผลิตจำนวนมาก  มูลค่ารวมกว่า 10 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังพบว่า ยังมีน้ำมันเครื่องที่ผลิตพร้อมจำหน่าย เตรียมส่งให้เอเย่นต์ ประมาณ 4,000 ลัง เก็บอยู่ในโกดัง ให้เช่า ตึกบี3 เลขที่ 222/4 เป็นโกดังชั้นเดียว  ห่างจากโรงงานดังกล่าวประมาณ 100 เมตร ต่อมา  พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ  เดินมาร่วมตรวจสอบยังโรงงาน และโกดังเก็บน้ำมันเครื่อง

          ด้านนายชัยยุทธ ชวลิต ชูวงษ์ รับเป็นผู้จัดการของบริษัทดังกล่าว เบื้องต้นให้การปฏิเสธ โดยจะหาเอกสารเพื่อมายืนยันต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ ที่ทำสัญญากับทางบริษัทปิโตรนาส แต่ยังไม่สามารถหาเอกสารมายืนยันได้  เจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงได้อายัดน้ำมันเครื่องของกลาง พร้อมกับเชิญตัว ผู้จัดการบริษัทมาสอบปากคำอย่างละเอียดอีกครั้งเพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อ ไป

ขอขอบคุณรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก