รถมีปัญหาหลังซ่อมอู่ต้องรับผิดชอบหรือไม่
ขอสอบถามหน่อยครับ เอารถไปซ่อม ลักษณะคือ รถกระตุกๆ เป็นพักแล้วขับ แต่พอทนวิ่งได้ (รถเก่า ฟอร์ด เอสปาร์ย) แล้วเอาไปซ่อม ที่อู่แห่งหนึ่ง 3 วันผ่านไป บอกเสร็จไปเอา วิ่งได้ 3 กิโลเมตร เครื่องขับ เป็นเหมือนเดิม เจ้าของอู่ มานำรถกลับคืนเงิน แล้วเอาไปซ่อมใหม่ 7 วัน โทรมาบอกเสร็จ เสียไป 8500 บาท วิ่งได้ 1 วัน ดี พอผ่านไป 3-4 วันก็เป็นอาการเดิม โทรหาอู่ บอกติดเทศกาลตรุ่นจีน ประมาณ วันที่ 9 เอาไปเช็ด นั่งรถ (เพราะรถต้องใช้งาน) ช่างมาถอดตัวกรอก ถอดฝาสูบ แล้วประกอบเข้าไปใหม่ และถอดสายไฟที่ต่อออก 1 ชุด(ตามที่เห็น) รถวิ่งได้ พอผ่านไป สัก 3-4 วันก็เป็นอาการเดิม
วันที่ 16 เอาไปเช็ดใหม่ ก็กลับมาเป็นเหมือนเดิม วันที่ 23 รถสตาร์ไม่ติด เรียกเจ้าของอู่มา บอกแบตตอรีหมด เปลี่ยนก็ยังเป็นอาการเดิม แล้วเอารถไปทำใหม่ ทางอู่ บอกเสียที่กล่องดำ และคอยส์ไปอีก 400 บาท วันที่ 25 ก็เป็นอาการเดิมอีก จนถึงวันนี้ก็เอาไปแก้บอกจะต้องเปลี่ยนโน่นเปลี่ยนนี้อีก(ยังไม่ได้รถกลับคืนมา) ผมและครอบครัว บอกว่า ซ่อมรถแบบนี้ได้ไง ซ่อมไม่ถูกจุดแล้ว เปลี่ยนไปมั่วไปหมด ทางอู่บอกว่า ผมเป็นช่างหรือจึงรู้ว่า สิ่งที่เปลียนไปแล้วไม่เสีย แฟนผมก็บอกว่า ถ้าเปลี่ยนหรือซ่อมตรงจุดเสีย ต้องไม่เป็นแบบเดิมอีกซิ
ลักษณะแบบนี้เข้าข่ายฉ้อโกง (ตามความเข้าใจและตามหลักกฏหมายใช่ใหมครับ) เพราะแสดงว่า ทางอู่ ไม่มีความสามารถ ซ่อมไม่ได้ (ในปัจจุบันนี้ก็ยังไม่นำรถมาคืนเลย) แล้วก็อ้างโน่น อ้างนี้สารพัด เพื่อดึงรถเอาไว้ เราไม่ใช่ช่าง รถจะไปรู้ได้ไงว่าอะไรเสีย เรารู้อย่างเดียวว่า เสียเงิน แล้ว ของที่ซ่อม อาการที่เสียจะต้องหาย หรือใช้งาน ได้นานๆทางอู่บอกว่า รถออกจากอู่วิ่งได้ จะให้รับผิดชอบได้ไง เป็นคำตอบที่ เห็นแก่ตัว และไม่รับผิดชอบใดๆเลย เพื่อนๆ และบุคคลที่อ่าน คงเข้าใจว่า เราเสียเงินแล้ว รถก็ไม่ได้ใช่ ทางอู่เอาไปจอดไว้ แล้วอ้างสารพัด บอกให้เอารถมาคืน ก็ไม่ยอม
คำแนะนำทนายคลายทุกข์
กรณีของคุณที่นำรถเข้าซ่อมที่อู่ แล้วทางอู่ทำการซ่อม ปรากฎว่าปัญหาไม่หายยังมีอาการผิกปกติอยู่ เรื่องของคุณจึงของคุณจึงเป็นเรื่องของการจ้างทำของ ซึ่งทางอู่เป็นผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการซ่อมรถยนต์ตามที่มีปัญหาเกิดขึ้นจนสำเร็จให้แก่คุณซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง และคุณในฐานะผู้ว่าจ้าง ตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการจ้างอู่ซ่อมรถ ก็คืออาการที่เกิดขึ้นแก่รถหายไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 587 ซึ่งเมื่อทางอู่ซ่อมแล้ว ปรากฏว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นไม่หาย คุณก็ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างทำของแก่ทางอู่ได้ เพราะทางอู่ได้ทำการซ่อมรถชักช้าโดยปราศจากความผิดของคุณซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง และประกันอู่ซ่อมไม่ตรงกับปัญหาที่เกิดนั้น ผู้ว่าจ้างจึงสามารถบอกเลิกสัญญาได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 593
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 587 อันว่าจ้างทำของนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้าง ตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น
มาตรา 593 ถ้าผู้รับจ้างไม่เริ่มทำการในเวลาอันควร หรือทำการชักช้าฝ่าฝืนข้อกำหนดแห่งสัญญาก็ดี หรือทำการชักช้าโดยปราศจากความผิดของผู้ว่าจ้าง จนอาจคาดหมายล่วงหน้าได้ว่าการนั้นจะไม่สำเร็จภายในกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ก็ดี ผู้ว่าจ้างชอบที่จะเลิกสัญญาเสียได้ มิพักต้องรอคอยให้ถึงเวลากำหนดส่งมอบของนั้นเลย