อบรมสัมมนา / เทคนิคการทวงหนี้ 13 ข้อ ที่นักทวงหนี้ต้องมี ตอนที่ 1|อบรมสัมมนา / เทคนิคการทวงหนี้ 13 ข้อ ที่นักทวงหนี้ต้องมี ตอนที่ 1

อบรมสัมมนา / เทคนิคการทวงหนี้ 13 ข้อ ที่นักทวงหนี้ต้องมี ตอนที่ 1

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

อบรมสัมมนา / เทคนิคการทวงหนี้ 13 ข้อ ที่นักทวงหนี้ต้องมี ตอนที่ 1

ทนายคลายทุกข์โดยทีมวิทยากรฝึกอบรมของสำนักฝึกอบรมทนายคลายทุกข์ ขอนำเสนอบทความเชิงวิชาการ เกี่ยวกับเทคนิคการทวงหนี้ทางโทรศัพท์

บทความวันที่ 17 เม.ย. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 64783 ครั้ง


                                  อบรมสัมมนา / เทคนิคการทวงหนี้ 13 ข้อ ที่นักทวงหนี้ต้องมี

            ทนายคลายทุกข์โดยทีมวิทยากรฝึกอบรมของสำนักฝึกอบรมทนายคลายทุกข์ ขอนำเสนอบทความเชิงวิชาการ เกี่ยวกับเทคนิคการทวงหนี้ทางโทรศัพท์ / เทคนิคการทวงหนี้ภาคสนาม 13 ข้อที่นักทวงหนี้จำเป็นต้องมี หากไม่มีลืมไปเลยเรื่องความสำเร็จในการทวงหนี้ บทความนี้จัดทำขึ้นโดย อ.เดชา กิตติวิทยานันท์ วิทยากรฝึกอบรมนักทวงหนี้ ที่โด่งดังที่สุดในวงการ และมีผลงานในการฝึกอบรมทั้งภาครัฐและเอกชน
                ท่านใดสนใจที่จะเชิญ อ.เดชา กิตติวิทยานันท์ ไปเป็นวิทยากรฝึกอบรม สอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-948-5700 และในวันที่ 26,27 เมษายน 2553 นี้ จะมีการจัดฝึกอบรมแบบพลับพลิค ที่โรงแรมเจ้าพระยาปาร์ค สำหรับบุคคลทั่วไป ท่านใดสนใจ เชิญเข้าร่วมนะครับ
                เทคนิคการทวงหนี้ ที่ใช้ในการฝึกอบรมนักทวงหนี้ที่เป็นหัวใจของการทวงหนี้มีดังนี้
1. เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับข้อมูลของลูกหนี้
-เงินต้น / ดอกเบี้ยค้างชำระ / เบี้ยปรับล่าช้า / ใครเป็นผู้เช่าซื้อ / ใครเป็นผู้ค้ำประกัน / เบอร์โทรบ้าน / ที่ทำงาน / มือถือ / สามี / ภรรยาของลูกหนี้
                ถ้าไม่เตรียมอะไรจะเกิดขึ้น
-          โทรผิดเบอร์ / โทรผิดคน / เกิดอารมณ์โต้เถียงกัน / ทะเลาะวิวาท / แทนที่จะเอาสติปัญญาไปใช้ในการทำงาน ต้องมาเสียอารมณ์กับเรื่องปัญญาอ่อน / ไร้สาระ / หรือเสียเวลามาเปล่า ๆ
-          ไม่รู้ยอดหนี้ / ทวงยอดเงินผิดพลาด / ลูกหนี้จะด่ากลับว่าคุณเป็นพนักงานของ ไฟแนนซ์ จริงเปล่า หรือเป็นพวก 18 มงกุฎ โทรมาหลอกลวงประชาชน / กูไม่คุยกับมึง กูจ่ายแล้ว มึงบอกว่าก็ยังไม่จ่าย / บริษัทพวกมึงขี้โกง / รับเงินแล้วไม่ออกใบเสร็จ
                   GO SO BIG (ไปกันใหญ่)
-          โทรผิดคน เรื่องใหญ่แน่ เพราะคนไม่ใช่ลูกหนี้ แต่ถูกทวงหนี้ ลองคิดดู ไม่มีใครยอม / เขาต้องด่ากลับแน่นอน / เป็นการละเมิดสิทธิบุคคลอื่น / ภาพลักษณ์องค์กรเสียหาย มองว่า ไฟแนนซ์ ไม่มีมาตรฐาน ไม่ใช่มืออาชีพ ทางเลือกของ ไฟแนนซ์ ต้องไล่พนักงานออก / ท่านก็ไม่มีงานทำหรือใครอยากถูกร้องเรียนและ ไฟแนนซ์ ไล่ท่านออกจากเป็นการนักทวงหนี้ ยกมือขึ้นครับ ถ้าใครไม่กล้ายกมือให้เขียนเป็นโน้ตส่งให้ผมก็ได้ครับ
สรุป ประโยชน์ในการเตรียมความพร้อม
1.     ทวงหนี้ได้ถูกคน
2.     ถูกต้องตามมูลหนี้ที่ค้างชำระ
3.     ถูกต้องตามกฎหมายและศีลธรรม
4.     ถูกต้องตามนโยบายขององค์กร(ถูกใจเจ้านาย ถ้าไม่ถูกใจการทวงหนี้ของท่านในครั้งนี้ อาจเป็นรอบ PLAY OFF  หรือแพ้คัดออก เพราะ ไฟแนนซ์ ไม่มีนโยบายที่จะรักษาพนักงานที่ทำงานเฟอะฟะไว้ในองค์กรอีกต่อไป)
2. ตรวจสอบประวัติการทวงหนี้ในอดีต
                - คำคม อดีตสะท้อนปัจจุบัน ปัจจุบันสะท้อนอนาคตใครไม่มีอนาคตยกมือขึ้น ใครอยากเป็นนักทวงหนี้ที่
                           มีอนาคตยกมือขึ้น
-          อดีตเป็นอย่างไร ปัจจุบันก็เป็นอย่างนั้น และอนาคตก็คงเป็นอย่างนั้นบางคนบอกผมเป็นนักทวงหนี้ เลวเสมอต้นเสมอปลาย เป็นคนสม่ำเสมอตลอด / ในห้องนี้มีไหม ใครที่เลวเสมอต้นเสมอปลายยกมือขึ้น ถ้าไม่ยกมือขึ้น ผมสันนิษฐานว่า ทุกคนในห้องนี้เป็นนักทวงหนี้ที่ดีเสมอต้นเสมอปลายนะครับ เอาอย่างนี้นะครับ
ยกตัวอย่างเช่น ลูกหนี้ในอดีตเป็นคนชอบโกหก ปัจจุบันก็ยังคงมีสันดานเดิม ก็โกหกเหมือนเดิม เปลี่ยนยาก เวลาเปลี่ยน คนเปลี่ยน แต่สันดานคนไม่เคยเปลี่ยน ดังนั้นประวัติของการโกหกที่ผ่านมาท่านต้องนำมาเป็นข้อมูลว่า จะจัดการกับลูกหนี้ประเภท ลับ ลวง แหล อย่างไร
ตัวอย่างประวัติการทวงหนี้ของลูกหนี้ที่ท่านพบบ่อย
1.     ไม่รักษาคำพูด ปัจจุบันก็คงจะโกหกเหมือนเดิม
2.     ชอบเลื่อน ชอบรับปาก แต่ไม่รับจ่าย
นัดหมายตลอด / ทุกครั้งที่โทรไปคุยรับปากจะจัดการให้ แต่ไม่เคยทำ
3.     ไม่ยอมรับโทรศัพท์ แสดงว่าไม่มีคำตอบว่าจะหาเงินที่ไหนมาจ่าย ต้องการหลบหน้า ไม่กล้าสู้หน้า
4.     รับแล้วไม่ยอมพูดกับคนทวงหนี้
-          จำเป็นต้องรับ เพราะถ้าไม่รับ นักทวงหนี้จะโทรหาซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง / แต่ที่ไม่พูดด้วย เพราะไม่มีคำตอบ หรือกลัวถูกคนทวงหนี้ใช้ถ้อยคำรุนแรง เช่น ด่า เสียดสี กดดัน บังคับข่มขู่ หรืออาจเครียด เป็นต้น มีมาก นักทวงหนี้มักเรียกพวกลูกหนี้ประเภทนี้ว่า เป็นใบ้มีปากแต่พูดไม่ได้ หรือมีปากแต่ไม่อยากพูด
5.     พวกติดต่อไม่ได้ สืบเนื่องมาจากเหตุผลดังนี้
-          มีการเปลี่ยนโทรศัพท์ (เบี้ยวแล้วหนีเลย)
-          ย้ายบ้าน(ขืนอยู่กูซวยแน่)
-          ย้ายที่ทำงาน(เพราะถ้าทำงานที่เดิม มีโอกาสเสียหน้า เพื่อนร่วมงาน รู้แน่นอน และอาจถึงขั้นถูกไล่ออก)
-          ข้อมูลใบสมัครขอสินเชื่อมีน้อยเกินไป
-          เบอร์โทรศัพท์ได้มาตอนขอสินเชื่อผิดพลาด
หรือให้ข้อมูลเท็จของลูกหนี้ ลูกหนี้มีวัตถุประสงค์เดียวคือ หนีหนี้ เป็นหลัก เหตุผลอื่น ๆ เท่าที่มีประสบการณ์ มีน้อยมาก เช่น โทรศัพท์เสีย ถ่านหมด โทรศัพท์หาย งานยุ่ง ลืมบอกเจ้าหนี้ ถ้าเป็นลูกหนี้ที่ดีจะมีสำนึก ว่าตัวเองเป็นหนี้ มีหนี้ค้างชำระ ต้องแจ้งเบอร์โทรศัพท์ใหม่ ที่อยู่ใหม่ ที่ทำงานใหม่ เพื่อรักษาเครดิต และเพื่อแสดงว่า มีความจริงใจในการชำระหนี้อยู่
-      มองโลกในแง่ดี ถ้ามีลูกหนี้ดีมากกว่าลูกหนี้เลว ทุกคนในห้องนี้คงไม่มีงานทำ แต่หมายเหตุนะครับ
       ว่า ลูกหนี้ทุกคนไม่ได้เลวเสมอไปนะครับ บางคนมีความจำเป็นที่ต้องเบี้ยว หรือที่เรียกว่า เบี้ยว
       โดยสุจริต อย่าปล่อยให้เกิดช่องว่างในการเจรจานานไป เงื่อนไขจะเปลี่ยนไปในทางเลวร้าย
3. พิจารณาข้อเสนอของลูกหนี้ในอดีต
-          นปช. ขอรัฐบาลยุบสภาใน 15 วัน
-          รัฐบาลขอยุบสภาพภายใน 9 เดือน
สุดท้ายตกลงกันไม่ได้
-          ปัจจุบัน ยุบสภาโดยทันที + ให้ออกนอกประเทศทันที
สุดท้ายตกลงกันไม่ได้
-          สิ่งที่เห็นเหมือนกันคืออะไร เรื่องการยุบสภา
-          สิ่งที่เห็นต่างกันคืออะไร เรื่องเงื่อนเวลาในการยุบสภา
                สรุป ข้อเสนอของลูกหนี้ในอดีต ทำไมนักทวงหนี้ทางโทรศัพท์ต้องให้ความสำคัญ
แนวคิดเดิม              - ถ้าคนทวงหนี้แบบเดิม ๆ - ผลลัพธ์ของการทวงหนี้ก็จะออกมาแบบเดิม ๆ คือ
                              ทวงหนี้ไม่สำเร็จ
แนวคิดใหม่            - ดังนั้นเมื่อการทวงหนี้แบบเดิม ๆ ไม่ประสบความสำเร็จ การทวงหนี้ครั้งต่อไปต้อง
                              เปลี่ยนแปลง จะทำแบบเดิมไม่ได้ ถ้าทำแบบเดิม การทวงหนี้ก็คงทำได้แต่ทวง แต่ไม่ได้หนี
                               หรือทำให้เกิดงาน แต่ไม่เกิดผลงาน แม้กระทั่ง สตช. ยังมีการเปลี่ยนแนวคิดใหม่แล้วดังนี้
                - ทั้งหมดมีวัตถุประสงค์เดียวเพื่อบริการประชาชนให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด
                เช่นเดียวกัน การทวงหนี้ครั้งต่อไปของท่านต้องมีวัตถุประสงค์เดียวหรือเป้าหมายเดียวคือ ต้องเสนอเงื่อนไขให้ตรงตามความต้องการที่แท้จริงของลูกหนี้ ลูกหนี้จึงจะให้ความร่วมมือหันกลับมาชำระหนี้  จริงไหมครับ หรือใครว่าไม่จริง ยกมือขึ้น หรือส่งโน๊ตมาให้ผม
4. ต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ในเหตุผลในการชำระหนี้
คำคมจากภาพยนตร์เรื่องมู่หลาน
ชนะใจคือราชันย์ ดังนั้นคนทวงหนี้ต้องชนะใจลูกหนี้ ต้องได้ใจลูกหนี้ จะได้ความร่วมมือตามมา ต้องเป็นเจ้าหนี้ในดวงใจ โครงการของสยามคูโบต้า ซึ่งผมเป็นคนฝึกอบรมโครงการดังกล่าว
-          เหตุผลในการที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ คนทวงต้องเข้าใจ
-          ไม่มีหรือไม่จ่าย ไม่เหมือนกัน ผลลัพธ์เหมือนกันคือ ไม่ชำระหนี้ ให้กับเจ้าหนี้
-          เหตุผลของการไม่ชำระหนี้ มาจากสาเหตุใด คนทวงหนี้ต้องแบ่งประเภทให้ชัด
-          ปัจจัยเกี่ยวกับตัวลูกหนี้ พฤติกรรมของลูกหนี้ ไม่ทำมาหากิน สร้างหนี้สินไว้มาก ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ คิดแต่หาทางใช้เงิน ไม่เคยคิดวิธีการหาเงิน พิการ ภาระของครอบครัวมีมาก รายได้น้อย สรุป ขาดวินัยทางการเงิน
-          ปัจจัยเกี่ยวกับตัวเจ้าหนี้ (นโยบาย) เข้มงวดเกินไป ไม่ยืนหยุ่นในการรับเงื่อนไข เน้นการดำเนินคดีเป็นหลัก เน้นยึดรถเป็นต้น ภาษาวัยรุ่น ก็จะเอาตามนโยบายกูเป็นหลัก
-          ปัจจัยเกี่ยวกับตัวนักทวงหนี้ พูดจาไม่สุภาพ ข่มขู่ เสียดสี เน้นบังคับใช้กฎหมายมากเกินไป ไม่รับฟังข้อเสนอของลูกหนี้ทำตัวเป็นอุปสรรคเสียเอง ทำตัวเป็นปัจจัยเชิงล้มเหลว
-          ปัจจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ มีผลกระทบกับลูกหนี้โดยสิ้นเชิง หรือบางส่วน ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ต่อความสามารถในการชำระหนี้ ทำลายโอกาส สร้างอุปสรรค ทำให้ความสามารถในการแข่งขันลดลง เช่น โชว์ห่วย กับโลตัส การประท้วงมีการปิดถนน ร้านค้าขายของไม่ได้ โรงงานบริเวณร้านค้าย่านนิคมอุตสาหกรรมปิดตัว ร้านค้าอยู่ไม่ได้ มีการย้ายสนามบินดอนเมือง ร้านค้าในสนามบินปิดกิจการ เป็นต้น นักทวงหนี้ต้องแสวงหาข้อมูลให้ครบในระหว่างทวงหนี้
สรุป เหตุผลหรือสาเหตุที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ นักทวงหนี้ต้องค้นหาให้พบและแก้ไขให้ได้ ยึดคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ค้นหาเหตุแห่งทุกข์และดับทุกข์ให้พบ ถ้าค้นการทวงหนี้ก็เหมือนกัน หาสาเหตุที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ไม่ได้ คุณก็เป็นนักทวงหนี้ไม่ได้ เพราะล้มเหลว ได้แต่ทวง แต่ทวงหนี้ไม่ได้
5. ต่อยอดจากการทวงหนี้ครั้งที่แล้ว
                -      การต่อยอดความคิดเป็นขั้นการพัฒนาที่สูงขึ้น นักทวงหนี้ที่ทวงหนี้มาเป็นเวลานานนับสิบปีขึ้น
                    ไป มักมีความเชื่อว่า ได้ทำดีที่สุดแล้ว ไม่สามารถหาวิธีการอื่นมาทวงหนี้ได้ดีกว่านี้แล้ว อบรม
                     สัมมนาไปก็เท่านั้น ไม่น่าจะมีประโยชน์ ไม่น่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง เสียเวลาเปล่า ๆ
                -     ผมเห็นด้วยกับแนวคิดของนักทวงหนี้อาวุโสบางส่วนที่กล่าวมา
               -     ว่าท่านเป็นผู้มีประสบการณ์สูง        สิ่งที่ท่านทำอยู่ดีอยู่แล้ว ต้องยอมรับความจริง /
                    ประสบการณ์ตามกันไม่ทัน อันนี้ต้องยอมรับ
                -      แต่การสัมมนาในวันนี้ เราจะมาต่อยอดความคิด และอยากจะมาชวนคิด ชวนพวกท่านคิด
                    ว่า ควรจะปรับปรุงอะไรให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ผมอยากถามท่านในห้องนี้ ว่าท่านเคยชวนคิดหรือ
                    ชวนพื่อนจินตนาการบ้างไหมครับ ถ้าไม่เคยลองทำดู ถ้าไม่เคยลองท่านจะรู้ได้อย่างไรว่าดีหรือไม่ดี
                    อย่างไร ไอสไตล์กล่าวว่า วิชาความรู้ เรียนทันกันได้ แต่ความฉลาดของคนต่างกันที่จินตนาการ ใคร
                    จินตนาการได้ไกลหรือดีกว่า คนนั้นเป็นอัจฉริยะ
-          ท่านต้องยอมรับว่า การทวงหนี้ของท่านทุกวันนี้ ไม่ได้ประสบผลสำเร็จ 100 เปอร์เซ็นต์ เช่นทวงได้ 60% ดังนั้นส่วนต่างที่ขาด 40% ท่านยังทวงไม่ได้ ส่วนนี้แหละ ที่จะต้องปรับปรุง
-          การทำศึกสงคราม มีสุภาษิตกล่าวว่า ต้องรับว่าแพ้ก่อนจึงจะชนะได้ หมายความว่า ท่านต้องรับว่า
       เครื่องมือ/กลยุทธ์ที่ท่านใช้ ในการทวงหนี้ ต้องได้รับการแก้ไขปรับปรุงพัฒนา เพื่อให้การทวงหนี้ 
       ประสบผลสำเร็จยกตัวอย่าง กรณี อรินทราช 26 400 นายไปล้อมจับนายอริสมันต์ แกนนำเสื้อแดงที่
       SC PARK ไม่ได้ แสดงให้เห็นว่า ยุทธศาสตร์ต้องเปลี่ยน นายกอภิสิทธิ์ จึงเปลี่ยนจาก สุเทพ เป็นอนุพงษ์ เป็นต้น
-          เมื่อการทวงหนี้ครั้งที่แล้วไม่ประสบผลสำเร็จ การทวงหนี้ครั้งต่อไปต้องเปลี่ยนวิธีการนำเสนอเพื่อให้ลูกหนี้เปลี่ยนใจมาชำระหนี้ คุณว่าจริงหรือคุณว่าไม่จริง หรือถ้าคุณเถียงว่าต้องทำแบบเดิม แต่ ไฟแนนซ์ คงไม่ได้คุณอยู่ตำแหน่งเดิมแน่นอน เพราะทุกองค์กรต้องการพัฒนาอย่าลืมว่า ไฟแนนซ์รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ไมได้มี ไฟแนนซ์ อยู่บริษัทเดียว
-          ปัจจุบันหลายบริษัทได้นำหลักการที่เรียกว่า SCOR MODEL ชื่อเต็ม SUPPY CHAIN OPERATION REFERENCE MODEL (แบบจำลองโซ่อุปทาน) ซึ่งเป็นหลักการวิเคราะห์เกี่ยวกับตัวบริษัทคู่แข่ง หลังจากวิเคราะห์ตัวบริษัทคู่แข่งแล้ว ต้องมาวิเคราะห์การบริหารจัดการภายในองค์กรของตัวเอง หลักการนี้เป็นหลักการที่ดี ดังนั้นพนักงานของ ไฟแนนซ์โดยเฉพาะผู้นำหรือหัวหน้ากลุ่มนักทวงหนี้ จะต้องเป็นผู้นำริเริ่มการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และต้องพยายามตั้งคำถามกับทีมงานของแต่ละทีมว่า แต่ละคนจะมีข้อเสนอเกี่ยวกับกลยุทธ์อะไรใหม่ ๆ บ้าง เพื่อทำให้การทวงหนี้ประสบความสำเร็จ และคนที่เป็นหัวหน้านักทวงหนี้จะต้องพยายามชักชวนนักทวงหนี้ในทีมงานของตัวเองให้มาร่วมด้วยช่วยกันพัฒนาตัวเองและพัฒนาทีมของตัวเองเพื่อให้ทัดเทียมของคู่แข่ง หมายถึงไฟแนนซ์อื่น ๆในวงการเดียวกัน และที่สำคัญจะต้องมีการ ROAD MAP โดยมีการกำหนดเส้นทางที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้อย่างชัดเจนไม่ใช่พูดแต่ปาก หรือมีแต่หัวข้อ แต่ไม่มียุทธศาสตร์ ไม่มียุทธวิธีในการที่จะพัฒนาเทคนิคการทวงหนี้ นอกจากนั้นจะต้องติดตามการประเมินผลตามกรอบเวลาและตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน ROAD MAP และนักทวงหนี้ทุกคนจะต้องทำงานให้หนักขึ้น หายุทธวิธีต่าง ๆ ที่แตกต่างจากนักทวงหนี้ของสำนักอื่น เพิ่มพลัง เพิ่มความคิดให้มากขึ้นกว่าเดิมที่มีอยู่แล้วเพื่อให้การทวงหนี้มีโอกาสสำเร็จมากขึ้น และที่สำคัญต้องฝึกเป็นคนอารมณ์ดี ยิ้มตลอด เพราะการยิ้มจะทำให้เราไม่เครียด และไม่ใช้ความรุนแรงกับลูกหนี้ ทุกวันในสังคมไทยต้องการรอยยิ้ม
6. การสร้างบรรยากาศที่ดีในการสนทนา
- ผัว-เมีย อยู่ด้วยกันนาน ๆ หลายปี เวลาผัวมองเมีย มักมองว่า เหี่ยว ย่น น่าเบื่อหน่าย ไม่เกิดอารมณ์ ยังต้องมีการสร้างบรรยากาศ โดยการไปพักผ่อนชายทะเล เพื่อสร้างบรรยากาศ แม้แต่ห้องนอนต้องปรับแสงไฟให้เหมือนโรงแรม ก็ยังมีเลย ท่านว่าจริงไหม,บางคนต้องใช้หนังปลุกใจ
- ผัวเมียจะหลับนอนกันบรรยากาศต้องดี ผู้บริโภคจะจับจ่ายใช้สอยยังมีบรรยากาศดี ลูกหนี้จะชำระหนี้ต้องมีบรรยากาศดีจึงมีอารมณ์อยากชำระหนี้
- การสนทนาในการทวงหนี้ทางโทรศัพท์ จึงต้องให้ลูกหนี้อยากคุย อยากเจรจาหนี้ อยากให้ความร่วมมือ อยากจ่ายแม้แต่การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคในประเทศไทย ศูนย์พยากรณ์ธุรกิจของมหาวิทยาลัยหอการค้า เวลามีการแถลงข่าวเกี่ยวกับดัชนีผู้บริโภค จะขึ้นหรือลงขึ้นอยู่กับบรรยากาศในประเทศไทยว่าประเทศมีความสงบหรือไม่ มีปัญหาทางการเมืองหรือไม่ มีความขัดแย้งในสังคมหรือไม่ ถ้าประเทศมีการประท้วง มีปัญหาทางการเมือง ผู้บริโภคไม่มีอารมณ์ที่จะจับจ่าย ยกตัวอย่างที่เห็นง่าย ๆ เช่น บริเวณสี่แยกราชประสงค์ มีการปิดถนนราชดำริ ชิดลม เพลินจิต ถามว่า พวกไฮโซ ไฮซ้อ ไปมีอารมณ์จับจ่ายใช้สอย
ซื้อกระเป๋า วิกตรอง กินอาหารราคาแพงหรือไม่ คำตอบ คือไม่ เพราะเศรษฐีกลัวตาย จะเห็นได้ว่า บรรยากาศมีส่วนในการทำให้ผู้บริโภคมีอารมณ์ในการจับจ่ายใช้สอย
สรุป การทวงหนี้ ทั้งนักทวงหนี้และลูกหนี้ต้องสร้างบรรยากาศที่ดี เพื่อเพิ่มโอกาสให้ลูกหนี้อยากหรือมีความคิดที่จะชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ คุณว่าจริงไหม หรือใครว่าไม่จริง ลองเขียนโน๊ตแสดงความคิดเห็นส่งมาให้ผมหน่อย
- ไม่ควรทำให้บรรยากาศของการสนทนาเสีย เช่น การพูดจา ดุดัน ข่มขู่ เสียดสี เหน็บแนม เพราะอารมณ์ของคนเป็นหนี้จะเปลี่ยนไป และไม่อยากให้ความร่วมมือกับลูกหนี้ คุณว่าจริงไหมที่ผมพูด
- คำพูดที่ทำให้บรรยากาศเสีย เช่น วันนี้คุณจะโกหกอะไรอีก
                ครอบครัวคุณโกงทั้งบ้านหรือเปล่า
                พวกคุณมีศาสนาหรือไม่ไม่นึกถึงบาปบุญคุณโทษหรือไง
                คิดจะโกงเขาอย่างเดียวใช่หรือไม่
                พวกคุณเกิดมาโกงเขาอย่างเดียวใช่หรือไม่
                พวกคุณหยุดพูดและหยุดโกหกได้แล้ว
                พวกคุณไม่มีปัญญาชำระหนี้ แล้วมาเช่าซื้อรถทำไม
                คุณจะตอแหลแบบนี้ทุกวันใช่หรือไม่
          คุณฟังผมก่อน คุณไม่ต้องพูด คุณฟังอย่างเดียว
                เพราะคุณเป็นลูกหนี้ คุณไม่มีสิทธิพูด
7. ใช้น้ำเสียงที่สุภาพ ให้เกียรติลูกหนี้ตลอดการสนทนา
- ไม่ดังเกินไป - ไม่ค่อยเกินไปเสียงดังเกินไป ลูกหนี้อาจจะตกใจ เสียงค่อยเกินไป ลูกหนี้อาจจะรู้สึก
   รำคาญว่ามึงพูดอะไรของมึง กูฟังไม่รู้เรื่อง เข้าทางลูกหนี้เลย เพราะกูก็ไม่อยากฟังอยู่แล้ว
- มีการทักทายตามประเพณี  ตั้งใจฟังแม้คำแก้ตัวของลูกหนี้
- ถ้าไม่สุภาพ หรือควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ลูกหนี้อารมณ์อาจเกิดอารมณ์ อารมณ์ที่ว่า อารมณ์ไม่อยาก
 ร่วม ไม่ใช่อารมณ์ร่วม
- มีการตอบสนองในทางลบ
ตัวอย่างเช่น             - มึงไม่ให้เกียรติกู มึงกับกูไม่มีอะไรต้องคุยกัน
                                - มึงไม่ต้องเอา                        มึงคุยกับทนายกูก็แล้วกัน
                                - กูจะรอหมายศาล กูอายุเท่าพ่อมึง ให้เกียรติกูหน่อยนะ
                                -ปัจจุบันเขาเลิกทาสแล้ว
8. ตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์ ไม่กดดันลูกหนี้
                - ถ้าท่านเคยดูรายการคุณสรยุทธ์ทางช่อง 3 เช่น รายการถึงลูกถึงคนในอดีต คุณสรยุทธ์เชิญคนมา แล้วก็มาสับ เพื่อให้ตายคาจอ ทุกคนที่มาออกรายการคุณสรยุทธ์ เหมือนกับอยู่ในดงสังหาร คุณสรยุทธ์มักจะใช้คำถามที่รุนแรง เป็นคำถามในเชิงลบหรือในเชิง NAGATIVE  แขกรับเชิญเมื่อได้ยินคำถามของคุณสรยุทธ์ สังเกตว่า
หน้าจะเปลี่ยนสี คิ้วขมวด บางครั้งหน้าซีด บางคนเลือดขึ้นหน้า เพราะโกรธ และไม่มีพอใจ และไม่อยากตอบคำถาม เพราะคำถามดังกล่าวเป็นคำถาม LOOK DOWN หรือเป็นการดูถูกเหยียดหยาม หรือเป็นคำถามชี้นำที่บอกว่าคุณผิดหรือมึงผิด หรือมึงต้องรับผิดชอบ ซึ่งโดยธรรมชาติของมนุษย์ ไม่มีใครยอมรับผิด บรรยากาศของการพูดคุยจะเต็มไปด้วยความตึงเครียด เหมือนถูกเชิญมาเชือด
สรุป การตั้งคำถามต้องเป็นคำถามที่สร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดการอยากคุย เพื่ออยากให้เกิดการเจรจา สุดท้ายเพื่อต้องการให้เกิดความร่วมมือทั้งสองฝ่าย ในการที่จะหันหน้าเข้าหากัน และร่วมกันแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับยอดหนี้ที่ค้างชำระ ไม่ใช่เน้นการจับผิด ชี้ผิด ชี้ถูก ถ้าเป็นคำถามประเภท จี้ปมด้อยลูกหนี้ กดดันลูกหนี้ ไล่ลูกหนี้จนมุม คำถามประเภทนี้เรียกว่า คำถามประเภทไม่สร้างสรรค์ ลูกหนี้ไม่อยากฟัง และทุกคนก็ไม่อยากฟัง หรือใครอยากฟัง และไม่อยากตอบคำถามคนทวงหนี้ คำถามประเภทนี้ จึงเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบ
               - หลักการอย่ามองลูกหนี้เป็นตัวปัญหาหรือสร้างปัญหา
                - ต้องมองลูกหนี้เป็นโอกาส เมื่อโอกาสมาถึงมีโอกาสได้คุยกับลูกหนี้ ต้องพยายามฉกฉวยโอกาส โน้มน้าวให้ลูกหนี้ชำระหนี้ถ้าลูกหนี้ไม่เปิดโอกาส คุณต้องสร้างโอกาส หนูดีกล่าวว่า อัจฉริยะสร้างได้ คุณสร้างหรือยัง นักทวงหนี้อัจฉริยะทั้งหลายในห้องนี้
                - การกดดันลูกหนี้ เพื่อไม่ให้มีทางเลือก หมดหนทาง หมดเสรีภาพในการคิด เหมือนการไล่หมาจนตรอก เมื่อจะจนตรอก หมาต้องหันกลับมาคิด เหมือนกับลินคอร์น กล่าวว่า ทุกคนสุดท้ายก็จะนึกถึงความอยู่รอดของตัวเองทั้งนั้น ลูกหนี้ถ้าถูกกดดัน เพื่อให้ไม่มีทางออก มักจะวางสายทิ้ง / ไม่อยากคุยด้วย / เครียด / เกิดอารมณ์โมโห / เพราะหมดหนทาง / หมดกำลังใจ / ไม่มีอารมณ์ที่จะคิดหาหนทางหรือดิ้นรนเพื่อหาเงินมาชำระหนี้  หมดอารมณ์ ลองนึกเวลาคุณหมดอารมณ์ มันจะเหี่ยว จริงไหม
 
 
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 11

เจ้าหน้าที่ติดตามทวงถามหนี้ของธนาคารต่างๆ ธนาคารจะต้องมีการมอบอำนาจให้ทุกคนหรือไม่คะ
โดยคุณ เขมิกา ศรีใหม่ 7 ม.ค. 2561, 09:59

ความคิดเห็นที่ 10

เป็นกระทู้ที่ดีนะคะ อยากทราบเหมือนกันว่าเราจะทวงยังไงดี ของเราเป็นกรณีคนในครอบครัวค่ะ เป็นพี่สาวเราเอง เขายืมไปทั้งเงินทั้งทองจนบางครั้งเราก็เหนื่อยใจนะตะ จะทวงมากๆก็ไม่ได้ เพราะเขาเองก็เคยมีบุญคุณกับเราตอนที่ยังทำงานหาเงินไม่ได้ ลำบากใจมากเลยค่ะ เรารู้นะคะเวลาเขาไม่มีมันก็ไม่มีจริงๆ แต่เวลาเขามีเขาก็เงียบไม่เคยมาใช้หนี้เราเลย พอนัดเราถึงวันนัดถ้าทวงก็ทำเสียงไม่ดีกับเราเหมือนรำคานที่โทรไป โทรหาก็ไม่ค่อยอยากจะรับสาย เหนื่อยใจจริงๆค่ะ

โดยคุณ สุรางคณา กันพะนะ 18 ส.ค. 2560, 14:21

ตอบความคิดเห็นที่ 10

กรณีตามปัญหา  หากพี่น้องเดือดร้อนทางด้านการเงินก็ควรช่วยเหลือกันไปตามอัตตภาพ แต่ในทางกฎหมาย หากการกู้ยืมเงินเกินกว่าสองพันบาทขึ้นไป ถ้ามิได้หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้ยืม ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ตามปพพ.มาตรา 653

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 3 ก.ย. 2560, 15:23

ความคิดเห็นที่ 9

 ขอบคุณสำหรับคำแนะนำดีๆนะคะ บทความมีประโยชน์มากๆ แต่ไม่สามารถใช้ได้กับลูกหนี้บางคนได้ เพราะเจอมากับตัว ตอนมายืมทำสัญญาไว้ดิบดี แต่พอเวลาผ่านไปก็หายไปกับหนี้ที่ยืมเราไป ติดต่อไปถามก็ผลัดๆไปทุกๆเดือนทั้งๆที่เราก็มีความจำเป็นต้องใช้เหมือนกันเพราะปัจจุบันถ้าไม่มีเงินคงออกไปไหหนไม่ได้ เห็นใจเเขาให้ผลัดได้ทุกๆเดือนจนตัวเองต้องเสียเครดิตกับไฟแนนซ์เพราะไปกู้เงินไฟแนนซ์มาเพื่อช่วยเหลือเขา คิดว่าถ้าเห็นใจทุกเดือนพูดดีๆด้วยทุกเดือนคงไม่ไหวเพราะเขาคิดว่าเราไม่เดือดร้อนอะไรเบื่อลูกหนี้ที่บอกว่าตัวเองลำบากขอความเห็นอกเห็นใจแต่ไม่เคยคิดถึงเจ้าหนี้บ้างเลย ในกรณีแบบนี้ควรทำยังไงดีค่ะ มีวิธีการสร้างจิตสำนึก คุณธรรมจริยธรรมให้เขาได้ไหม ขอคำแนะนำค่ะ

โดยคุณ พัชรา 2 เม.ย. 2560, 10:32

ความคิดเห็นที่ 8

 แนะนำหน่อยค่ะ เพิ่งมาทำงานฝ่ายขาย แล้วมีลูกค้าจ่ายเกินกำหนด จนโดนเรียกเก็บดอกเบี้ย ได้ติดต่อสอบถามการจ่ายเกินดิวแล้ว เพราะพนักงานรับเอกสารวางบิลแล้วไม่เอาไปให้บัญชีทำให้เบิก-จ่ายช้า  และลูกค้าไม่ได้กำหนดว่าจะจ่ายดอกเบี้ยให้หรือไม่ อยากเก็บดอกเบี้ยได้ และติดต่อซื้อ-ขายกันต่อ เวลาโทรตามยอด ควรพูดยังไงดี ไม่มั่นใจในการพูดค่ะ  กลัวพูดไปแล้วจะทำให้ลูกค้าหายค่ะ

โดยคุณ 2424 3 พ.ย. 2559, 23:53

ความคิดเห็นที่ 7

 โทรถูกทุกเครือข่าย SME Call
500 บาทต่อเดือน โทรฟรี 24 ชม. ไม่จำกัด

http://www.thaismecall.com/

เหมาะสำหรับงานโทรทวงหนี้

โดยคุณ www.thaismecall.com 13 ต.ค. 2557, 13:53

ความคิดเห็นที่ 6

สามีนำเงินไปเล่นพนัน เงินเรากู้ยืมมา รวมแล้วประมาณ หนึ่งล้าน  สี่แสนบาท ตอนนี้แยกกันอยุ่หนี้ก็เยอะไม่รู้จะทำอย่างไร รายเดือนก็ทวงยาก ลูกก็ต้องเลี้ยงไม่จ่ายค่าเลี้ยงดูเลย อยากได้เงินคืนมาเพื่อจะได้เลี้ยงลูกได้ ทำอย่างไรดี  สามีเป็นทหาร  ผีพนันหนัก

โดยคุณ พนันเป็นเหตุ 17 เม.ย. 2556, 23:23

ความคิดเห็นที่ 5

เพื่อนผมโกงเงินไป 3.5 ล้าน ตอนนี้ผมยังต้องผ่อนส่งธนาคารและญาติๆ อยู่เลยครับ ผมมี่แค่สัญญาเงินกู้ ไปปรึกษาผู้รู้กฎหมายแล้วได้คำตอบว่า ฟ้องไปไม่ว่าจะชนะหรือแพ้ก็ไม่ได้เงินคืนเพราะเป็นคดีแพ่ง ผมเลยหมดใจ

  เพื่อนคนที่ยืมไปก็แสบมากใช้บัตรข้าราชการทหารยศนายร้อย(จปร.)ค้ำ้ประกัน ผมคิดว่าเขาจะไม่โกงที่ไหนได้ พอโทรไปทวงหนี้เขาก็โทรกลับมาขู่ จะจ้างมือปีนมาเก็บผมและครอบครัว ผมกลัวและกังวนมาก วอนผู้ที่รู้กฎหมายหรือผู้ที่รู้แนวทางโปรดช่วยชี้แนะหน่อยครับ ผมจะทำอย่างไรดี กราบขอบพระคุณอย่างสูง

โดยคุณ วินัย 17 เม.ย. 2556, 18:20

ความคิดเห็นที่ 4

กูไม่อยากจ่าย พวกมึงมีปัญญาทวงยังไง ยึดทรัพย์ ยึดเงินเดือนหรอ หุหุ กูไม่มีอะไรเลย

โดยคุณ คนเป็นหนี้ 14 ก.พ. 2555, 14:14

ความคิดเห็นที่ 3

ทางเรามีการจัดตั้งสหกรณ์มาและมีการหนีหน้อยู่  2 ราย  ทวงหนี้ไปแล้วก็ไม่มีการชำระกลับมารบกวนช่วยบอกหน่อยค่ะว่าวิธีทวงหนี้  ที่เรียกเก็บกับที่ทำงานใหม่เราจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้างคะ

โดยคุณ เชาวนี เลิงสุข 3 ธ.ค. 2554, 12:22

ความคิดเห็นที่ 2

เพื่อนยืมเงินไปเป็นเงินสองแสนกว่าบาทจะเข้าปีที่ 2 แล้วครับเค้าไม่ยอมมาคืนเงินเราเสียทีทวงจนเหนื่อยก็เลื่อนบอกปัดไปเรื่อยไม่เคยได้เลยจะทำอย่างไรดีคับช่วยแนะนำผมทีเครียดด้วยครับมีความเดือดร้อนจะต้องใช้เงินก้อนนั้นด้วยคับเค้าไม่เห็นความทุกข์เราเลยแย่จังคนพวกนี้

โดยคุณ โดนบอกเลื่อนชำระหนี้ตลอด 2 ก.ย. 2554, 14:53

ความคิดเห็นที่ 1

 หนี้เก้าหมื่นเกือบแสน ผมสามารถที่จะฟ้องล้มละลายได้ไหมครับ เพราะเกินสัญญามา 6 เดือนแล้วครับ และคนที่เป็นหนี้ผมไม่มาติดต่ออะไรเลย ถ้าเกิดว่าเขาไม่มีเงินแล้วเขาไม่ลง ส.ส. ผมคงจะยังไม่เอาเรื่องหรอกครับ

   ผมจะต้องทำอย่างไรครับ

โดยคุณ วัฒนพงษ์ 28 มิ.ย. 2554, 20:41

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก