ไม่จ่ายเงินเดือนอ้างจ่ายค่าคอมมิชชั่นเกิน|ไม่จ่ายเงินเดือนอ้างจ่ายค่าคอมมิชชั่นเกิน

ไม่จ่ายเงินเดือนอ้างจ่ายค่าคอมมิชชั่นเกิน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ไม่จ่ายเงินเดือนอ้างจ่ายค่าคอมมิชชั่นเกิน

รบกวนปรึกษาคุณทนายหน่อยค่ะ เกี่ยวกับเรื่องการระงับเงินเดือน

บทความวันที่ 5 พ.ค. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 3716 ครั้ง


ไม่จ่ายเงินเดือนอ้างจ่ายค่าคอมมิชชั่นเกิน

          รบกวนปรึกษาคุณทนายหน่อยค่ะ เกี่ยวกับเรื่องการระงับเงินเดือน  เรื่องมีอยู่ว่าทางบ.เก่า มีปัญญาการเงินอย่างมากจึงลาออกมา ออกมาแล้ว 1 เดือน เงินของเดือนที่แล้วยังไม่เข้าบัญชี จึงได้โทรไปถามกับทางบุคคล และเลขา ทราบว่าทางเจ้าของบริษัททำเรื่องระงับเงินเดือน จึงขอการชี้แจงเหตุผลจาก บ. (ซึ่งก่อนระงับไม่มีใครโทรชี้แจง)ได้ความว่า ก่อนดิฉันออกทาง บ.ได้จ่ายค่าคอมมิชชั่นให้เกิน ถ้าหักเงินเดือนทั้งก้อนของดิฉันมันจะพอดี
          1. รบกวนสอบถามว่าตามกฏหมายเมื่อพนักงานขายของได้จำนวน 100 และลูกค้าได้มัดจำไว้ 50% ของทั้งหมด จนกระทั่งพนักงานลาออกไปแล้ว 1-2 เดือน บริษัทจึงจะส่งสินค้าให้กับลูกค้าได้ ค่าคอมมิชชั่นนั้นถือว่ายังเป็นของพนักงานขายคนนั้นหรือไม่ หรือต้องตัดคืนบริษัทไปค่ะ
          2. กรณีที่ไกล่เกลี่ยเจรจากันสามารถเรียกร้องอะไรกับนายจ้างได้มั่งค่ะ เช่น ค่าเสียเวลาทวงถาม 
 
คำแนะนำทนายคลายทุกข์
          1.  ตามปัญหาของท่าน  แม้บริษัทนายจ้างได้จ่ายค่าคอมมิชชั่นให้เกินไป  แต่เงินเดือนของท่านที่บริษัทนายจ้างได้มาหักค่าคอมมิชชั่นที่จ่ายเกินไป  ซึ่งเงินเดือนดังกล่าว ย่อมเป็นค่าจ้างที่ท่านมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย  เมื่อท่านทำงานให้แก่บริษัทนายจ้างนั้น  โดยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  มาตรา 76  ห้ามมิให้นายจ้างหักเงินเดือนซึ่งเป็นค่าจ้างของท่านนำมาชำระค่าคอมมิชชั่นที่จ่ายเกินไปนั้น  เพราะการที่บริษัทนายจ้างหักเงินเดือนชำระค่าคอมมิชชั่นที่จ่ายเกินไปดังกล่าวนั้น  ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานไม่ใช่เป็นการหักเพื่อชำระภาษีเงินได้ ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่าย  หรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้  หรือชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน หรือชำระเงินประกัน ตามมาตรา  10  หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง    โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง  หรือชำระเป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสมที่บริษัทนายจ้างจะมีสิทธิหักเงินเดือนค่าจ้างของท่านหักชำระค่าคอมมิชชั่นที่จ่ายเกินแต่ประการ  ดังนั้น  ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานดังกล่าว  บริษัทนายจ้างจึงไม่มีสิทธิหักเงินเดือนของท่านมาชำระส่วนต่างค่าคอมมิชชั่นดังกล่าวนั้น
          ดังนั้น  ส่วนเงินค่าคอมมิชชั่นที่ท่านมีสิทธิได้รับจากบริษัทนายจ้างดังกล่าว  ย่อมถือว่าค่าคอมมิชชั่นนั้นเป็นเงินผลประโยชน์อื่นเนื่องในการจ้างซึ่งบริษัทนายจ้าง  จะต้องจ่ายให้แก่ท่านซึ่งเป็นลูกจ้าง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 55  เงินค่าคอมมิชชั่นดังกล่าวจึงไม่ใช่ค่าจ้าง  ดังนั้น  นายจ้างย่อมมีสิทธิหักคืนชำระค่าคอมมิชชั่นที่บริษัทจ่ายเกินนั้นได้  ไม่ต้องห้ามตามกฎหมายคุ้มครองดังกล่าว
          2.  เมื่อมีการตกลงเจรจาไกล่เกลี่ยกับบริษัทนายจ้างดังกล่าวได้    ตามกฎหมายเงินเดือนค่าจ้างที่บริษัทได้ค้างจ่ายแก่ท่านโดยไม่นำเงินเข้าบัญชีของท่าน  ซึ่งถือว่าเป็นหนี้  ท่านย่อมมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปี  ของเงินเดือนของท่านดังกล่าว  ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224  และท่านก็ย่อมมีสิทธิเรียกค่าใช้จ่ายในการทวงถามเป็นเค่าเสียเวลาได้ด้วย

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 224 
หนี้เงินนั้น ท่านให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดกึ่งต่อปี ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น
ท่านห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัด
การพิสูจน์ค่าเสียหายอย่างอื่นนอกกว่านั้น ท่านอนุญาตให้พิสูจน์ได้

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 
มาตรา  55 
  ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุดและเงินผลประโยชน์อื่นเนื่องในการจ้างให้แก่ลูกจ้าง ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง ถ้าจะจ่าย ณ สถานที่อื่นหรือด้วยวิธีอื่นต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง

มาตรา 76  ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ
(1) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้
(2) ชำระค่าบำรุงสหภาพแรงงานตามข้อบังคับของสหภาพแรงงาน
(3) ชำระหนี้สินสหกรณ์ออมทรัพย์ หรือสหกรณ์อื่นที่มีลักษณะเดียวกันกับสหกรณ์ออมทรัพย์หรือหนี้ที่เป็นไปเพื่อสวัสดิการที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างฝ่ายเดียว โดยได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากลูกจ้าง
(4) เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
(5) เป็นเงินสะสมตามข้อตกลงเกี่ยวกับกองทุนเงินสะสม
การหักตาม (2) (3) (4) และ (5) ในแต่ละกรณีห้ามมิให้หักเกินร้อยละสิบ และจะหักรวมกันได้ไม่เกินหนึ่งในห้าของเงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกำหนดเวลาการจ่ายตามมาตรา 70 เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก