คำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับการบังคับคดี ตอน 1|คำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับการบังคับคดี ตอน 1

คำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับการบังคับคดี ตอน 1

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับการบังคับคดี ตอน 1

ทนายคลายทุกข์ขอนำคำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ เกี่ยวกับการบังคับคดี

บทความวันที่ 6 พ.ค. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 64964 ครั้ง


 คำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับการบังคับคดี ตอน 1

ผู้มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
 
            ทนายคลายทุกข์ขอนำคำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ เกี่ยวกับการบังคับคดี จากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เรื่อง ผู้มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดี กำหนดเวลาบังคับคดี กรณีที่ถือว่ามีการร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปีแล้ว กรณีสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษายังไม่ถึงกำหนดในวันที่คำพิพากษา กำหนดเวลาบังคับคดีไม่ใช่อายุความ การบังคับคดีต้องเป็นไปตามลำดับตามคำพิพากษา
 
1. ฎีกาที่ 6378/2539 
            ผู้มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีได้ต้องเป็นบุคคลที่เป็นฝ่ายชนะคดี หรือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น บุคคลภายนอกแม้จะได้รับประโยชน์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลพิพากษาตามยอมไม่ใช่ผู้ชนะคดี ไม่อาจร้องขอให้บังคับคดีได้
 
2. ฎีกาที่ 3053/2527
            ผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลพิพากษาตามยอมเป็นบุคคลภายนอกคดี จึงไม่มีสิทธิขอให้บังคับคดีได้ ในกรณีเช่นนี้ถือว่า คู่ความเป็นผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิขอให้บังคับคดีได้
 
3. ฎีกาที่ 8325/2544
            ผู้ที่เป็นเจ้าหนี้ของผู้บังคับคดี(เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) ก็ไม่มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีและเจ้าหนี้ดังกล่าวจะอ้างเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เพื่อสวมสิทธิบังคับคดีแทนไม่ได้
 
4. ฎีกาที่ 2093/2517 
            ผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดมิใช่ผู้ชนะคดี(เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) ไม่มีสิทธิขอให้บังคับคดี
 
5. ฎีกาที่ 2690/2537 
          เจ้าพนักงานบังคับคดีเองก็ไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่มีอำนาจร้องขอให้บังคับคดี
 
6. ฎีกาที่ 5630/2534
            เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะร้องขอให้บังคับคดีต่อบุคคลภายนอกไม่ได้
 
7. ฎีกาที่781/2544
            กรณีที่คำพิพากษาได้กำหนดให้ทั้งโจทก์และจำเลยต่างมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตอบแทนซึ่งกันและกัน เช่นนี้ โจทก์และจำเลยต่างมีสิทธิขอให้บังคับแก่อีกฝ่ายหนึ่งให้ปฏิบัติตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุด
 
8. ฎีกาที่ 5310/2544
            ในกรณีเช่นนี้ มีคำพิพากษาฎีกาวินิจฉัยว่าการที่โจทก์ไม่ยอมชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยภายในกำหนดเวลาตามคำบังคับถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิในการรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากจำเลยแล้ว และหนี้ตามคำพิพากษาที่เกี่ยวกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่กันเป็นอันระงับไป แม้จะยังอยู่ในระยะเวลา 10 ปี ก็ตาม
 
9. ฎีกาที่ 6929/2542
            สัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งศาลพิพากษาตามยอมที่มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทน คู่ความฝ่ายใดจะร้องขอให้บังคับคดีได้ ต้องขอปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งด้วย
 
10.ฎีกาที่ 3781/2545
            เมื่อโจทก์กับจำเลยตกลงระงับหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว โจทก์ก็หมดสิทธิร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยอีกต่อไป
 
11.ฎีกาที่ 1173/2545
            เมื่อมีการบังคับคดีเสร็จสมบูรณ์ ต่อมาจำเลยกระทำละเมิดอีก โจทก์จะขอให้บังคับคดีในคดีเดิมอีกไม่ได้ เช่น คดีฟ้องขับไล่ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้ว ต่อมาจำเลยรบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทอีก ถือว่าเป็นเหตุที่เกิดขึ้นใหม่ โจทก์จะขอให้บังคับคดีอีกไม่ได้ โจทก์ต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีใหม่
 
12. ฎีกาที่ 4432/2545
            กรณีที่จำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับโดยไม่ยอมออกจากที่ดินพิพาท เจ้าพนักงานบังคับคดีจะดำเนินการบังคับคดีโดยการมอบการครอบครองที่ดินให้โจทก์เข้าครอบครองได้ต่อเมื่อจำเลยไม่ได้อยู่ที่ดินพิพาทนั้นแล้ว (ป.วิ.พ. มาตรา 297 ตรี) จึงจะถือว่าเป็นการบังคับคดีที่เสร็จสมบูรณ์ แต่การที่จำเลยปลูกพืชผลไว้ แม้จำเลยจะไม่ได้มาเฝ้าดูแลตลอดเวลา ก็ยังถือว่าจำเลยยังอยู่นี่ดินพิพาท เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่มีอำนาจจัดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเข้าครอบครองและยังถือว่าจำเลยยังอยู่ในที่ดินพิพาท การบังคับคดียังไม่เสร็จสิ้นลง โจทก์จึงยังขอให้บังคับคดีได้
 
13. ฎีกาที่ 1131-1132/2544
            คำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากที่ดิน ย่อมบังคับรวมถึงสิ่งปลูกสร้างที่เกิดขึ้นใหม่ในระหว่างคดีที่จำเลยกระทำขึ้นหรือยินยอมให้ผู้อื่นกระทำด้วย การที่จำเลยยอมรื้อสิ่งปลูกสร้างเดิมแต่ไม่รื้อสิ่งปลูกสร้างขึ้นใหม่ ถือว่ายังไม่ได้ปฏิบัติตามคำบังคับโดยครบถ้วน
 
กำหนดเวลาบังคับคดี
14. ฎีกาที่ 4741/2539
            กำหนดเวลาในการบังคับคดีตามคำพิพากษา โดยหลักเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง คำพิพากษาหรือคำสั่งในที่นี้ต้องเป็นคำพิพากษาถึงที่สุดด้วย 
 
15. ฎีกาที่ 482/2536
            แม้มูลหนี้เดิมจะเป็นเรื่องการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนจากจำเลย ซึ่งไม่มีอายุความก็ตาม ก็ต้องมีการบังคับคดีตามคำพิพากษาภายใน 10 ปีเช่นกัน
 
16. ฎีกาที่ 883/2508
            กรณีที่ไม่มีอะไรต้องบังคับตามคำพิพากษา โจทก์ไม่บังคับคดีในกำหนด 10 ปี ก็ไม่ทำให้โจทก์เสียสิทธิตามคำพิพากษา
 
17. ฎีกาที่ 1495/2524
            ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ร้องขอให้มีการบังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีสิทธิดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้แม้จะเกิน 10 ปีแล้วก็ตาม 
 
กรณีที่ถือว่ามีการร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปีแล้ว
18. ฎีกาที่ 4728/2543
            ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ครบถ้วนภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ถือว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาตามกำหนดเวลาตามมาตรา 271 แล้ว หลังจากนั้นถือว่าเป็นขั้นตอนของเจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องดำเนินการต่อไปตามอำนาจหน้าที่ ซึ่งจะบังคับคดีเสร็จสิ้นในกำหนด 10 ปี หรือไม่ ไม่เป็นข้อสำคัญ แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีเลยกำหนดเวลาดังกล่าวก็ไม่ทำให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหมดสิทธิในการบังคับคดี
 
19. ฎีกาที่ 6382/2531
            ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเพียงขอแต่ให้ศาลออกคำบังคับหรือหมายบังคับคดีไว้เฉย ๆ จนพ้นกำหนด 10 ปีโดยไม่ได้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้ ถือว่าไม่ได้ร้องขอให้บังคับคดีภายใน 10 ปี จึงหมดสิทธิบังคับคดี
 
20. ฎีกาที่ 3607/2529
            ในกรณีที่มีลูกหนี้ตามคำพิพากษาหลายคน การพิจารณาว่าได้มีการดำเนินการบังคับคดีครบถ้วนขั้นตอนแล้วหรือไม่ ต้องพิจารณาเป็นรายคนไป
 
21. ฎีกาที่ 1818/2543
            ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาหลายรายการ จึงจะเพียงแก่จำนวนหนี้ตามคำพิพากษา เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินทุกรายการภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาเช่นเดียวกัน ถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพียงบางรายการเมื่อขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่เพียงพอชำระหนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะขอให้ยึดทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเมื่อพ้นกำหนด 10 ปี ไม่ได้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือจะบังคับคดีได้ก็ต่อเมื่อดำเนินการครบถ้วนทุกขั้นตอนจากการบังคับคดีในทรัพย์สินเป็นรายการไป
 
22. ฎีกาที่ 3529/2541
            การบังคับคดีตามคำพิพากษา ในกรณีที่ต้องดำเนินการทางเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือต้องยื่นคำขอให้ออกหมายบังคับคดี จะถือว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ร้องขอให้บังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาแล้วหรือไม่ คงต้องดูเป็นกรณี ๆ ไป เช่น ศาลพิพากษาตามยอมว่าจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินให้โจทก์ กรณีนี้ไม่ต้องมีการออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์ของจำเลยออกขายทอดตลาด ดังนั้น การที่โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลว่าประสงค์จะบังคับคดีและนำเงินมัดจำและราคาที่ดินมาวางศาลภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาเพื่อให้จำเลยโอนที่ดินให้ ก็ถือว่าโจทก์ได้ร้องขอให้บังคับคดีโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
 
23. ฎีกาที่ 4728/2543
            เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ดำเนินการบังคับคดีโดยนำยึดที่ดินภายในกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาจนขายทอดตลาดแล้ว แต่เนื่องจากที่ดินต้องห้าม จึงจ่ายเงินให้ไม่ได้ ถือว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ร้องขอให้บังคับคดีภายในกำหนดแล้ว ดังนั้น ถ้าภายหลังที่ดินนั้นพ้นกำหนดห้ามโอนแล้ว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็นำยึดที่ดินนั้นใหม่ได้แม้จะพ้นกำหนด 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาแล้วก็ตาม ก็ถือว่ามีการบังคับคดีภายในกำหนดแล้วเช่นกัน 
 
กรณีสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษายังไม่ถึงกำหนดในวันที่คำพิพากษา
24. ฎีกาที่ 7823/2542
            ระยะเวลาในการบังคับคดี 10 แ นับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่ง แต่ถ้าในวันที่ศาลมีคำพิพากษา สิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษายังไม่ถึงกำหนดชำระ ก็จะเริ่มนับระยะเวลานั้นยังไม่ได้ต้องเริ่มนับแต่วันที่สิทธิเรียกร้องนั้นถึงกำหนดชำระแล้วจำเลยไม่ยอมชำระหนี้
 
25. ฎีกาที่ 525/2519
            ในกรณีกลับกัน หากกำหนดเวลาที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสาระสำคัญ และกำหนดไว้แน่นอน ก็จะเอาระยะเวลาบังคับคดี 10 ปี ตามมาตรา 271 มาบังคับไม่ได้
 
26. ฎีกาที่ 3519/2538
            ถ้าปรากฏว่าจำเลยยังไม่พร้อมที่จะโอนที่ดินให้แก่โจทก์ การที่โจทก์ไม่ชำระเงินภายในกำหนด จะถือว่าโจทก์สละสิทธิในการรับโอนที่ดินหาได้ไม่
 
27. ฎีกาที่ 657/2517
            คำพิพากษาที่ขายให้โจทก์ไถ่ถอนการขายฝาก เป็นการใช้สิทธิตามคำพิพากษาไม่ใช่เป็นการขยายเวลาการขายฝาก โจทก์จึงมีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีต่อกันได้ต่อไป
 
28. ฎีกาที่ 455/2512 (ประชุมใหญ่)
            ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาถึงแก่ความตายจะเอาอายุความมรดก 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
 
29. ฎีกาที่ 816/2543
            การขอเฉลี่ยทรัพย์ เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่ง จึงต้องร้องขอเฉลี่ยภายใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาเช่นกัน และเมื่อร้องขอเฉลี่ยภายใน 10 ปีแล้ว แม้การบังคับคดียังไม่เสร็จจนเลย 10 ปี   คำร้องขอเฉลี่ยก็ไม่สิ้นผล
 
30. ฎีกาที่ 2393/2536
            การแบ่งทรัพย์ตามสัญญาประนีประยอมความ หากมีกรณีต้องบังคับคดี เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็ต้องบังคับภายใน 10 ปีเช่นกัน
 
31. ฎีกาที่ 8759/2538
            ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ก็ต้องบังคับคดีใน 10 ปี นับแต่วันมีคำพิพากษาเช่นกัน
 
32. ฎีกาที่ 3275/2528
            การร้องขอให้จับหรือกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษา เป็นการบังคับคดีอย่างหนึ่งจึงต้องจับกุมและกักขังลูกหนี้ตามคำพิพากษา รวมทั้งบริวารภายในกำหนดเวลา 10 ปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เช่นกัน
 
กำหนดเวลาบังคับคดีไม่ใช่อายุความ
33. ฎีกาที่ 816/2543
            กำหนดเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ไม่ใช่อายุความ ดังนั้น การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไปยึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษา จึงไม่ทำให้กำหนดเวลาบังคับคดีสะดุดหยุดลงหรือขยายออกไปได้อีก
 
34. ฎีกาที่ 5323/2542 
            การที่จำเลยทำหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ให้โจทก์เมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดีแล้ว จึงไม่ใช่การสละประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/24 จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามหนังสือดังกล่าว
 
35. ฎีกาที่ 2278/2526
            ระยะเวลาตามมาตรา 271 ศาลมีอำนาจขยายหรือย่นเข้าได้ตามมาตรา 23 ได้
 
36. ฎีกาที่ 983/2519
            คดีฟ้องขับไล่ ถ้าฐานะของโจทก์เปลี่ยนไปเป็นไปไม่มีสิทธิในที่พิพาทต่อไป รูปคดีจึงไม่มีประโยชน์ต่อโจทก์ โจทก์ไม่อาจขอให้บังคับคดีได้
 
37. ฎีกาที่ 1485/2513
            ในคดีที่ศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนบ้านของจำเลยออกไปจากที่ดินของโจทก์ แม้ภายหลังบ้านดังกล่าวจะถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอีกคดีหนึ่งยึดไว้ขายทอดตลาดจำเลยจะอ้างเป็นเหตุไม่ยอมรื้อบ้านออกไปไม่ได้
 
การบังคับคดีต้องเป็นไปตามลำดับตามคำพิพากษา
38. ฎีกาที่ 788/2543
            คำพิพากษาระบุขั้นตอนการบังคับคดีไว้ จึงต้องปฎิบัติตามขั้นตอนนั้น ศาลต้องออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาในหนี้ลำดับแรก จำเลยจะเลือกปฏิบัติตามคำพิพากษาในหนี้ลำดับแรก จำเลยจะเลือกปฏิบัติขอชำระหนี้ในลำดับที่สองและจะขอให้บังคับคดีเกินไปจากคำพิพากษาหาได้ไม่
 
39. ฎีกาที่ 207/2546
            ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าหากจำเลยไม่ไปจดทะเบียนภาระจำยอม ให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ศาลชั้นต้นย่อมมีคำสั่งให้จำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินได้ เพื่อดำเนินการบังคับคดีไปตามคำพิพากษาได้เพราะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการบังคับคดี ไม่เป็นการบังคับคดีนอกเหนือไปจากคำพิพากษา
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 30

ผมกับจำเลยได้ทำการซื้อขายบ้าน เมื่อผมได้ผ่อนชำระจนหมดและปิดบัญชี แตจำเลยไม่ยอมโอนให้ผม เมื่อคดีความถึงศาล ศาลพิจารณาให้มีการประนีประนอมทั้งสองฝ่าย โดยจำเลยยินยอมชำระเงินภายในหกเดือน นับตั้งแต่ออกสัญญาประนีประนอม แต่จำเลยเพิกเฉยไม่ยอมชำระเงิน และจำเลยได้โอนชื่อในโฉนดตัวเองให้แก่ผู้อื่น เพื่อจำเลยจะได้ไม่มีทรัพย์สิน ผมต้องทำอย่างไรครับ เงินผมจ่ายไปมาก

โดยคุณ นิกร 1 ก.ย. 2561, 21:08

ตอบความคิดเห็นที่ 30

หากในสัญญาประนีประนอมระบุไว้ว่าหากไม่ปฎิบัติตามสามารถบังคับคดีได้ทันที เราสามารถออกหมายตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เพื่อยึดทรัพย์ชำระหนี้ได้ หากจำเลยยักย้าย โอน จำหน่าย ทรัพย์สินของตน ทำให้เราไม่สามารถบังคับชำระหนี้ได้ จะเป็นการโกงเจ้าหนี้ที่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 350 มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 4 หมื่น หรือทั้งจำทั้งปรับ

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 14 ก.ย. 2561, 14:14

ความคิดเห็นที่ 29

คือคดีได้จบถึงชั้นฎีกาแล้วครับ และกระผมก็ได้ย้ายออกจากตึกพิพาทนั้นเรียบร้อยแล้ว ศาลได้พิพากษาให้กระผมชดใช้ค่าเช่าทั้งหมดแก่โจทย์
     แต่ต่อมาโจทย์ก็ไม่ได้มีการบังคับคดีกับกระผมแต่อย่างใด
     และ 1 ปีต่มา โจทย์ก็ได้ขายตึกพิพาทนั้นแก่บุคคลอื่นไป
     กระผมอยากเรียนถามว่า โจทย์ยังมีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องค่าเสียหายหรือบังคับคดีกับกระผมได้อยู่อีกหรือไม่ครับ ในเมื่อโจทย์ได้ขายตึกพิพาทนั้นไปแล้ว
                      
                     ขอแสดงความนับถือ
 และขอขอบพระคุณล่วงหน้ามา ณ โอกาสนี้ครับ
โดยคุณ ธนกฤต จันทร์วงศ์ 3 ส.ค. 2560, 23:04

ความคิดเห็นที่ 28

คดีฟ้องขับไล่ หลังจากศาลพิพากษาให้โจทย์เป็นผู้ชนะและสามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ แต่ต่อมาโจทย์ไม่มีการบังคับคดีแต่อย่างใด และต่อมาอีกโจทย์ได้ทำการขายตึกพิพาทนั้นไปแก่บุคคลอื่น อยากทราบว่าคดีความจะจบไปตามตึกพิพาทที่ขายไปหรือไม่ โจทย์ยังสามารถมาบังคับคดีกับจำเลยเรียกร้องค่าเสียหายได้อยู่อีกหรือไม่ครับ

โดยคุณ ธนกฤต จันทร์วงศ์ 25 มิ.ย. 2560, 18:23

ตอบความคิดเห็นที่ 28

กรณีตามปัญหา  โจทก์ในคดีดังกล่าวย่อมมีฐานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ย่อมมีสิทธิบังคับคดีได้ตามปวิพ.มาตรา 271 มาตรา 275 ส่วนการที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะทำการบังคับคดีหรือไม่ย่อมเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ส่วนผู้อยู่อาศัยในตึกพิพาทดังกล่าวเป็นการอยู่โดยไม่มีสิทธิ ถือว่าเป็นการอยู่โดยละเมิด หากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ขายตึกพิพาทให้บุคคลอื่นต่อไป และบุคคลดังกล่าวยังอยู่อาศัย ก็ยังถือว่าเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ซื้อทรัพย์ ผู้ซื้อทรัพย์ดังกล่าวในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามปพพ.มาตรา 1336 สามารถฟ้องขับไล่ได้ ทั้งนี้ตามปวิพ.มาตรา 55 มาตรา 172

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 21 ก.ค. 2560, 10:51

ความคิดเห็นที่ 27

สวัสดีครับ  รบกวนสอบถามผู้รู้ว่า

1>คำพิพากษาให้ร่วมกันขนย้ายและส่งมอบปั๊มคืนโจทก์ หากส่งมอบไม่ได้ให้ใช้ค่าเสียหาย

แต่ปรากฎว่าโจทก์ยึดทรัพย์เพื่อชำระค่าเสียหายก่อน และมาขับไล่ทีหลัง จะยื่นคำร้องเพื่อให้ยกเลิกการบังคับคดีได้ไหมครับ

ขอบคุณครับ

โดยคุณ ทนายพล คนรุ่นใหม่ 9 พ.ค. 2560, 21:28

ความคิดเห็นที่ 26

 อยากทราบว่าบัตรข้าราชการที่หมดอายุแล้ว นำไปใช้เป็นหลักฐานในการซื้อขาย การโอนที่ดิน ผิดระเบียบวินัยหรือไม่และเจ้าของบัตรได้ออกจากราชการมาแล้ว 18 ปีแล้ว

โดยคุณ 18 ก.ย. 2559, 18:11

ความคิดเห็นที่ 25

 อยากสอบถามในกรณีที่จำเลยที่ 2 โดนบังคับคดี โดยมีทรัพย์เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันของพี่น้อง 4 คน แล้วจำเลยที่ 2 ได้มาเสียชีวิตลง โดยที่จำเลยทืี่ 1 เป็นใครไม่รู้ ผู้ร่วมกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 สามารถทำอะไรได้บ้าง

โดยคุณ จุฑารัตน์ 23 พ.ค. 2559, 09:41

ความคิดเห็นที่ 24

กรณีที่เจ้าของทรัพเสียแล้วแต่เจ้าของทรัพยังไม่ได้ทำการโอมกรรมสิทธิ์.และมีบุตรไปทำโอมกรรมสิทธิ์โดยที่บุตรอีกคนไม่ได้เซ็นรับรองแต่มีบุตร2คนเซ็นรับรองแล้วกรณีนี้ บุตรคนที่ยังไม่ยินยอมด้ไปทำการโอนกรรมสิธิ์โดยที่มีบุตรทุกคนคนยอมรับ ฉะนั้นแล้วเราการโอนกรรมสิทธ์ ใดเสร็จสมบูรณ์และเป็นใบรับรองมรดกมากที่สุด

โดยคุณ ทู้ๆ 19 พ.ย. 2558, 18:55

ความคิดเห็นที่ 23

จนท..ของรัฐไม่เสนอเอกสารผู้มีสิทธิได้รับเงินแต่กลับเสนอผู้ไม่มีสิทธิได้รับเงิน หน่วยงานรัฐจ่ายเช็คผิดให้ผู้ไม่มีสิทธิได้รับเงินสาเหตุจากเจ้าหน้าที่ไม่เสนอเอกสารผู้มีสิทธิได้รับเงินมาเสนอต่อผู้บังคับบัญชา กรณีดังกล่าวความผิดจะเป็นอย่างไร จะดำเนินการคดีทางละเมิดอย่างไรครับ  ขอบคุณครับและผู้มีสิทธิได้รับเงินฟ้องร้องค่อศาล.ศาลพิพากษาเสร็จบังคับให้หน่วยงานรัฐชดใช้เงินให้กับผู้มีสิทธิรายที่1 ส่วนที่จ่ายผิดให้คนที่2 นั้นหน่วยงานรัฐจ่ายผิดเป็นความบริหารในองค์กรเอง  กรณีผู้บังคับบัญชาไม่รู้เรื่องเอกสารการเสนอจะมีความผิดไหมครับแต่เป็นผู้ลงนามในเช็คครับ..เทียบเคียงกับคำพิพากษาเรื่องใดบ้างครับ

โดยคุณ สิทธิพล ชาวพรอน 19 ก.ย. 2558, 14:34

ความคิดเห็นที่ 22

 ก่อนอื่นต้องขอสอบถามว่า สัญญาเช่าที่ดินปลูกบ้านพักอาศัย เราเคยอยู่กับเจ้าของเก่า ต่อมาเจ้าของเก่าขายให้นายเอ นายเอได้เอาสัญญามาให่เจ้าบ้านที่ปลูกบ้านในที่นายเอที่ซื้อต่อมา

ผู้ที่เป็นเจ้าของบ้าน ไม่ยอมเซ็นตสัญญาเช่าที่ดินให้นายเอ ต่อมานายเอก็มาขอร้องเพื่อนที่อาศัยบ้านไกล้เคียงกันกับผู้ที่อาศัยที่ดินนายเอ นายเอบอกว่าให้ช่วยหน่อยจะเอาสัญญาไปกู้แบงค เพื่อมาช่วยซื้อที่ดินตรงนี้ ธนาคารเขาไม่ให้กู้ถ้าไม่มีสัญญาคนเข่าที่ดินที่มีบ้านปลูกอาศัย ช่วยหาคนมาช่วยผมหน่อย ดิฉันก็เลยเรียกพวกเพื่อนๆ มาช่วยเซ็นตชื่อปลอมแทนผู้อยู่อาศัยบ้านที่ปลูกในที่ดินนายเอ ต่อมาผ่านมาห้าปี นายเอได้เอาหมายศาลฟ้องขับไล่ ไม่จ่ายค่าเช่า ทั้งที่เจ้าของบ้านจ่ายค่าเช่ามาตลอด ปี 2556 นายเอยอกให้ออกจากที่ดิน ชาวบ้านไม่ยอมออก ขอค่าลื้อถอนจะไป นายเอไม่ยอมจ่าย ค่าลื้อถอนให้ และชาวบ้านก็ไปร้องเรียนที่อำเถอ มีข้อความบันทึกตามที่ว่านายเอขอให้เพื่อนบ้านเซ็นตสัญญาจริง ซึ่งมีปลัดอำเภอเป็นพยานอยู่ด้วย

เอกสารในคำฟ้องศาล มีสัญญา ของผู้เช่าที่ดินระหว่างนายเอ กับผู้อยู่อาศัย ในสัญญาเช่าที่ดินดังกล่าวมีรายเซ็นตของผู้อยู่อาศัยยื่นฟ้องกับศาล แท้ที่จริงเจ้าของบ้านที่อยู่ในที่นายเอไม่เคยเซ็นสัญญาใดๆกับนายเอเจ้าของที่ดินเลย เป็นการปลอมรายชื่อ 

ดิฉันผู้อยู่ร่วมในการเซ็นตสัญญาด้วย และเป็นคนเนียกชาวบ้านมาช่วยเซ็นตสัญญา อย่างนี้ถ้าเราจะมาแจ้งความข้อหาปลอมรายเซ็นตได้มัย และเราจะมีทางแก้อย่างไร เราต้องการไปจากที่ดินนี้ที่เราอยู่กันมา 70 ปีโดยเปิดเผย เดิมเป็นที่ญาติเราแต่สมัยก่อนมันโกงกัน แต่เขายอมให้พวกเราอยู่ตลอดไปแต่ไม่มีสิทธิในที่ดิน จนมารุ่นหลานได้ขายกิน ใก้กับนายเอ นายเอก็มาไล่ออกเอง

ขอความกนุณาช่วยะวกเราด้วย ว่าตะสู้คดีได้อย่างไร

ขอขอบพระคุผนคะ

โดยคุณ ถูกจับไล่ให้ออกจากที่ดิน ฟ้องศาลละเมิด เรียกร้องค่าเสียหาย 19 ก.ย. 2558, 01:30

ความคิดเห็นที่ 21

 รบกวนอาจารย์ครับ เมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาถึงแกความตาย เราจะมีขั้นตอนอย่างไรเกี่ยวกับการบังคับคดี

โดยคุณ นิติธร 5 ก.ค. 2557, 12:53

ความคิดเห็นที่ 20

รบกวนอาจารย์ครับ ญาติผมเค้าฟ้องคดีมรดกกันแล้วทำสัญญายอมกันโดยบอกนาย ก. บอกว่าจะโอนที่ดินจำนวน 1 แปลงให้กับนาย ข. พร้อมทั้งถมที่ให้ด้วย ปรากฏว่าเค้าโอนที่ให้แต่ไม่ยอมถมที่ให้ อย่างนี้ทำอย่างไรได้บ้างครับ

โดยคุณ ธีพงษ์ 8 พ.ค. 2557, 13:30

ความคิดเห็นที่ 19

สวัสดีค่ะอาจารยื คือหนูเรียนนิติศาสตร์อยู่ปี3ค่ะหนูอยากจะให้อาจารย์อธิบายตัวอย่างนี้ให้เข้าในหน่อยค่ะอ นายเอ ฟ้องนายบี เอ ชนะบี เอจีงเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา และบีเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากาษา หลังจากได้อ่านคำพิพากาษา ศาลมีคำสั่งให้บีจ่ายเงิน 10 ล้าน บีตกใจ ตายยยย สิทธิหน้าที่ จึงตกเป็นของซี ทายาทของบี (ซีเป็นทายาทจึงเข้ารับสิทธิหน้าที่ ของบี)
ก นายเอ จะมาฟ้องบังคับคดีกับนายซีได้ไหม
ข. ถ้านายเอตาย ลูกของนายเอ จะมาฟ้องบังคับคดีแทนนายเอได้รึเปล่า ช่วยอธิบายให้หน่อยนะค่ะ

โดยคุณ น.ส.ภัทรา 9 ก.พ. 2557, 22:48

ความคิดเห็นที่ 18

 คำถาม

กฎหมายแพ่ง การขายฝากที่ดินถ้าเกิน 10 ยังไม่ได้ไถ่คืน จะสามารถไถ่คืนได้หรือไม่ ต้องทำการอย่างไรบ้าง อยากได้ที่คืน พ่อแม่เป็นคนขายฝากไว้แต่ท่านตายแล้ว ลูกควรทำอย่างไรจึงจะไถ่ที่คืนได้

โดยคุณ ดวง 29 พ.ย. 2556, 20:36

ความคิดเห็นที่ 17

ได้ยื่นฟ้องคดีเงินกู้ ศาลนัดไกล่เกลี่ยหลายครั้ง โดยล่าสุดดิฉัน(โจทย์)ได้ให้ทนายทำสัญญาประนีประนอมยอมความ(ตามที่ลูกหนี้เสนอทุกอย่าง) แต่ลูกหนี้ยังผิดนัดอีก ได้ติดต่อไปทางทนายจำเลยแจ้งว่าจำเลยบอกว่าจะโอนเงินให้ เลยเวลามาแล้วก็ยังไม่มีการโอนเงินแต่อย่างใด  

รบกวนสอบถามค่ะ จะดำเนินการบังคับคดีอย่างไร สามารถไม่จ้างทนายดำเนินการได้ไหมคะ

โจทย์ต้องเดินทางไปศาลเอง หรือมอบอำนาจให้ญาติได้ไหมคะ

จริงๆ ไม่อยากเสียเงินเพิ่มอีกแล้ว ที่ผ่านมาสองปีแล้ว จ่ายค่าทนาย ค่าศาล ค่าเดินทางไปตจว.. 

ขอบคุณมากค่ะ

โดยคุณ ธนัชญา 22 ก.พ. 2556, 00:59

ตอบความคิดเห็นที่ 17

 ในสัญญาว่าจ้างทนายทำให้ถึงบังคัยคดีหรือเปล่า  ถ้าไม่ก้อต้องจ้างต่อไป  ในขั้นตอนบังคับคดี  สนใจติดต่อเรา  มาคุยรายละเอียดก่อน

โดยคุณ ดวง 26 ก.ย. 2558, 20:21

ความคิดเห็นที่ 16

 ในสัญญาว่าจ้างทนายทำให้ถึงบังคัยคดีหรือเปล่า  ถ้าไม่ก้อต้องจ้างต่อไป  ในขั้นตอนบังคับคดี  สนใจติดต่อเรา  มาคุยรายละเอียดก่อน

โดยคุณ ดวง 26 ก.ย. 2558, 20:21

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก