คลิป/ไฟล์เสียง วิเคราะห์คดี ศาลรัฐธรรมนูญลงมติ 4 ต่อ 2 ยกคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์|คลิป/ไฟล์เสียง วิเคราะห์คดี ศาลรัฐธรรมนูญลงมติ 4 ต่อ 2 ยกคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์

คลิป/ไฟล์เสียง วิเคราะห์คดี ศาลรัฐธรรมนูญลงมติ 4 ต่อ 2 ยกคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คลิป/ไฟล์เสียง วิเคราะห์คดี ศาลรัฐธรรมนูญลงมติ 4 ต่อ 2 ยกคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์

คลิป/ไฟล์เสียง วิเคราะห์คดี ศาลรัฐธรรมนูญลงมติ 4 ต่อ 2 ยกคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์

บทความวันที่ 29 พ.ย. 2553, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 4211 ครั้ง


คลิป/ไฟล์เสียง วิเคราะห์คดี ศาลรัฐธรรมนูญลงมติ 4 ต่อ 2 ยกคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์

สำหรับแนวทางในการวินิจฉัยคดี ศาลรัฐธรรมนูญ ระบุไว้ 5 ประเด็น คือ
1.ตรวจสอบกระบวนการยื่นคำร้องว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
2.ตรวจสอบว่าการกระทำของพรรคประชาธิปัตย์อยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติพรรคการเมืองปี 2541 หรือ 2550
3.ตรวจสอบว่าการใช้จ่ายเงินกองทุนของพรรคประชาธิปัตย์ ในปี 2548 เป็นไปตามที่ กกต.อนุมัติหรือไม่
4.รายการใช้จ่ายเงินกองทุนของพรรคประชาธิปัตย์ เป็นไปอย่างถูกต้องหรือไม่
5.หากพบว่ามีความผิดต้องยุบพรรค ต้องใช้กฎหมายฉบับใดบังคับ

นอกเหนือไปจากแนวทางการพิจารณาคดีทั้ง 5 ประเด็นจำนวนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็ยังเป็นเรื่องที่ถูกจับตามองไม่น้อย เพราะในคดีนี้จะมีตุลาการร่วมพิจารณา 6 คน จาก 9 คน เป็นผลจากการถอนตัวของนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ กรณีเป็นคู่ความยื่นฟ้องหมิ่นประมาทพรรคเพื่อไทย , นายเฉลิมพล เอกอุรุ กรณีมีนามสกุลเหมือนกับสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ และนายจรูญ อินทจาร ที่เพิ่งยื่นขอถอนตัวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เนื่องจากยื่นฟ้องกรณีคลิปของศาลรัฐธรรมนูญ

แม้จะไม่มีปัญหาในข้อกฎหมายเพราะรัฐธรรมนูญ มาตรา 216 กำหนดให้คณะตุลาการต้องมีไม่ต่ำกว่า 5 คน และให้ยึดตามเสียงข้างมาก แต่หากผลการพิจารณาออกมาเป็น 3 ต่อ 3 เสียง อาจมีความเป็นไปได้ว่าการวินิจฉัยของตุลาการอาจต้องเลื่อนออกไป เพื่อทบทวนกระบวนการอีกครั้งก่อนจะมีคำวินิจฉัยใหม่ หรือหากไม่เลื่อนการพิจารณาก็อาจมีความเป็นไปได้ในอีกแนวทางหนึ่ง คือ ยึดตามกระบวนการพิจารณาคดีความอาญา ซึ่งให้ถือว่าผู้ถูกกล่าวหายังเป็นผู้บริสุทธิ์ หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ชัดเจนว่ามีความผิด ประโยชน์ย่อมตกกับจำเลย ซึ่งหมายถึงการยกประโยชน์ให้กับผู้ถูกกล่าวหา ส่วนแนวทางการตัดสินใจคดีนี้ มีความเป็นไปได้ 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ ยกคำฟ้อง ซึ่งหากเป็นกรณีนี้ พรรคประชาธิปัตย์จะสามารถดำเนินการพรรคได้ตามปกติ และอยู่ในฐานะแกนนำรัฐบาลต่อไป แต่หากมีคำตัดสินให้ยุบพรรคก็อาจมีความเป็นไปได้ใน 3 กรณี คือ ยุบพรรคและตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคทั้งหมด , ยุบพรรคตัดสิทธิ์เฉพาะกรรมการบริหารพรรคที่เกี่ยวข้อง และยุบพรรคแต่ไม่ตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค

กรณีที่ยุบพรรคและตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคทั้งคณะ จะส่งผลโดยตรงต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะต้องกลายเป็นรัฐบาลรักษาการณ์ทันที เพราะนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็น 1 ในกรรมการบริหารของพรรคประชาธิปัตย์ และยังมีกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้อีก 9 คน ที่ต้องยุติการทำหน้าที่เช่นเดียวกัน ซึ่งหากมีคำวินิจฉัยในแนวทางนี้ รัฐสภาจะต้องโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ภายใน 30 วัน ส่วนสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็น ส.ส.ของพรรค จะต้องหาพรรคการเมืองสังกัดภายใน 60 วัน นับตั้งแต่มีคำวินิจฉัย เพื่อรักษาสภาพความเป็น ส.ส.เอาไว้ ซึ่งหากไม่ดำเนินการ จะถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพ แต่หากศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า ให้ยุบพรรคแต่ไม่ตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค นั่นหมายถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต่อไป แต่สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ต้องเปลี่ยนไปสังกัดพรรคการเมืองอื่นภายใน 60 วัน

 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก