การวิเคราะห์สินเชื่อ หลัก 3 \' P|การวิเคราะห์สินเชื่อ หลัก 3 \' P

การวิเคราะห์สินเชื่อ หลัก 3 \' P

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การวิเคราะห์สินเชื่อ หลัก 3 \' P

การให้สินเชื่อ เป็นธุรกิจ ซึ่งจะต้องขายความเสี่ยงเป็นหลัก ดังนั้น การวิเคราะห์สินเชื่อ คือการประกันความเสี่ยงอันเกิดขึ้นได้ในอนาคต

บทความวันที่ 19 พ.ค. 2554, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 27573 ครั้ง


 

การวิเคราะห์สินเชื่อ (CREDIT ANALYSIS)

 

            การให้สินเชื่อ เป็นธุรกิจ ซึ่งจะต้องขายความเสี่ยงเป็นหลัก ดังนั้น การวิเคราะห์สินเชื่อ คือการประกันความเสี่ยงอันเกิดขึ้นได้ในอนาคต ไม่มีใครยืนยันได้ว่า สินเชื่อที่ปล่อยไปนั้นจะได้รับการชำระคืนโดยครบถ้วน

            การวิเคราะห์สินเชื่ออย่างรอบคอบจะช่วยให้ทราบว่า ความเสี่ยงนั้น ยอมรับได้แค่ไหน ถ้าความเสี่ยงมาก ก็ต้องการหลักประกันมาก ถ้าความเสี่ยงน้อย อาจจะไม่ต้องการหลักประกันเลยก็เป็นได้ หลักการเบื้องต้น ในการพิจารณาสินเชื่อ มีหลักใหญ่ ๆ ดังนี้

            หลัก  3 ‘P

1.      วัตถุประสงค์ (PURPOSE)

2.      การชำระคืน  (PAYMENT)

3.      การป้องกันความเสี่ยง (PROTECTION)

 

1.      วัตถุประสงค์ (PURPOSE)

ก่อนที่จะพิจารณาสินเชื่อรายใดรายหนึ่ง จะต้องทราบถึงวงจรธุรกิจของลูกค้า ต้องทราบถึงความต้องการให้สินเชื่อของลูกค้าด้วยว่า  ต้องการใช้วงเงินสินเชื่อเพื่อทำอะไร จะได้กำหนดประเภทของสินเชื่อได้อย่างถูกต้อง และระยะเวลาในการชำระคืนให้ตรงกับวัตถุประสงค์ ก่อนที่จะได้กล่าวในเรื่องนี้ เจ้าหน้าที่สินเชื่อควรทราบว่า สินเชื่อนั้นมีประเภทใดบ้าง

ชนิดของสินเชื่อ (TYPE OF CREDIT)   ชนิดที่ธนาคารจะให้แก่ลูกค้า มีหลายประเภท คือ

-          สินเชื่อระยะยาว (LONG TERM CREDIT)

-          สินเชื่อระยะปานกลาง (MEDIUM TERM CREDIT)

-          สินเชื่อระยะสั้น (SHORT TERM CREDIT)

-          การค้ำประกัน (LETTER OF GRANTEE)

 

การให้สินเชื่อในแต่ละประเภทนั้น ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการใช้ของลูกค้าเป็นสำคัญหากจัดวงเงินให้กับลูกค้า ไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่ใช้ จะทำให้มีปัญหาทางด้านการเงินได้

 

สินเชื่อระยะยาว (LONG TERM CREDIT)

            เป็นสินเชื่อที่ให้ในการลงทุนในทรัพย์สินถาวร (FIX ASSET) เช่น การซื้อที่ดินเครื่องจักรต่าง ๆ  การก่อสร้างอาคาร ,สำนักงาน , โรงงาน สาเหตุที่เป็นสินเชื่อระยะยาว เนื่องจากสินทรัพย์เหล่านี้ ไม่สามารถเปลี่ยนเป็นเงิน มาชำระหนี้ให้แก่ธนาคารได้ในระยะเวลาอันสั้น จึงจำเป็นต้องใช้ผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจ และค่าเสื่อมมาชำระหนี้ ซึ่งเจ้าหน้าที่สินเชื่อควรจะต้องรู้ว่าธุรกิจนั้น สามารถมีผลกำไรเพียงพอที่จะชำระหนี้ในแต่ละงวดได้เพียงใด ก็จะกำหนดการชำระคืนให้สอดคล้องกับผลกำไรนั้น ๆ อาจจะชำระหนี้น้อยในปีแรก และค่อยชำระเพิ่มขึ้นในปีหลัง ๆ ก็ได้ หรือหากธุรกิจนั้น จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการก่อนที่จะสามารถทำกำไรได้ ก็อาจจะกำหนดระยะเวลาการปลอดเงินต้น (GRACE PERIOD) ให้ได้ เช่น ถ้าต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างโรงงานติดตั้งเครื่องจักร (TEST RUN) จนกระทั่งผลิตสินค้าออกขายได้ ใช้เวลา 6 เดือน หรือ 1 ปี ก็จะกำหนด GRACE PERIOD ให้ 6 เดือน หรือ 1 ปี หลังจากนั้น จึงเริ่มให้ชำระคืนเงินคืน แต่ทั้งนี้การชำระดอกเบี้ยต้องชำระทุกเดือน และต้องจำไว้ว่า การกำหนดการชำระคืนเงินต้นนั้น จะต้องเป็นการผ่อนชำระเท่านั้น ไม่ควรกำหนดให้ชำระงวดเดียวทั้งจำนวน (BULLET  LOAN)  เว้นแต่ว่า ธุรกิจนั้น มีรูปแบบการหารายได้ทีเดียว เช่น ธุรกิจการเกษตร ซึ่งมีรายได้ตามฤดูกาลเก็บเกี่ยว สินเชื่อระยะยาวนี้ อาจจะมีระยะเวลาการชำระหนี้คืนภายใน 5-10 หรือถ้าเป็นสินเชื่อเพื่อที่อาศัย ที่ต้องนำเงินเดือน รายได้ประจำมาชำระคืน อาจกำหนดระยะเวลายาวกว่านั้น เป็น 10-20 ปี ก็อาจทำได้ แต่ถ้าเป็นธุรกิจการค้าแล้ว ไม่ควรให้ระยะเวลาการผ่อนชำระคืนนานเกินไป

 

            สินเชื่อระยะปานกลาง (MEDIUM TERM CREDIT)

            เป็นสินเชื่อที่มีกำหนดการชำระคืนภายในระยะเวลา 1-2 ปี สินเชื่อประเภทนี้มีวัตถุประสงค์ให้กับการลงทุนของธุรกิจ ที่สามารถทำกำไรในระยะเวลาอันสั้นได้ เช่น ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ธุรกิจจัดสรร ธุรกิจการเช่าซื้อ ธุรกิจการเกษตร ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะกำหนดวงเงินให้เป็นคราว ๆ ไป เมื่อโครงการหรือธุรกิจนั้นเสร็จสิ้นแล้วก็ไม่สามารถก็ได้อีก เมื่อมีโครงการหรือธุรกิจใหม่ จึงมาขอสินชื่อเป็นคราว ๆ ไป

 

            สินเชื่อระยะสั้น (SHOT TERM CREDIT)

            เป็นสินเชื่อที่ให้โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน (WORKING  CAPITAL) ใช้ในการลงทุนในเรื่องของวัตถุดิบ STOCK สินค้า ค่าแรงงาน ค่าบริหาร การให้ CREDIT แก่ลูกค้า ซึ่งในเรื่องของการ  STOCK สินค้านั้น บางครั้งอาจจะใช้เป็นเงินกู้ระยะยาวก็ได้ ถ้าเป็น STOCK สินค้าที่ไม่หมุนเวียน (DEAD STOCK) เช่น ธุรกิจน้ำมัน จะต้องสำรองน้ำมันได้ตามกฎหมาย STOCK สินค้าเหล่านั้น ไม่สามารถหมุนเวียนได้ อาจให้เป็นเงินกู้ระยะยาวและให้ผ่อนชำระจากกำไรในแต่ละงวดก็ได้

 

            ในการคำนวณความต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียน (WORKING CAPITAL REQUIRE-MENT) ธนาคารจะต้องรู้สึกถึงธุรกิจการค้าของลูกค้า และดูยอดรวมต้นทุนการผลิต ระยะเวลาของการผลิต STOCK สินค้า ระยะเวลาขายสินค้า จนถึงการได้รับการำชระหนี้คืน ว่าใช้ระยะเวลาเท่าไร ซึ่งผู้กู้จะต้องมีสภาพคล่อง (LIQUIDITY) ทางการเงินตลอดระยะเวลาของการดำเนินงาน หากสะดุดหยุดลง ก็จะทำให้ธุรกิจมีปัญหาได้ และยิ่งมีการขยายตัวทางการค้าเพิ่มขึ้นเท่าไร เงินทุนหมุนเวียนก็จะยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น การหาความต้องการใช้เงินทุนหมุนเวียน จะรู้ได้จากประมาณการรายรับ-รายจ่าย ที่ทำขึ้นมานั้นเอง ยกตัวอย่างเช่น

            ลูกค้ารายหนึ่ง มียอดขาย 100,000 บาทต่อเดือน ต้นทุนการผลิต 70,000 บาท มีSTOCK ประมาณ 2 เดือน เมื่อขายสินค้าแล้ว กว่าจะได้รับเงิน ให้CREDIT ลูกค้าอีก 2 เดือน จะเห็นได้ว่า เงินทุนหมุนเวียนที่ใช้ในการผลิต จนถึงระยะเวลาที่จะได้รับเงินรวม 5 เดือน ดังนั้นเงินทุนหมุนเวียนที่ต้องการ เท่ากับ 70,000 * 5 เท่ากับ 350,000 บาท เป็นต้น

            สินเชื่อที่เป็นสินเชื่อระยะสั้น ที่ใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน สามารถให้ได้ในหลายรูปแบบด้วยกัน คือ

            - เงินเบิกเกินบัญชี                   O/D      (OVERDRAFT)

            - การขายลดเช็คฯ                    CBD.   (CLEAN BILL DESCOUNTED)

            - เงินกู้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน     P/N      (PROMISSORY MOTE)

            - ทรัสต์รีซิปท์                          T/R      (TRUST RECEIPT)

            - เงินกู้เพื่อการส่งออก              P/C      (PACKING CREDIT)

 

            การค้ำประกัน (LETTER OF GRANTEE)

            เป็นสินเชื่อที่ธนาคารไม่ได้จ่ายเงินให้แก่ลูกค้า (NONCASH1X) เป็นเพียงภาระผูกพันที่ธนาคารออกให้ เพื่อเป็นการค้ำประกันให้กับลูกค้า ซึ่งเป็นการเสริมสร้าง CREDIT ให้กับลูกค้า และสามารถนำไปใช้เป็นการประกันในธุรกิจ การค้ำประกันแบ่งออกเป็น 2 ส่วน  คือ

-          การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (PERFORMANCE BOND)

-          การค้ำประกันการชำระเงิน (PAYMENT BOND)

ซึ่งใน 2 ส่วนนี้จะเห็นได้ว่า สำหรับธนาคารมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา มีความเสี่ยงน้อยกว่า การค้ำประกันการชำระเงิน ฉะนั้น การคิดค่าธรรมเนียมในการค้ำประกัน ควรคิดแตกต่างกันตามความเสี่ยงและต้องคำนึงด้วยว่า ภาระการค้ำประกันซึ่งเดิมธนาคารไม่ต้องดำรงเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง แต่ในปัจจุบันเมื่อธนาคารใช้ระบบ BIS (BANK FOR INTERNATIONAL SETTLEMENT)  ภาระผูกพันให้นับรวมในสินทรัพย์เสี่ยงด้วย หมายถึง ธนาคารจะต้องมีเงินกองทุนเพื่อการปล่อยสินเชื่อ เท่ากับว่ามีต้นทุนเกิดขึ้นแล้ว ดั้งนั้นในขณะนี้ให้กำหนดค่าธรรมเนียมในการปล่อยสินเชื่อจากเดิม 1% -2% ต่อปี เป็น 2% - 3% ต่อปี

 

 การค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญา (PERFORMANCE BOND)

            - การค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคา (PAYMENT BOND)

            - การค้ำประกันผลงาน (RETENTION BOND)

            - การค้ำประกันสัญญา  (PERFORMANCE BOND)

            - การค้ำประกันการทำงาน

            - การค้ำประกันคนต่างด้าวเข้ามาภายในประเทศ

            - การค้ำประกันการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้า

 

-  การค้ำประกันการชำระเงิน ( PAYMENT BOND) ได้แก่

            - การค้ำประกันการรับเงินล่วงหน้า (ADVANCE PAYMENT BOND)

            - การค้ำประกันการสั่งซื้อสินค้า

            - การค้ำประกันภาษี ค่าไฟฟ้า

            - การ AVAL ตั๋วสัญญาใช้เงิน

            - การรับรองตั๋วแลกเงิน

            - การเปิด LETTER OF CREDIT L/C
            - การเปิด L/C ภายในประเทศ D.L/C

            - STAND BY L/C

 

2. การชำระหนี้คืน (PAYMENT)

            การชำระเงินของลูกค้า เจ้าหน้าที่สินเชื่อ  ต้องพิจารณาความสามารถในการดำเนินธุรกิจของลูกค้า  ถ้าสามารถจะชำระหนี้คืนธนาคารได้อย่างไร  ระยะเวลาที่ขอมา  เหมาะสมกับธุรกิจหรือไม่  และต้องคำนึงถึงด้วยว่า  หากความสามารถในการชำระหนี้คืนใช้ระยะเวลานาน  ต้องใช้ในรูปของสินเชื่อระยะยาว  หากความสามารถในการชำระหนี้คืนใช้ระยะเวลาสั้น  ก็ให้ในรูปสินเชื่อระยะสั้น  ในกรณีที่เป็นการชำระหนี้คืนระยะยาว เช่น การลงทุนใน FIX ASSET  กำหนดให้ระยะสั้น  แต่หากธนาคารให้เงินกู้ระยะยาว  จะทำให้ลูกค้าได้เงินมาก่อนโดยยังไม่ถึงกำหนดชำระ  ลูกค้าอาจนำเงินไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ได้  ทำให้เมื่อถึงกำหนดชำระหนี้คืน  ไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้ให้กับธนาคาร ฉะนั้น  เงื่อนไขในเรื่องระยะเวลาการชำระหนี้คืน  ไม่สามารถนำเงินมาชำระหนี้ให้กับธนาคาร  ฉะนั้น เงื่อนไขในเรื่องระยะเวลาการชำระหนี้คืน  จะต้องเหมาะสมกับเงินสดที่ลูกค้าควรได้รับ  ไม่ควรยาวเกินไปหรือสั้นเกินไป

 

3. การป้องกันความเสี่ยง (PROTECTION)

            การปล่อยสินเชื่อ  เจ้าหน้าที่สินเชื่อต้องพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่า  ธุรกิจที่ปล่อยสินเชื่อไปนั้น  สามารถชำระหนี้คืนให้กับธนาคารได้  แต่ทั้งนี้  ก็ไม่ใช่ว่าเป็นการรับประกันว่าจะไม่มีข้อผิดพลาด ดังนั้น  โดยทั่วไปแล้วธนาคารยังคงต้องพิจารณาผลการดำเนินงาน หากไม่เป็นตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์แล้ว  ผู้บริหารยังมีความสามารถชำระหนี้คืนให้แก่ธนาคารได้หรือไม่  ถ้าสามารถเพิ่มทุนหรือกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่นมาชำระหนี้ได้  หรือธุรกิจยังมีทรัพย์สินพอที่จะขายมาชำระหนี้  หากพิจารณาแล้วเห็นว่า  ความสามารถในการชำระหนี้คืนของลูกค้ามีสูง  ธนาคารก็อาจจะเรียกหลักประกันน้อยลง หรือไม่ต้องมีหลักประกันน้อยลง หรือไม่ต้องมีหลักประกันเลยก็ได้  แต่ถ้าเห็นว่า ความสามารถในการชำระหนี้คืนมีน้อย  ก็อาจจะเรียกหลักประกันให้คุ้มกับหนี้หรือเกินกว่าหนี้ที่ให้ก็ได้  แต่ลูกค้ารายใดที่มีความเสี่ยงสูงและหลักประกันน้อย  ก็สมควรที่จะปฏิเสธไปเลย

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก