กฎหมาย/การคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา /ด้านฉลาก / ด้านสัญญา|กฎหมาย/การคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา /ด้านฉลาก / ด้านสัญญา

กฎหมาย/การคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา /ด้านฉลาก / ด้านสัญญา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

กฎหมาย/การคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา /ด้านฉลาก / ด้านสัญญา

ทนายคลายทุกข์ขอนำสาระเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522

บทความวันที่ 23 พ.ค. 2554, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 141724 ครั้ง


กฎหมาย/การคุ้มครองผู้บริโภคด้านโฆษณา /ด้านฉลาก / ด้านสัญญา

 

           ทนายคลายทุกข์ขอนำสาระเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522  ในส่วนของการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการโฆษณา  การคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก  และการคุ้มครองด้านสัญญา มานำเสนอ  รายละเอียดของพระราชบัญญัติดังกล่าวมีดังต่อไปนี้
มาตรา 22  การโฆษณาจะต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม  ทั้งนี้ ไม่ว่าข้อความดังกล่าวนั้นจะเป็นข้อความที่เกี่ยวกับแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ หรือลักษณะของสินค้าหรือบริการ ตลอดจนการส่งมอบ การจัดหา หรือการใช้สินค้าหรือบริการ
ข้อความดังต่อไปนี้ ถือว่าเป็นข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม
(1) ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง
(2) ข้อความที่จะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริง หรือไม่ก็ตาม
(3) ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมายหรือศีลธรรม หรือนำไปสู่ความเสื่อมเสียในวัฒนธรรมของชาติ
(4) ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน
(5) ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อความที่ใช้ในการโฆษณาที่บุคคลทั่วไปสามารถรู้ได้ว่าเป็นข้อความที่ไม่อาจเป็นความจริงได้โดยแน่แท้ ไม่เป็นข้อความที่ต้องห้ามในการโฆษณาตาม (1)

มาตรา 23  การโฆษณาจะต้องไม่กระทำด้วยวิธีการอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ร่างกายหรือจิตใจ หรืออันอาจก่อให้เกิดความรำคาญแก่ผู้บริโภค  ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

มาตรา 24  ในกรณีที่คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาเห็นว่าสินค้าใดอาจเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคและคณะกรรมการว่าด้วยฉลากได้กำหนดให้สินค้านั้นเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากตามมาตรา 30 ให้คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณามีอำนาจออกคำสั่ง ดังต่อไปนี้
(1) กำหนดให้การโฆษณานั้นต้องกระทำไปพร้อมกับคำแนะนำหรือคำเตือนเกี่ยวกับวิธีใช้หรืออันตราย ตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณากำหนด  ทั้งนี้ โดยคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาจะกำหนดเงื่อนไขให้แตกต่างกันสำหรับการโฆษณาที่ใช้สื่อโฆษณาต่างกันก็ได้
(2) จำกัดการใช้สื่อโฆษณาสำหรับสินค้านั้น
(3) ห้ามการโฆษณาสินค้านั้น
ความใน (2) และ (3) ให้นำมาใช้บังคับแก่การโฆษณาที่คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาเห็นว่าการใช้หรือประโยชน์ของสินค้านั้นขัดต่อนโยบายทางสังคม ศีลธรรม หรือวัฒนธรรมของชาติด้วย
 
มาตรา 25 ในกรณีที่คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาเห็นว่าสินค้าหรือบริการใดผู้บริโภคจำเป็นต้องทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพ ฐานะ และรายละเอียดอย่างอื่นเกี่ยวกับผู้ประกอบธุรกิจด้วย คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณามีอำนาจกำหนดให้การโฆษณาสินค้าหรือบริการนั้นต้องให้ข้อเท็จจริงดังกล่าวตามที่คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณากำหนดได้

มาตรา 26  ในกรณีที่คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาเห็นว่าข้อความในการโฆษณาโดยทางสื่อโฆษณาใด สมควรแจ้งให้ผู้บริโภคทราบว่าข้อความนั้นเป็นข้อความที่มีความมุ่งหมายเพื่อการโฆษณา คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณามีอำนาจกำหนดให้การโฆษณาโดยทางสื่อโฆษณานั้นต้องมีถ้อยคำชี้แจงกำกับให้ประชาชนทราบว่าข้อความดังกล่าวเป็นการโฆษณาได้  ทั้งนี้ คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดให้ต้องปฏิบัติด้วยก็ได้

มาตรา 27  ในกรณีที่คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาเห็นว่าการโฆษณาใดฝ่าฝืนมาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 24 (1) หรือมาตรา 25 ให้คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณามีอำนาจออกคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ดังต่อไปนี้
(1) ให้แก้ไขข้อความหรือวิธีการในการโฆษณา
(2) ห้ามการใช้ข้อความบางอย่างที่ปรากฏในการโฆษณา
(3) ห้ามการโฆษณาหรือห้ามใช้วิธีการนั้นในการโฆษณา
(4) ให้โฆษณาเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดของผู้บริโภคที่อาจเกิดขึ้นแล้วตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณากำหนด
ในการออกคำสั่งตาม (4) ให้คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้บริโภคประกอบกับความสุจริตใจในการกระทำของผู้กระทำการโฆษณา

มาตรา 28  ในกรณีที่คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณามีเหตุอันควรสงสัยว่า ข้อความใดที่ใช้ในการโฆษณาเป็นเท็จหรือเกินความจริงตามมาตรา 22 วรรคสอง (1) ให้คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณามีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้กระทำการโฆษณาพิสูจน์เพื่อแสดงความจริงได้
ในกรณีที่ผู้กระทำการโฆษณาอ้างรายงานทางวิชาการ ผลการวิจัย สถิติ การรับรองของสถาบันหรือบุคคลอื่นใด หรือยืนยันข้อเท็จจริงอันใดอันหนึ่งในการโฆษณา ถ้าผู้กระทำการโฆษณาไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อความที่ใช้ในการโฆษณาเป็นความจริงตามที่กล่าวอ้าง ให้คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณามีอำนาจออกคำสั่งตามมาตรา 27 ได้ และให้ถือว่าผู้กระทำการโฆษณารู้หรือควรได้รู้ว่าข้อความนั้นเป็นความเท็จ

มาตรา 29  ผู้ประกอบธุรกิจผู้ใดสงสัยว่าการโฆษณาของตนจะเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้ประกอบธุรกิจผู้นั้นอาจขอให้คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาพิจารณาให้ความเห็นในเรื่องนั้นก่อนทำการโฆษณาได้ ในกรณีนี้คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาจะต้องให้ความเห็นและแจ้งให้ผู้ขอทราบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาได้รับคำขอ ถ้าไม่แจ้งภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ให้ถือว่าคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาให้ความเห็นชอบแล้ว
การขอความเห็นและค่าป่วยการในการให้ความเห็นให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณากำหนด ค่าป่วยการที่ได้รับให้นำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
การให้ความเห็นของคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาตามวรรคหนึ่งไม่ถือว่าเป็นการตัดอำนาจของคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาที่จะพิจารณาวินิจฉัยใหม่เป็นอย่างอื่นเมื่อมีเหตุอันสมควร
การใดที่ได้กระทำไปตามความเห็นของคณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณาที่ให้ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดทางอาญา

การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านฉลาก                


มาตรา 30 ให้สินค้าที่ผลิตเพื่อขายโดยโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและสินค้าที่สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับกับสินค้าที่คณะกรรมการว่าด้วยฉลากกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ในกรณีที่ปรากฏว่ามีสินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพ ร่างกาย หรือจิตใจ เนื่องในการใช้สินค้าหรือโดยสภาพของสินค้านั้น หรือมีสินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้เป็นประจำ ซึ่งการกำหนดฉลากของสินค้านั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคในการที่จะทราบข้อเท็จจริงในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้านั้น แต่สินค้าดังกล่าวไม่เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการว่าด้วยฉลากมีอำนาจกำหนดให้สินค้านั้นเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากได้ โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 31  ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลาก จะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) ใช้ข้อความที่ตรงต่อความจริงและไม่มีข้อความที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า
(2) ต้องระบุข้อความดังต่อไปนี้
(ก) ชื่อหรือเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิตหรือของผู้นำเข้าเพื่อขาย แล้วแต่กรณี
(ข) สถานที่ผลิตหรือสถานที่ประกอบธุรกิจนำเข้า แล้วแต่กรณี
(ค) ระบุข้อความที่แสดงให้เข้าใจได้ว่าสินค้านั้นคืออะไร ในกรณีที่เป็นสินค้านำเข้าให้ระบุชื่อประเทศที่ผลิตด้วย
(3) ต้องระบุข้อความอันจำเป็น ได้แก่ ราคา ปริมาณ วิธีใช้ ข้อแนะนำ คำเตือน วัน เดือน ปีที่หมดอายุในกรณีเป็นสินค้าที่หมดอายุได้ หรือกรณีอื่น เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค  ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการว่าด้วยฉลากกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นผู้ผลิตเพื่อขายหรือผู้สั่งหรือผู้นำเข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อขายซึ่งสินค้าที่ควบคุมฉลาก แล้วแต่กรณี เป็นผู้จัดทำฉลากก่อนขายและฉลากนั้นต้องมีข้อความดังกล่าวในวรรคหนึ่ง ในการนี้ ข้อความตามวรรคหนึ่ง (2) และ (3) ต้องจัดทำตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการว่าด้วยฉลากกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

มาตรา 32  การกำหนดข้อความของฉลากตามมาตรา 30 ต้องไม่เป็นการบังคับให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องเปิดเผยความลับทางการผลิต เว้นแต่ข้อความดังกล่าวจะเป็นสิ่งจำเป็นที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้บริโภค

มาตรา 33 เมื่อคณะกรรมการว่าด้วยฉลากเห็นว่าฉลากใดไม่เป็นไปตามมาตรา 31 คณะกรรมการว่าด้วยฉลากมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจเลิกใช้ฉลากดังกล่าวหรือดำเนินการแก้ไขฉลากนั้นให้ถูกต้อง

มาตรา 34 ผู้ประกอบธุรกิจผู้ใดสงสัยว่าฉลากของตนจะเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามมาตรา 31 ผู้ประกอบธุรกิจผู้นั้นอาจขอให้คณะกรรมการว่าด้วยฉลากพิจารณาให้ความเห็นในฉลากนั้นก่อนได้ ในกรณีนี้ให้นำมาตรา 29 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

มาตรา 35  เพื่อประโยชน์ในการควบคุมและการตรวจสอบการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าที่ควบคุมฉลาก รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจในสินค้าดังกล่าวต้องจัดทำและเก็บรักษาบัญชีเอกสารและหลักฐานเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบได้
วิธีจัดทำและเก็บรักษาบัญชี เอกสารและหลักฐานตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านสัญญา

 
มาตรา 35 ทวิ  ในการประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการใด ถ้าสัญญาซื้อขายหรือสัญญาให้บริการนั้นมีกฎหมายกำหนดให้ต้องทำเป็นหนังสือ หรือที่ตามปกติประเพณีทำเป็นหนังสือ คณะกรรมการว่าด้วยสัญญามีอำนาจกำหนดให้การประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการนั้นเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาได้
ในการประกอบธุรกิจที่ควบคุมสัญญา สัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้บริโภคจะต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) ใช้ข้อสัญญาที่จำเป็นซึ่งหากมิได้ใช้ข้อสัญญาเช่นนั้น จะทำให้ผู้บริโภคเสียเปรียบผู้ประกอบธุรกิจเกินสมควร
(2) ห้ามใช้ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และรายละเอียดที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญากำหนด และเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นส่วนรวม คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาจะให้ผู้ประกอบธุรกิจจัดทำสัญญาตามแบบที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญากำหนดก็ได้
การกำหนดตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

มาตรา 35 ตรี  เมื่อคณะกรรมการว่าด้วยสัญญากำหนดให้สัญญาของการประกอบธุรกิจที่ควบคุมสัญญาต้องใช้ข้อสัญญาใด หรือต้องใช้ข้อสัญญาใดโดยมีเงื่อนไขในการใช้ข้อสัญญานั้นด้วยตามมาตรา 35 ทวิ แล้ว ถ้าสัญญานั้นไม่ใช้ข้อสัญญาดังกล่าวหรือใช้ข้อสัญญาดังกล่าวแต่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ให้ถือว่าสัญญานั้นใช้ข้อสัญญาดังกล่าวหรือใช้ข้อสัญญาดังกล่าวตามเงื่อนไขนั้น แล้วแต่กรณี

มาตรา 35 จัตวา  เมื่อคณะกรรมการว่าด้วยสัญญากำหนดให้สัญญาของการประกอบธุรกิจที่ควบคุมสัญญาต้องไม่ใช้ข้อสัญญาใดตามมาตรา 35 ทวิ แล้ว ถ้าสัญญานั้นใช้ข้อสัญญาดังกล่าว ให้ถือว่าสัญญานั้นไม่มีข้อสัญญาเช่นว่านั้น

มาตรา 35 เบญจ  คณะกรรมการว่าด้วยสัญญามีอำนาจกำหนดให้การประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงินได้
ในการประกอบธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน หลักฐานการรับเงินจะต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) มีรายการและใช้ข้อความที่จำเป็น ซึ่งหากมิได้มีรายการหรือมิได้ใช้ข้อความเช่นนั้นจะทำให้ผู้บริโภคเสียเปรียบผู้ประกอบธุรกิจเกินสมควร
(2) ห้ามใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และรายละเอียดที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญากำหนด
การกำหนดตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา

มาตรา 35 ฉ  เมื่อคณะกรรมการว่าด้วยสัญญากำหนดให้หลักฐานการรับเงินของการประกอบธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงินต้องใช้ข้อความใด หรือต้องใช้ข้อความใดโดยมีเงื่อนไขในการใช้ข้อความนั้นด้วย หรือต้องไม่ใช้ข้อความใดตามมาตรา 35 เบญจ แล้ว ให้นำมาตรา 35 ตรี และมาตรา 35 จัตวา มาใช้บังคับแก่หลักฐานการรับเงินดังกล่าวโดยอนุโลม

มาตรา 35 สัตต  ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการโดยให้คำมั่นว่าจะทำสัญญารับประกันให้ไว้แก่ผู้บริโภค สัญญาดังกล่าวต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้แทน และต้องส่งมอบสัญญานั้นแก่ผู้บริโภคพร้อมกับการส่งมอบสินค้าหรือให้บริการ
ถ้าสัญญาตามวรรคหนึ่งทำเป็นภาษาต่างประเทศต้องมีคำแปลภาษาไทยกำกับไว้ด้วย

มาตรา 35 อัฏฐ  ผู้ประกอบธุรกิจมีหน้าที่ส่งมอบสัญญาที่มีข้อสัญญาหรือมีข้อสัญญาและแบบถูกต้องตามมาตรา 35 ทวิ หรือส่งมอบหลักฐานการรับเงินที่มีรายการและข้อความถูกต้องตามมาตรา 35เบญจ ให้แก่ผู้บริโภคภายในระยะเวลาที่เป็นทางปฏิบัติตามปกติสำหรับการประกอบธุรกิจประเภทนั้น ๆ หรือภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการว่าด้วยสัญญากำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาสุดแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อน

มาตรา 35 นว  ผู้ประกอบธุรกิจผู้ใดสงสัยว่าแบบสัญญาหรือแบบหลักฐานการรับเงินของตนจะเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ผู้ประกอบธุรกิจผู้นั้นอาจขอให้คณะกรรมการว่าด้วยสัญญาให้ความเห็นในแบบสัญญาหรือแบบหลักฐานการรับเงินนั้นก่อนได้ ในกรณีนี้ให้นำมาตรา 29 มาใช้บังคับโดยอนุโลม

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 24

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522  ถ้าผิด

โดยคุณ บูลย์ 2 พ.ค. 2562, 10:50

ความคิดเห็นที่ 23

ดิฉันรบกวนสอบถาม คะ ขายเสื้อผ้าเด็กซื้อของขากโบ๊เบ๊ แพลตทินัมมาขาย. สินค้าไม่ใช่ลิขสิทธิ์   ตำรวจนอกเครื่องแบบมา8คน. มาจับบอกว่าฉลากเป็นภาษาจีน นำมาจากจีน. นำมาขายผิดกฎหมายบอกฉลากไม่ถูกต้อง. ให้เสียค่าปรับ. ไม่ออกใบเสร็จให้ด้วย. ดิชั้นให้ลุงเป็นตำรวจคุย. เค้าเลยให้จ่ายเงิน แล้วไม่เอาความ. แบบนี้ผู้ที่ซื้อของมาขายต้องทำอย่างไรคะเพราะสินค้าที่ซื้อ. ทางประตูนำ้ก้อผลิตจากจีนทั้งนั้น. ...ขอบคุนคะ

โดยคุณ จิราพร. ไชยวงศ์ 29 ส.ค. 2561, 22:44

ตอบความคิดเห็นที่ 23

หากสินค้าดังกล่าวนำเข้าแบบผิดกฎหมายไม่มีการเสียภาษี ไม่มี อย.และไม่มีฉลากภาษาไทย ย่อมผิดกฎหมาย แนะนำให้ท่านขอใบอนุญาตขายสินค้าให้ถูกต้องกฎหมายครับ  

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 14 ก.ย. 2561, 16:29

ความคิดเห็นที่ 22

อยากสอบถามเกี่ยวกับการโฆษณาค่ะ


ดิฉันได้ซื้อาหารเสริม ลดน้ำหนักมาทาน แล้วปรากฏว่าไม่เห็นผล (คือน้ำหนักไม่ลดจริงๆ) ตามที่โฆษณาไว้


ทางผลิตภัณฑ์มีการการันตีไว้ หากไม่ลดยืนดีคืนเงิน 2 เท่า แต่เมื่อแจ้งไปแล้วกลับไม่คืนเงิน และเพิกเฉยไ


แบบนี้สามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้างคะ

โดยคุณ karnthida 10 พ.ย. 2560, 01:51

ความคิดเห็นที่ 21

 ขอรบกวนปรึกษาหน่อยค่ะ เรื่องมีอยู่ว่าดิฉันได้เปิดเน็ตดูเพื่อหาเช่าสถานที่ที่จะขายของแล้วไปพบว่าที่วิทยาลัยแห่งหนึ่งเปิดให้เช่าโรงอาหารในโฆษณานั้นแจ้งว่ามีนักศึกษาจำนวน 2,500 คน แต่เมื่อได้ไปขายจริงๆจึงรู้ว่าจำนวนนักศึกษาจริงๆแล้วไม่ถึง 200 คน แล้วที่ล็อคขายอาหารนั้นมีคนเคยมาเช่าแล้วขายไม่ได้ต้องขนของออกกันทุกราย ดิฉันได้ทำสัญญาไว้กับทางวิทยาลัยในสัญญาระบุว่าจะคืนเงินมัดจำให้ แต่เมื่อดิฉันแจ้งขอรับเงินมัดจำคืนและขนของออก ก็ยังไม่ได้เงินคืนแถมยังบอกให้ดิฉันต้องจ่ายค่าเช่าของเดือนที่ 2 จึงจะได้เงินมัดจำคืน ดิฉันขายของได้แค่ 2 วันและใน 2 วันที่ดิฉันขายนั้นขายไม่ได้ขาดทุนไปมากๆเลยค่ะ แล้วดิฉันจะเอาเงินที่ไหนไปจ่ายค่าเช่าเดือนที่ 2 คะ ตอนนี้ดิฉันลำบากมากๆค่ะ ไม่มีงานทำ ขายของไม่ได้ขาดทุนไปเยอะมากๆ แถมเงินมัดจำทางวิทยาก็ไม่ยอมคืนให้ แล้วแม่ของดิฉันท่านก็ป่วยไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลเป็นเดือนเสียค่าใช้จ่ายมากๆ จะทำยังไงดีคะ ช่วยตอบด้วยนะคะ ตอนนี้เดือดร้อนมากๆเลยค่ะ 

โดยคุณ สุ 1 ก.พ. 2560, 22:46

ความคิดเห็นที่ 20

 อยากทราบว่า พรบ ปัจจุบันยังใช้อีกใช่ใมค่ะมีการอัพเดจหรือป่าวค่ะ

โดยคุณ ฟาร 28 ม.ค. 2560, 09:36

ความคิดเห็นที่ 19

 อยากสอบถามค่ะ

พอดีได้เอาแหวนทอง10ปีของบริษัทไปจำนำเพราะไม่มีเงินแล้ว ดูเดือนผิดว่าคบกำหนดวันไหน

เลยกำหนดประมาณ20วันค่ะ ทางร้านไม่มีโทรมาแจ้งเราเลยว่าจะถึงกำหนดจ่ายดอกหรือยังไง

เพราะเราจำเดือนผิดค่ะ พอเราไปถามเขาบอกเอาไปหลอมใหม่แล้วค่ะ ทั้งที่เขาไม่โทรมาแจ้ง

พอเราถามว่าทำไมไม่โทรแจ้งค่ะ ร้านอื่นเลยกำหนด1-2เดือนเขายังเก็บไว้ให้เลยค่ะ

แถมยังโทรตามด้วยนะค่ะ แต่ร้านนี้บอกไม่มีโทรตามค่ะ ก็ถามเขาว่าถ้าเป็นแหวนรุ่นปู่รุ่นยาหรือมรดก

คุณจะทำยังไง เขาก็เฉยเขาพูดคำเดียวว่าหล่อมไปแล้วให้เขาโทรหาคนที่หล่อมเขาก็ไม่โทรเขาบอกว่าไม่ทันหรอกเวลานั่นดิฉันทั้งร้องไห้ทั้งสั่นแหวนวงนี้กว่าจะได้10ปีเลยนะค่ะ

อยากขอคำปรึกษาหน่อยค่ะ

โดยคุณ Tasawan 26 ธ.ค. 2559, 23:18

ความคิดเห็นที่ 18

 บีทโปรดัก ก.ท.ม. ลอกลวงฉ้อโกงโดยสื่อสิ่งพิมพ์ ในปี พ.ศ.2557 ที่ผ่านมา,มีหลักฐานโรงพักกะทู้ จังหวัดภูเก็ต เหล่าสังคมงานแพร่หลายกฎหมายเสน่าหาไอ้ขาดทุนเที่ยวให้ไปทั่ว บวกกลับเครดิตหลักบัญชีพวกอน่างนี้มันรู้ดี รานได้ ไม่รู้สรรพาก ทป. นำ้หน้ากินแล้วขี้เหมือนคนจริง

เป็นคนสุราษฎร์ธานี 

โดยคุณ นาย นิรุช ช่างเรือ 2 พ.ย. 2559, 17:59

ความคิดเห็นที่ 17

 ผมสั่งของออนไลน์แล้วไม่ได้ของตามที่กำหนด ผมถามขอเลขบัสดุทางเพจเขาก็ไม่ให้ ผมเลยบอกว่าขอโอนเงินคืนนะตอนนี้ยังไม่โอนเลยครับ ผมควรทำอย่างไรดีครับ

โดยคุณ ปฐมทรรศน์ น้อยลา 25 ก.ย. 2559, 18:49

ความคิดเห็นที่ 16

ถ้าป้ายสินค้ากับราคาสินค้าที่คิดจริงไม่ตรงกันเราจะสามารถทำอะไรและได้รับอะไรบ้างคะ 

โดยคุณ ชณัญทิตา 1 มี.ค. 2559, 18:23

ความคิดเห็นที่ 15

 ซื้อของเจ้าของร้านไม่ขายให้ผิด กม.อาญาหรือไม่

โดยคุณ 8 ม.ค. 2559, 17:19

ความคิดเห็นที่ 14

 กรณีเช่าซื้อรถจักรยานยนต์ ขาดส่ง3เดือนบริษัทได้มานำรถกลับคืนในวันที่ทางบริษัทมารับรถคืนดิฉันได้สอบถามพนักงานที่มารับว่าจะมีค่าใช้จ่ายมาภายหลังหรือไม่พนักบอกไม่มีครับ..แต่พอผ่านมาเกือบ2ปีมีจดหมายมาที่บ้านเพื่อเรียกเก็บเงิน ควรทำยังไงดีค่ะ

โดยคุณ น้ำก้อ 27 มี.ค. 2558, 20:16

ความคิดเห็นที่ 13

 เรื่องราวมันเป็นประมานนี้น่ะครับ

คือผมสั่งซื้อจองทางเน็ต มันประกอบด้วย สินค้าหลัก1อย่าง และมีของแถมด้วย ปรากฏว่า พอเค้าส่งของมา ของแถมดันหมดอายุแล้ว แจ้งกลับไปหวังว่าเค้าจะดำเนินการอะไรซักอย่าง แต่ดันไม่รับผิดชอบใดๆ แถมบอกอีกว่า มันเป็นของแถมและถึงแม้จะหมดอายุแล้ว ก็ยังสามารถทานได้อีก 2-3 เดือน

คำถามคือ...

1) เรื่องนี้ผมสามารถทำอะไรได้บ้างน่ะครับ แจ้ง สคบ ได้หรือไม่ (เราตัดสินใจซื้อเพราะมีของแถมด้วยน่ะครับ)

2) สคบ คุ้มครองเรื่องนี้หรือไม่ เค้ามีความผิดมั้ย ถ้าผิดจะมีโทษอย่างไรบ้าง 

โดยคุณ Mor 3 มี.ค. 2558, 06:18

ความคิดเห็นที่ 12

ไป ซื้อสินค้าที่ร้านขนาดก็ค่อนข้างใหญ่   สินค้าบางชนิดก็ติดราคา. บางชนิด ก็ไม่ติดราคา ถามราคา  เจ้าของร้านผู้หญิงบอกราคานึง. พอคิดเงิน เจ้าของผูชายคิดอีกราคา ใบเสร็จก็ไม่มี.  แจ้ง สคบ ได้ไม๊คะ. หลักฐานไม่มีเพราะไม่มีใบเสร็จ

โดยคุณ คณิศร 8 ก.พ. 2558, 13:42

ความคิดเห็นที่ 11

 กรณีเช่าซื้อรถแล้วขาดส่ง3เดือนทางบริษัทได้ให้นำรถไปคืน...ทางบริษัทแจ้งมาว่าแค่นำรถไปคืนกับบริษัทก็พอโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆแต่สุดท้ายทางบริษัทได้ทำการขายรถต่อโดยที่ไม่แจ้งให้ดิฉันทราบและก็มาเรียกเก็บเงินส่วนต่างที่ดิฉันอีกดิฉันควรทำอย่างไรค่ะ....สคบ.จะคุ้มครองอะไรเราได้บ้างค่ะ

โดยคุณ ภัสศิริกานต์ 17 ก.ย. 2557, 13:32

ความคิดเห็นที่ 10

 อยากรู้ว่าถ้าโฆษณาเกินจริงต้องถูกปรับ/จำคุกเท่าไรค่ะ

โดยคุณ yanin 20 ม.ค. 2557, 16:33

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก