ระเบียบฯ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2554 เรื่อง การเพิ่มชื่อ การถอนชื่อ|ระเบียบฯ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2554 เรื่อง การเพิ่มชื่อ การถอนชื่อ

ระเบียบฯ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2554 เรื่อง การเพิ่มชื่อ การถอนชื่อ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ระเบียบฯ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2554 เรื่อง การเพิ่มชื่อ การถอนชื่อ

ส่วนที่ 4 การเพิ่มชื่อ การถอนชื่อ

บทความวันที่ 24 พ.ค. 2554, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 4463 ครั้ง


 

ระเบียบฯ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ.2554  เรื่อง การเพิ่มชื่อ การถอนชื่อ

 

ส่วนที่ 4

การเพิ่มชื่อ การถอนชื่อ

 

1. การเพิ่มชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ข้อ 56 กรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งหรือเจ้าบ้านผู้ใดเห็นว่า ตนหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของตนไม่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ส.ส. 10) ของหน่วยเลือกตั้งที่ตนหรือผู้นั้นสมควรมีชื่อเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งนั้น ให้นำสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวอื่นใดที่ทางราชการออกให้มายื่นคำร้องตามแบบ ส.ส. 12 ต่อนายทะเบียนอำเภอและนายทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งทำการแทนคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งที่หน่วยเลือกตั้งนั้นตั้งอยู่ในเขตรับผิดชอบก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบวัน

เมื่อนายทะเบียนอำเภอและนายทะเบียนท้องถิ่นได้รับคำร้องและหลักฐานแล้ว หากพิจารณาเห็นว่าผู้ยื่นคำร้องหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้เพิ่มชื่อผู้ยื่นคำร้องหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านลงในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ส.ส. 10) ด้วยวิธีพิมพ์ชื่อเพิ่มเติมต่อใบสุดท้ายของบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ส.ส. 10) ของหน่วยเลือกตั้งนั้น พร้อมบันทึกสาเหตุของการเพิ่มชื่อไว้ในช่องหมายเหตุและลงลายมือชื่อวันเดือนปีกำกับไว้ในกรณีนายทะเบียนอำเภอและนายทะเบียนท้องถิ่นพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ยื่นคำร้องหรือผู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่ขอเพิ่มชื่อเป็นผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ให้สั่งยกคำร้องเป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมทั้งแสดงเหตุผลและแจ้งให้ผู้ยื่นคำร้องทราบภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง

ข้อ 57 ในกรณีผู้ยื่นคำร้องที่ได้รับแจ้งจากนายทะเบียนอำเภอและนายทะเบียนท้องถิ่นตามข้อ 56 วรรคสาม แล้วไม่เห็นชอบด้วย ผู้ยื่นคำร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่หรือต่อศาลแพ่งสำหรับผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าห้าวันเพื่อขอให้ศาลวินิจฉัยว่าจะให้เพิ่มชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ส.ส. 10) ตามที่ยื่นคำร้องหรือไม่โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนการพิจารณา

ข้อ 58 ในกรณีที่นายทะเบียนอำเภอและนายทะเบียนท้องถิ่น ได้รับคำสั่งของศาลให้เพิ่มชื่อบุคคลใดในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ดำเนินการให้เป็นไปตามนั้น ด้วยวิธีพิมพ์ชื่อเพิ่มเติมเช่นเดียวกับข้อ 56 วรรคสอง

 

2. การถอนชื่อผู้ซึ่งไม่มีสิทธิเลือกตั้งออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ข้อ 59 กรณีผู้มีสิทธิเลือกตั้งใดเห็นว่าในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ส.ส. 10) ของหน่วยเลือกตั้งมีผู้ซึ่งไม่มีสิทธิเลือกตั้งปรากฏอยู่ ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นยื่นคำร้องขอถอนชื่อ ตามแบบส.ส. 12 ผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้งดังกล่าวออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ส.ส. 10) ต่อนายทะเบียนอำเภอและนายทะเบียนท้องถิ่น ซึ่งทำการแทนคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง ที่หน่วยเลือกตั้งนั้นตั้งอยู่ในเขตรับผิดชอบก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบวัน

เมื่อนายทะเบียนอำเภอและนายทะเบียนท้องถิ่นได้พิจารณาคำร้องแล้ว เห็นว่ามีหลักฐานพอเชื่อได้ว่าบุคคลดังกล่าวเป็นผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้ง ให้สั่งถอนชื่อผู้นั้นออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยให้ดำเนินการขีดฆ่าชื่อออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง พร้อมบันทึกสาเหตุของการถอนชื่อไว้ในช่องหมายเหตุและลงลายมือชื่อวันเดือนปีกำกับไว้แล้วให้แจ้งคำสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องและเจ้าบ้านทราบ

ในกรณีนายทะเบียนอำเภอและนายทะเบียนท้องถิ่นพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ถูกขอถอนชื่อเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้สั่งยกคำร้องพร้อมทั้งแสดงเหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษรและแจ้งคำสั่งให้ผู้ยื่นคำร้องและเจ้าบ้านทราบภายในสามวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้อง

ข้อ 60 ในกรณีผู้ยื่นคำร้องหรือเจ้าบ้านที่ได้รับแจ้งจากนายทะเบียนอำเภอและนายทะเบียนท้องถิ่นตามข้อ 59 แล้วไม่เห็นชอบด้วย ผู้ยื่นคำร้องหรือเจ้าบ้านมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่ หรือต่อศาลแพ่งสำหรับผู้มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานครก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าห้าวันเพื่อขอให้ศาลวินิจฉัยว่าจะให้ถอนชื่อออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ส.ส. 10) ตามที่ยื่นคำร้องหรือไม่ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลในการดำเนินกระบวนพิจารณา

ข้อ 61 กรณีที่เจ้าบ้านเห็นว่าในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งปรากฏชื่อบุคคลอื่นอยู่ในทะเบียนบ้านของตนโดยที่บุคคลนั้นมิได้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านดังกล่าวจริง ให้เจ้าบ้านนำสำเนาทะเบียนบ้านไปแสดงเป็นหลักฐานต่อนายทะเบียนอำเภอและนายทะเบียนท้องถิ่นก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่าสิบวันหรือนำหลักฐานดังกล่าวไปแสดงต่อคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งในวันเลือกตั้งเมื่อนายทะเบียนอำเภอและนายทะเบียนท้องถิ่น หรือคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งแล้วแต่กรณี พิจารณาแล้วเห็นว่าบุคคลนั้นมิได้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านดังกล่าวจริง ให้มีคำสั่งถอนชื่อออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ในการถอนชื่อออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้ใช้วิธีขีดฆ่าชื่อออกพร้อมบันทึกสาเหตุของการถอนไว้ในช่องหมายเหตุและลงลายมือชื่อวันเดือนปีกำกับไว้

ในกรณีที่คณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งมีคำสั่งถอนชื่อบุคคลใดออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งของหน่วยเลือกตั้งนั้น ให้บันทึกการถอนชื่อไว้ในสมุดรายงานเหตุการณ์ประจำหน่วยเลือกตั้ง(ส.ส. 25) ด้วย

ข้อ 62 ในกรณีที่นายทะเบียนอำเภอและนายทะเบียนท้องถิ่นได้รับคำสั่งศาลให้ถอนชื่อบุคคลใดออกจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้ดำเนินการตามนั้นด้วยวิธีขีดฆ่าชื่อออกเช่นเดียวกับข้อ 61 วรรคสาม

ข้อ 63 การย้ายบุคคลเข้ามาในทะเบียนบ้านเพื่อประโยชน์ในการเลือกตั้งโดยมิชอบ กรณีที่สันนิษฐานว่าเป็นการย้ายบุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปซึ่งไม่มีชื่อสกุลเดียวกับเจ้าบ้านเข้ามาในทะเบียนบ้านเพื่อให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิเลือกตั้งที่จะมีขึ้นภายในสองปีนับแต่วันที่ย้ายเข้ามาในทะเบียนบ้านตามมาตรา 33 (1) แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.2550 แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 จะต้องเป็นกรณีใดกรณีหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(1) เป็นการแจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้านในคราวเดียวกันหรือหลายคราวในระยะเวลาใกล้เคียงกัน

(2) เป็นการแจ้งย้ายที่อยู่เข้ามาในบ้านหรืออาคารที่มีขนาดพื้นที่อยู่อาศัยไม่เหมาะสม ตามที่กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขกำหนดไว้ว่าจะต้องมีพื้นที่อยู่อาศัยไม่ต่ำกว่าสามตารางเมตร ต่อหนึ่งคน

กรณีตาม (1) และ (2) ต้องไม่เป็นการแจ้งย้ายที่เกิดจากการรณรงค์ และการจัดทำโครงการของทางราชการเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรให้มีชื่อ และรายการบุคคลตรงตามสถานที่ที่อยู่อาศัยจริงซึ่งเป็นการแก้ไขปัญหาประชากรแฝง

 

ส่วนที่ 5

การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง

 

ข้อ 64 ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลใดและได้แจ้งคำพิพากษาถึงคณะกรรมการการเลือกตั้งแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งแจ้งนายทะเบียนกลางเพื่อหมายเหตุ การถูกเพิกถอนสิทธิไว้ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

ข้อ 65 ในกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งบุคคลใดแล้วให้คณะกรรมการการเลือกตั้งแจ้งนายทะเบียนกลางเพื่อหมายเหตุการถูกเพิกถอนสิทธิไว้ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งแจ้งรายชื่อบุคคลที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามวรรคหนึ่งไปให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง

ทราบทันที ตามแบบ ส.ส. 13

ข้อ 66 เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งได้รับแจ้งรายชื่อบุคคลที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามข้อ 65 วรรคสอง แล้วให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งจัดทำประกาศการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งตามแบบ ส.ส. 14 และจัดส่งให้นายอำเภอและปลัดเทศบาลปิดประกาศไว้ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือสำนักงานเทศบาลโดยเร็ว

ข้อ 67 กรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งได้ประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ส.ส. 10) ตามข้อ 53 แล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้ง หรือผู้ที่คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งมอบหมาย ตรวจสอบว่ามีชื่อของบุคคลที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ส.ส. 10) หรือไม่ หากมีชื่อของบุคคลที่ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งแต่ไม่มีบันทึกหมายเหตุการถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งให้แจ้งนายทะเบียนอำเภอ หรือนายทะเบียนท้องถิ่น

ขีดฆ่าชื่อบุคคลดังกล่าวออกจากประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (ส.ส. 10) ชุดที่หก ชุดที่เจ็ดและชุดที่แปด โดยให้ระบุข้อความในช่องหมายเหตุว่า ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งและลงลายมือชื่อวันเดือนปีกำกับไว้

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 5

มีชื่อในทะเบียนบ้านบุรีรัมย์ แต่ปรากฎใช้สิทธิเลือกตั้งที่ต่างจังหวัด  ต้องทำอย่างไร

โดยคุณ ไพฑูรย์ 7 ก.ค. 2559, 10:58

ความคิดเห็นที่ 4

สวัสดี คุณต้องการใด ๆ ของสินเชื่อหรือไม่ ทั้งนี้เป็นการโฆษณาออนไลน์เพื่อให้คุณทราบว่า คุณจะได้รับสินเชื่อเร่งด่วน และประหยัดจากของฉันส่วนตัวยืมของบริษัท กรุณาติดต่อฉันผ่านทางเมล์ หรือคุณสามารถให้ฉันโทร:

ติดต่ออีเมล์: [email protected]

หมายเลขโทรศัพท์มือถือ: +123-4214-5141

บริษัทตัวแทนโฆษณา

โดยคุณ บริษัทตัวแทนโฆษณา 30 ก.ค. 2557, 16:20

ความคิดเห็นที่ 3

 ย้ายเข้ามากี่วันถึงจะมีสิทธิลงคะแนน มีคำสั่งอ้้างอิงใหม

โดยคุณ นิเวศ ปากเมย 14 พ.ค. 2555, 21:54

ความคิดเห็นที่ 2

เคยแจ้งเลือกตั้งนอกเขต ที่กทม. ขณะนี้จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งในท้องถิ่นแล้วไม่รายชื่อจะต้องทำอย่างไรค่ะ กรุณาตอบด้วยนะจะเลือกวันที่1 ก.ย 54 นี้แล้วนะคะ

โดยคุณ ชนิตา 26 ส.ค. 2554, 23:14

ความคิดเห็นที่ 1

มาเลือกตั้งแล้วไม้มีชื่อเลือกตั้ง

อยู่จ.สกล แต่ขอใช้สิทธิ์เลือกตั้งที่ปราจีนตั้งแต่ปี๔๗มั้ยได้ยกเลิก

ตรวจที่อ.แล้วมีสิทธิ์แต่มาเลือกกลับมั้ยมีชื่อ

โดยคุณ นิรัน 3 ก.ค. 2554, 12:56

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก