การเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237|การเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237

การเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237

ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้โอนทรัพย์สินให้บุตรหลังจากจากเป็นหนี้

บทความวันที่ 3 เม.ย. 2555, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 4002 ครั้ง


การเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ.มาตรา 237


           ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้โอนทรัพย์สินให้บุตรหลังจากจากเป็นหนี้  โดยมีเจตนาไม่ให้เจ้าหนี้ได้รับการชำระหนี้  ก่อนศาลมีการฟ้องคดีและศาลมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องโจทก์ โจทก์สืบทรัพย์ไม่พบทรัพย์สินใด ๆ  ขอถามว่า โจทก์สามารถร้องขอเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉลได้หรือไหม ? และ หลักการสืบพยานหลักฐาน โดยขอพยานหลักฐานที่เป็นของบุตร(ไม่ได้เป็นการละมิด)  ถามว่าควรสืบจากอะไรก่อนหรืออื่นๆ ดี


คำแนะนำสำนักงานทนายความ  ทนายคลายทุกข์
          1. อำนาจฟ้องเพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉลตาม ป.พ.พ.มาตรา 237 เป็นการให้สิทธิเจ้าหนี้ที่จะสงวนไว้ซึ่งกองทรัพย์สินของลูกหนี้เนื่องจากทรัพย์สินของลูกหนี้เหล่านั้น ย่อมเป็นหลักประกันการชำระหนี้ตามมาตรา 214 เจ้าหนี้ที่มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของลูกหนี้ดังกล่าวและต้องเสียเปรียบเนื่องจากทรัพย์สินของลูกหนี้ลดลงไม่พอชำระหนี้เพราะการทำนิติกรรมฉ้อฉลของลูกหนี้ จึงมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉลได้ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วหรือไม่ หรือเจ้าหนี้ยังไม่ได้ฟ้องร้องขอให้ชำระหนี้ก็ตาม ดังนั้น หากลูกหนี้ตามคำพิพากษาทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินให้แก่บุตรโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาเสียเปรียบอันเป็นการฉ้อฉลเจ้าหนี้ฯ เจ้าหนี้ฯ จึงมีอำนาจฟ้องลูกหนี้และบุตรให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้
          2. ส่วนการสืบพยานหลักฐานเกี่ยวกับการทำนิติกรมที่เป็นการฉ้อฉล เจ้าหนี้ผู้กล่าวอ้างอิงต้นฉบับเอกสารซึ่งอยู่ในความครอบครองของผู้รับโอนเป็นจำเลย เจ้าหนี้สามารถจะยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลเพื่อขอให้สั่งจำเลยส่งต้นฉบับเอกสารนั้นได้ หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล กฎหมายให้ถือว่าข้อเท็จจริงแห่งข้ออ้างที่เจ้าหนี้จะต้องนำสืบโดยเอกสารนั้น จำเลยไม่ยอมรับแล้วตาม ป.วิ.พ.มาตรา 123 วรรคแรก

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

หลานถูกหลอกให้เซ็นมอบอำนาจทด๒๑. หลานเซ็นไปด้วยความไว้ใจป้า ว่าจะไปโอนบ้านหลังสอง แต่ป้ากลับไปโอนหลังแรกแทนเป็นชื่อของป้าเอง หลานรู้ขอคืนป้าไม่ยอม อันนี้ถือว่าเจตนาหลอกลวงจริงๆใช่ไหมค่ะผ่านมา8เดือนแล้วค่ะ จะขอความกรุณาช่วยหาทางออกให้ด้วยค่ะ กลัวหลานเขาคิดมากจะทำอะไรลงไปโดยไม่คาดคิดค่ะ

               ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ ไทรแก้ว กลิ่นคำ 27 มิ.ย. 2560, 17:32

ตอบความคิดเห็นที่ 1

กรณีตามปัญหา  เป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ ตามปพพ.มาตรา 156  เจ้าของกรรมสิทธิ์มีอำนาจติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้ตามมาตรา 1336

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 20 ก.ค. 2560, 15:50

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก