WebBoard :บังคับคดี|ขอความกรุณาท่านทนายความ ท่านผู้รู้ ได้โปรดแนะนำแนวทางการต่อสู้คดีให้ผมด้วยครับ ผมถูกฟ้องล้มละลาย

ขอความกรุณาท่านทนายความ ท่านผู้รู้ ได้โปรดแนะนำแนวทางการต่อสู้คดีให้ผมด้วยครับ ผมถูกฟ้องล้มละลาย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ขอความกรุณาท่านทนายความ ท่านผู้รู้ ได้โปรดแนะนำแนวทางการต่อสู้คดีให้ผมด้วยครับ ผมถูกฟ้องล้มละลาย

  • 49
  • 1
  • post on 5 ก.ย. 2567, 18:35

สวัสดีครับ ผมถูกฟ้องล้มละลาย โดยแรกเริ่มผมได้กู้เงินเจ้าหนี้โดยมีหลักทรัพย์ค้ำประกันเป็นบ้านที่ตัวเองอยู่อาศัย ต่อมาผมไม่สามารถชำระหนี้ได้ จึงถูกฟ้องให้ชำระหนี้ และทำสัญญายอมในวันที่ 24 ธ.ค. 2557 โดยตกลงผ่อนผันชำระหนี้ให้เจ้าหนี้เป็นรายเดือน เดือนละ 12,000 บาท และจะต้องชำระหนี้ทั้งหมดภายใน 1 ปี และถ้าผิดนัดตามสัญญายอมนี้ไม่ว่าข้อใดข้อหนึ่ง หรือเดือนหนึ่งเดือนใดให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมด และยินยอมให้บังคับคดีในหนี้ที่ค้างชำระได้ทันที พร้อมทั้งปรับอัตราดอกเบี้ยที่อัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ผิดนัดชำระหนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น


นับตั้งแต่ทำสัญญายอม ผมก็ชำระหนี้ให้เจ้าหนี้เสมอมา แต่ชำระไม่ครบ 12,000 บางเดือน  (เพราะคนที่ต้องรับผิดชอบในการใช้หนี้อีกคน ไม่สามารถชำระหนี้ได้ มีแต่ผมที่ชำระหนี้คนเดียวมาโดยตลอด) จากนั้นปีต่อมาผมได้ทำข้อตกลงผ่อนผันการประนอมหนี้ตามสัญญายอมอีก 2 ครั้ง และชำระหนี้เรื่อยมา แต่ไม่สามารถหาเงินก้อนมาชำระหนี้ทั้งหมดได้ ซึ่งกินระยะเวลาทั้งหมดเกือบ 9 ปีเต็ม


ต่อมาบ้านที่เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันถูกเจ้าหนี้นอกยึด เพราะเจ้าของทรัพย์ที่กู้ร่วมด้วยได้เคยไปค้ำประกันเช่าซื้อรถทัวร์ไว้เมื่อ 8 ปีก่อน ทำให้ไฟแนนท์ยึดทรัพย์ไปขายทอดตลาด ผมจึงต้องเจรจากับไฟแนนท์โดยยอมจ่ายเงินเป็นจำนวน 550,000 บาท เพื่อให้ไฟแนนท์ถอนการยึดทรัพย์ และไม่นานเจ้าหนี้บุริมสิทธิ์ก็แจ้งว่าจะทำการยึดทรัพย์ต่อจากไฟแนนท์


จนมาปี 2566 ผมได้เจรจาขอลดหนี้กับเจ้าหนี้ และเจ้าหนี้ได้ลดหนี้ให้เหลือ 1,680,000 บาท โดยให้ชำระหนี้ทั้งหมดภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่วันทำข้อตกลง และให้ผมชำระหนี้เพียงบางส่วน จำนวน 20,000 บาท ก่อนทำข้อตกลงขอลดหนี้เพื่อไถ่ถอนทรัพย์ค้ำประกัน (บ้าน) แต่เมื่อครบกำหนดผมก็ไม่สามารถหาเงินไปชำระตามที่ได้ตกลงกันไว้ได้ โดยใบเสร็จใบสุดท้ายที่ผมชำระหนี้ 20,000 บาท ก่อนทำสัญญาขอลดหนี้มียอดเงินต้น ยอดดอกเบี้ย ที่เหลืออยู่ชัดเจน โดยนับตั้งแต่ทำสัญญาณตามยอม ผมได้ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้รวม 787,384 บาท โดยยอดเงินต้นและยอดดอกเบี้ยที่ปรากฏในใบเสร็จใบสุดท้ายคือ เงินต้น 1,535,418 บาท ดอกเบี้ย 716,800.77 บาท


จากนั้นต่อมาไม่นานเจ้าหนี้ได้ยึดบ้านของผมไปขายทอดตลาด และขายได้ในราคา 2,360,000 บาท และเจ้าหนี้ได้ขายหนี้ให้กับบริษัทอื่นมาสวมสิทธิ์แทน


จนมาถึงเดือนกันยายนปีนี้ 2567 เจ้าหนี้ใหม่ได้ยื่นฟ้องให้ผมล้มละลายเพราะไม่มีทรัพย์ให้ยึดเป็นหนี้สินล้นพ้นตัว โดยเจ้าหนี้ใหม่ คำนวณหนี้ใหม่ โดยคิดดอกเบี้ยจากเงินต้นในอัตรา 15% นับตั้งแต่วันฟ้องในเดือนธันวาคม ปี 2557 ซึ่งคิดเป็น 3.6 พันกว่าวัน ทำให้ผมมีดอกเบี้ยค้างอยู่ 2 ล้านกว่าบาท เมื่อรวมกับเงินต้นจึงเป็นจำนวน 3 ล้านกว่า และเมื่อเอาเงินขายทอดตลาดทรัพย์มาหักออกแล้ว ทำให้ผมยังมียอดหนี้เหลืออยู่ 1.6 ล้านบาท เป็นเหตุให้ถูกฟ้องล้มละลาย


และเมื่อไปศาลในนัดไตร่สวนนัดแรก เมื่อผมแถลงต่อศาลว่าชำระหนี้ไปแล้ว 787,384 บาท โดยมีหลักฐานเป็นใบเสร็จการชำระเงิน และขายทอดตลาดทรัพย์ที่เป็นหลักประกันได้ 2,360,000 บาท รวมเป็น 3.1 ล้าน และแย้งว่าถ้าเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยตามใบเสร็จใบสุดท้ายที่ผมชำระหนี้ ซึ่งยอดเงินต้นคือ 1,535,418 บาท ยอดดอกเบี้ยคือ 716,800.77 บาท ผมจะเหลิอหนี้อยู่เพียง 5 แสนกว่าบาทเท่านั้น ไม่ตกเป็นผู้หนี้สินล้นพ้นตัว ศาลท่านบอกให้ผมต่อสู้คดีและแนะนำขั้นตอนทุกอย่างให้หมดสิ้น ด้วยเหตุผลที่ว่าผมได้ชำระหนี้ไปแล้วบางส่วน แต่เจ้าหนี้ไม่ยอมนำมาหักออกจากยอดหนี้ทั้งหมด และทนายโจทก์ก็แจ้งต่อศาลว่า ไม่รู้ว่าลูกหนี้มีการชำระหนี้เป็นบางส่วน แต่ทำสำนวนฟ้องตามเอกสารเท่านั้น


ผมไม่รู้ว่าจะสู้คดีอย่างไรถึงจะชนะ เพราะเจ้าหนี้ฟ้องตามคำพิพากษาตามยอม "ถ้าผิดนัดตามสัญญายอมนี้ไม่ว่าข้อใดข้อหนึ่ง หรือเดือนหนึ่งเดือนใดให้ถือว่าผิดนัดชำระหนี้ทั้งหมด และยินยอมให้บังคับคดีในหนี้ที่ค้างชำระได้ทันที พร้อมทั้งปรับอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้เป็นอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ผิดนัดชำระหนี้เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระหนี้เสร็จสิ้น" ผมเกรงว่าผมจะแพ้คดี จึงอยากสอบถามผู้รู้ว่าผมจะต่อสู้ในแนวทางใด และมีข้อสงสัยดังนี้ครับ


1. เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยใหม่นับตั้งแต่วันฟ้องปี 2557 และทนายโจทก์อ้างว่าที่ผมชำระไปทุกเดือนกว่า 8 ปี ก่อนหน้านี้ มันไปตัดได้แค่ดอกเบี้ย มันตัดไม่ถึงต้นเงิน ดังนั้นเจ้าหนี้มีสิทธิ์คิดดอกเบี้ยจากเงินต้นนับตั้งแต่วันฟ้อง แต่ถ้าเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยเช่นนี้ก็เท่ากับคิดดอกเบี้ยซ้ำ เช่น ดอกเบี้ยรวมมี 10 ส่วน ผมชำระหนี้เพียงตัดได้แต่ดอกเบี้ยไป 4 ส่วน จึงน่าจะเหลือดอกเบี้ยอยู่ 6 ส่วน และยอดเงินต้นยังคงอยู่ท่าเดิม เจ้าหนี้ก็ควรจะคิดดอกเบี้ยจากยอดดอกเบี้ยที่เหลือ 6 ส่วนนั้นไปจนถึงวันฟ้องล้มละลายใช่มั้ยครับ แต่ทำไมเจ้าหนี้จึงมาคิดดอกเบี้ยซ้ำใหม่ได้อีกครั้ง มันเหมือนกับว่า ดอกเบี้ย 4 ส่วนที่ผมชำระไปแล้วเป็นโมฆะ เงินที่ผมจ่ายไป 787,384 บาท ไม่เคยเกิดขึ้นเลยเหรอครับ


2. ผมจะอ้างมาตรา 193/33(1) และ 193/27 ห้ามไม่ให้เจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยค้างชำระเกิน 5 ปี ได้หรือไม่  "เจ้าหนี้ไม่ยอมดำเนินการบังคับคดีโดยเอาหลักทรัพย์ค้ำประกันออกขาย แต่ปล่อยให้ลูกหนี้ชำระหนี้ไปเรื่อย ๆ ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่แก่ใจว่าที่ลูกหนี้ชำระทุกเดือนนั้นตัดได้แค่ดอกเบี้ย ตัดไม่ถึงเงินต้น แต่เจ้าหนี้ปล่อยเวลามากว่า 8 ปี จึงบังคับคดีเอาทรัพย์ประกันไปขายทอดตลาด และฟ้องล้มละลายเพราะเงินขายทรัพย์ไม่พอชำระหนี้" ผมจะใช้ข้ออ้างนี้ต่อสู้เจ้าหนี้ได้มั้ยครับ


3. ผมจะอ้างมาตรา 193/33(2) การฟ้องล้มละลายตามคำพิพากษาตามยอม โดยอ้างอิงถึงสัญญาประนีประนอมยอมความที่มีลักษณะชำระหนี้เพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ มีกำหนดอายุความ 5 ปี ดังนั้นเจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ์คิดดอกเบี้ยหลังจาก 5 ปีนั้นแล้้ว ผมจะใช้ข้อต่อสู้นี้ได้หรือไม่ครับ


4. เพียงแค่หลักฐานการชำระหนี้รวม 787,834 บาท จะหักล้างการคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องของโจทก์ได้หรือไม่ครับ


สุดท้ายนี้ผมขอความเมตตาท่านทนายความ ท่านผู้รู้กฎหมาย ได้โปรดกรุณาแนะนำแนวทางการต่อสู้คดีให้ผมด้วยครับ ผมไม่มีเงินจ้างทนาย ปรึกษาทนายอาสาเขาก็บอกแต่ว่าให้ไปเจรจาไกล่เกลี่ยเจ้าหนี้ดีกว่า อย่าสู้เลย แต่ศาลท่านเมตตาแนะนำให้ผมสู้ครับ กราบขอบพระคุณทุกท่านล่วงหน้าที่กรุณาช่วยเหลือผมนะครับ 

โดยคุณ PANAMAAA (xxx) 5 ก.ย. 2567, 18:35

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

การล้มละลาย

  ปัญหาของท่าน  เป็นทั้งปัญหาข้อเท็จจริง  และปัญหาข้อกฎหมาย  การจะตอบในที่นี้ คงไม่สามารถช่วยเหลือท่านได้.....ขอแนะนำให้หาทนายความ  ช่วยเหลือท่านอย่างจริงจัง   ด้วยความปรารถนาดี ครับ

เพิ่มเติม....

ขอแนะนำแนวทางหนึ่ง   ที่อาจจะ....เป็นทางออกคือ ถ้าไม่มีทรัพย์สินใดๆเหลืออยู่  เมื่่อถูกฟ้องล้มละลาย ก็ไม่ต้องไปต่อสู้คดี  ปล่อยให้เป็นบุคคลล้มละลายตามคำพิพากษา  และปฏิบัติตาม พรบ.ล้มละลาย ม.30 อย่างเคร่งครัด และสุจริต(ค้นหาอ่านรายละเอียดได้ ในเน็ต) คงได้รับการปลดจากบุคลล้มละลายภายใน 3 ปี  (พรบ.ล้มลชะลายฯ ม.81/1) เมื่อได้รับการปลดล้มละลาย จะหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวง( ม.77)  คงมีโอกาสไปเริ่มต้นชีวิตที่ดีๆใหม่....แต่จะสู้คดีก็ได้   แต่คงต้องใช้เวลาเนิ่นนานพอสมควร   และต้องมีทนายมือดีช่วยเหลืออย่างจริงจัง ด้วยความปรารถนาดี ครับ
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 6 ก.ย. 2567, 09:31

แสดงความเห็น