WebBoard :กฎหมาย|ไกล่เกลี่ยหนี้

ไกล่เกลี่ยหนี้

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ไกล่เกลี่ยหนี้

  • 120
  • 1
  • post on 21 ก.ค. 2567, 20:43
ธนาคารดำเนินคดีกับผู้กู้กับผู้ค้ำประกันอีก 2 คน เนื่องจากผู้กู้ไม่คืนเงิน 3 ล้านบาทตามสัญญา ศาลไกล่เกลี่ยหนี้ โดยผู้กู้และผูู้ค้ำประกันยินยอมจ่ายชำระหนี้คนละ 1 ล้านบาท 

แต่ในทางปฏิบัติ ถ้าผู้กู้ กับ ผู้ค้ำประกันคนแรก ไม่มีเงิน จึงขอผ่อนชำระ ส่วนผู้ค้ำประกันอีกคนมีเงิน จึงจ่าเป็นเงินสด 1 ล้านบาท ต่อมา ผู้กู้ กับผู้ค้ำประกันคนแรก ไม่สามารถชำระหนี้ได้ และไม่มีทรัพย์สมบัติใดๆ  

คำถาม

1 ผู้กู้ กับ ผู้ค้ำประกันคนแรก ตะมีความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลหรือไม่

2 ผู้ค้ำประกันคนที 2 ไม่ต้องรับผิดชอบในหนี้ที่เหลือ ใช่หรือไม่

3 หนี้ที่เหลือ ธนาคารจะรับภาระเป็นหนี้สูญ ใช่หรือไม่
โดยคุณ ppum007 (xxx) 21 ก.ค. 2567, 20:43

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

การไกล่เกลี่ยประนีประนอม


1 ผู้กู้ กับ ผู้ค้ำประกันคนแรก จะมีความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลหรือไม่
ตอบ 1...เมื่อทำการไกล่เกลี่ยฯได้ลงตัว และทำสัญญาประนีประนอม คู่ความ(เจ้าหนี้ ลูกหนี้ รวมทั้งผู้ค้ำประกัน) ย่อมเกิดสิทธิขึ้นใหม่ตามสัญญาประนีประนอม ตาม ปพพ. ม.852 คือ ลูกหนี้ ทั้งสามคน  ตกลงกันจะชำระหนี้คนละ 1 ล้านบาท....และการที่ผู้กู้ และผู้ค้ำฯคนแรกไม่ชำระหนี้ตามสัญญาฯ ก็ไม่มีความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั้งศาลแต่อย่างไร..  แต่มีความผิดทางแพ่ง ที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาฯ  ที่เจ้าหนี้สามารถฟ้องร้องให้รับผิดตามสัญญาฯได้....เมื่อฟ้อง และศาลให้ชำระหนี้  ถ้าไม่มีทรัพย์สินใดๆ ให้บังคับคดี คือยึดไปขายทอดตลาด เพื่อใช้หนี้   เจ้าหนี้ก็ต้องรอ...คือสามารถบังคับคดีได้ ภายใน 10 ปี  แต่ในทางปฏิบัติคงไม่มีใครจะรอนานถึงปานนั้น  ก็กลายเป็นหนี้สูญโดยปริยาย...และผู้ถูกฟ้องที่ไม่ยอมใช้หนี้ และไม่ทรัพย์สินให้ยึดฯ  ก็ไม่มีความผิดใดๆ  จึงมักได้ยินคำพูดของลูกหนี้บางรายที่ พูดเสมอว่า  "ไม่มี  ไม่หนี  ไม่จ่าย"  แต่ก็ย่อมสูญเสียเครดิตในสังคม แต่ก็มีคนเก่งพูดว่า "ช่างมันฉันไม่แคร์"...

2 ผู้ค้ำประกันคนที่ 2 ไม่ต้องรับผิดชอบในหนี้ที่เหลือ ใช่หรือไม่
 ตอบ..2 เมื่อทำสัญญาประนีประนอม ย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ ที่จะเรียกจาก ผู้กู้และผู้ค้ำฯย่อมระงับสิ้นไป (คือสัญญาเดิมระงับ)และได้สิทธิใหม่ตามสัญาประนีประนอม ตาม ม.852... คือให้ลูกหนี้ทั้งสามราย   รับผิดในหนี้เพียงคนละ  1 ล้านบาท  ดังนั้นผู้ค้ำประกันคนที่ สองที่ชำระหนี้ไป 1 ล้านบาท ตามสัญญาฯ  ผู้ค้ำฯคนที่ 2  ย่อมหลุดพ้นไม่ต้องรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันอีกต่อไป.....ถ้าเจ้าหนี้(ธนาคาร) ยังมาใช้สิทธิฟ้องร้องให้ร่วมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน ก็สามารถยกสัญญาประนีประนอมขึ้นต่อสู้ เพื่อให้หลุดพ้นจากความรับผิดได้....

3 หนี้ที่เหลือ ธนาคารจะรับภาระเป็นหนี้สูญ ใช่หรือไม่
ตอบ..3  เรื่องนี้เป็นเรื่องการบริหารจัดการภายในของธนาคาร   ไม่ส่งผลต่อคนภายนอกแต่อย่างใด....ด้วยความปรารถนาดี ครับ
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 22 ก.ค. 2567, 10:05

แสดงความเห็น