WebBoard :กฎหมาย|ขอแบ่งมรดก

ขอแบ่งมรดก

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ขอแบ่งมรดก

  • 51
  • 2
  • post on 16 ส.ค. 2567, 02:39

ฟ้องให้ผู้จัดการมรดกแบ่งทรัพย์มรดกต้องเริ่มต้นยังงัยครับเราต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างครับ

โดยคุณ สุดิจ (xxx) 16 ส.ค. 2567, 02:39

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2


โดยคุณ sb89 26 ส.ค. 2567, 15:33

ความคิดเห็นที่ 1

การจัดการมรดก
   เมื่อเจ้ามรดกตายลง และมีผู้ร้องต่อศาลเพื่อเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อศาลแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดก  เขามีหน้าที่สำคัญที่ต้องปฏิบัติสามประการคือ
1. ต้องทำบัญชีทรัพย์มรดก ซึ่งกฎหมายก็ไม่ได้กำหนดแบบไว้ว่า ต้องทำอย่างไร   ก็คิดแบบขึ้นมาเองได้ เช่น ก.ที่ดินโฉนดเลขที่.....เนื้อที่.........ตั้งอยู่ที่......เอกสารสิทธิ์ (เช่นโฉนดฯ  เก็บไว้ที่ๆไหน)  ข. รถยนต์....อยู่ที่.....ค.  บัญชีธนาคาร........จำนวนเงิน...  เป็นต้น  และต้องทำบัญชีฯ ภายในหนึ่งเดือนนับแต่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดก  และต้องทำต่อหน้าผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก โดยลงชื่อรับรองอย่างน้อยสองคน (ปพพ.ม.1728-1729)
2. ทำบัญชีเครือญาติที่มีสิทธิ์รับมรดก ซึ่งในการร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ต้องมีบัญชีเครือญาติแนบไปกับคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก  ใช้บัญชีนี้ก็ได้
3.  ผจก.มรดก ต้องเรียกประชุมทายาท(ที่มีสิทธิ์รับมรดก)เพื่อตกลงแบ่งปันมรดก  ควรแบ่งปันภายใน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย  การตกลงแบ่งปัน  ก็ต้องทำบันทึกไว้ ให้ชัดเจนว่า  ทายาทแต่ละรายรับมรดกอะไรบ้าง และทายาทลงชื่อรับรอง
  จากคำถาม...เบื้องต้น  ควรสอบถามไปยัง ผจก.มรดก เพื่อขอดูบัญชีทรัพย์มรดก และขอทราบวันเวลาที่จะมีการประชุมเพื่อแบ่งปันมรดก  ถ้าเขาไม่ทำบัญชีฯ  ถือว่าผิดเงื่อนไข  สามารถร้องศาลขอถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้(ปพพ. ม.1731)...ในทางปฏิบัติก็ควรให้โอการเขาบ้างตามสมควร (15-30 วัน)  ถ้าเขายังเพิกเฉย  ก็จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาล...ไม่ต้องถึงขั้นขอถอดถอนการเป็นผู้ ผจก.มรดก ก็ได้ เพราะคงยุ่งยาก ในการแต่งตั้ง ผจก.มรดกคนใหม่ ก็ใช้คนเดิม เพียงให้เขาแบ่งมรดกให้ทายาททุกคนตามสิทธิ์เท่านั้น.....ขอแนะนำให้ใช้การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง  เพื่อให้มีการแบ่งปันมรดก...ไปที่ศาลแจ้งเจ้าหน้าที่   จะมีการเชิญคู่กรณีมาเจรจากัน  ถ้าไม่ถือทิฐิกันจนเกินไปคงแบ่งมรดกได้ลงตัว...การไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง  ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่มีสภาพบังคับเช่นเดียวกับคำพิพากษา...แต่ก็อาจมีปัญหา  ถ้าคู่กรณีไม่ยอมไปศาล  ก็จำเป็นต้องฟ้องศาล....
     เรื่องการจัดมรดก  เป็นปัญหากันมาทุกยุคทุกสมัย เพราะ ผจก.มรดก  สำคัญผิดว่า  เมื่อศาลให้ตนเป็น ผจก.มรดกแล้ว จะแบ่งปันมรดก อย่างไรก็ได้  และเมื่อโอนที่ดินมาเป็นชื่อผู้จัดการมรดก ก็ยิ่งสำคัญผิดว่า ผจก.มรดกเป็นเจ้าของเพียงผู้เดียว... แท้จริงไม่ใช่    การแบ่งปันมรดก  ที่จริงก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร  คือในชั้นบุตร  ก็แบ่งเท่าๆกัน หรือตามที่ตกลงกัน คือเมื่อโอนเป็นชื่อ ผจก.มรดกแล้ว   ผจก.มรดก มีหน้าที่โอนให้ทายาทตามสิทธิ์หรือตามที่ตกลงกัน....กรณีไม่อาจจะแบ่งปันกันได้  ก็ใช้วิธีตีราคาเป็นเงินนราคาที่เหมาะสม(เช่นที่ดินมีเนื้อที่เพียง 50 ตร.วา) มีทายาท 5 คน ก็แบ่งกันคนละ 10 ตร.วา  อาจทำอะไรไม่ได้  ก็ตีราคาเป็นเงิน เช่น 5 แสนบาท  แบ่งคนละ  1 แสนบาท  ทายาทที่ต้องการที่ดิน ก็จ่ายเงินให้ทายาทอื่นๆคนละ 1  แสนบาท (รวม 4 แสนบาท) และตนได้ครอบครองที่ดินผู้เดียวเป็นต้น  ด้วยความปรารถนาดีครับ 
โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 16 ส.ค. 2567, 10:59

แสดงความเห็น

กระทู้ที่มีผู้ตอบมากที่สุดในหมวด