WebBoard :บังคับคดี|ศาลอุทธรณ์ พิจารณาคำขอทุเลาการบังคับคดีนานไหม ?

ศาลอุทธรณ์ พิจารณาคำขอทุเลาการบังคับคดีนานไหม ?

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

ศาลอุทธรณ์ พิจารณาคำขอทุเลาการบังคับคดีนานไหม ?

  • 4946
  • 2
  • post on 28 ก.ย. 2555, 11:53

จำเลยถูกฟ้องขับไล่ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ออก จำเลยอุทธรณ์ พร้อมขอทุเลาการบังคับคดี ขอเรียนถามดังนี้ครับ

1. นานไหมครับกว่าผลการพิจารณาคำขอทุเลาจะออกมา

2. ในระหว่างรอ โจทย์สามารถดำเนินการใด ได้บ้างเพื่อรักษาสิทธิในที่ดินพิพาท เพราะจำเลยคงจะอาศัยช่องทางกฏหมายยื้อให้นานที่สุด โดยไม่สนใจความเดือดร้อนของโจทย์

ขอขอบคุณผู้เข้ามาให้ความรู้ทุกท่านครับ

โดยคุณ Mr. T (223.205.xxx.xxx) 28 ก.ย. 2555, 11:53

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 2

 การสอบรับราชการ

มีผู้รับว่าสามารถบรรจุเป็นข้าราชการโดยจ่ายเงินให้ 300,000 บาท ปรากฎว่าสอบไม่ได้ แต่ผู้รับเงินไม่ยอมจ่ายเงินคืนให้ ศาลมีสั่งให้ผู้รับจ่ายเงินคืน แต่ผู้รับเงิน (จำเลย)เสียชีวิตไปแล้วและมีหมายศาลให้ฟังคำสั่งขอทุเลาการบังคับคดี  การฟังคำสั่งขอทุเลาการบังคับคดีจะมีผลยังไงกับโจทก์ โจทก์ต้องแก้ไขยัง

โดยคุณ 25192519 8 พ.ย. 2556, 09:33

ความคิดเห็นที่ 1

 1-2.  เป็นการปฏิบัติหน้าที่ของศาล  คงกำหนดเวลาแน่นอนไม่ได้ครับ....ดูรายละเอียด  ป.วิ แพ่ง ม.231....ถ้าโจทก็คำร้องคุ้มครองประโยชน์แต่แรก  ตาม  ม.254  ปัญหาต่างๆน่าจะไม่มี....

มาตรา ๒๓๑  การยื่นอุทธรณ์ย่อมไม่เป็นการทุเลาการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น แต่คู่ความที่ยื่นอุทธรณ์อาจยื่นคำขอต่อศาลอุทธรณ์ไม่ว่าเวลาใด ๆก่อนพิพากษา โดยทำเป็นคำร้องชี้แจงเหตุผลอันสมควรแห่งการขอ ให้ศาลอุทธรณ์ทุเลาการบังคับไว้
    คำขอเช่นว่านั้น ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นต่อศาลชั้นต้นได้จนถึงเวลาที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้อุทธรณ์ ถ้าภายหลังศาลได้มีคำสั่งเช่นว่านี้แล้ว ให้ยื่นตรงต่อศาลอุทธรณ์ ถ้าได้ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นก็ให้ศาลรีบส่งคำขอนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินอย่างยิ่ง เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำขอไว้ ก็ให้มีอำนาจทำคำสั่งให้ทุเลาการบังคับไว้รอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลอุทธรณ์ในคำขอเช่นว่านั้น
       ถ้าผู้อุทธรณ์วางเงินต่อศาลชั้นต้นเป็นจำนวนพอชำระหนี้ตามคำพิพากษารวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดี หรือได้หาประกันมาให้สำหรับเงินจำนวนเช่นว่านี้จนเป็นที่พอใจของศาล ให้ศาลที่กล่าวมาแล้วงดการบังคับคดีไว้ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๙๕ (๑)
          เมื่อได้รับคำขอเช่นว่านี้ ศาลอุทธรณ์จะอนุญาตให้ทุเลาการบังคับไว้ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินก็ได้ โดยมิต้องฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง แต่ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ถือว่าคำสั่งนี้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะได้ฟังคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งในภายหลัง ถ้าศาลมีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับไว้ตามที่ขอ คำสั่งนี้อาจอยู่ภายใต้บังคับเงื่อนไขใด ๆ หรือไม่ก็ได้ ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้อุทธรณ์ทำทัณฑ์บนว่าจะไม่ยักย้ายจำหน่ายทรัพย์สินของตนในระหว่างอุทธรณ์ หรือให้หาประกันมาให้ศาลให้พอกับเงินที่ต้องใช้ตามคำพิพากษาหรือจะให้วางเงินจำนวนนั้นต่อศาลก็ได้ ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น ศาลจะสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้อุทธรณ์นั้นก็ได้ และถ้าทรัพย์สินเช่นว่านั้นหรือส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นสังหาริมทรัพย์ ศาลอาจมีคำสั่งให้เอาออกขายทอดตลาดก็ได้ ถ้าปรากฏว่าการขายนั้นเป็นการจำเป็นและสมควร เพราะทรัพย์สินนั้นมีสภาพเป็นของเสียได้ง่ายหรือว่าการเก็บรักษาไว้ในระหว่างอุทธรณ์น่าจะนำไปสู่ความยุ่งยากหรือจะต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก
 
มาตรา ๒๕๔  ในคดีอื่นๆ นอกจากคดีมโนสาเร่ โจทก์ชอบที่จะยื่นต่อศาลพร้อมกับคำฟ้องหรือในเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษา ซึ่งคำขอฝ่ายเดียว ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งภายในบังคับแห่งเงื่อนไขซึ่งจะกล่าวต่อไป เพื่อจัดให้มีวิธีคุ้มครองใด ๆ ดังต่อไปนี้
(๑) ให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลยทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ก่อนพิพากษา รวมทั้งจำนวนเงินหรือทรัพย์สินของบุคคลภายนอกซึ่งถึงกำหนดชำระแก่จำเลย
(๒) ให้ศาลมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยกระทำซ้ำหรือกระทำต่อไป ซึ่งการละเมิดหรือการผิดสัญญาหรือการกระทำที่ถูกฟ้องร้อง หรือมีคำสั่งอื่นใดในอันที่จะบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายที่โจทก์อาจได้รับต่อไปเนื่องจากการกระทำของจำเลยหรือมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยโอน ขาย ยักย้ายหรือจำหน่ายซึ่งทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลย หรือมีคำสั่งให้หยุดหรือป้องกันการเปลืองไปเปล่าหรือการบุบสลายซึ่งทรัพย์สินดังกล่าว ทั้งนี้ จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
(๓) ให้ศาลมีคำสั่งให้นายทะเบียน พนักงานเจ้าหน้าที่ หรือบุคคลอื่นผู้มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียน หรือการเพิกถอนการจดทะเบียนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินที่พิพาทหรือทรัพย์สินของจำเลยหรือที่เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกฟ้องร้องไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๔) ให้จับกุมและกักขังจำเลยไว้ชั่วคราว
ในระหว่างระยะเวลานับแต่ศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ได้อ่านคำพิพากษา หรือคำสั่งชี้ขาดคดีหรือชี้ขาดอุทธรณ์ไปจนถึงเวลาที่ศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนความที่อุทธรณ์หรือฎีกาไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คำขอตามมาตรานี้ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งอนุญาตหรือยกคำขอเช่นว่านี้
 
 
....แนวคำพิพากษาศาลฎีกา เทียบเคียง...
 
พากษาศาลฎีกาที่  2275/2521
 
นายทวีทรัพย์ เปี่ยมญาติ        โจทก์
 
นางนุสนธ์ ประจงการ             จำเลย
 
ป.วิ.พ. มาตรา 231, 223, 247
 
          การขอทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่ง อนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดีแล้ว ก็เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะ คู่ความจะฎีกาต่อไปไม่ได้แต่เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งแล้ว คู่ความได้ปฏิบัติถูกต้องตามคำสั่งหรือไม่นั้น มิใช่เป็นคำสั่งในเรื่องการทุเลาการบังคับคดี คู่ความชอบที่จะฎีกาได้
          ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟัง เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2520 โดยกำหนดให้จำเลยนำหลักทรัพย์มาวางศาล ศาลชั้นต้นได้นัดพิจารณาหลักทรัพย์ถึง 3 ครั้ง จนเป็นที่พอใจ และจำเลยได้นำหนังสือค้ำประกันยื่นต่อศาลเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2520 ล่วงพ้นเวลาที่จำเลยจะต้องนำเงินค่าเสียหายรายเดือน ๆ แรกตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์มาวางศาล การที่จำเลยนำเงินค่าเสียหายเดือนแรกและเดือนต่อไป (เดือนตุลาคมและพฤศจิกายน) รวม 2 เดือนมาวางในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2520 เนื่องจากวันที่ 5 และ 6 ตรงกับวันหยุดราชการ จึงเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามคำสั่งเรื่องทุเลาการบังคับคดีของศาลอุทธรณ์แล้ว
 
________________________________
 
          คดีนี้สืบเนื่องมาจากศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยและบริวารออกไปจากที่ดินในส่วนที่จำเลยเช่า โดยให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดออกไปด้วย และให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 780 บาท กับค่าเสียหายเดือนละ600 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจำเลยและบริวารจะปฏิบัติเสร็จ
          จำเลยอุทธรณ์และขอทุเลาการบังคับคดี
          ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งในเรื่องการทุเลาการบังคับคดีว่า ถ้าจำเลยหาประกันสำหรับค่าเสียหายที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนับถึงวันที่ทราบคำสั่งนี้มาวางศาลจนเป็นที่พอใจและภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ก็อนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดีไว้ในระหว่างอุทธรณ์ ส่วนค่าเสียหายรายเดือนต่อไปให้จำเลยนำมาวางศาลภายในวันที่ 5 ของทุก ๆ เดือน หากผิดนัดเดือนใดก็ไม่อนุญาตให้ทุเลาการบังคับต่อไป
          ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้โจทก์จำเลยฟังเมื่อวันที่ 16กันยายน 2520 และกำหนดเวลาให้จำเลยหาประกันมาวางศาลกับนัดพิจารณาหลักทรัพย์รวม 3 ครั้ง ครั้งสุดท้ายวันที่ 28 ตุลาคม 2520 จำเลยนำหลักทรัพย์มาวางเป็นที่พอใจและนำหนังสือค้ำประกันยื่นต่อศาล ส่วนค่าเสียหายสำหรับเดือนต่อ ๆ ไป หลังจากเดือนกันยายน จำเลยจะปฏิบัติตามคำสั่งศาลอุทธรณ์
          วันที่ 7 พฤศจิกายน 2520 จำเลยนำเงินค่าเสียหายประจำเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนมาวางศาลเดือนละ 600 บาท เพราะวันที่ 5 และ 6 ตรงกับวันเสาร์อาทิตย์หยุดราชการ
          วันที่ 8 พฤศจิกายน 2520 โจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยจะต้องนำเงินค่าเสียหายประจำเดือนตุลาคม 2520 มาวางศาลภายในวันที่ 5 ตุลาคม2520 แต่จำเลยกลับนำมาวางศาลในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2520 เป็นการผิดนัด ขอให้บังคับคดี
          ศาลชั้นต้นออกคำบังคับให้บังคับคดีภายใน 30 วัน
          จำเลยอุทธรณ์
          ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกคำสั่งและเพิกถอนคำบังคับของศาลชั้นต้น
          โจทก์ฎีกา
          ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับคดีแล้ว ก็เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์โดยเฉพาะ คู่ความจะฎีกาต่อไปไม่ได้ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งแล้ว คู่ความได้ปฏิบัติถูกต้องตามคำสั่งหรือไม่นั้น มิใช่เป็นคำสั่งในเรื่องทุเลาการบังคับคดี คู่ความชอบที่จะฎีกาได้ตามข้อฎีกาของโจทก์ได้ความว่า ศาลชั้นต้นอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2520 โดยกำหนดให้จำเลยนำหลักทรัพย์มาวางศาล ศาลชั้นต้นได้นัดพิจารณาหลักทรัพย์ถึง 3 ครั้ง จนเป็นที่พอใจและจำเลยได้นำหนังสือค้ำประกันยื่นต่อศาลเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2520ล่วงพ้นเวลาที่จำเลยจะต้องนำเงินค่าเสียหายรายเดือน เดือนแรกตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์มาวางศาล ฉะนั้น การที่จำเลยนำเงินค่าเสียหายเดือนแรกและเดือนต่อไป (เดือนตุลาคม และพฤศจิกายน) รวม 2 เดือน มาวางในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2520 เนื่องจากวันที่ 5 และ 6 ตรงกับวันหยุดราชการเห็นว่าเป็นการปฏิบัติถูกต้องตามคำสั่งเรื่องทุเลาการบังคับคดีของศาลอุทธรณ์แล้ว
          พิพากษายืน
 
 
( ขจร หะวานนท์ - พิสัณห์ ลีตเวทย์ - จรัญ สำเร็จประสงค์ )
 
 
 
 
......มโนธรรม...
 
โดยคุณ 28 ก.ย. 2555, 17:12

แสดงความเห็น