คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการขัดขืนหมายเรียก|คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการขัดขืนหมายเรียก

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการขัดขืนหมายเรียก

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการขัดขืนหมายเรียก

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2509

บทความวันที่ 1 เม.ย. 2567, 11:09

มีผู้อ่านทั้งหมด 720 ครั้ง


คำพิพากษาฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการขัดขืนหมายเรียก

1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2509
             เมื่อมีผู้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าจำเลยบุกรุกที่ดิน จำเลยย่อมตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(2) แล้ว ซึ่งในชั้นสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 พนักงานสอบสวนจะบังคับให้ผู้ต้องหาให้ถ้อยคำใดๆไม่ได้และมาตรา 135 ก็บัญญัติห้ามมิให้พนักงานสอบสวนล่อลวงหรือขู่เข็ญผู้ต้องหาให้ให้การอีกด้วย จึงเห็นได้ว่าหมายเรียกของพนักงานสอบสวนที่ให้ผู้ต้องหามาเพื่อให้การ ไม่เข้าลักษณะเป็นคำบังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 168
             กรณีผู้ต้องหาขัดขืนไม่มาให้การตามหมายเรียกโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควรนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66(3) บัญญัติทางแก้ไว้ ให้พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายจับตัวมาได้ เป็นการลงโทษอยู่แล้ว จึงเห็นได้ว่าเจตนารมย์ของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 168 หาได้มุ่งหมายจะใช้บังคับกับผู้ต้องหาที่ขัดขืนไม่มาให้การต่อพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกด้วยไม่(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2509)

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2493
             พ.ร.บ.ลักษณะพยาน ร.ศ.113 มาตรา 48(5) เรื่องพยานขัดหมายเรียกของพนักงานสอบสวนนั้น ถือได้ว่าได้ถูกยกเลิกโดยพ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พ.ศ.2477 มาตรา4 และมาตรา 3 กฎหมายอาญาแล้ว เพราะได้มีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133 ประกอบด้วยมาตรา334(2) กฎหมายอาญา
               พยานที่ขัดขืนไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของพนักงานสอบสวนคือไม่ยอมไปเป็นพยานต่อพนักงานสอบสวนนั้น ย่อมมีผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงานตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 334(2) (รูปคดีไม่ตรงกับฎีกาที่ 1140/2481)

3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1954/2515
             พนักงานสอบสวนเชิญจำเลยไปให้ถ้อยคำในฐานะพยานที่สถานีตำรวจโดยไม่ได้ออกหมายเรียก จำเลยยอมมาโดยดีและพนักงานสอบสวนบอกจำเลยว่าจะสอบสวนเป็นพยานย่อมหมายความว่าสั่งให้จำเลยให้ถ้อยคำ คำสั่งของพนักงานสอบสวนเช่นนี้จึงเป็นคำบังคับตามกฎหมายให้จำเลยให้ถ้อยคำ เมื่อจำเลยขัดขืนคำบังคับดังกล่าว ย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 169 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 21/2515)
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก