ฉ้อโกงหลอกร่วมลงทุน|ฉ้อโกงหลอกร่วมลงทุน

ฉ้อโกงหลอกร่วมลงทุน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ฉ้อโกงหลอกร่วมลงทุน

  • Defalut Image

 ช่วงนี้มีข่าวที่กำลังเป็นกระแสสังคม เกี่ยวกับการหลอกลวงให้ร่วมลงทุนทำธุรกิจต่างๆ

บทความวันที่ 4 พ.ย. 2567, 15:15

มีผู้อ่านทั้งหมด 78 ครั้ง


ฉ้อโกงหลอกร่วมลงทุน

           ช่วงนี้มีข่าวที่กำลังเป็นกระแสสังคม เกี่ยวกับการหลอกลวงให้ร่วมลงทุนทำธุรกิจต่างๆ ซึ่งหลังจากที่ผู้เสียหายได้หลงเชื่อและร่วมลงทุนไปแล้ว กลับไม่เคยได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน หากผู้เสียหายลงทุนไปแล้วไม่เคยได้รับผลตอบแทนเลย ทั้งนี้ผู้ชักชวน หรือ ผู้ที่รับลงทุน อาจมีความผิดอาญา ฐานฉ้อโกง หรือ ฉ้อโกงประชาชน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ผู้เสียหายสามารถแจ้งความร้องทุกข์กับพนักงานสอบสวน หรือ สามารถให้ทนายความฟ้องคดีต่อศาลได้ วันนี้มีฎีกาที่น่าสนใจเกี่ยวกับการแจ้งความร้องทุกข์ และ การดำเนินคดีเกี่ยวกับความผิดฐานฉ้อโกง และ ฉ้อโกงประชาชน เกี่ยวกับการลงทุนมาแนะนำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 282 / 2563  (ความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง เกี่ยวกับการลงทุนและอำนาจฟ้อง)
          วินิจฉัยว่า “ .......... แม้ผู้เสียหายทั้งสามสิบสองจะหลงเชื่อคำหลอกลวงของจำเลยทั้งสามจึงมอบเงินให้แก่จำเลยทั้งสามเพื่อให้จำเลยทั้งสามนำเงินไปลงทุนเพื่อให้ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในอัตราที่สูงโดยจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้เข้าร่วมลงทุนในหลายลักษณะคิดเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 72 , 144 , 192 ,240,288 และ 432  ต่อปี ของจำนวนเงินที่ผู้ร่วมทุนให้จำเลยทั้งสามกู้ยืมจะมีการจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนในทุก 2 ถึง 3 วันหรือทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน ซึ่งผลตอบแทนที่ผู้เสียหายทั้งสามสิบสองจะได้รับล้วนต้องห้ามตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475มาตรา 3 พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2560 มาตรา 4(1) ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654  ถือว่า เป็นกิจการที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แสดงให้เห็นว่าผู้เสียหายทั้งสามสิบสองรับข้อเสนอดังกล่าวโดยมีเจตนาร้ายมุ่งประสงค์ต่อผลประโยชน์อันเกิดจากการกระทำที่ผิดกฎหมาย ผู้เสียหายทั้งสามสิบสองจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยที่จะมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสามในความผิดฐานฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวนคดีนี้ และพนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4)(7) และมาตรา 120 ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกง มานั้นชอบแล้ว
           พิพากษายืน  ( ศาลฎีกายกฟ้องฐาน ร่วมกันฉ้อโกง เหมือนกับศาลอุทธรณ์)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1201 - 1203/2498  (ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน เกี่ยวกับแชร์ลูกโซ่)
          จำเลยตั้งสำนักงานขึ้นให้ชื่อว่าบริษัทชัยวัฒนา มีวัตถุประสงค์ทำการค้าและชักชวนให้ประชาชนนำเงินมาฝากเป็นการเข้าหุ้น แต่การเข้าหุ้นนี้จำเลยคิดผลประโยชน์ให้ร้อยละ 50 ต่อเดือนเป็นรายเดือน มีประชาชนหลายจังหวัดนำเงินมามอบให้จำเลยเป็นจำนวนมากมายหลายสิบล้านบาทเพราะหวังประโยชน์ตอบแทนอันสูง ดังนี้เมื่อคำนวณอัตราผลประโยชน์ร้อยละ 50 ต่อเดือนที่จำเลยคิดให้แล้วในต้นเงินเพียง100 บาท ถ้าฝากจำเลยสมทบทั้งต้นและผลประโยชน์ ในปีหนึ่งจำเลยจะต้องจ่ายเป็นเงินหนึ่งหมื่นเศษ ถ้าถึงปีที่ 2 ก็เป็นจำนวนเกินล้านบาท ซึ่งเป็นที่เห็นได้ชัดว่าจำเลยจะไปหาผลกำไรจากที่ไหนมาจ่ายให้ได้ แม้จำเลยเองก็ว่าหุ้นส่วนมีกำไรเท่าใดไม่อาจรู้ได้ แต่กระนั้นจำเลยก็ยังคงจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ฝากไปได้ เหตุที่จำเลยจ่ายเงินปันผลทั้งๆ ที่ไม่รู้ว่ามีกำไรเท่าใดนั้น ย่อมประกอบให้เห็นเจตนาจำเลยในการลวงให้เขาหลงเชื่อโดยแท้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้อุบายเป็นทำนองว่าตนทำการค้าใหญ่โตให้เขานำเงินมาฝากเข้าเป็นหุ้นส่วน โดยสัญญาจะจ่ายเงินปันผลให้ร้อยละ 50 ต่อเดือนทั้งๆ ที่ตนเองก็รู้ดีว่าไม่สามารถจะจ่ายให้เขาได้จึงนับว่าเป็นความเท็จและคนหลงเชื่อนำเงินมาฝากมากมายเช่นนี้ย่อมเข้าเกณฑ์ความผิดฐานฉ้อโกงตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 304 และการกระทำดังกล่าวไม่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติธนาคารพานิชย์ เพราะไม่ใช่ทำการเป็นธนาคารพานิชย์ และไม่มีสภาพคล้ายคลึงกับกิจการธนาคารตาม พระราชบัญญัติควบคุมกิจการค้าอันกระทบถึงความปลอดภัยหรือผาสุขแห่งสาธารณะชน พ.ศ.2471 มาตรา 7
          โจทก์กล่าวฟ้องว่าก่อนคดีนี้จำเลยที่ 1 เคยต้องโทษฐานไม่ทำบัญชีแสดงรายการรับและจำหน่ายน้ำตาลมาครั้งหนึ่ง ศาลพิพากษาปรับ 50 บาท ดังปรากฏในคดีแดงที่ 178/2489 พ้นโทษยังไม่เกิน 5 ปีจำเลยแถลงรับว่าเคยต้องโทษจริงตามฟ้อง แล้วโจทก์ขอเพิ่มเติมฟ้องว่าความผิดฐานไม่ทำบัญชีซึ่งจำเลยเคยต้องโทษนั้นเป็นความผิด ซึ่งไม่ใช่เป็นส่วนลหุโทษ และมิใช่ความผิดที่เกิดขึ้นด้วยประมาท ศาลสอบจำเลย จำเลยไม่คัดค้านศาลอนุญาตและปรากฏว่าในสำนวนเลขแดงที่ 178/2489 ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พระราชบัญญัติภาษีการซื้อน้ำตาล มาตรา 26 ที่บัญญัติให้มีโทษปรับไม่เกิน 2000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน2 ปีหรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งมิใช่ความผิดฐานลหุโทษดังนี้แม้ในฟ้องจะมิได้ระบุว่าโทษครั้งก่อนเนื่องจากความผิดต่อ กฎหมาย ใดเลยก็เพิ่มโทษจำเลยฐานไม่เข็ดหลาบตามกฎหมายอาญา มาตรา 72 ตามฟ้องของโจทก์ได้
          ถ้าคดีมีปัญหาแต่เฉพาะข้อกฎหมาย ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย นั้นศาลฎีกาจะต้องฟังข้อเท็จจริงตามที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยมาแล้วจากพยานหลักฐานในสำนวน
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก