การปรับโครงสร้างหนี้มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร
ทนายคลายทุกข์นำบทความจากเว็บไซต์มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร มาให้เพื่อนสมาชิกได้ศึกษากัน เพื่อจะได้ช่วยในการตัดสินใจ
หากท่านใดกำลังมีความประสงค์จะปรับโครงสร้างหนี้ ศึกษาได้จากด้านล่างนี้นะคะ
ข้อดีก็คือ
ยืดระยะเวลาในการชำระหนี้ออกไป
ในกรณีที่ไม่สามารถชำระได้ตามข้อสัญญาครั้งแรก และเป็นการรวมหนี้ บางแบงค์/เจ้าหนี้
อาจจะรวมมีข้อเสนอว่าจะรวมหนี้บัตรเครดิต+สินเชื่อบุคคล มาเป็นหนี้ยอดเดียวกัน
และคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าเดิมเช่น อาจจะ 12 เปอร์เซ็นต่อปี
ข้อเสีย ก็คือ
1.การทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้
เจ้าหนี้/แบงค์
จะยอดหนี้เดิมที่บวกดอกเบี้ย+ค่าปรับ+ค่าทวงถาม
มาแล้วในช่วงที่ลูกหนี้หยุดชำระหนี้ นำมาเป็นยอดหนี้ใหม่
และทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 12 เปอร์เซ็นต์ต่อปี
คนที่ได้ประโยชน์ก็คือเจ้าหนี้ ไม่ต้องเอาเงินมาจ่ายเพิ่ม
แต่เป็นการต่อยอดหนี้ให้กับลูกหนี้ออกไปอีก
2.
การทำหนี้บัตรเครดิต+สินเชื่อมารวมกัน กลายเป็นสัญญาฉบับใหม่
ตอนทำสัญญาก็ยังจ่ายไหว แต่พอสักระยะเกิดจ่ายไม่ไหว สัญญาฉบับใหม่หนี้ เจ้าหนี้จะใช้ในการส่งฟ้อง
ซึ่งโดยการฟ้องจะไม่ใช้สัญญาเก่าของหนี้แต่ละตัว
และทำให้พอถึงตอนถูกฟ้องลูกหนี้ไม่มีข้อต่อสู้ เนื่องจากเป็นสัญญาใหม่
และทำได้เพียงยื่นคำให้การต่อสู้เพื่อขอระยะเวลา และพอศาลนัดครั้งที่ 2
ก็จะต้องไกล่เกลี่ย แต่ยอดหนี้ก็ไม่สามารถลดลงได้
เนื่องจากเจ้าหนี้ทำสัญญาใหม่ดอกเบี้ยต่ำ ลูกหนี้จะหมดข้อต่อสู้
3. หนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล
มีอายุความต่างกัน การคิดดอกเบี้ยก็อยู่ในอัตราที่ต่างกัน
ซึ่งในปัจจุบันเราก็ทราบกันดีอยู่
หากไม่มีเงินชำระหนี้ในกรณีที่มีหนี้หลายตัว
ก็ไม่ควรปรับโครงสร้างหนี้
และหากจะปรับโครงสร้างหนี้ก็ควรจะเป็นเฉพาะนี้แต่ละตัวไป แต่เนื่องจากแบงค์/เจ้าหนี้ปัจจุบันจะปล่อยทั้งบัตรเครดิตและสินเชื่อ
เวลาเสนอปรับโครงสร้างหนี้ก็จะเสนอให้เห็นว่าคิดดอกเบี้ยต่ำ
แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ อยากให้เพื่อนไตร่ตรองให้ดี ใช่
"มีหนี้ต้องชำระ" แต่อย่ายอมเสียเปรียบเจ้าหนี้
4. หากมีการฟ้องแล้วไปไกล่เกลี่ยที่ศาล
และมีการตกลงชำระหนี้ตามที่ตกลงกันที่ศาล และมีการบันทึก ก็ถือว่าคดีสิ้นสุดแล้ว
หากไม่ชำระหนี้มีผลมาถึงการอายัดทรัพย์, อายัดเงินเดือนเร็วขึ้น
อยากให้เพื่อนๆ
ไตร่ตรองก่อนตกลงไกล่เกลี่ย จะต้องดูยอดหนี้ หากยอดหนี้สูง
ควรยื่นคำให้การต่อสู้เพื่อจะได้ใช้ระยะเวลาในการเก็บเงิน และสุดท้ายหนี้ก็ได้ชำระเช่นกัน