WebBoard :กฎหมาย|การนับชั่วโมงการทำงานของ รปภ. มีหลักเกณฑ์การนับอย่างไร

การนับชั่วโมงการทำงานของ รปภ. มีหลักเกณฑ์การนับอย่างไร

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

การนับชั่วโมงการทำงานของ รปภ. มีหลักเกณฑ์การนับอย่างไร

  • 4638
  • 3
  • post on 17 ก.พ. 2561, 17:08

สวัสดีครับ ขอความรู้เกี่ยวกับการนับชั่วโมงการทำงานของ รปภ. มีหลักเกณฑ์การนับอย่างไร

เครียดมากมากครับ คือมึนไปหมดเกี่ยวกับชั่วโมงการทำงาน

ขอความรู้เพื่อนตอบปัญหากับฝ่ายออดิทเตอร์ ดังนี้ครับ

1. ปกติ รปภ.มี 2ผลัด แบ่งเป็น ผลัดละ12 ชั่วโมง มีเวลาพักให้ 1ชัวโมง เราสามารถนำเวลาพักมาหักล้างไม่ถือเป็นชั่วโมงการทำงานได้หรือไม่ เพราะบางจุดอาจมีการทำงานล่วงเวลาเกิน พอเวลารวมชั่วโมงการทำงานในแต่ละสัปดาห์ รวมกันจะได้ไม่เกิน ตามข้อกำหนด

2. อาชีพ รปภ. กำหนดให้ทำงาน12 ชั่วโมง ถือเป็นชั่วโมงการทำงานปกติได้หรือไม่ หรือต้องแบ่งเป็น 8 ชั่วโมงปกติ และ 4 ชัวโมงหลังเป็น โอที 

3. กรณี รปภ.ไม่เพียงพอ จำเป็นต้องทำงานล่วงเวลา อีก24 ชั่วโมง จึงจะพักผ่อน ทำได้หรือไม่ 

4.อาชีพรปภ.ไม่มีวันหยุดประจำสัปดาห์ สามารถ ทำได้หรือไม่


โดยคุณ Teerayut.s (61.19.xxx.xxx) 17 ก.พ. 2561, 17:08

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

พนักงาน รปภ ชั่วโมงทำงานต้องไม่เกินกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 

ชั่วโมงทำงานปกติไม่เกินกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ชั่วโมงล่วงเวลาต้องไม่เกินกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 

รวมแล้วต้องไม่เกินกี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์

โดยคุณ ศุกร์ฤทัย กรินทนาคะ 26 ต.ค. 2565, 11:36

ความคิดเห็นที่ 2

1.ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ตามมาตรา 27 วรรคสาม เวลาพักระหว่างการทำงานไม่ให้นับรวมเป็นเวลาทำงาน เว้นแต่เวลาพักที่รวมกันแล้วในวันหนึ่งเกิน 2 ชั่วโมง ให้นับเวลาที่เกิน 2 ชั่วโมงนั้นเป็นเวลาทำงานปกติ ดังนั้น จึงไม่สามารถนำเวลาพักมาหักไม่ถือเป็นชั่วโมงการทำงานได้ 

2.มาตรา 23 นั้น กำหนดเวลาทำงานปกติวันหนึ่งจะต้องไม่เกิน 8 ชั่วโมง ในกรณีที่เวลาทำงานวันใดน้อยกว่าแปดชั่วโมง นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกันให้นำเวลาทำงานส่วนที่เหลือนั้นไปรวมกับเวลาทำงานในวันทำงานปกติอื่นก็ได้ แต่ต้องไม่เกินวันละ 9 ชั่วโมงและเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้ว แต่สัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมง ในส่วนชั่วโมงที่ทำเกินนั้น ถือเป็นการทำงานล่วงเวลา ตามความในมาตรา 5

3.ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 8 (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ชั่วโมงทำงานล่วงเวลาตามมาตรา 24 วรรคหนึ่ง และชั่วโมงทำงานในวันหยุด ตามมาตรา 25 วรรคสอง และวรรคสาม เมื่อรวมกันแล้วสัปดาห์หนึ่งต้องไม่เกิน 36 ชั่วโมง ชั่วโมงทำงานในวันหยุดให้หมายความรวมถึงชั่วโมงทำงานล่วงเวลาในวันหยุดด้วย ดังนั้น ในหนึ่งสัปดาห์จะให้ทำงานล่วงเวลาเกิน 36 ชั่วโมงไม่ได้ครับ 

4.โดยหลักแล้ว ตามมาตรา 28 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน โดยวันหยุดประจำสัปดาห์ต้องมีระยะห่างกันไม่เกินหกวัน นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้ากำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้ ในกรณีที่ลูกจ้างทำงานโรงแรง งานขนส่ง งานในป่า งานในที่ทุรกันดาร หรืองานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้าสะสมวันหยุดประจำสัปดาห์และเลื่อนไปหยุดเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ในระยะเวลาสี่สัปดาห์ติดต่อกัน ซึ่งปัจจุบันงานที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยยังไม่มีกฎกระทรวงออกมาให้นายจ้างและลูกจ้างตกลงสะสมวันหยุดประจำสัปดาห์และเลื่อนไปหยุดเมื่อใดก็ได้ ดังนั้น อาชีพ รปภ. นายจ้างจะกำหนดให้ไม่มีวันหยุดประจำสัปดาห์นั้น ไม่สามารถทำได้ 

โดยคุณ ทีมงานทนายคลายทุกข์ 6 มิ.ย. 2561, 11:00

ความคิดเห็นที่ 1

รปภ.


  มีกฎกระทรวง (ท้าย พรบ.คุมครองแรงงานฯ) ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2541)  งานบ้าน และงานเฝ้าทรัพย์สิน(รปภ.) จะไม่ได้รับ เงิน โอที (ค่าล่วงเวลา) ตาม ม.61 ม.63 แต่ให้ได้รับเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน  ตามชั่วโมงที่ทำ...คือคิดค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 19 ก.พ. 2561, 08:55

แสดงความเห็น