WebBoard :กฎหมาย|หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน

หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน

  • 18
  • 1
  • post on 29 มี.ค. 2568, 18:37

หนังสือสัญญากู้ยืมเงิน ต้องติดอากรสแตมป์หรือไม่ ถึงจะมีผลตามกฎหมาย ถ้าต้องติด จะคิดตามวงเงินกู้หรือไม่ อย่างไร

โดยคุณ ppum007 (xxx) 29 มี.ค. 2568, 18:37

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

สัญญากู้ยืมเงิน


  เรื่องนี้กฎหมายก็ไม่ได้เขียนอะไรไว้มากมายพิสดาร  เพียงเขียนไว้ว่า "การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น  ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเงินเป็นสำคัญ  จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่" (ปพพ. ม.563 วรรคแรก)

    ดังนั้น  เพียงเขียนว่า "วันที่...เดือน...พ.ศ....ข้าพเจ้า.............ได้ก็ยืมเงินนาง..............จำนวน.........(.....)และได้รับเงินไปครบถ้วนแล้ว

                       ลงชื่อ........ผู้กู้ยืม

ก็ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน  ที่ใช้ฟ้องร้องได้....

แต่...ปัจจุบันมีสัญญาสำเร็จรูป วางขาย  มีช่องให้ปิดอากรฯ ดังนั้นควรปิดอากรฯ ให้ครบถ้วน  เพื่อป้องกันปัญหาตามมาว่า สัญญาฯไม่ถูกต้องครบถ้วน  เพราะผู้กู้บางรายมักหาช่องทางจะหลบเลื่ยงหนี้อยู่แล้ว....อัตราการปิดอากรฯ จากบัญชีอัตราอาการแสตมป์ ท้ายประมวลรัษฎา  กร  ข้อ 5 คือการกู้ยืมเงิน "ทุกจำนวน 2,000  บาทหรือเศษ 2,000  บาท ค่าอากรฯ 1 บาท ผู้ที่ต้องเสียอากรคือ ผู้ให้กู้  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าอากร คือ  ผู้กู้ (สรุปคือ เงินกู้ 2 พันบาท ติดอากรฯ 1 บาท  หรือ หมื่นละ 5 บาท...อากรฯ หาซื้อได้ที่ สนง.สรรพากรอำเภอ)ซึ่งราคาเพียงเล็กน้อย  แต่ทำให้สัญญากู้มีความสมบูรณ์....อย่างไรก็ตามการให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีบุคคลมาค้ำประกัน หรือไม่มีหลักทรัพย์มาจดทะเบียนจำนองค้ำประกันการกู้ยืมเงิน มีความเสี่ยงที่เงินจะสูญ ค่อนข้างสูง เพราะผู้คนบางรายบอกว่า ไม่มี ไม่หนี  ไม่จ่าย (จบ) แม้จะฟ้องศาล   ศาลให้ใช้หนี้ตามสัญญาฯ  ถ้าผู้กู้ไม่มีทรัพย์สินให้ยึดก็จบ เช่นกัน  ด้วยความปรารถนาดี ครับ

โดยคุณ มโนธรรม เจษฎาสาธุชน 30 มี.ค. 2568, 11:22

แสดงความเห็น