ปรึกษาคดียาเสพติด-กฎหมายยาบ้า-จับยาบ้า โทร.02-948-5700, 081-616-1425|ปรึกษาคดียาเสพติด-กฎหมายยาบ้า-จับยาบ้า โทร.02-948-5700, 081-616-1425

ปรึกษาคดียาเสพติด-กฎหมายยาบ้า-จับยาบ้า โทร.02-948-5700, 081-616-1425

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ปรึกษาคดียาเสพติด-กฎหมายยาบ้า-จับยาบ้า โทร.02-948-5700, 081-616-1425

การวางแผนต่อสู้คดียาเสพติดของทนายความมืออาชีพ ต้องพิจารณาสาระสำคัญดังต่อไปนี้ ฟังคลิปเสียงคำแนะนำผู้ต้องหาในคดียาเสพติด/ยาบ้า/ยาไอซ์ ได้ โดยคลิก http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=4982

บทความวันที่ 23 ต.ค. 2550, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 175713 ครั้ง


การต่อสู้คดียาเสพติดของผู้ต้องหาหรือจำเลย

 

ท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม www.decha.com  ในส่วนที่เกี่ยวกับคดียาเสพติด ทีมทนายความของ website ขอเรียนว่า การให้คำปรึกษากับผู้ต้องหาหรือจำเลย รวมทั้งญาติของผู้ต้องหาหรือจำเลย มีหลักเกณฑ์วิธีการเงื่อนไข ดังต่อไปนี้

1. ให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์และการเข้ามาที่สำนักงานฟรี  โดยไม่เสียค่าตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น

2. การให้คำแนะนำหรือให้คำปรึกษาเป็นไปตามกฎหมายยาเสพติดและบรรทัดฐานต่าง   ที่ศาลฎีกาได้วางหลักไว้เกี่ยวกับคดียาเสพติด

3. ไม่ให้คำปรึกษาตามความเชื่อส่วนตัวของทนายความ เป็นหลัก

4. การขอคำปรึกษาจะต้องมีสำเนาบันทึกการจับกุม สำเนาคำฟ้อง ประกอบในการขอคำปรึกษาเท่านั้น เพราะทนายความไม่ใช่หมอดูที่จะพยากรณ์คดี

5. ไม่รับจ้างล้มคดี  หรือกระทำการใด ๆ อันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย

6. การให้คำแนะนำหรือเขียนอุทธรณ์ หรือฎีกาคดียาเสพติด เน้นการต่อสู้คดี ตามคำพิพากษาของศาลฎีกาที่ยกฟ้องคดียาเสพติดเป็นหลักเท่านั้น ไม่เน้นการวิ่งเต้นล้มคดีหรืออวดอ้างสรรพคุณใดๆ  ที่ตรวจสอบไม่ได้

 

คำเตือน อย่าหลงเชื่อบุคคลซึ่งมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้

1.  บุคคลแอบอ้างวิ่งเต้นประกันตัวได้   มีผู้ต้องหาคดียาบ้าถูกหลอกลวงมาร้องเรียนที่นี่เป็นจำนวนมาก

2.  ทนายความที่ไปเยี่ยมจำเลยในเรือนจำโดยไม่ได้ร้องขอและเสนอตัวต่อผู้ต้องขังให้จ้างตนเองเป็นทนายความ  โดยอ้างว่าตนเองเก่งกว่าคนอื่น มีเส้นสายกับตำรวจ  อัยการ การกระทำดังกล่าวเป็นการผิดมรรยาททนายความมีเรื่องร้องเรียนจำนวนมาก

3. ตำรวจชุดจับกุม พนักงานสอบสวน เรียกรับเงินเพื่อล้มคดี กลับคำให้การพยาน ทำให้พยานหลักฐานอ่อน  ถ่ายสำนวนการสอบสวนให้ผู้ต้องขัง  หลังจับกุมแนะนำให้ทนายของตัวเองโทรหาญาติผู้ต้องหาให้จ้างทนาย  โดยมีการเรียกเงินหรือผลประโยชน์

4.  ทนายความหรือบุคคลที่อ้างว่าสามารถซื้อใบ 100/2 ได้เพื่อลดโทษ   มีการหลอกลวงผู้ต้องขังในเรือนจำเป็นจำนวนมากถึงแม้จะจัดทำขึ้น แต่ศาลไม่นำไปลดโทษและไม่เป็นประโยชน์ต่อจำเลยเนื่องจากศาลไม่เชื่อว่ามีการให้เบาะแสเพราะจำเลยถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำ มีการเร่ขายตามเรือนจำมากมาย โดยนักกฎหมายราคาใบละ 80,000 ถึงหลายแสนบาท

5. บุคคลหรือทนายความที่อ้างว่าเคลียร์พนักงานสอบสวนได้หรือลดจำนวนยาเสพติดได้ มีผู้ต้องหาถูกหลอกมาร้องเรียนที่นี่เป็นจำนวนมาก

 

เตือนผู้ต้องหาที่ถูกจับ ซึ่งมีความทุกข์อยู่แล้ว อาจะมีความทุกข์เพิ่มเติมถ้าพบพฤติการณ์ของบุคคลดังกล่าวข้างต้น "

การวางแผนต่อสู้คดียาเสพติดของทนายความมืออาชีพ  ต้องพิจารณาสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1. บันทึกการจับกุมสำคัญที่สุด ต้องตรวจสอบบันทึกการจับกุมของตำรวจหรือปปส. เพราะถือว่าเป็นเอกสารสำคัญที่สุดในคดี  ตำรวจจะเบิกความขยายผลหรือขัดกับบันทึกการจับกุมหรือแตกต่างกันไม่ได้ และตำรวจต้องมอบสำเนาบันทึกการจับ ป.วิ.อ.มาตรา 84(1) (ฎีกา 6836/2541,3607/2538, 2705/2539, 63/2533,408/2485)

2. ถ้ามีถ้อยคำรับสารภาพในชั้นจับกุม  ป.วิ.อ.มาตรา 84  วรรคสี่  ห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานลงโทษจำเลย   ดังนั้น  ถึงแม้จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุม  ก็ไม่ได้มีผลเสียต่อรูปคดี  ยังสามารถให้การปฏิเสธในชั้นสอบสวนและชั้นศาลได้  หากมิได้กระทำความผิดและมีพยานหลักฐานหักล้างโจทก์ได้

3. คำรับสารภาพของผู้ต้องหาในชั้นจับกุมและในชั้นสอบสวนจะต้องมิได้เกิดจากการบังคับขู่เข็ญ ถ้าให้การเพราะถูกบังคับจากตำรวจ  ถือว่ารับฟังเป็นพยานหลักฐานลงโทษจำเลยไม่ได้  ดังนั้นถึงแม้ผู้ต้องหารับสารภาพ  ก็ยังกลับคำให้การในชั้นศาลต่อสู้คดีได้  หากมีพยานหลักฐานอื่นที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ ตัวอย่างที่ศาลยกฟ้อง เช่น คำเบิกความของตำรวจชุดจับกุมซึ่งเป็นพยานคู่ แตกต่างกันในสาระสำคัญ เช่น สายลับ การส่งมอบยาเสพติด  จำนวนยาเสพติด  แหล่งที่พบยาเสพติด  สถานที่ที่พบยาเสพติด  ยานพาหนะที่ใช้ในการขนยาเสพติด  หรือแตกต่างจากคำให้การของตนเองในชั้นจับกุม บันทึกการจับกุมในชั้นสอบสวนหรือแตกต่างจากบัญชีของกลาง  แผนที่สังเขปที่ตัวเองเป็นผู้จัดทำขึ้น เป็นต้น  (ฎีกา 1567-1568/2479, 8021/2544,6370/2539,7562/2537)

4. ถ้อยคำอื่นในบันทึกการจับกุมของผู้ต้องหา  เช่น ยอมรับว่าได้ซื้อยาบ้ามาจากนาย ก. ยอมรับว่าค้ายามานานแล้ว  ยอมรับว่านำยาบ้าไปซุกซ่อนไว้ที่ใดที่หนึ่ง  รับฟังเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ความผิดจำเลยได้  ถ้าก่อนที่ตำรวจจะถามผู้ต้องหาได้เตือนผู้ต้องหาให้รู้ตัวก่อนว่า ถ้อยคำเกี่ยวกับยาเสพติดจะสามารถรับฟังลงโทษผู้ต้องหาได้  และต้องแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบก่อนว่า จะให้ถ้อยคำหรือไม่ก็ได้  จึงจะรับฟังลงโทษผู้ต้องหาได้  ป.วิ.อาญา มาตรา 84 วรรคท้าย  (ฎีกา 3254/2553) ถ้อยคำอื่นในชั้นจับกุมของผู้ต้องหาหากเป็นการกล่าวอ้างลอยๆ  ไม่มีที่มาที่ไป ผู้ต้องหายังสามารถนำสืบในชั้นพิจารณาคดีให้เห็นเป็นอย่างอื่นได้ เช่น  ไม่ได้ให้ถ้อยคำดังกล่าว หรือถ้อยคำดังกล่าวขัดต่อเหตุผลไม่น่าจะเป็นไปได้  เป็นต้น

5. ของกลางขณะถูกจับ  ถ้ามิได้อยู่กับผู้ต้องหา โอกาสต่อสู้คดีมีมาก  แต่ถ้าตำรวจยัดยาหรือเขียนลงในบันทึกการจับกุมว่า จับได้พร้อมของกลาง โดยทั่วไปมุขของตำรวจมักจะระบุว่า จับได้ในมือข้างขวาหรือกระเป๋ากางเกงด้านขวา  เป็นมุขเก่าๆ  ดังนั้น ถ้าตำรวจยัดข้อหาดังกล่าวจะต้องไม่ลงลายมือชื่อในบันทึกการจับกุม  และให้ร้องขอความเป็นธรรมว่า ถูกยัดยาหรือจับกุมโดยมิชอบด้วยกฎหมาย  อันนี้ก็เป็นข้อต่อสู้ที่ต่อสู้ได้ ป.อ.มาตรา 83(ตัวการร่วม) ตัวอย่างข้อต่อสู้ เช่น  ยาบ้าจำนวน 2,000 เม็ด  เป็นยาบ้าจำนวนมากไม่น่าจะอยู่ในกระเป๋ากางเกงยีนส์ของจำเลยเพราะอาจแตกเสียหายได้ หรือยาบ้าบรรจุอยู่ในกระเป๋าเดินทาง  ล็อคด้วยกุญแจพร้อมรหัส  หรือยาบ้าวางอยู่กลางบ้านเปิดเผย  หรือยาบ้าจำนวนน้อยอยู่ในกระเป๋ากางเกง  หากจำเลยค้ายาบ้าจริง น่าจะถือไว้ในมือเพราะง่ายต่อการโยนทิ้งเพื่อทำลายหลักฐานหรือตำแหน่งที่จำเลยอยู่ห่างไกลจากยาเสพติด  เป็นต้น

6. ของกลางที่พบในบ้านของผู้ต้องหา  ถ้ามีผู้ต้องหาคนหนึ่งรับเป็นเจ้าของแล้ว  เช่น สามีรับสารภาพว่าเป็นของตนเอง  ส่วนใหญ่ภรรยาจะหลุด  ตำแหน่งที่พบของกลาง  ถ้าซุกซ่อนปกปิดมิดชิดอยู่  คนที่ต้องติดคุกคือเจ้าของห้อง  แต่บุคคลอื่นที่อยู่ในห้องอาจมีข้อสงสัยว่า อาจจะไม่ทราบว่ามียาเสพติด ยังมีลู่ทางต่อสู้อยู่ ตัวอย่างข้อต่อสู้ เช่น  ไม่ได้พักอาศัยอยู่เป็นประจำ กลับบ้านดึก  หรือมีบุคคลอื่นเข้าออกหลายคน

7. คำซัดทอดระหว่างผู้กระทำความผิดด้วยกัน  มีน้ำหนักน้อย  ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานรับฟังลงโทษจำเลยได้โดยลำพัง  ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 227/1  จะต้องมีพยานหลักอื่นประกอบ  นอกจากคำซัดทอด เช่น พบยาเสพติดของกลางเพิ่มเติม เป็นต้น (ฎีกา 1014/2540,758/2487) ตัวอย่างข้อต่อสู้ เช่น พยานถูกจับข้อหาค้ายาเสพติด ซัดทอดจำเลยเพื่อต้องการลดโทษหรือตำรวจสัญญาว่าจะกันไว้เป็นพยาน  คำให้การดังกล่าวไม่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ

8. ธนบัตรล่อซื้อ การพบธนบัตรในตัวผู้ต้องหาไม่ได้หมายถึงว่า ได้มาจากการจำหน่ายยาเสพติด  หากมีช่องว่างไม่ใกล้ชิดติดต่อกับช่วงเวลาจำหน่ายยาเสพติด   และโจทก์ไม่มีพยานมายืนยันว่าเห็นจำเลยจำหน่ายยาเสพติด  อาจมีข้อสงสัยว่าจำเลยอาจรับธนบัตรไว้ด้วยเหตุผลอื่นก็เป็นได้   ตำรวจจะลงประจำวันก่อนหรือจะไม่ลงประจำวันก็ได้  (ฎีกา 270/2542)

9. การล่อซื้อยาเสพติดของตำรวจ  ถ้าผู้ต้องหามียาเสพติดอยู่แล้ว และสายลับล่อซื้อถือว่าทำได้  ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 2(10)  และเป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยชอบด้วยกฎหมายตามความจำเป็นและสมควรแต่ถ้าผู้ต้องหาไม่ได้มียาเสพติดไว้ในความครอบครอง  แต่ไปบังคับหรือใช้ให้ไปหายาเสพติดมาส่งมอบให้ตำรวจ ถือว่า เป็นการล่อซื้อที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย พยานหลักฐานที่ได้มาจากการล่อซื้อรับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้  (ฎีกา 4301/2543, 4077/2549,4085/2545)

10.ยานพาหนะที่ใช้ในการส่งมอบยาเสพติดต้องถูกริบแต่ในทางปฏิบัติตำรวจมักเรียกเงินจากผู้ต้องหาและปล่อยรถไป  แต่ถ้ารถยนต์ติดสัญญาเช่าซื้อ ต้องแจ้งยกเลิกสัญญากับบริษัทไฟแนนซ์แล้วให้ไฟแนนซ์ไปขอรถคืนจากตำรวจ

11.การหาทนายความว่าความคดียาเสพติด ต้องคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้

-  มีประสบการณ์คดียาเสพติดมายาวนาน มองคดีทะลุปรุโปร่ง

-  มีความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพ  ไม่เน้นการวิ่งเต้น  ยัดเงินให้ตำรวจ  พวกนี้เรียกว่านักวิ่งความ ไม่ใช่ว่าความ เป็นภัยสังคม

-  มองคดีแบบบูรนาการครบทุกด้าน

-  มีแผนในการต่อสู้คดีที่สมเหตุสมผลน่าเชื่อถือ

-  เปิดเผยแผนได้  ไม่ใช่อ้างว่าเป็นความลับบอกไม่ได้

-  ต้องเน้นตัวบทกฎหมาย  เวลาให้คำปรึกษากับตัวความ

-  ยกตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาขึ้นมาสนับสนุนคำปรึกษาของตนเองว่าศาลฎีกาเคยวางแนวทางที่เป็นประโยชน์ต่อจำเลยและยกฟ้อง เป็นต้น

              ทุกวันนี้มีการจับกุมคดียาเสพติดเป็นจำนวนมาก แล้วเมื่อจับผู้กระทำความผิดได้แล้ว ตำรวจมักจะทำการขยายผลเพื่อหาตัวผู้บงการใหญ่ซึ่งอยู่เบื้องหลังการค้ายาเสพติด โดยวิธีการของตำรวจมักจะเนินการด้วยวิธีการต่อไปนี้

            1.     บังคับให้ผู้กระทำความผิดใช้โทรศัพท์มือถือของตัวเองโทรไปหาบุคคลซึ่งติดต่อค้าขายยาเสพติดด้วย และให้หลอกล้อเพื่อนัดส่งยาเสพติด

            2.     หลังจากนั้นจึงสะกดรอย เพื่อรอจังหวะในการจับกุม

            3.     ตำรวจมักจะชักจูงให้ผู้กระทำความผิดที่จับได้โดยต่อรองว่าให้ความร่วมมือกับตำรวจ จะปล่อยตัวไป ส่วนใหญ่ผู้ต้องหามักกลัวและยอมทำตาม

            4.     เมื่อจับตัวผู้กระทำความผิดได้เพิ่มขึ้นแล้ว บางครั้งตำรวจก็ปล่อยตัวไป บางครั้งก็ลดจำนวนยาเสพติดของกลางให้ เช่น 4,000 เม็ด เหลือ 2,000 เม็ด  หรือบางครั้งไม่มีการลดจำนวนยาเสพติด

            5.     สายลับของตำรวจ บางครั้งก็เป็นพวกขี้ยา ,บางครั้งก็เป็นตำรวจไม่แน่นอน

             6.     แหล่งผลิตยาเสพติดขนาดใหญ่อยู่ในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า , กัมพูชา , ลาว ยากในการจับกุม

            7.     ในกรณีผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้ความช่วยเหลือกับทางราชการในการขยายผล กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/2  ให้ศาลใช้ดุลยพินิจลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำ ที่กำหนดสำหรับความผิดนั้นก็ได้ ดังนั้นเมื่อผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้ความช่วยเหลือในการบอกข้อมูลสำคัญ และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้กับเจ้าพนักงานหรือ  ตำรวจ หรือพนักงานสอบสวน ศาลจะลงโทษน้อยเพียงใดก็ได้

             ยกตัวอย่างเช่น มียาบ้าประมาณ 2,000 เม็ด เมื่อรับสารภาพศาลอาจลงโทษจำคุกเพียง   4 ปี เป็นต้น

            บทสรุปเมื่อผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดถูกจับ ควรให้ความร่วมมือในการขยายผล เพื่อหาตัวการใหญ่ เพราะจะได้ประโยชน์จากมาตรา 100/2

            ท่านสามารถเข้าไปฟังคำแนะนำจาก อ.เดชา  กิตติวิทยานันท์  ได้จากหน้าแรกของเว็บไซต์ www.decha.com ในคอลัมน์คลิปเสียง/รายการวิทยุในหัวข้อวิเคราะห์คดีดังหรือลิงก์นี้ค่ะwww.decha.com/main/showTopic.php?id=4982,www.decha.com/main/showTopic.php?id=8431

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1843

แฟนโดนคดียา.ข้อหาครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย..ยา21เม็ด..ไม่เตยต้องโทดมาก่อน..

อยากรู้จะตัดสินประมานกี้ปีค่ะ


โดยคุณ สุ 5 ส.ค. 2562, 15:07

ความคิดเห็นที่ 1842

คือสมมุติว่าตำรวจไม่ได้มีแบ้งถ่ายเอกสารเพื่อทำกาล่อซื้อและเรามีพฤติกรรมเสพอู่แล้วอยู่ๆก็จู่โจมเข้ามาขอค้นโดยอ้างว่าค้นตามหน้าที่เพราะมีพฤติกรรมเเกี่ยวกับยาเสพติดแต่พอดีมาเจอยาบ้า12เม็ดและร้อยเวรกลับพิมสำนวนเราว่ามีไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายและเสพเราจะทำยังงัยดีค่ะเเละเราจะมีความผิดในข้อหานี้ยังัย

โดยคุณ Kanchana 30 ม.ค. 2562, 00:35

ความคิดเห็นที่ 1841

ท่านคับ

ผมโดนจับคดีเสพ ประกันตัวรายงานตัวจนเสดแล้ว  แล้วตอนนี้อัญการฟ้อง ว่าผมมีส่วนร่วมกับยาเสพติด  วันที่เกิดเหตุ  เพื่อนผมมาขอให้พาไปบ้านเกิดเขา  ซึ่งอยู่ต่างจังหวัด  ผมก็ได้พาไป ผมไม่รู้เส้นทางเลย เพื่อนคนที่ไปด้วยเป็นคนบอกทาง  ล่ะผมก็ไปตามทางที่เขาบอก ล่ะพอขากลับผมก็ไม่ได้เอะใจอะรัย จนมาถึงด่านตรวจ ผมก็เข้าให้ความร่วมมือตามปกติ  ล่ะตำรวจของตรวจปัสสาวะ ผมก็ให้ตรวจ ฉี่ของผมมีสาร  ของเพื่อนคนที่ไปด้วยกันก็มีเหมือนกัน  ตำรวจก็ขอค้นผมก็ให้ความร่วมมือ  ในตัวผมไม่มีของผิดกฎหมาย แต่ในกระเป่าของเพื่อนผมมียาบ้า45ครึ่ง   ผมก็ให้การยอมรับว่าเสพ แต่ผมไม่รู้เรื่องว่ายามาแต่ไหน  ตอนนี้อัญการฟ้องว่าผมมีส่วนร่วมกันยาตอนผมถูกจัก ผมอายุ18ปี กับอีก10วันคับคดีของผมมีเปอร์เซ็นที่จะชนะไหมคับถ้าสู้

โดยคุณ สุรศัก 6 ก.ย. 2561, 17:32

ความคิดเห็นที่ 1840

จะมีหนทางช่วยแฟนไหมค่ะตัดสิน5ปีอุทรยุตะ

โดยคุณ กัญญาณี เชิ้อพรมม 13 ส.ค. 2561, 00:58

ความคิดเห็นที่ 1839

แฟนโดนจับคดีครอบครองและจำหน่าย66เม็ด(ยาบ้า)ไม่รู้ว่าจะโดนกี่ปีค่ะและถ้าสารภาพโทษจะลดลงเหลือกี่ปีค่ะตอนนี้แฟนถูกฝากขังอยู่เขาจะนับกับที่เราได้ติดคุกด้วยไมค่ะ

โดยคุณ กรรณิการ์ 22 พ.ค. 2561, 19:02

ตอบความคิดเห็นที่ 1839

คือน้องชายผมโดนจับที่ไม่ใช้เจ้าของยา แต่นั้งรถร่วมไปกับผู้จำหน่ายซึ่งเป็นเจ้าของทั้งหมด แต่ตอนนี้จำเลยที่ 2 สารภาพผิด ทั้งหมด ว่าเป็นผู้จำหน่าย แต่จำเลยที่ 1ก็สารภาพว่าได้ร่วมนั้งรถไปกับจำเลยที่2 

โดยสารติดยาบ้า500เม็ดครับ

น้องผมไม่เคยติดคุกมาก่อน

แถมยังประสบอุบัติเหตุขาหัก

 ตอนนี้รักษาตัว อยุ่ ร.พ ขอนแก่น

ค่าประกัน500,000

คือผมไม่มีเงินเลยที่นาไม่มี

หาทางออกยังไงดีครับ

โดยคุณ พี่อุ๊ดดี้ 19 ม.ค. 2562, 18:58

ความคิดเห็นที่ 1838

แฟนถูกจับยาบ้า 1800 เม็ด แต่ไม่ใช่ของตนเอง เป็นของคนอื่นโทรมาให้ไปเอาไว้ให้แล้วจะมีคนมารับยาไป แต่เค้าไม่มาตามแจ้งไว้ ตำรวจบุกมาจับที่บ้าน อยากทราบว่าถ้าเป็นกรณีนี้ จะถูกลดโทษหรือไม่ แต่แฟนเสพด้วยคะ

โดยคุณ Arunluck Sanitthonglang 2 พ.ค. 2561, 08:32

ความคิดเห็นที่ 1837

น้องชายไปกะเพื่อน​โดนตำรวจเรียกตรวจเจอยาที่เพื่อน1800เม็ด​ ตำรวจให้โทรหาคนรู้จักเพื่อเอาเงินมาให้ตำรวจแต่น้องชายดันไม่มีโทรสัพ​ ส่วนเพื่อนมีโทรสัพเลยให้แฟนเอาเงินมาเสียให้ตำรวจ50000  ตำรวจเลยปล่อยตัวไป​ ส่วนยา1800เม็ดเลยตกเป็นของน้องชาย​ น้องชายบอกว่ายาไม่ใช่ของเค้า​ ครอบครัวก็ยากจนไม่มีเงินจะสู้คดี​ ความรู้ก็ไม่มี​ขอความกรุณาให้คำปรึกษาหน่อยค่ะ​ เค้าเปนเหมือนเสาหลักครอบครัวขาดเค้าไปครอบครัวแย่เลยค่ะ​  

โดยคุณ จัตติยา​ 30 เม.ย. 2561, 20:51

ความคิดเห็นที่ 1836

ฉันอยากชอบว่าถ้าแล้วแจ้งความเรื่องสารเสพติดแล้วจะไปแจ้งความยังไงดีค่ะ กลัวว่าถ้าเราไปแจ้งความแล้วตำรวจยัดข้อหามาให้เราด้วย คือเรื่องนี้ทุกใจมากค่ะ

โดยคุณ Pang 30 เม.ย. 2561, 18:05

ความคิดเห็นที่ 1835

เคยต้องโทษติดคุกมาก่อนและได้ถูกจับกุมใหม่ศาลชั้นต้นตัดสิน1ปี9เดือนบวก97เรียบร้อยแล้วและขอยื่นอุทรณ์ขอลดโทษอยากทราบว่าจะสามารถขอรอลงอาญาได้รึไม่ค่ะ

โดยคุณ มีน 22 มี.ค. 2561, 06:34

ความคิดเห็นที่ 1834

มีแนวทางในการขอลดโทษมั้ย และรถที่ถูกยึดเป็นของกลางจะสามารถรับคืนได้เมื่อไหร่ ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ CZ 19 ก.พ. 2561, 22:52

ตอบความคิดเห็นที่ 1834

สวัสดีค่ะ คือเพื่อนโดนล่อซื้อยาบ้าจำนวน 4 เม็ดแล้วโดนจับ โดยตำรวจกล่าวหาว่า เสพยาเสพติด เป็นผู้ขับขี่รถเสพยาเสพติด และมียาเสพติดให้โทษไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่าย โดยตอนนี้อยู่ในช่วงประกันตัวจากศาล *เพื่อนไม่เคยมีคดีและกำลังศึกษาอยู่ อายุ23 ปีอยากทราบว่าบทลงโทษจะเป็นอย่างไรบ้าง มีแนวทางในการขอลดโทษมั้ยและรถที่เป็นของกลางสามารถรับคืนได้เมื่อไหร่ ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ CZ 19 ก.พ. 2561, 22:57

ความคิดเห็นที่ 1833

ปรึกษาหน่อยค่ะ
รบกวนท่านทนายช่วยตอบคำถามนี้หน่อย
แฟนหนูโดนจับข้อหาเสพขับแต่เปนความผิดซ้ำซาก คือแฟนหนูพึ่งออกคุกมาไม่กี่เดือนยังไม่ได้ใบบริสุทธ์แต่มาโดนจับข้อหาเสพขับก่อน แล้วตอนนี้ศาลได้ตัดสินติด12เดือน แต่รับสารภาพก้เหลือ6เดือนที่ต้องติดจริง แต่แฟนขอให้ประกันตัวออกมาเพื่อขอสู้คดี เพื่อเปลี่ยนจากจำคุกให้เปนลงโทดอย่างอื่นแทน แบบนี้แล้ว คุณทนายคิดว่าจะมีทางทำให้ไม่ต้องติดคุกได้มั้ยค่ะ 
#รบกวนช่วยตอบคำถามให้หน่อยค่ะ จะเป็นพระคุณอย่างสูง
โดยคุณ แพวา 13 ก.พ. 2561, 01:03

ความคิดเห็นที่ 1832

เเฟนโดน16เม็ดครอบครองเพื่อจำหน่าย จะตัดสินกี่ปีค่ะ ยอมรับสารภาพ ไม่เคยต้องคดีใดๆ โทษจะหนักมั้ยค่ะ จะต้องเสียค่าปรับมั้ยถ้าะ้นโทษเเล้วอ่ะค่ะ

โดยคุณ เกศชฎา 9 ก.พ. 2561, 16:34

ความคิดเห็นที่ 1831

เเฟนโดน16เม็ดครอบครองเพื่อจำหน่าย จะตัดสินกี่ปีค่ะ ยอมรับสารภาพ ไม่เคยต้องคดีใดๆ โทษจะหนักมั้ยค่ะ จะต้องเสียค่าปรับมั้ยถ้าะ้นโทษเเล้วอ่ะค่ะ

โดยคุณ เกศชฎา 9 ก.พ. 2561, 16:30

ความคิดเห็นที่ 1830

ครอบครัวหนูไม่รู้เรื่องกฏหมายอยากปรึกษาค่ะ 

ว่าอัตตราโทษสูงไหมค่ะ แล้วตัดมาจะเหลือกี่ปี

พี่ชายหนูโดนจับเรื่องยาเสพติดตั้งแต่16กพ.59 

และยังไม่ได้ตัดสินนะค่ะ เพราะจำนวนยาเสพติดเยอะ และมีการนับเข้ามาในราชอาณาจักรไทยค่ะ 

คือพี่หนูได้ไปที่คอนโดดังกล่าวเพื่อดืมสุรากับเพื่อนเขาเลี้ยงตอบแทนที่พี่หนูได้ช่วยเขาง้อแฟนสำเร็จจึงเลี้ยงขอบคุณ

พอดื่มไปสักพักเพื่อนชวนลงไปทำบัตรเครดิตด้านล่างและทั้งคู่ลงไป

หลังจากลงไปถึงด้านล่างของคอนโด ได้มีจักยานยนตร์นำกล่องพัสดุมาส่งโดยเพื่อนพี่ได้ไปรับกล่องพัสดุดังกล่าว พี่ชายหนูยื่นอยู่ด้านในของอาคาร 

แล้วตำตรวจได้แสดงการจับกุม สวนพี่ชายของหนูได้โดนจับกุมด้วย 

อยากทราบว่าจะมีทางหลุดไหมคะ 

ครอบครัวเครียดมากค่ะ  (รบกวนผู้รู้แนะนำด้วยนะค่ะ) ขอบคุณมากๆค่ะ


โดยคุณ Preaw 27 ม.ค. 2561, 02:58

ความคิดเห็นที่ 1829

คือแฟนหนูขี่รถไปหาเพื่อนแต่ โดนตำรวจเจอ. เจอยา3เม็ด ตำรวจ ให้ข้อหา. เสพ ขับเสพ มีไว้เพื่อครอบครอง. พยายามจำหน่าย. คือตอนนี้ถูกฝากขังยุ อยากรู้ว่าศาลจะตัดสินอย่างไงค่ะ

โดยคุณ วัน 25 ม.ค. 2561, 19:07

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก