ปลอมใบกำกับภาษีเป็นการทำลายระบบภาษี  ไม่ควรรอการลงโทษ|ปลอมใบกำกับภาษีเป็นการทำลายระบบภาษี  ไม่ควรรอการลงโทษ

ปลอมใบกำกับภาษีเป็นการทำลายระบบภาษี  ไม่ควรรอการลงโทษ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ปลอมใบกำกับภาษีเป็นการทำลายระบบภาษี  ไม่ควรรอการลงโทษ

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1581/2567

บทความวันที่ 4 เม.ย. 2568, 11:17

มีผู้อ่านทั้งหมด 226 ครั้ง


ปลอมใบกำกับภาษีเป็นการทำลายระบบภาษี  ไม่ควรรอการลงโทษ
#ปลอมใบกำกับภาษี #ขายใบลดหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1581/2567
             แม้ตาม ป.อ.มาตรา 268 บัญญัติให้ผู้ใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา 265 และเป็นผู้ปลอมเอกสารนั้นรับโทษตามมาตรานี้เพียงกระทงเดียว แต่การใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม ป.รัษฎากร มาตรา 86/13 , 90/4(3) ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษต่างหากจาก ป.อ.จึงไม่เข้าข้อยกเว้นให้รับโทษฐานใช้เอกสารปลอมกระทงเดียวตาม ป.อ.มาตรา 268 วรรคสอง  การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตาม ป.อ.มาตรา  91 หาใช่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้  แต่เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ลงโทษเป็นหลายกรรมได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195, 212 ประกอบมาตรา 225 
            ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยที่ 2 ว่า มีเหตุลงโทษตามสถานเบาหรือรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 2 หรือไม่ เห็นว่า การออกใบกำกับภาษีในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 86 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "...ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนจัดทำใบกำกับภาษีสำหรับการขายสินค้าหรือการให้บริการทุกครั้ง และต้องจัดทำในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น พร้อมทั้งให้ส่งมอบใบกำกับภาษีนั้นแก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ..." และมาตรา 86/13 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้บุคคลซึ่งมิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือมิใช่ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้ตามหมวดนี้ออกใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้" แสดงว่าผู้ที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีได้นั้นจะต้องเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและมีการขายสินค้าหรือให้บริการจริง การที่จำเลยทั้งสองซึ่งมิใช้ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและมิใช่ผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีร่วมกันหลอกลวงบริษัท บ.โจทก์ร่วม ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ ด้วยการแจ้งและวางใบแจ้งหนี้เพื่อเรียกเก็บค่าติดตั้งระบบไฟฟ้าโดยมีค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งที่ไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มทำให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อและส่งมอบเงินค่าภาษีเพิ่มให้แก่จำเลยทั้งสองต่างกรรมต่างวาระ 2 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 จำนวน 5,233.90 บาท และวันที่ 15 ธันวาคม 2561 จำนวน 5,233.90 บาท และจำเลยทั้งสองยังร่วมกันออกใบกำกับภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายให้แก่โจทก์ร่วม  ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2561 มีข้อความระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 021555500xxxx มูลค่าค่าติดตั้งระบบไฟฟ้าเป็นเงิน 74,770 บาท  ภาษีมูลค่าเพิ่ม 5,233.90 บาท และครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2561 มีข้อความระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 02155500xxxx มูลค่าการติดตั้งระบบไฟฟ้าเป็นเงิน 74,770 บาท ภาษีมูลค่าเพิ่ม 5,233.90 บาท เป็นการทำลายระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ร่วมที่ไม่มีสิทธินำภาษีซื้อขายตามใบกำกับภาษีที่ออกโดยจำเลยทั้งสองซึ่งไม่มีสิทธิออกมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฎากร มาตรา 82/5(5) ถือได้ว่าเป็นความผิดร้ายแรง แม้จำเลยที่ 2 ไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน มีภาระต้องดูแลบุคคลในครอบครัว และทำมาหาเลี้ยงชีพ ก็ไม่ใช่เหตุสมควรที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบานั้น เห็นว่า จำเลยที่ 2 ได้บรรเทาผลร้ายจากการกระทำความผิดโดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระค่าเสียหายและชำระเงินให้แก่โจทก์ร่วม  โทษที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กำหนดมานั้นหนักเกินไป  เห็นสมควรกำหนดโทษเสียใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพความผิดและกระทำของจำเลยที่ 2 ฎีกาของจำเลยที่ 2 ฟังขึ้นบางส่วน
          อนึ่ง แม้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา  268 บัญญัติให้ผู้ใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามมาตรา 265 และเป็นผู้ปลอมเอกสารมันรับโทษตามมาตรานี้เพียงกระทงเดียว  แต่การใช้เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตามประมวลรัษฎากร มาตรา 86/13, 90/4(3) ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษต่างหากจากประมวลกฎหมายอาญา จึงไม่เข้าข้อยกเว้นให้รับโทษฐานใช้เอกสารปลอมกระทงเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคสอง  การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 หาใช่เป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวตามที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยให้ถูกต้องได้ แต่เมื่อโจทก์และโจทก์ร่วมมิได้ฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขให้ลงโทษเป็นหลายกรรมได้เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195,212 ประกอบมาตรา 225
           พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 สำหรับความผิดฐานร่วมกันออกใบกำกับภาษีโดยไม่มีสิทธิจะออกเป็นความผิดกรรมหนึ่งซึ่งเป็นความผิดต่างกรรมกับความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารสิทธิ ฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอม และฐานร่วมกันฉ้อโกง ซึ่งเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท  ลงโทษฐานร่วมกันใช้เอกสารสิทธิปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 อันเป็นความผิดอีกกรรมหนึ่งแต่ให้ลงโทษในแต่ละใบกำกับภาษีเพียงกรรมเดียว จำคุกจำเลยที่ 2 กระทงละ 3 เดือน รวม 2 กระทง จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กระทงละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุกกระทงละ 1 เดือน 15 วัน รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 3 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2

มีปัญหากฎหมาย สอบถามได้ที่ 02-9485700,081-6161425,081-6252161,081-8217470   
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก