ปกปิดโรคร้ายแรง แต่ประกันต้องจ่าย|ปกปิดโรคร้ายแรง แต่ประกันต้องจ่าย

ปกปิดโรคร้ายแรง แต่ประกันต้องจ่าย

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ปกปิดโรคร้ายแรง แต่ประกันต้องจ่าย

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2524

บทความวันที่ 18 มี.ค. 2568, 09:43

มีผู้อ่านทั้งหมด 780 ครั้ง


ปกปิดโรคร้ายแรง แต่ประกันต้องจ่าย

1. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1277/2524
             การที่ผู้เอาประกันภัยละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงอันจะทำให้สัญญาประกันภัยตกเป็นโมฆียะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 นั้น ต้องเป็นข้อความซึ่งผู้เอาประกันภัยรู้อยู่แล้วว่าจะเป็นเหตุจูงใจให้ผู้รับประกันภัยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้นอีก หรือให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญา
            ผู้เอาประกันภัยเป็นคนอ่านหนังสือไม่ออก และมิได้ทราบถึงความร้ายแรงแห่งโรคที่ตนเป็นอยู่ เพราะยังคงทำงานได้เช่นคนปกติทั่วไป ทั้งตัวแทนของจำเลยก็มิได้สอบถามประวัติความป่วยเจ็บของผู้เอาประกันภัย เพียงแต่สอบถามอายุและให้ลงลายมือชื่อในแบบคำขอเอาประกัน แล้วตัวแทนจำเลยก็นำแบบคำขอเอาประกันภัยนั้นไปกรอกข้อความ เสียเอง ผู้เอาประกันภัยจึงไม่มีโอกาสจะได้รู้ข้อความจริง ที่ตนเคยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาก่อน อันจะเป็นเหตุจูงใจให้จำเลยเรียกเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น หรือให้จำเลยบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาประกันภัยหรือไม่ เมื่อผู้เอาประกันภัยไม่รู้เช่นนี้จึงจะถือว่าผู้เอาประกันภัยรู้อยู่แล้วละเว้นเสีย ไม่เปิดเผยข้อความจริงนั้นหาได้ไม่ จำเลยจึงไม่มีสิทธิ บอกล้าง สัญญาประกันชีวิตรายนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865

2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4457/2536
            นายล.ตัวแทนหาประกันชีวิตของจำเลยเอาแบบคำขอเอาประกันชีวิตให้เด็กหญิง ป. อายุเพียง 8 ปี ลงลายมือชื่อ ไว้โดยไม่ได้กรอกข้อความ แล้วนายล.นำแบบคำขอเอาประกันชีวิตดังกล่าวไปกรอกข้อความเอง เด็กหญิง ป. จึงไม่อยู่ในวิสัยที่จะแจ้งข้อความเกี่ยวกับความป่วยเจ็บของตนให้ทราบได้ และไม่สามารถจะทราบความร้ายแรงของโรคที่ตนเป็นอยู่ได้ จึงถือไม่ได้ว่าผู้เอาประกันภัยละเว้นไม่เปิดเผยข้อความจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 865 วรรคแรก คำขอเอาประกันชีวิตไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีพยานเอกสารมาแสดงโจทก์มีสิทธิสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารดังกล่าวได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข)

3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4498/2542
            แม้ตรวจพบว่ามีการอักเสบของตับ แต่ตามรายงานการตรวจของแพทย์ได้แนะนำให้รับการวินิจฉัยต่อไป แสดงว่ายังไม่แน่ชัดว่าผู้ตายป่วยเป็นโรคตับอักเสบหรือไม่จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ตายทราบว่าตนป่วยเป็นโรคตับอักเสบ ดังนั้น การที่ผู้ตายมิได้แจ้งผลการตรวจโรคดังกล่าวในแบบสอบถามของจำเลย จึงมิใช่กรณีผู้ตายรู้อยู่แล้วละเว้นเสียไม่เปิดเผยข้อความจริงซึ่งอาจจะได้จูงใจจำเลยให้เรียกเบี้ยประกันสูงขึ้น หรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 วรรคแรก สัญญาประกันชีวิตไม่เป็นโมฆียะจำเลยไม่มีสิทธิบอกล้าง โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า ผู้ตายประสบอุบัติเหตุหกล้มศีรษะกระแทกพื้นและเสียชีวิตจำเลยให้การเพียงว่า ผู้ตายปกปิดข้อเท็จจริงที่ตนทราบมาก่อนว่าเป็นโรคตับ สัญญาประกันชีวิตตกเป็นโมฆียะ โดยไม่ได้ให้การปฏิเสธหรือโต้แย้งเรื่องผู้ตายประสบอุบัติเหตุแต่อย่างใด จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้จึงชอบแล้ว

ปรึกษาข้อกฎหมายกับทีมงานทนายคลายทุกข์ โทร.02-9485700

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก