งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
ต้องการเปลี่ยนนามสกุลบุตรมาใช้นามสกุลแม่
ดิฉันได้หย่ากับสามีมาแล้วเกือบ 2 ปี แต่ตอนที่หย่ากันได้มีหลักฐานการหย่าจากการประนีประนอมจากศาลว่า ให้บุตรอยู่ในความดูแลของมารดา และให้บิดามาดูแลได้บางครั้งคราว แต่ตลอดเวลาที่เลิกกันไปทางดิฉันเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรแต่เพียงดูเดียว โดยทางสามีได้เคยมาดูแลหรือมาหาลูกเลยสักครั้งและไม่มีการติดต่ออะไรทั้งสิ้น รวมทั้งไม่เคยได้รับเงินช่วยเหลืออะไรเลยสักอย่าง อย่างนี้ดิฉันจะสามารถของเปลี่ยนนามสกุลบุตรจากนามสกุลสามีมาใช้นามสุลกของดิฉันได้หรือไม่ และต้องใช้เอกสารอะไรบ้างค่ะ
คำแนะนำทนายคลายทุกข์
เมื่อท่านได้หย่าขาดกับสามี โดยศาลมีคำพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้บุตรอยู่ในความดูแลของมารดา และให้บิดามาดูแลได้บางครั้ง เพราะฉะนั้น ตามคำพิพากษาดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งให้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์อยู่กับท่านซึ่งเป็นมารดา ท่านจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1566 (5)
และเมื่อปรากฎว่าท่านเป็นผู้เลี้ยงดูบุตรแต่เพียวผู้เดียว โดยที่บิดาของบุตรผู้เยาว์ไม่เคยอุปการะเลี้ยงดูบุตรเลย ท่านมีสิทธิในฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองที่จะขอเปลี่ยนนามสกุลบุตรมาเป็นนามสกุลของมารดาได้ เพราะท่านได้หย่าขาดจากสามีแล้ว ย่อมมีสิทธิที่จะกระทำการดังกล่าวได้
ส่วนเอกสารที่ใช้ในการขอเปลี่ยนนามสกุลบุตร ได้แก่
1. สูติบัตรของบุตร
2. สำเนาทะเบียนบ้านที่บุตรมีชื่ออยู่
3. หลักฐานการจดทะเบียนหย่า
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1566 บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา
อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาในกรณีดังต่อไปนี้
(5) ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา