การอ้างเอกสารเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์ฎีกา|การอ้างเอกสารเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์ฎีกา

การอ้างเอกสารเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์ฎีกา

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การอ้างเอกสารเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์ฎีกา

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลอุทธรณ์และเอกสารแนบท้ายอุทธรณ์

บทความวันที่ 28 เม.ย. 2563, 09:39

มีผู้อ่านทั้งหมด 2481 ครั้ง


การอ้างเอกสารเพิ่มเติมในชั้นอุทธรณ์ฎีกา

             คำพิพากษาศาลอุทธรณ์และเอกสารแนบท้ายอุทธรณ์ เป็นกรณีพยานเอกสารที่ไม่สามารถนำสืบได้ในศาลชั้นต้น ศาลฎีกามีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมได้

คำพิพากษาฎีกาที่ 18795/2557
              สำเนาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เอกสารแนบท้ายอุทธรณ์ซึ่งศาลแพ่งได้อ่านให้คู่ความฟัง เป็นกรณีที่จำเลยไม่อยู่ในวิสัยที่จะนำสืบแสดงเป็นพยานหลักฐานในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นได้ โดยเอกสารนั้นเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกามีอำนาจรับฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และเอกสารแนบท้ายอุทธรณ์เป็นพยานหลักฐานในคดีได้ตามป.วิ.พ. มาตรา 87(2)

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 87
  ห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานใดเว้นแต่
(1) พยานหลักฐานนั้นเกี่ยวถึงข้อเท็จจริงที่คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในคดีจะต้องนำสืบ และ
(2) คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานหลักฐานได้แสดงความจำนงที่จะอ้างอิงพยานหลักฐานนั้นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 88 และ 90 แต่ถ้าศาลเห็นว่า เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม จำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี โดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของอนุมาตรานี้ ให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

ดีครับ

โดยคุณ สุกิจ สมณะ 28 เม.ย. 2563, 11:00

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก