การฟ้องร้องคดีผิดสัญญาซื้อขาย เช่น บ้าน คอนโดหรือซื้อขายสินค้าหรือบริการ|การฟ้องร้องคดีผิดสัญญาซื้อขาย เช่น บ้าน คอนโดหรือซื้อขายสินค้าหรือบริการ

การฟ้องร้องคดีผิดสัญญาซื้อขาย เช่น บ้าน คอนโดหรือซื้อขายสินค้าหรือบริการ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การฟ้องร้องคดีผิดสัญญาซื้อขาย เช่น บ้าน คอนโดหรือซื้อขายสินค้าหรือบริการ

  • Defalut Image

ตัวอย่างคำพิพากษาเกี่ยวกับการฟ้องร้องกรณีผิดสัญญาซื้อขายและผิดสัญญารับประกันสินค้า

บทความวันที่ 1 เม.ย. 2568, 10:52

มีผู้อ่านทั้งหมด 363 ครั้ง


การฟ้องร้องคดีผิดสัญญาซื้อขาย เช่น บ้าน คอนโดหรือซื้อขายสินค้าหรือบริการ
#ผิดสัญญา #ชำรุดบกพร่อง #ผิดสัญญาซื้อขาย #อายุความฟ้องขายสินค้า

ตัวอย่างคำพิพากษาเกี่ยวกับการฟ้องร้องกรณีผิดสัญญาซื้อขายและผิดสัญญารับประกันสินค้า

1.ส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายไม่ตรงตามสัญญา ฟ้องได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันส่งมอบ(ขายสินค้าไม่ตรงกับที่คุยโม้โออ้วดหรือขายสินค้าไม่ตรงปก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5963/2552

           โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าเสียหายเพราะจำเลยส่งมอบทรัพย์สินไม่ถูกต้องตรงตามสัญญา แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายความชำรุดบกพร่องของห้องน้ำว่าส้วมชักโครกใช้การไม่ได้ ใช้ห้องน้ำแล้วมีน้ำขังไม่สามารถระบายน้ำลงท่อระบายน้ำได้ก็เป็นการฟ้องเรื่องส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายไม่ถูกต้องตรงตามสัญญา ไม่ใช่กรณีฟ้องว่าทรัพย์สินที่ส่งมอบชำรุดบกพร่องเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติหรือประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาซึ่งจะต้องบังคับ อายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 474 แต่เป็นกรณีต้องบังคับอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายใน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1654/2511
           ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา467นั้น. ผู้ขายต้องส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่ผู้ซื้อแล้ว. หากปรากฏต่อมาว่าทรัพย์สินนั้นขาดตกบกพร่องหรือล้ำจำนวน การเรียกร้องให้ผู้ขายรับผิดจึงจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรานี้. โดยเริ่มนับอายุความตั้งแต่เวลาส่งมอบทรัพย์สินที่ขาย.
           โจทก์ทำสัญญาซื้อนุ่นจากจำเลยหลายฉบับ. สัญญาซื้อขายแต่ละฉบับกำหนดเวลาส่งมอบไว้เป็นงวด. มีเวลาและจำนวนนุ่นแต่ละงวดแน่นอน. แม้การส่งมอบแต่ละงวดจะเป็นการปฏิบัติการการชำระหนี้ตามสัญญาฉบับเดียวกัน. แต่ในปัญหาเกี่ยวกับข้อรับผิดเพื่อการที่ทรัพย์ขาดตกบกพร่อง. จำต้องถือตามงวดที่กำหนดไว้ในสัญญา. แม้จะมีการตกลงให้ส่งมอบเป็น2งวด. แต่ละงวดห่างกันกว่าปีหนึ่ง. หากผู้ขายปฏิบัติการส่งมอบในงวดแรกครบถ้วนแล้วแต่งวดหลังไม่ส่งมอบเลย.หรือส่งมอบขาดตกบกพร่อง. ผู้ซื้อก็ยังมีสิทธิฟ้องให้ผู้ขายรับผิดสำหรับงวดหลังได้อยู่. แม้จะพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาส่งมอบงวดแรก. เมื่อแยกการส่งมอบออกได้เป็นรายงวดดังนี้. งวดใดที่จำเลยส่งมอบแล้ว. ต่อมาปรากฏว่าขาดตกบกพร่องย่อมอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467 สำหรับงวดนั้น. แต่งวดใดจำเลยไม่ส่งมอบให้โจทก์เลยก็เป็นการที่จำเลยไม่ปฏิบัติการส่งมอบตามสัญญาเลย. ไม่ใช่ส่งมอบขาดตกบกพร่อง. อันจะอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 467.
           ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายผิดจากชนิดที่ระบุไว้ในสัญญา. ก็เป็นการไม่ปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาเลย.ไม่ใช่เรื่องเกิดความชำรุดบกพร่องในทรัพย์สินที่ขายเพราะการชำระหนี้. และไม่อยู่ในบังคับแห่งมาตรา 474. ต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการไม่ชำระหนี้โดยทั่วไป. แต่ถ้าจำเลยส่งมอบทรัพย์สินที่ขายตรงตามชนิดในสัญญาแล้ว แต่ปรากฏว่าชำรุดบกพร่อง. จำเลยย่อมต้องรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องตามมาตรา 472 และอยู่ในบังคับแห่งเรื่องอายุความตามมาตรา474.


2.ข้อตกลงยกเว้นความรับผิดในเรื่องชำรุดบกพร่องทุกประเภทเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค
คำพิพากษาศาลฎีกา 2767/2560

           ข้อตกลงตามสัญญาเช่าซื้อที่ระบุว่าเจ้าของไม่ต้องรับผิดชอบความชำรุดบกพร่องใด ๆไม่ว่าตรวจพบขณะส่งมอบหรือไม่นั้น แม้บทบัญญัติเรื่องความรับผิดเรื่องความชำรุดบกพร่องตาม ป.พ.พ.มาตรา 472 และ 473  คู่สัญญาสามารถตกลงกันได้เพราะมิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับด้วยความสงบเรียบร้อยที่จะตกลงเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่ข้อตกลงที่ยกเว้นความชำรุดบกพร่องที่ไม่เห็นประจักษ์ในขณะส่งมอบและเป็นเรื่องที่ควรอยู่ในความรู้เห็นของผู้ประกอบธุรกิจ  ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าข้อตกลงลักษณะดังกล่าวก่อให้เกิดความได้เปรียบแก่ผู้เช่าซื้อในฐานะผู้บริโภคเกินสมควร  ย่อมไม่อาจใช้บังคับได้ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาตรา 4 และ 6


3.ความชำรุดบกพร่องที่มองไม่เห็นขณะรับมอบสินค้า (ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญมาตรวจสอบ เช่น เสาเข็ม ที่อยู่ใต้ดิน เป็นต้น)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5581/2533

           โจทก์ซื้อกระป๋องสำหรับบรรจุปลากับน้ำซอสมะเขือเทศจากจำเลย เมื่อกระป๋องดังกล่าวเป็นสนิมและมีความชำรุดบกพร่องอย่างอื่น ซึ่งเป็นผลมาจากการผลิตของจำเลยอันเป็นเหตุให้เสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญา จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 472 แม้โจทก์จะรับของจากจำเลย โดยไม่อิดเอื้อนแต่ขณะที่มีการส่งมอบของนั้นความชำรุุดบกพร่องยังไม่เป็นอันเห็นประจักษ์จำเลยก็หาพ้นจากความรับผิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 473(2) ไม่ 
           จำเลยทราบดีว่าโจทก์ซื้อกระเป๋าดังกล่าวเพื่อนำไปขายต่อให้แก่ผู้ซื้อในประเทศพม่า การที่โจทก์ต้องเสียค่าขนส่งกระป๋องทดแทนส่วนที่ชำรุดบกพร่องไปผู้ซื้อเพิ่มเติม จึงเป็นค่าเสียหายในพฤติการณ์พิเศษ ซึ่งจำเลยได้คาดเห็นเหตุการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว แม้โจทก์จะนำสืบจำนวนค่าเสียหายส่วนนี้ไม่ได้ความแน่ชัด ศาลก็กำหนดให้โจทก์ตามควรแก่พฤติการณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2544
           ความชำรุดบกพร่องอันเกิดจากการที่ผนังบางส่วนมีรอยแตกร้าวบริเวณระหว่างกำแพงที่เป็นปูนหรือส่วนที่เป็นพื้นกับวงกบอะลูมิเนียมของบานประตูหน้าต่างมีรอยต่อไม่สนิทหรือบางส่วนยาซิลิคอนไม่ทั่วทำให้น้ำฝนสามารถซึมเข้ามาได้นั้น เป็นความชำรุดบกพร่องอันไม่เห็นประจักษ์ในเวลาส่งมอบ เมื่อมีน้ำฝนตกหนักน้ำฝนซึมเข้ามาจึงจะรู้ว่ามีการชำรุดบกพร่องดังกล่าว แม้ตัวแทนโจทก์เข้าไปสำรวจตรวจสอบแล้ว ก็เป็นการตรวจสอบเพียงว่ามีทรัพย์สินใดเสียหายบ้าง แต่บุคคลดังกล่าวไม่มีความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้าง การที่ตัวแทนโจทก์เสนอให้โจทก์หาผู้เชี่ยวชาญมาทำการตรวจสอบและโจทก์ได้ว่าจ้างบริษัท อ. เข้าไปตรวจสอบจึงเป็นการกระทำที่สมควร จะถือว่าโจทก์พบเห็นความชำรุดบกพร่องแล้วแต่เวลานั้นยังไม่ได้ เมื่อต่อมาบริษัท อ. ตรวจสอบเสร็จและเสนอรายการซ่อมให้โจทก์ทราบ จึงถือได้ว่าโจทก์พบเห็นความชำรุดบกพร่องนับแต่เวลานั้น โจทก์ฟ้องคดีนี้ยังไม่พ้นเวลาปีหนึ่งนับแต่วันดังกล่าวคดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

4.ฟ้องให้รับผิดตามข้อตกลงพิเศษในการรับประกันสินค้า 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2553

           การซื้อขายสีมีการรับรองคุณภาพของสีไว้เป็นพิเศษ โดยมีอายุการประกัน 1 ปี อันถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงในการซื้อขาย เมื่อการซื้อขายดังกล่าวมีการรับรองคุณภาพสินค้าไว้เป็นพิเศษจึงมิใช่การซื้อขายธรรมดา ทั้งโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในค่าเสียหายที่เป็นค่าสีเสื่อมคุณภาพและค่าส่วนต่างที่โจทก์ต้องซื้อสีมาใช้ทดแทนสีที่เสื่อมคุณภาพตามข้อตกลงรับประกันสินค้าตามสัญญาซื้อขาย มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดในความชำรุดบกพร่องแห่งทรัพย์สินธรรมดาซึ่งจะทำให้คดีโจทก์มีอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 474 อีกทั้งไม่ใช่การใช้สิทธิเรียกร้องที่เกิดจากจำเลยผู้เป็นลูกหนี้รับสภาพความรับผิดแต่ประการใดแต่เป็นกรณีโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยรับผิดตามข้อตกลงพิเศษแห่งสัญญาดังกล่าวข้างต้น ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

5.อายุความฟ้องขายสินค้า ส่งมอบสินค้าไม่ถูกต้องตรงตามสัญญา ไม่ใช่เรื่องชำรุดบกพร่อง ฟ้องได้ภายใน 10 ปี 
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8760/2556

           โจทก์ฟ้องขอให้ศาลบังคับจำเลยคืนเงินส่วนต่างของราคาที่เกินไป อันสืบเนื่องมาจากที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ขายมิได้ส่งมอบรถให้ตรงตามรุ่นตามความประสงค์ของผู้ซื้อโดยมีผลต่างราคากันอยู่เป็นเงิน 94,000 บาท กรณีดังกล่าวย่อมไม่ถือว่าเงินส่วนที่โจทก์ชำระเกินไปดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยได้มาเพราะการที่โจทก์กระทำเพื่อชำระหนี้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ อันจะถือได้ว่าเป็นลาภมิควรได้ที่ตกแก่จำเลยซึ่งโจทก์จะต้องใช้สิทธิเรียกร้องเอาเงินคืนจากจำเลยเสียภายในกำหนดอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 และกรณีดังกล่าวไม่มีกฎหมายว่าด้วยอายุความบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5963/2552
          โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าเสียหายเพราะจำเลยส่งมอบทรัพย์สินไม่ถูกต้องตรงตามสัญญา แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายความชำรุดบกพร่องของห้องน้ำว่าส้วมชักโครกใช้การไม่ได้ ใช้ห้องน้ำแล้วมีน้ำขังไม่สามารถระบายน้ำลงท่อระบายน้ำได้ก็เป็นการฟ้องเรื่องส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายไม่ถูกต้องตรงตามสัญญา ไม่ใช่กรณีฟ้องว่าทรัพย์สินที่ส่งมอบชำรุดบกพร่องเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่ประโยชน์อันมุ่งจะใช้เป็นปกติหรือประโยชน์ที่มุ่งหมายโดยสัญญาซึ่งจะต้องบังคับ อายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 474 แต่เป็นกรณีต้องบังคับอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อโจทก์ฟ้องคดีภายใน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

มีปัญหากฎหมาย สอบถามได้ที่ 02-9485700,081-6161425,081-6252161,081-8217470   
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก