งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
ถูกเลิกจ้างกระทันหัน และรู้สึกไม่เป็นธรรม
ดิฉันได้ถูกเลิกจ้างอย่างกระทันหัน เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2553 ดิฉันทำงานในตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่ายขายให้กับบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ย่านถนนวิทยุ โดยเริ่มงานเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2552 และถูกเลิกจ้างเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2553 การเลิกจ้างในครั้งนี้ นายจ้างมิได้มีการบอกกล่าวล่วงหน้าแต่อย่างไร และได้เรียกเข้าไปเพื่อแจ้งให้ทราบผลการเลิกจ้างในวันดังกล่าวทันที ส่งผลให้ดิฉันเสียกำลังใจ และเสียความรู้สึกมาก เพราะตลอดระยะเวลาได้ทำงานเต็มความสามารถ และสามารถสร้างยอดขายให้ตลาดที่ดิฉันดูแลได้อย่างต่อเนื่อง จน ณ วันสุดท้าย ก็ยังได้รับใบสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และสามารถปิดการขาย ได้อีก 2 เจ้า รวมถึงยังมีลูกค้าอีกหลายๆ เจ้า ที่ดิฉันได้ติดต่อไว้เขยายตลาดเพิ่มเติม
ในการบอกเลิกจ้างในครั้งนี้ ทำให้ดิฉ้นรู้สึกได้ว่า เป็นการบอกเลิกงานอย่างไม่เป็นธรรม เพราะทางบริษัทมีเจตจำนงที่จะตัดทอนเงินชดเชยค่าจ้าง เพราะดิฉันกำลังจะครบรอบการทำงาน 12 เดือน หรือ 1 ปี ในอีกแค่ 14 วันทำการเท่านั้น และได้ส่งผลกระทบต่อกำลังใจในการทำงาน และประวัติการทำงาน ที่ถูกนายจ้างรายใหม่ๆ มองว่า ทำไมถึงออกจากก่อนได้งานใหม่ หรือครบรอบการทำงาน 1 ปี
และอีกประเด็นคือ เมื่อประมาณ วันที่ 20 กรกฏาคม 2553 ทางบริษัทโดนคดีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย และเงินชดเชยจากพนักงานเก่า แต่พยายามดึงดิฉันเข้าไปเกี่ยวข้อง โดยพยายามบังคับให้เซ็นต์รับรองเอกสาร บทสนทนา ซึ่งทางบริษัทได้พิมพ์ขึ้นมาเอง แต่ต้องการพยานรับรอง เพื่อใช้ต่อสู้คดีกับพนักงานเก่า ที่ฟ้องร้องกันอยู่ เมื่อดิฉันปฎิเสธ เพราะอยากไปให้การในชั้นศาลมากกว่า เพื่อความถูกต้องและเป็นธรรม ทางฝ่ายหัวหน้าได้แสดงความไม่พอใจอย่างมาก ดิฉันมั่นใจว่า เป็นสาเหตุหลักที่ทางบริษัทต้องการบอกเลิกจ้าง โดยให้ออกจากงานก่อนครบรอบ 12 เดือน เพื่อลดทอนเงินชดเชยค่าจ้าง
ดิฉันมั่นใจว่า หากยังทำงานอยู่ต่อได้ โดยไม่มีประเด็นใดๆ มาเป็นตัวบีบบังคับ ด้วยความสามารถและความรู้ในตัวสินค้า ดิฉันยังคงประกอบหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากทางบริษัทยืนยันว่าดิฉันมีความบกพร่องในหน้าที่การงาน และไม่สมควรที่จะอยู่ในตำแหน่งต่อไป ทางบริษัทควรออกจดหมายเตือนให้ทราบ เพื่อปรับปรุง แต่บริษัทมิได้แจ้งเตือนใดๆ ทั้งส้น และเมื่อเดือนเมษายน 2553 ได้ออกจดหมายขึ้นเงินเดือน และชมเชยในความสามารถ ความทุ่มเทในการทำงานให้แก่ดิฉันด้วย ดิฉันจึงมองไม่เห็นถึงสาเหตุในการบอกเลิกจ้างแต่อย่างใด เพราะทางบริษัทเอง ก็ทำแผนงานปรับปรุงโครงสร้างการขาย อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นประเด็นเดียวที่เหลืออยู่ คือเรื่อง การปฎิเสธการเซ็นต์รับรองเอกสาร ในการต่อสู้คดีของบรษัทกับพนักงานเก่า ที่บริษัทติดใจ และใช้เป็นเหตุผลส่วนตัวในการบอกเลิกจ้างดิฉัน
ปล. ในการบอกเลิกจ้างครั้งนี้ ทางบริษัทได้ชดเชยเงินค่าจ้าง และค่าบอกกล่าวมาแล้วครบตามจำนวน
คำถาม: หากดิฉันต้องการยืนร้องเรียนต่อศาลแรงงานกลาง เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายในการบอกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ตามที่กล่าวมาได้หรือไม่ มีขั้นตอน และระยะเวลาในการฟ้องร้องนานหรือไม่ สุดท้ายดิฉันพอทำอะไรได้บ้างเพื่อความเป็นธรรม
คำแนะนำทนายคลายทุกข์
เมื่อท่านเห็นว่าการที่บริษัทบอกเลิกจ้างแก่ท่าน โดยอาศัยเหตุท่านปฏิเสธการลงลายมือชื่อรับรองเอกสารซึ่งบริษัทใช้เป็นเอกสารหลักฐานในการต่อสู้คดีของบริษัทกับพนักงานเก่า ทั้งๆ ที่ประมาณเดือนเมษายน 2553 บริษัทก็มีจดหมายแจ้งท่านเกี่ยวกับการขึ้นเงินเดือน และชมเชยในความสามารถ ความทุ่มเทในการทำงานให้แก่ท่านซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายขายนั้นด้วย ดังนั้น เมื่อท่านเห็นว่าการถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมของท่าน ท่านย่อมมีสิทธิฟ้องบริษัทต่อศาลแรงงานฐานนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม เพื่อให้ศาลพิจารณากรณีการเลิกจ้างของบริษัทดังกล่าว โดยศาลอาจสั่งให้บริษัทรับท่านเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง ถ้าศาลเห็นว่าท่านกับบริษัทนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ศาลย่อมมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายให้บริษัทชดใช้ให้แทน โดยศาลจะพิเคราะห์คำนึงถึงอายุของลูกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้าง และค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิๆได้รับ ประกอบการพิจารณา ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49
ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522
มาตรา 49 การพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทำงานต่อไปในอัตราค่าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้ ให้ศาลแรงงานกำหนดจำนวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทนโดยให้ศาลคำนึงถึงอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทำงานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้างและเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ประกอบการพิจารณา