เช่าตู้นิรภัย ฝากเครื่องเพชร
สูญหาย แบงก์ไม่รับผิดชอบ
สมาชิก
ชื่อนางนิลนุช ไชยศลาภ อายุ 55 ปี อาชีพ ค้าขาย เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2549
ได้เช่าตู้นิรภัยหมายเลข 90 ที่ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขาบางนา กม.4
ปรากฏว่า เครื่องเพชรที่ฝากไว้ หายไปบางส่วน เช่น แหวนเพชร 3 วง มูลค่า 2,000,000
บาท , นาฬิกาโรเล็ก สายหนัง ของผู้หญิง 1 เรือน มูลค่าประมาณ 50,000 บาท และอีกหลายอย่างที่สูญหาย
แต่ยังตรวจสอบไม่ได้ ประมาณจำนวน
100 รายการ
ขั้นตอนการเปิดตู้
แบงก์จะให้กุญแจตู้นิรภัยไว้ 2 ดอก เวลาเปิดตู้
จะต้องพบกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลตู้นิรภัยโดยตรง
เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลจะให้กุญแจลูกน้องไปเปิดให้คู่กับกุญแจของเรา มีการ์ดให้ลงชื่อคนเดียว หลังจากนั้นได้เดินไปที่ตู้นิรภัย และก็ใช้กุญแจเปิดพร้อมกันสองดอก
หลังจากที่เปิดแล้ว
สมาชิกก็นับของว่าครบหรือไม่ พบว่ามีของหาย ถุงผ้าที่ใส่นาฬิกาไว้
ตัวนาฬิกาไม่ได้ในถุงผ้า อยู่ข้างนอกผ้า นาฬิกาได้หายไป ได้ตรวจสอบประมาณ 3 รอบ ก็ไม่พบของที่หายไป หลังจากนั้นได้ปิดตู้นิรภัย
และเดินลงไปข้างนอก และได้แจ้งกับเจ้าหน้าที่ที่ดูแลตู้ เขาบอกว่า
เป็นไปไม่ได้ที่ของจะหาย โดยให้เหตุผลว่า ทางคุณเอาไปแล้วลืมหรือเปล่า
ทางเจ้าหน้าที่ยืนกรานว่าเป็นไปไม่ได้ว่าของจะหาย สมาชิกบอกว่าจะต้องแจ้งความ
ว่าของอยู่ในตู้ไม่สามารถเดินออกไปได้
ต่อมาวันที่
22 กันยายน 2549 สมาชิกได้ไปแจ้งความที่สน.บางนา แจ้งข้อหา ลักทรัพย์
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เรียกกองพิสูจน์หลักฐานจากกรมตำรวจไปที่ธนาคารทหารไทย จำกัด
(มหาชน) สาขาบางนา กองพิสูจน์ไป 2 ท่าน เจ้าหน้าที่ตำรวจสน.บางนา ไป 2 ท่าน
สารวัตรสอบสวน 1 ท่าน
ชื่อ พ.ต.ต.นพดล
สามารถ พร้อมลูกน้อง 1 คน
เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ไปสอบถามเจ้าหน้าที่แบงก์ฝ่ายดูแลตู้นิรภัย
พร้อมผู้จัดการ ขออนุญาตเปิดตู้นิรภัย เพื่อเก็บลายนิ้วมือ
ช่วงที่เจ้าหน้าที่เปิดตู้นิรภัย ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รอการเปิดตู้
พนักงานที่ดูแลตู้เปิดตู้นิรภัยไม่ได้ มีอาการร้อนรน
ผู้จัดการแบงก์เห็นว่าเปิดตู้ไม่ได้ ก็ได้มาเปิดเอง ตู้ก็เปิด กองพิสูจน์หลักฐานก็เก็บลายนิ้วมือ
ประมาณ 1 ชั่วโมง
เจ้าหน้าที่กองพิสูจน์และเจ้าหน้าที่ตำรวจก็เดินทางกลับ
เมื่อวันที่
17 ตุลาคม 2549
ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจสน.บางนาได้เดินทางไปที่แบงก์เพื่อไปขอตรวจลายนิ้วมือของพนักงานแบงก์ทุกคน
เพื่อเปรียบเทียบกับกองพิสูจน์หลักฐาน ผลปรากฏว่า ลายเส้นนิ้วมือที่พบไม่เพียงพอต่อการพิสูจน์
และไม่ได้ดำเนินการใด ๆ อีกเลย
สมาชิกขอฝากความรู้สึกถึงแบงก์ว่า
?อยากจะให้แบงก์รับผิดชอบ
คิดว่า บ้านไม่ปลอดภัย จึงนำไปฝากแบงก์
แต่กลับกัน แบงก์ไม่ปลอดภัยยิ่งกว่าที่บ้านเสียอีก?
? รู้สึกเสียใจที่แบงก์ไม่แสดงความรับผิดชอบ เราเสียใจแล้ว
ก็ต้องมาเสียของอีก?
จึงมาขอคำปรึกษากับอาจารย์เดชาว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
1.
กรณีนี้ถึงแม้สัญญาเช่าตู้นิรภัยจะปฏิเสธความรับผิดชอบ
แต่ก็สามารถดำเนินคดีได้ เนื่องจากธนาคารเป็นธุรกิจที่น่าไว้วางใจของประชาชน
จะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษเยี่ยงผู้มีวิชาชีพพึงปฏิบัติมากกว่าบุคคลทั่วไป
การที่ประชาชนนำของมีค่าไปฝากไว้กับธนาคาร
เนื่องจากเชื่อมั่นในระบบรักษาความปลอดภัยและความซื่อสัตย์ตลอดจนความรับผิดชอบที่ธนาคารให้คำมั่นสัญญากับประชาชน
เมื่อธนาคารปล่อยปละละเลยให้มีบุคคลภายนอกหรือพวกมิจฉาชีพเข้ามาขโมยทรัพย์สินในตู้นิรภัยไปโดยไร้ร่องรอย
จึงถือว่าเป็นการกระทำละเมิดตาม ป.พ.พ.มาตรา 420
จึงมีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
เทียบเคียงได้กับกรณีนำรถไปจอดในห้างสรรพสินค้า และรถสูญหาย
ห้างปฏิเสธความรับผิดชอบ แต่ศาลฎีกาเคยมีแนววินิจฉัยว่า จะต้องต้องรับผิดชอบ
เนื่องจากห้างมีระบบรักษาความปลอดภัย
แต่ปล่อยให้รถหายได้ทั้งที่บัตรจอดรถยังอยู่กับเจ้าของรถ