จำนอง|จำนอง

จำนอง

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

จำนอง

  • Defalut Image

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 ที่ว่า “ไม่ต้องรับผิดส่วนที่ขาด”

บทความวันที่ 8 ก.ค. 2562, 10:17

มีผู้อ่านทั้งหมด 1339 ครั้ง


จำนอง

         ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733 ที่ว่า “ไม่ต้องรับผิดส่วนที่ขาด” หมายถึง ไม่ต้องรับผิดส่วนที่ขาดตาม “วงเงินจำนอง”  ***แต่ถ้ามีหนี้ประธาน “เกินวงเงินจำนอง” ลูกหนี้ก็ยังต้องรับผิด
  ***มีคำพิพากษาฎีกาน่าสนใจมาก ยังไม่ออกสอบ ศึกษาได้จากคำพิพากษาฎีกา 15363/2557
#ข้อสังเกต ที่สำคัญ
    - มาตรา 733 เจ้าหนี้ผู้รับจำนอง ลูกหนี้ผู้จำนองสามารถตกลงยกเว้นมาตรานี้ได้ เพราะมาตรา 733 ไม่ใช่กฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น ลูกหนี้ผู้จำนองหนี้ของตนเองจะยอมตกลงรับผิดส่วนขาดเพื่อยกเว้นมาตรา 733 ได้ เช่น เขียนข้อตกลงว่า “หากเจ้าหนี้บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้ ก็ให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นของลูกหนี้ได้จนครบ”
        และข้อตกลงนี้ ไม่จำต้องไปจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่
        ข้อตกลงนี้  “ไม่ผูกพันผู้รับโอนทรัพย์จำนอง” (ฎ.1423/2558)
        ระวัง! แม้มีข้อตกลงยกเว้นมาตรา 733 แต่ถ้า “หนี้ประธานขาดอายุความ” ลูกหนี้ก็รับผิดไม่เกินทรัพย์จำนองเท่านั้น จะบังคับจากทรัพย์สินอื่นอีกไม่ได้ (ฎ 667/2549 (ป.), ฎ 2488/2552, ฎ 4295/2555)
     - นอกจากนี้ ***กฎหมายใหม่ยังต้องระวังว่า ปัจจุบันข้อตกลงยกเว้นมาตรา 733 จะใช้ได้กับ “ผู้จำนองหนี้ของตนเอง” เท่านั้น  จะใช้กับผู้จำนองหนี้คนอื่น (ผู้จำนองบุคคลที่ 3) ไม่ได้แล้ว ข้อตกลงใดอันมีผลให้ผู้จำนองหนี้คนอื่น (ผู้จำนองบุคคลที่ 3) รับผิดเกินกว่าทรัพย์จำนอง ข้อตกลงนั้น “เป็นโมฆะ” ตามมาตรา 727/1 วรรคสอง แห่ง ป.พ.พ.
 

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก