การไปแจ้งความลงบันทึกประจำวัน เป็นการทำพินัยกรรมหรือไม่|การไปแจ้งความลงบันทึกประจำวัน เป็นการทำพินัยกรรมหรือไม่

การไปแจ้งความลงบันทึกประจำวัน เป็นการทำพินัยกรรมหรือไม่

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การไปแจ้งความลงบันทึกประจำวัน เป็นการทำพินัยกรรมหรือไม่

  • Defalut Image

การที่ผู้ตายไปลงบันทึกประจำวันซึ่งมีข้อความว่า ถ้าผู้ตายถึงแก่กรรมทรัพย์สินของผู้ตายจะตกแก่ผู้ใด

บทความวันที่ 3 มิ.ย. 2563, 09:52

มีผู้อ่านทั้งหมด 1163 ครั้ง


การไปแจ้งความลงบันทึกประจำวัน เป็นการทำพินัยกรรมหรือไม่

    การที่ผู้ตายไปลงบันทึกประจำวันซึ่งมีข้อความว่า ถ้าผู้ตายถึงแก่กรรมทรัพย์สินของผู้ตายจะตกแก่ผู้ใด โดยลงลายมือชื่อ และมีเจ้าพนักงานตำรวจลงลายมือชื่อไว้ 2 นาย ถือเป็นพินัยกรรม

คำพิพากษาฎีกาที่ 1511/2558
             เมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2545 ผู้ตายไปแจ้งความต่อพันตำรวจโท ด. พนักงานสอบสวนและจ่าสิบตำรวจ ส. เจ้าพนักงานตำรวจ สถานีตำรวจภูธรอำเภอสารภี ว่า ผู้ตายมีความจำเป็นต้องจดทะเบียนกับผู้ร้อง จึงมีความจำเป็นต้องทำบันทึกเรื่อง ทรัพย์สินไว้ โดยระบุว่าทรัพย์สินใดเป็นของนาย ป. ทรัพย์สินใดผู้ตายกับนาย ป. เป็นเจ้าของร่วมและกำหนดเงื่อนไขว่าถ้าผู้ตายมีบุตรให้ทรัพย์สินส่วนของผู้ตายตกแก่บุตรและภริยาของผู้ตาย ถ้าผู้ตายไม่มีบุตรตามที่ภริยารับรองให้ทรัพย์สินส่วนของผู้ตายตกแก่นาย ป. ผู้เดียวห้ามภริยาเข้ามาเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินของผู้ตาย ตามสำเนารายงานประจำวัน หลังจากที่ผู้ตายจดทะเบียนสมรสกับผู้ร้องแล้ว ผู้ตายไม่มีทรัพย์สินเพิ่มเติม ศาลฎีกาเห็นว่าตามสำเนารายงานประจำวันมีข้อความว่า ถ้าผู้ตายถึงแก่ความตายทรัพย์สินของผู้ตายจะตกแก่ผู้ใด เป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินมีลักษณะเป็นพินัยกรรม ตาม ป.พ.พ มาตรา 1646 และมาตรา 1647 ผู้ตายบอกให้เจ้าพนักงานตำรวจบันทึกและลงลายมือชื่อต่อหน้าพันตำรวจโท ด. กับจ่าสิบตำรวจ ส. พยานทั้งสองคนลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผูัตายไว้ในขณะนั้นเป็นการทำพินัยกรรมถูกต้องตามแบบดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1656  

ตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1646
  บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง หรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้
มาตรา 1647  การแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายนั้นย่อมทำได้ด้วยคำสั่งครั้งสุดท้ายกำหนดไว้ในพินัยกรรม
มาตรา 1656  พินัยกรรมนั้น จะทำตามแบบดังนี้ก็ได้ กล่าวคือต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น
    การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามแบบอย่างเดียวกับการทำพินัยกรรมตามมาตรานี้

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก