งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ
ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ
สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ
รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ
ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์ให้ตนเองในฐานะทายาททำได้หรือไม่
#ทรัพย์มรดก #กองมรดก #เพิกถอนเนรคุณ #ผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2567
บทบัญญัติของ ป.พ.พ.มาตรา 1722 ที่ว่าผู้จัดการมรดกจะทำนิติกรรมใดๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่ เว้นแต่พินัยกรรมจะอนุญาตไว้ หรือได้รับอนุญาตจากศาล เป็นกรณีที่ใช้บังคับเฉพาะผู้จัดการมรดกที่มิได้เป็นทายาท แต่สำหรับจำเลยที่ 1 นอกจากเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ตามคำสั่งศาลแล้วยังเป็นหนึ่งในทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของ ส.การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของ ส. ให้แก่ตนเองเป็นส่วนตัวในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทด้วย จึงเป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่มีอยู่ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1719 โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาทหรือได้รับอนุญาตจากศาล จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการอันเป็นการปฏิปักษ์ต่อกองมรดก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1722 อันจะมีผลทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 150
โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกเฉพาะส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 24055 ตำบลบ้านร่อม อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระหว่างจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของนางส. ผู้ตาย โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว กับให้เพิกถอนนิติกรรมการยกที่ดินดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และเพิกถอนนิติกรรมของจำเลยที่ 2 ที่แบ่งแยกโฉนดที่ดินเลขที่ 24055 เป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 25608
จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง
ระหว่างพิจารณา โจทก์ที่ 4 ถึงแก่ความตาย นาง ถ.ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกเฉพาะส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 24055 ระหว่างจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางส.กับจำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัว ซึ่งทำเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งทำเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 และเพิกถอนนิติกรรมของจำเลยที่ 2 ที่แบ่งแยกโฉนดที่ดินดังกล่าวเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 25608 ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ทั้งเจ็ด โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีให้เป็นพับ
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า สำหรับนิติกรรมการโอนที่ดินมรดกเฉพาะมรดกส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 24055 ซึ่งทำเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 และนิติกรรมการให้ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งทำเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 ให้เพิกถอนเฉพาะส่วนที่เป็นของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 5 และที่ 7 คิดเป็น 6 ส่วน จาก 11 ส่วน นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยทั้งสองฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริบงที่มิได้โต้เถียงกันในชั้นรับฟังได้ว่า โจทก์ทั้งเจ็ด จำเลยที่ 1 นางสาวส. หรือ ส. (งแก่ความตายไปก่อน) นาย ป.และนายส.หรือส. รวม 11 คน เป็นบุตรของนางส. นางส.ถึงแก่ความตาย เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2519 มีทรัพย์มรดกเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 24047 เนื้อที่ 22 ไร่ 2 งาน ซึ่งเป็นที่นา และในปี 2520 มีการโอนทางมรดกให้ทายาททั้ง 10 คน ถือกรรมสิทธิ์รวมแล้ว กับที่ดินโฉนดเลขที่ 24055 หรือเดิมโฉนดที่ดิน 1519 เนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวา ที่พิพาทซึ่งใช้เป็นที่ปลูกบ้านอยู่อาศัยและนาง ส.ถือกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์ที่ 7 เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2554 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของนางส. วันที่ 4 มกราคม 2555 จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนมาเป็นชื่อของจำเลยที่ 1 และวันที่ 12 มิถุนายน 2558 จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินเฉพาะส่วนให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 1 โดยเสน่หา ไม่มีค่าตอบแทน เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 โจทก์ที่ 7 และจำเลยที่ 2 ยื่นคำขอแบ่งกรรมสิทธิ์รวมที่ดินโฉนดเลขที่ 24055 ซึ่งในการรังวัดที่ดินได้เนื้อที่ 3 ไร่ 31.7 ตารางวา มากกว่าตามหลักฐานเดิมกับหักที่ดินเป็นสาธารณะประโยชน์ (คลองชลประทาน สาย 1 ขวา 24 ขวา) 49.5 ตารางวา จำเลยที่ 2 ได้เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 32.1 ตารางวา
คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยทั้งสองว่า มีเหตุเพิกถอนนิติกรรมการโอนมรดกที่ดินโฉนดเลขที่ 24055 เฉพาะส่วนของนางส. เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 และนิติกรรมการให้ที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 เฉพาะส่วนที่เป็นโจทก์ทั้งเจ็ด คิดเป็น 6 ส่วนจาก 11 ส่วน ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 หรือไม่ เห็นว่า บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1722 ที่ว่า ผู้จัดการมรดกจะทำนิติกรรมใดๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่ เว้นแต่พินัยกรรมจะได้อนุญาตไว้ หรือได้รับอนุญาตจากศาล เป็นกรณีที่ใช้บังคับเฉพาะผู้จัดการมรดกที่มิได้เป็นทายาท แต่สำหรับจำเลยที่ 1 นอกจากเป็นผู้จัดการมรดกของนางส. ตามคำสั่งศาลแล้วยังเป็นหนึ่งในทายาทที่มีสิทธิรับมรดกของนางส.การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของนางส.ให้แก่ตนเองเป็นส่วนตัวในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกในที่ดินพิพาทด้วยจึงเป็นการกระทำไปตามอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากทายาทหรือได้รับอนุญาตจากศาล จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 กระทำการอันเป็นปปฏิปักษ์ต่อกองมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 แต่อย่างใด โจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่อาจที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินมรดกเฉพาะส่วนของที่ดินโฉนดเลขที่ 24055 ซึ่งจำเลยที่ 1 ดำเนินการไปเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 ตามบทบัญญัติดังกล่าวได้ ส่วนที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 นั้น เห็นว่า เมื่อทายาททุกคนต่างรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอจัดการมรดกของนางส. แล้วจำเลยที่ 1 นำคำสั่งศาลไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทมาเป็นจำเลยที่ 1 เป็นส่วนตัวเมื่อวันที่ 1 เป็นส่วนตัวเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 หลังจากนั้นอีกกว่า 3 ปี จำเลยที่ 1 จึงจดทะเบียนโอนให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 โดยไม่ปรากฎว่ามการกระทำใดที่ไม่สุจริต หลังจากจำเลยทั้งสองครอบครองปลูกสสร้างบ้านอยู่อาศัย ไม่มีทายาทคนใดโต้แย้งคัดค้านว่าจำเลยที่ 1 จัดการทรัพย์มรดกไปโดยไม่ชอบ จึงเชื่อได้ว่าโจทก์ที่ 1 ถึงโจทก์ที่ 6 ได้ขายสิทธิในที่ดินพิพาทส่วนของแต่ละคนให้แก่จำเลยทั้งสองและได้รับเงินไปครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองได้แบ่งทรัพย์มรดกในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 7 รับไปตามสิทธิครบถ้วนแล้ว พยานหลักฐานของจำเลยทั้งสองมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งเจ็ด โจทก์ทั้งเจ็ดไม่อาจที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้ที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งทำเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2558 ได้ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น ส่วนฎีกาของจำเลยทั้งสองในประเด็นอื่นไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลเปลี่ยนแปลง และฎีกาของโจทก์ทั้งเจ็ด ส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 6 ฟังไม่ขึ้น กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยข้อที่โจทก์ทั้งเจ็ดฎีกาว่าศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาเกินคำขออีกต่อไป ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งเจ็ดเสียทั้งหมด ให้โจทก์ทั้งเจ็ดใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลแทนจำเลยทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความให้รวม 10,000 บาท
มีปัญหาข้อกฎหมายสอบถาม 02-948-5700 หรือ 081-616-1425 หรือ 081-625-2161, 081-821-7470