จอดรถบนไหล่ทาง ต้องเปิดไฟหรือให้แสงสว่าง มิฉะนั้น หากเกิดอุบัติเหตุต้องรับผิด|จอดรถบนไหล่ทาง ต้องเปิดไฟหรือให้แสงสว่าง มิฉะนั้น หากเกิดอุบัติเหตุต้องรับผิด

จอดรถบนไหล่ทาง ต้องเปิดไฟหรือให้แสงสว่าง มิฉะนั้น หากเกิดอุบัติเหตุต้องรับผิด

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

จอดรถบนไหล่ทาง ต้องเปิดไฟหรือให้แสงสว่าง มิฉะนั้น หากเกิดอุบัติเหตุต้องรับผิด

  • Defalut Image

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1666/2514 (จอดรถเวลากลางคืนไม่เปิดไฟ ถือว่าประมาท)

บทความวันที่ 25 เม.ย. 2568, 14:16

มีผู้อ่านทั้งหมด 211 ครั้ง


จอดรถบนไหล่ทาง ต้องเปิดไฟหรือให้แสงสว่าง มิฉะนั้น หากเกิดอุบัติเหตุต้องรับผิด
#จอดรถไหล่ทาง #จราจร #ค่าเสียหาย

1.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1666/2514 (จอดรถเวลากลางคืนไม่เปิดไฟ ถือว่าประมาท)
          จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นพนักงานของกรมทางหลวงจำเลยที่ 3 ได้ทำการซ่อมทางหลวงและนำรถเคี่ยวยางจอดไว้ในทางเวลากลางคืนโดยไม่จุดไฟไว้ ถือเป็นผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477มาตรา 23 เป็นความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ละเว้นไม่กระทำการอันควรกระทำตามหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์ที่ผู้ตายขับขี่ไปชนเกิดความเสียหายขึ้น ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดร่วมในผลแห่งการละเมิดด้วย
          จำเลยและผู้ตายต่างประมาทด้วยกัน ฝ่ายไหนจะรับผิดเพียงใดนั้นต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ด้วยว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงใด โจทก์เป็นฝ่ายเสียหายมากแต่เป็นฝ่ายประมาทน้อยกว่า จำเลยเสียหายน้อยแต่ประมาทมากกว่า เห็นควรแบ่งค่าเสียหายออกเป็น 3 ส่วน ให้จำเลยรับผิด 2 ใน 3 ส่วน
          ค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นนี้จะต้องพิจารณาตามสมควรตามความจำเป็นและตามฐานะของผู้ตาย ทั้งต้องพิจารณาถึงประเพณีการทำศพตามลัทธินิยมประกอบด้วย และต้องไม่ใช่รายการที่ฟุ่มเฟือยเกินไป หาใช่ว่าเมื่อจ่ายไปเท่าไรแล้วจะเรียกเอาได้หมด
2.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4491/2558 (ต้องนำสืบว่าได้ปฏิบัติตามกฎหมาย)
          โจทก์ฟ้องว่าเหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของจำเลยที่ 1 ที่จอดรถไว้ในช่องเดินรถช่องทางด่วนซ้ายสุดโดยไม่เปิดไฟฉุกเฉิน ไม่แสดงเครื่องหมายจราจรหรือสัญญาณจราจรอื่นใดไว้บริเวณท้ายรถ ซึ่งตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 61 บัญญัติไว้ว่า ในเวลาที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอที่ผู้ขับขี่จะมองเห็นรถที่จอดในทางเดินรถได้โดยชัดแจ้งในระยะไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบเมตร ผู้ขับขี่ซึ่งจอดรถในทางเดินรถหรือไหล่ทางต้องเปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามประเภทลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้นำสืบพยานหลักฐานใดที่จะแสดงให้เป็นไปตามข้ออ้างว่าจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ดังกล่าวแล้ว รวมทั้งไม่นำสืบหักล้างให้เห็นได้ว่า ย. กระทำผิดโดยมีส่วนประมาทด้วยเช่นไร กรณีจึงต้องรับฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบมาทั้งหมด จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ในความเสียหายที่เกิดขึ้น
3.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2517 (จอดรถเวลากลางคืน ท้ายรถล้ำออกไปโดยไม่เปิดไฟ ถือว่าประมาท) 
          พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2477 มาตรา 23 ซึ่งบัญญัติว่า 'เวลากลางคืนรถใดจอดในทาง ณ ที่ซึ่งไม่มีแสงสว่างส่องไปถึงรถนั้นให้เห็นได้ในระยะไกลห้าสิบเมตรต้องเปิดหรือจุดไฟให้มีแสงพอให้เห็นว่ารถนั้นจอดอยู่' นั้น เป็นบทบัญญัติเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นแก่บุคคลอื่น และการปฏิบัติตามกฎหมายนี้ย่อมเป็นหน้าที่ของผู้ขับรถ โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจะมีผู้มาช่วยเหลือในการจอดรถนั้นหรือไม่
           รถของจำเลยบรรทุกหินไปส่ง ระหว่างทางเพลารถขาด รถจอดอยู่ริมถนนด้านซ้ายท้ายรถด้านขวาล้ำออกไปในผิวจราจรประมาณ1 เมตร ยังเหลือผิวจราจรอีก 6 เมตร ซึ่งรถสามารถแล่นสวนกันได้แม้จะมีเจ้าพนักงานตำรวจช่วยลากรถของจำเลยไปจอดดังกล่าวก็ไม่เป็นเหตุให้ผู้ขับรถของจำเลยพ้นจากหน้าที่ที่จะต้องจัดการให้มีแสงสว่างพอให้เห็นรถที่จอดนั้นได้ในเวลากลางคืน เมื่อรถของโจทก์แล่นมาชนท้ายรถของจำเลยส่วนที่ล้ำออกไป เป็นเหตุให้รถเสียหายและมีคนได้รับอันตราย เหตุที่เกิดขึ้นย่อมเนื่องมาจากความผิดของผู้ขับรถจำเลยที่ละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายส่วนหนึ่ง แต่คนขับรถของโจทก์ซึ่งเห็นรถที่แล่นสวนมาใช้ไฟสูง มองไม่เห็นทางข้างหน้า แทนที่จะพยายามหยุดรถเพื่อความปลอดภัยกลับขับรถต่อไปด้วยความเร็วสูงจนชนท้ายรถจำเลย ย่อมเป็นความประมาทของคนขับรถโจทก์ด้วย การกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยชดใช้ต้องพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 422ประกอบด้วยมาตรา 223
4.คำพิพากษาฎีกาที่ 2884/2555 (จอดรถเวลากลางคืน ท้ายรถล้ำออกไปโดยไม่เปิดไฟ ถือว่าประมาท)
           การที่จำเลยจอดรถโดยส่วนของรถล้ำเข้าไปในช่องเดินรถด้านซ้ายเกือบครึ่งคันรถ  ควรที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด  กล่าวคือ  
     ต้องแสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณเพื่อให้รถที่แล่นผ่านบริเวณนั้นเห็นได้ชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ   
     การที่ผู้ตายขับรถมาตามทางแล้วเฉี่ยวชนท้ายรถคันที่จำเลยขับโดยท้ายรถของผู้ตายชนกับท้ายรถคันที่จำเลยขับ  
     แสดงให้เห็นว่าผู้ตายได้ห้ามล้อรถอย่างกะทันหันทำให้รถหมุน   ย่อมบ่งแสดงว่าผู้ตายเห็นรถคันที่จำเลยขับมาจอดไว้ในระยะกระชั้นชิดหรือมิฉะนั้นอาจเกิดจากผู้ตายขับรถทับยางรถยนต์ที่จำเลยวางไว้  จึงตกใจห้ามล้ออย่างกะทันหัน   เนื่องจากสียางรถยนต์กับสีพื้นถนนกลมกลืนกันทำให้ผู้ตายมองไม่เห็นเมื่อรถทับยางจึงตกใจแล้วจึงห้ามล้อ   
     เหตุเฉี่ยวชนกันจึงเกิดจากความประมาทของจำเลยที่จอดรถล้ำเข้าไปในช่องเดินรถแล้วไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณให้ผู้ตายที่ขับตามหลังมาเห็น   
     แต่การกระทำฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายกับความผิดฐานจอดรถโดยไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณ   เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท   หาใช่ความผิดต่างกรรมกันไม่
5.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8033/2555
           รถบรรทุกสิบล้อที่จำเลยขับมาถึงบริเวณที่เกิดเหตุล้อรถด้านหลังสะบัดจะหลุดออกมา จึงจำเป็นต้องจอดรถบนไหล่ทาง จำเลยจอดรถชิดขอบถนนด้านซ้ายแล้ว แต่ปรากฎว่าไหล่ทางกว้างเพียง 1.50 เมตร ท้ายรถจึงยื่นล้ำเข้าไปในทางเดินรถไม่เกิน 2 ฟุต เป็นกรณีจำเป็นที่จำเลยต้องจอดรถเข้าไปในทางเดินรถเช่นนั้น จำเลยได้จอดในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจรแล้ว แต่การที่จำเลยจอดรถไว้โดยที่ไม่ได้แสดงเครื่องหมายตามลักษณะที่ระบุในกฎกระทรวงฉบับที่ 11 ฯ ออกตามความใน พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ มาตรา 5 และมาตรา 56 วรรคสอง ข้อ 2 (1) ข้อ 3 และข้อ 6  ซึ่งกำหนดให้ผู้ขับขี่รถบรรทุกนอกเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยาหรือเขตเทศบาล ต้องแสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณในกรณีที่จำเป็นต้องจอดรถอยู่ในทางเดินรถเนื่องจากเครื่องยนต์หรือเครื่องอุปกรณ์ของรถขัดข้องไว้ การที่จำเลยไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณตามลักษณะและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงดังกล่าว จำเลยจะต้องมีความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบกฯ มาตรา 56 วรรคสอง แต่การที่จำเลยไม่ได้แสดงเช่นนั้นจะฟังเป็นยุติว่าจำเลยกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายหาได้ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงในคดีฟังได้ว่า ในขณะเกิดเหตุจำเลยเปิดไฟหรือไฟกะพริบหน้ารถและท้ายรถไว้ นอกจากนี้จำเลยยังวางกิ่งไม้กองไว้ที่ท้ายรถบรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุเป็นระยะๆ ประมาณ 4 ถึง 5 กอง สำหรับเป็นที่สังเกตแก้ผู้ขับรถมาทางด้านหลังมีแสงไฟตรงจุดกลับรถอยู่ห่างจากท้ายรถบรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุประมาณ 70 เมตร ส่องสว่างทำให้สามารถมองเห็นรถบรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุได้ ดังนั้น การที่จำเลยวางกิ่งไม้กองไว้ด้านท้ายรถเป็นระยะๆ และเปิดไฟหรี่ไฟกะพริบหน้ารถและท้ายรถไว้ เป็นการเพียงพอสำหรับผู้ขับรถมาทางด้านหลังสามารถมองเห็นรถบรรทุกสิบล้อที่จำเลยจอดไว้จะหยุดรถหรือหลบหลีกไม่ให้เกิดการเฉี่ยวชนกันได้แล้ว และจำเลยได้ใช้ความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์แล้ว หาเป็นการกระทำโดยประมาทไม่ การที่ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์พุ่งเข้าชนท้ายรถบรรทุกสิบล้อที่จำเลยจอดไว้เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย ไม่ได้เกิดจากการละเว้นการกระทำของจำเลย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291
6.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744 - 1746/2529 (จอดรถล้ำและขับรถเร็วมาชน ประมาทไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน)
             จำเลยที่1ขับรถโดยสารด้วยความเร็วสูงแซงขึ้นหน้ารถคันอื่นไปชนรถท้ายรถบรรทุกลากจูงที่จำเลยที่4เป็นผู้ควบคุมและจอดล้ำออกมาโดยไม่ได้เปิดไฟย่อมเป็นความประมาทเลินเล่อของทั้งสองฝ่ายไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันความรับผิดระหว่างฝ่ายรถลากจูงและรถโดยสารจึงเป็นพับกันไปแต่ทั้งสองฝ่ายต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ซึ่งโดยสารมาในรถประจำทางเมื่อโจทก์มิได้ฟ้องฝ่ายรถลากจูงให้ร่วมรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนและมิได้ฎีกาขอให้กำหนดค่าสินไหมทดแทนสูงขึ้นฝ่ายรถโดยสารควรรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์กึ่งหนึ่งของที่ศาลอุทธรณ์กำหนด
7.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2210/2544 (จอดรถเวลากลางคืน ไม่เปิดไฟหรือใช้แสงสว่าง แม้จอดรถไหล่ทางก็ถือว่าประมาท)
            แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจุดที่จำเลยจอดรถและเกิดเหตุชนกันอยู่ในไหล่ทางด้านซ้ายของถนนในลักษณะที่ไม่กีดขวางการจราจรแล้วก็ตาม แต่การที่จำเลยจอดรถในเวลามืดค่ำโดยไม่ได้เปิดไฟหรือใช้แสงสว่างตามที่กำหนดในกฎกระทรวงเพื่อเป็นสัญญาณให้ผู้ขับขี่มองเห็นรถที่จอดอยู่ จนเป็นเหตุให้ผู้ตายขับรถจักรยานยนต์พุ่งเข้าชนท้ายรถคันที่จำเลยจอดทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย อันเป็นผลจากความประมาทของจำเลยไม่ว่าจะฟังว่าผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่ด้วยก็ตามก็ต้องถือว่าเหตุที่ผู้ตายถึงแก่ความตายเกิดเพราะความประมาทของจำเลยด้วยจึงเป็นผลโดยตรงที่เกิดจากความประมาทของจำเลยที่งดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้น หาใช่ผลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการขับรถของจำเลยไม่ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 43(4),157 คงผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291
            ความผิดฐานขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น แล้วไม่หยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควรตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯมาตรา 78 กำหนดให้ผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นต้องหยุดรถและให้ความช่วยเหลือตามสมควรพร้อมทั้งแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีไม่ว่าจะเป็นความผิดของผู้ขับขี่หรือไม่ก็ตามแต่ผู้ขับรถที่จะถือว่าเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายจะต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่ หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดรถอยู่หรือหยุดรถอยู่ไม่จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายอันจะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯ มาตรา 78
8.คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5491/2545 (จอดรถเวลากลางคืน ไม่เปิดไฟหรือใช้แสงสว่างและล้ำเข้าช่องทาง ถือว่าประมาท)
            ป. คนขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัย จอดรถบรรทุกบนไหล่ทางตรงที่เกิดเหตุล้ำไหล่ทางขึ้นไปบนถนนถึง 80 เซนติเมตร ทั้งที่ถนนกว้างเพียง 7 เมตร และแบ่งทางเดินรถเป็นสองช่องเดินรถไปกลับ ทางเดินรถแต่ละช่องจึงกว้างเพียง 3.50 เมตร ป. ยังจอดรถล้ำขึ้นไปบนถนนมากขนาดนั้น อีกทั้งเป็นเวลากลางคืนแรม 8 ค่ำ ไม่มีแสงสว่าง ไม่มีไฟฟ้าบนไหล่ทาง ไม่มีบ้านเรือนผู้คนอยู่ใกล้เคียง ป. ไม่สมควรจะจอดรถนอนบริเวณนั้น ควรจะหาสถานที่ที่เหมาะสมกว่า แต่เมื่อ ป. จอดรถนอนตรงนั้นแทนที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รถอื่นที่ใช้ถนนมองเห็นรถที่จอดอยู่ เช่น เปิดโคมไฟ จุดตะเกียงหรือแม้แต่ก่อกองไฟด้านท้ายรถเพื่อแสดงสัญญาณให้ผู้อื่นรู้ ป. ก็ไม่ได้กระทำ แต่กลับดับเครื่องยนต์แล้วเข้าไปนอนอยู่ในรถโดยไม่ใยดีเลยว่าจะเกิดความเสียหายเป็นอันตรายต่อใคร การกระทำของ ป. เช่นนี้เป็นความประมาทอย่างร้ายแรงไม่น้อยกว่าคู่กรณีอีกฝ่าย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ค่าเสียหายของแต่ละฝ่ายเป็นพับกันไป จึงชอบแล้ว
9.คำพิพากษาฎีกาที่ 2485/2534 (ขับรถความเร็วสูงชนท้ายรถที่จอด โดยไม่ให้สัญญาณไฟถือว่าประมาทมากกว่า)
             แม้เหตุที่รถยนต์ของจำเลยชนรถยนต์ของโจทก์เป็นเพราะความประมาทของจำเลยก็ตาม แต่การที่โจทก์จอดรถยนต์ไว้ข้างทางในเวลากลางคืนโดยไม่ให้สัญญาณไฟ และจอดรถยนต์โดยล้อขวาล้ำเข้าไปบนผิวจราจรประมาณ 1 ฟุต ก็เป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎจราจร ซึ่งเป็นบทบังคับแห่งกฎหมาย อันมีที่ประสงค์เพื่อจะปกป้องบุคคลอื่นๆ จึงต้องด้วยบทสันนิษฐานของ ป.พ.พ.มาตรา 422 ว่าโจทก์เป็นผู้ผิด ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่รถยนต์ของโจทก์จึงเกิดขึ้นเพราะความผิดของโจทก์ที่มีส่วนประมาทด้วย หนี้อันจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์มากน้อยเพียงใดจึงต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณข้อสำคัญ ก็คือว่าความเสียหายนั้นได้เกิดขึ้นเพราะฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร  ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 442 ประกอบด้วย ม.223 แม้โจทก์จะฝ่าฝืนกฎจราจรจอดรถยนต์ไว้ในข้างทางในเวลากลางคืนโดยไม่ให้สัญญารไฟและจอดรถยนต์ไว้โดยล้อขวาล้ำเข้าไปที่ผิวจราจรประมาณ 1 ฟุตก็ตาม แต่การที่จำเลยเห็นรถยนต์ของโจทก์จอดอยู่ข้างหน้าห่างประมาณ 20 เมตร จำเลยย่อมมีโอกาสสุดท้ายที่จะหลีกเลี่ยงความเสียหายโดยใช้ห้ามล้อชะลอความเร็วเพื่อหยุดรถหรือหักหลบมิให้ชนรถยนต์ของโจทก์ได้ แต่จำเลยกลับขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูงชนรถยนต์ของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์เป็นเหตุให้ตกลงไปในคูน้ำข้างทางทั้งสองคันได้รับความเสียหาย เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายประมาทมากกว่าโจทก์ ความเสียหายที่เกิดขึ้น จำเลยจึงเป็นฝ่ายก่อมากกว่าโจทก์ แต่เนื่องจากรถยนต์ของจำเลยเป็นรถยนต์เก๋งได้รับความเสียหายมากกว่ารถยนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นรถยนต์บรรทุก อีกทั้งตัวจำเลยก็ได้รับอันตรายแก่กายเนื่องจากรถยนต์ชนกันครั้งนี้ ด้วยพฤติการณ์แห่งคดีสมควรกำหนดให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เพียงสองในสามของจำนวนที่โจทก์พิสูจน์ได้ตามคำพิพากษาของศาลล่าง

มีปัญหาข้อกฎหมายสอบถาม 02-948-5700 หรือ 081-616-1425 หรือ 081-625-2161, 081-821-7470

         

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก