อัยการฟ้องคดีแรกราเกซ สักเสนา ร่วมกับพวกทุจริตปล่อยกู้ 1,657 ล้าน|อัยการฟ้องคดีแรกราเกซ สักเสนา ร่วมกับพวกทุจริตปล่อยกู้ 1,657 ล้าน

อัยการฟ้องคดีแรกราเกซ สักเสนา ร่วมกับพวกทุจริตปล่อยกู้ 1,657 ล้าน

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

อัยการฟ้องคดีแรกราเกซ สักเสนา ร่วมกับพวกทุจริตปล่อยกู้ 1,657 ล้าน

ทนายคลายทุกข์ขอนำความคืบหน้าคดีทจริตคอรัปชั่นคดีนายราเกซ สักเสนา

บทความวันที่ 24 พ.ย. 2552, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 12429 ครั้ง


อัยการฟ้องคดีแรก"ราเกซ สักเสนา"ร่วมกับพวกทุจริตปล่อยกู้ 1,657 ล้าน

          ทนายคลายทุกข์ขอนำความคืบหน้าคดีทจริตคอรัปชั่นคดีนายราเกซ  สักเสนา จากหนังสือพิมพ์มติชนที่รายงานข่าวว่า วันที่ 23 พฤศจิกายน ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้  63 พนักงานอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 3 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษานายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) หรือบีบีซี เป็นจำเลยในความผิดฐานกระทำผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 307,308,311และ315 ฐานเป็นผู้สนับสนุนร่วมกับกรรมการซึ่งรับผิดชอบดำเนินงานของธนาคารกระทำผิดหน้าที่ ร่วมกันเบียดบังทรัพย์สินของธนาคารไปโดยทุจริต จำนวน 1,657 ล้านบาท

           ซึ่งตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดคดีนี้ คือ พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 307,308,311และ315 และประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 - 354 และ357 และกระทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ มาตรา 3-4 ,309,313 และ 334

ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์  พ.ศ. 2535

          มาตรา 4  ในพระราชบัญญัตินี้
         “หลักทรัพย์” หมายความว่า
          (1) ตั๋วเงินคลัง
          (2) พันธบัตร
          (3) ตั๋วเงิน
          (4) หุ้น
          (5) หุ้นกู้
          (6) หน่วยลงทุนอันได้แก่ ตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สินของกองทุนรวม
          (7) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น
          (8) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้
          (9) ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหน่วยลงทุน
         (10) ตราสารอื่นใดที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด

“ตั๋วเงิน” หมายความว่า ตั๋วเงินที่ออกเพื่อจัดหาเงินทุนจากประชาชนเป็นการทั่วไป ตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด

“หุ้นกู้” หมายความว่า ตราสารแห่งหนี้ไม่ว่าจะเรียกชื่อใดที่แบ่งเป็นหน่วยแต่ละหน่วยมีมูลค่าเท่ากันและกำหนดประโยชน์ตอบแทนไว้เป็นการล่วงหน้าในอัตราเท่ากันทุกหน่วยโดยบริษัทออกให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินหรือผู้ซื้อ เพื่อแสดงสิทธิที่จะได้รับเงินหรือผลประโยชน์อื่นของผู้ถือตราสารดังกล่าว แต่ไม่รวมถึงตั๋วเงิน

“ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์” หมายความว่า ผู้ทำการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ให้แก่ประชาชน

“หนังสือชี้ชวน” หมายความว่า เอกสารใด ๆ ที่ออกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโฆษณาชี้ชวนให้บุคคลอื่นจองซื้อหรือซื้อหลักทรัพย์ที่ตนหรือบุคคลอื่นออกหรือเสนอขาย

“บริษัท” หมายความว่า บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด และให้หมายความรวมถึง
(1) องค์การมหาชน
(2) องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยาและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ
(3) หน่วยงานหรือองค์การของรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศและนิติบุคคลตามกฎหมายต่างประเทศ
(4) นิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น และ
(5) ผู้ออกหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นในรูปแบบอื่นใดตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
“บริษัทหลักทรัพย์” หมายความว่า บริษัทหรือสถาบันการเงิน ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามพระราชบัญญัตินี้
“ธุรกิจหลักทรัพย์” หมายความว่า ธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทดังต่อไปนี้
(1) การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
(2) การค้าหลักทรัพย์
(3) การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน
(4) การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์
(5) การจัดการกองทุนรวม
(6) การจัดการกองทุนส่วนบุคคล
(7) กิจการอื่นที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ตามที่รัฐมนตรีกำหนดตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ก.ล.ต.

“การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์” หมายความว่า การเป็นนายหน้าหรือตัวแทนเพื่อซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ให้แก่บุคคลอื่นเป็นทางค้าปกติ โดยได้รับค่านายหน้า ค่าธรรมเนียม หรือค่าตอบแทนอื่น

“การค้าหลักทรัพย์” หมายความว่า การซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนหลักทรัพย์ในนามของตนเองเป็นทางค้าปกติโดยกระทำนอกตลาดหลักทรัพย์หรือศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์

“การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน” หมายความว่า การให้คำแนะนำแก่ประชาชนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม เกี่ยวกับคุณค่าของหลักทรัพย์หรือความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์นั้น หรือที่เกี่ยวกับการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ใด ๆ เป็นทางค้าปกติ  ทั้งนี้ โดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่น แต่ไม่รวมถึงการให้คำแนะนำแก่ประชาชนในลักษณะที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด

“การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์” หมายความว่า การรับหลักทรัพย์ทั้งหมดหรือบางส่วนจากบริษัทหรือเจ้าของหลักทรัพย์ไปเสนอขายต่อประชาชน โดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่น  ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีเงื่อนไขอย่างหนึ่งอย่างใดหรือไม่ก็ตาม

“การจัดการกองทุนรวม” หมายความว่า การจัดการลงทุนตามโครงการจัดการกองทุนรวมโดยการออกหน่วยลงทุนของแต่ละโครงการจำหน่ายแก่ประชาชน เพื่อนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหน่วยลงทุนนั้นไปลงทุนหรือแสวงหาประโยชน์จากหลักทรัพย์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทรัพย์สินอื่น หรือไปหาดอกผลหรือแสวงหาประโยชน์โดยวิธีอื่น

“การจัดการกองทุนส่วนบุคคล”หมายความว่า การจัดการเงินทุนของบุคคลหรือคณะบุคคลที่ได้มอบหมายให้จัดการลงทุนเพื่อแสวงหาผลประโยชน์จากหลักทรัพย์ ไม่ว่าจะมีการลงทุนในทรัพย์สินอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม ซึ่งกระทำเป็นทางค้าปกติโดยได้รับค่าธรรมเนียมหรือค่าตอบแทนอื่น แต่ไม่รวมถึงการจัดการลงทุนตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
“หลักทรัพย์จดทะเบียน” หมายความว่า หลักทรัพย์ที่ได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับการอนุญาตให้ทำการซื้อขายได้ในตลาดหลักทรัพย์
“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
“สำนักงาน” หมายความว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“เลขาธิการ” หมายความว่า เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

          มาตรา 307  กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลใด ตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของนิติบุคคลดังกล่าวหรือทรัพย์สินที่นิติบุคคลดังกล่าวเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใด ๆ โดยทุจริตจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของนิติบุคคลนั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท

         มาตรา 308  กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลใด ตามพระราชบัญญัตินี้ ครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของนิติบุคคลดังกล่าว หรือซึ่งนิติบุคคลดังกล่าวเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท

           มาตรา 309  กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลใด ตามพระราชบัญญัตินี้ เอาไปเสีย ทำให้เสียหาย ทำลาย ทำให้เสื่อมค่าหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งทรัพย์สินอันนิติบุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ดูแลหรือที่อยู่ในความครอบครองของนิติบุคคลนั้น ถ้าได้กระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินห้าแสนบาท

          มาตรา 311  กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลใด ตามพระราชบัญญัตินี้ กระทำการหรือไม่กระทำการเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองหรือผู้อื่นอันเป็นการเสียหายแก่นิติบุคคลนั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าแสนบาทถึงหนึ่งล้านบาท

          มาตรา 313  กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทหรือนิติบุคคลที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือหลักทรัพย์ซื้อขายในศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ใด ฝ่าฝืนมาตรา 307 มาตรา 308 มาตรา309 หรือมาตรา 311 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับเป็นเงินสองเท่าของราคาทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่บุคคลดังกล่าวได้กระทำการฝ่าฝืนในมาตรานั้น ๆ แล้วแต่กรณี แต่ทั้งนี้ค่าปรับดังกล่าวต้องไม่ต่ำกว่าห้าแสนบาท

          มาตรา 315 ผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่กรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลใด ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือผู้สอบบัญชี กระทำความผิดตามที่บัญญัติในมาตรา 287 มาตรา 306 มาตรา307 มาตรา 308 มาตรา 309 มาตรา 310 มาตรา311 หรือมาตรา 312  ไม่ว่าก่อนหรือขณะกระทำความผิด ต้องระวางโทษดังที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ เว้นแต่ผู้นั้นมิได้รู้ถึงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกนั้น

          มาตรา 334 ให้หลักทรัพย์ที่ซื้อขายกันอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517  เป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนตามพระราชบัญญัตินี้ แต่ในกรณีที่บริษัทที่มีหลักทรัพย์ดังกล่าวจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นบริษัทจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้บริษัทนั้นแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัด ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ในกรณีที่มีความจำเป็นคณะกรรมการ ก.ล.ต. อาจขยายระยะเวลาดังกล่าวได้ แต่จะขยายระยะเวลาเกินกว่าห้าปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับไม่ได้

ประมวลกฎหมายอาญา
          มาตรา 352  ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

          ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด หรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้ ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียงกึ่งหนึ่ง

          มาตรา 353  ผู้ใดได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่น หรือทรัพย์สินซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย กระทำผิดหน้าที่ของตนด้วยประการใดๆ โดยทุจริต จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของผู้นั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

         มาตรา 354  ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 352 หรือมาตรา 353 ได้กระทำในฐานที่ผู้กระทำความผิดเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้อื่นตามคำสั่งของศาล หรือตามพินัยกรรม หรือในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจ อันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

          มาตรา 357  ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

          ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำเพื่อค้ากำไรหรือได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา 335(10) ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงสองหมื่นบาท

         ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น ได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา335  ทวิ การชิงทรัพย์ตามมาตรา 339 ทวิ หรือการปล้นทรัพย์ตามมาตรา 340 ทวิ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท

รายละเอียดรายงานข่าว
          เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 23 พฤศจิกายน ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ ถนนเจริญกรุง 63 พนักงานอัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 3 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษานายเกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงเทพพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) หรือบีบีซี เป็นจำเลยในความผิดฐานกระทำผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 307,308,311และ315 ฐานเป็นผู้สนับสนุนร่วมกับกรรมการซึ่งรับผิดชอบดำเนินงานของธนาคารกระทำผิดหน้าที่ ร่วมกันเบียดบังทรัพย์สินของธนาคารไปโดยทุจริต จำนวน 1,657 ล้านบาท เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2538 ถึง 27 กรกฎาคม 2538 นายราเกซ ร่วมกับนายเกริกเกียรติ และพวกซึ่งได้ยื่นฟ้องเป็นจำเลยและศาลพิพากษาลงโทษจำคุกไปแล้ว อนุมัติสินเชื่อให้กับบริษัทซิตี้เทรดดิ้ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด ไปโดยทุจริต อัยการขอให้ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามความผิดและให้จำเลยร่วมกับพวกซึ่งกระทำผิดชดใช้คืนเงินจำนวน 1,627 ล้านบาท ให้กับธนาคารบีบีซี ผู้เสียหาย

          โดยศาลประทับรับฟ้องเป็นคดีดำ อ.3054 /2552 ซึ่งศาลอาญากรุงเทพใต้เตรียมเบิกตัวนายราเกซ มาเพื่อสอบคำให้การต่อไป

          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีนี้อัยการฝ่ายคดีเศรษฐกิจและทรัพยากร 3 ได้ยื่นฟ้องนายเกริกเกียรติ กับพวก รวม 6 คน ประกอบด้วยนายพิเศษ พานิชสมบัติ อดีตเจ้าหน้าที่ประเมินหลักทรัพย์ ,บริษัท ซิตี้ เทรดดิ้งฯ,น.ส.สุนันทา หาญวรเกียรติ อดีตกรรมการบริษัทซิตี้เทรดดิ้งฯ,นายเอกชัย อธิคมนันท์ อดีตผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บีบีซี และนายเทอรี่ อดีตกรรมการบริษัทซิตี้เทรดดิ้งฯในความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 - 354 และ357 และกระทำผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ มาตรา 3-4 ,307-309,311,313,315และ 334 ซึ่งจำเลยดังกล่าวได้ร่วมกันอนุมัติสินเชื่อให้กับบริษัทซิตีแทรดดิ้งฯจำนวน 1657 ล้านบาท ระหว่างวันที่ 10 กุมภาพันธ์ - 27 กรกฎาคม 2538 ซึ่งจำนวนเงินที่อนุมัติเกินกว่าเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด และพวกจำเลยยังร่วมกันประเมินราคาหลักทรัพย์ที่ดินซึ่งเกิดกว่ามูลค่าความเป็นจริง

           โดยคดีดังกล่าวศาลอาญากรุงเทพใต้ พิพากษาจำคุก นายเกริกเกียรติ จำเลยที่ 2 เป็นเวลา 10 ปี และปรับ 2,264 ล้านบาท และให้ปรับบริษัทซิตี้ เทรดดิ้ง ฯ จำเลยที่ 3 จำนวน 1 ล้านบาท

          ส่วน น.ส.สุนันทา กรรมการบริษัทซิตี้ ฯ และ นายเทอร์รี่ อีสเตอร์ กรรมการบริษัทซิตี้ ฯ จำเลยที่ 4 และ 6  ให้ จำคุกคนละ 7 ปี ปรับคนละ 1 ล้านบาท นอกจากนี้ยังให้จำเลยที่ 2,4 และ 6 ร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 1,132 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 17.25 ต่อปี คืน ธ.บีบีซีด้วย สำหรับนายเอกชัย  อดีตผู้ช่วย กก.ผู้จัดการใหญ่ จำเลยที่ 5 ให้จำคุก 8 ปี ปรับ 1 ล้านบาท พร้อมให้ชดใช้เงินจำนวน 75 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 17.25 ต่อปีคืน ธ.บีบีซี ด้วย  ขณะที่นายพิเศษ จำเลยที่ 1 ศาลพิพากษาให้ยกฟ้อง

          โดยศาลอาญากรุงเทพใต้นัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีนี้ เฉพาะในส่วนของนายเกริกเกียรติกับพวกรวม 6 คน ในวันที่ 26 มกราคม 2553

 ขอขอบคุณรายงานข่าวจากหนังสือพิมพ์มติชนหรืออ่านข่าวเพิ่มเติมได้ที่ http://www.matichon.co.th

      
 
 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

บ เบสเเลนไปหุปที่ตระกูลของตา

โดยคุณ พตอ สวัสด์ พลตตสุธี นางเมธาพร ณฐมน เวชเจริญ 8 ก.ค. 2559, 21:20

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก