การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นศาล
เมื่อวานนี้ผมไปขึ้นศาลแห่งหนึ่งในคดีอาญา คดียาเสพติด ศาลได้ไกล่เกลี่ยให้จำเลยรับสารภาพ โดยยื่นเงื่อนไขว่า
1. โทษที่จะลงสูงสุด 25 ปี
2. หากสู้คดีไป พยานหลักฐานที่ปรากฎมัดจำเลยแน่น การหักล้างพยานคดีค่อนข้างยากให้จำเลยพิจารณาดู
3. หากจะสู้คดีต่อไปศาลก็จะสืบพยานต่อไป
การไกล่เกลี่ยดังกล่าวก็มองได้ 2 แบบ แบบแรก เป็นความเมตตาของศาล อยากให้จำเลยได้รับโทษน้อย อีกด้านหนึ่งก็อาจจะทำให้จำเลยลังเลในการที่จะต่อสู้คดีต่อไป ถ้าท่านเป็นทนายความมืออาชีพ ท่านก็ต้องตัดสินใจในช่วงเวลาอันสั้นว่าท่านจะรับสารภาพหรือต่อสู้คดี สิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญของวิชาชีพทนายความ สำหรับผมแล้วเป็นทนายความมา 30 ปี มักจะให้ลูกความเป็นผู้ตัดสินใจแต่จะให้มุมมองทางด้านกฎหมายพร้อมชี้แจงแสดงพยานหลักฐานระหว่างของโจทก์และของจำเลยว่า พอจะหักล้างกันได้หรือไม่ ถ้าเห็นท่าทางจะไปไม่รอดก็จะให้ลูกความตัดสินใจเอง แต่ถ้าไปเกลี้ยกล่อมให้ลูกความรับสารภาพ ก็จะถูกร้องเรียนคดีมรรยาททนายความได้ เพราะไม่รักษาผลประโยชน์ของลูกความ และไม่ทำตามความประสงค์ของลูกความ เป็นทนายความอาชีพไม่ใช่เรื่องง่ายนะครับ เข้าใจกฎหมายแล้วต้องเข้าใจลูกความด้วยนะครับ