ค้ำประกันผู้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ|ค้ำประกันผู้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ

ค้ำประกันผู้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

ค้ำประกันผู้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีข่าวใหญ่ กรณีอาจารย์มหาวิทยาลัยหนีทุน

บทความวันที่ 11 ก.พ. 2559, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 12176 ครั้ง


ค้ำประกันผู้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ


             เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีข่าวใหญ่ กรณีอาจารย์มหาวิทยาลัยหนีทุน ไม่ยอมกลับมารับราชการทำให้ผู้ค้ำประกันการไปศึกษาต่อต่างประเทศได้รับความเดือดร้อน ถูกฟ้องแพ่งต้องชดใช้เงินต้น ดอกเบี้ย เบี้ยปรับ  จำนวนหลายเท่า จนผู้ค้ำประกันทนไม่ไหวต้องมาโพสต์ผ่านโซเชี่ยลมีเดีย จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันไปทั่วประเทศไทยและในต่างประเทศ ทนายคลายทุกข์จึงขอนำเสนอเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้ค้ำประกัน ตาม ป.พ.พ.มาตรา 680 ผู้ค้ำประกันคือบุคคลภายนอกที่ยอมผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ ดังนั้น ก่อนค้ำประกันใคร ควรรู้ก่อนว่ามีแต่หน้าที่ไม่มีสิทธิและต้องคิดให้ดีว่าลูกหนี้ที่ค้ำประกันเป็นคนดีมีความรับผิดชอบหรือไม่ก่อน ถ้าไม่ดีก็ไม่ต้องไปค้ำประกัน เมื่อลูกหนี้ผิดนัด กฎหมายใหม่ ป.พ.พ.มาตรา 688  เจ้าหนี้ต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด มิฉะนั้นไม่มีอำนาจฟ้อง ผลภายหลังชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้แล้วผู้ค้ำประกันมีสิทธิไล่เบี้ยเอากับลูกหนี้เพื่อต้นเงินและดอกเบี้ยและเพื่อการที่ต้องสูญหายหรือเสียหายไปอย่างใดๆ เพราะการค้ำประกัน ดังนั้น เมื่อผู้ค้ำประกันผู้รับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ ใช้เงินให้เจ้าหนี้แล้ว ก็มีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ได้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 693

ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2536

             สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มิได้ระบุระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ และสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำไว้กับโจทก์ ก็มิได้ระบุเวลาที่จำเลยที่ 1ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อเช่นกัน ฉะนั้น การที่จำเลยที่ 1ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อต่างประเทศเป็นเวลา 2 ปี ครบแล้วโจทก์ได้อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ศึกษาต่ออีกเป็นเวลา 4 ปีเศษ โดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ และจำเลยที่ 2 มิได้ยินยอมแม้จะเป็นภาระหนักขึ้นแก่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกัน แต่ก็ไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงในสัญญาและเป็นคนละเรื่องกับการที่เจ้าหนี้ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาจะต้องคืนเงินเดือนเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพและต้องเสียเบี้ยปรับอีกเท่ากับเงินทั้งหมดที่รับไปกับจะต้องเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี สำหรับเงินต้นรวมกับเบี้ยปรับตามสัญญาด้วยนั้น เบี้ยปรับและดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นข้อสัญญาที่ระบุความเสียหายหรือความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้า เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วนก็มีอำนาจลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 จำเลยที่ 2 เป็นเพียงผู้ค้ำประกัน ยอมตนเข้าผูกพันค้ำประกันจำเลยที่ 1 เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาของจำเลยที่ 1 และประโยชน์แก่โจทก์โดยส่วนรวมแต่ฝ่ายเดียวมีเหตุผลควรได้รับความเห็นใจ พิเคราะห์ถึงทางได้เสียทุกอย่างของโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน สมควรลดเบี้ยปรับให้จำเลยที่ 2 กึ่งหนึ่ง เมื่อกำหนดเบี้ยปรับเป็นค่าเสียหายจำนวนพอสมควรแล้วก็ไม่จำเป็นต้องให้ค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยอีก เงินเดือนเงินเพิ่มช่วยค่าครองชีพและเบี้ยปรับเป็นหนี้เงินโจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224 แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้ฎีกา ก็เป็นหนี้ร่วมกันจะแบ่งแยกกันมิได้ จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับผลเป็นคุณด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2536
             จำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการปฏิบัติและความรับผิดตามสัญญาของข้าราชการที่ไปศึกษาหรืออบรม ณ ต่างประเทศ ที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ในการที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยทุนส่วนตัว (ทุนประเภท 2) มีกำหนด2 ปี นับแต่วันออกเดินทาง โดยเมื่อจำเลยที่ 1 เสร็จการศึกษาตามที่จำเลยที่ 1 ได้รับอนุมัติให้ลาไปศึกษาต่อ หรือจำเลยที่ 1ถูกเรียกตัวกลับ และจำเลยที่ 1 ไม่กลับมารับราชการกับโจทก์เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของเวลาที่ได้รับเงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและจำเลยที่ 1 ไม่ชดใช้เงินเดือนรวมทั้งเงินเพิ่มและเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยที่ 2 ยินยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ตามความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ทั้งสิ้น ส่วนที่หลังจากครบกำหนด2 ปี แล้ว จำเลยที่ 1 ได้ขอลาศึกษาต่อด้วยทุนส่วนตัวอีก 5 ปี9 เดือน 4 วัน และโจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 1 ลาศึกษาต่อโดยไม่ได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการลาไปศึกษาต่อเพิ่มเติมของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แต่อย่างใดจำเลยที่ 2 จึงคงมีความรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเพียงสำหรับการปฏิบัติตามสัญญาของจำเลยที่ 1 เป็นเวลา 2 ปี เท่านั้น สัญญาค้ำประกันระบุว่า หากโจทก์จะผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ตกลงยินยอมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันต่อไป มีความหมายเพียงว่า เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาที่จำเลยที่ 1 ทำกับโจทก์ ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้เงินคืนให้โจทก์พร้อมเบี้ยปรับภายในกำหนด 30 วัน ถัดจากวันได้รับแจ้งจากโจทก์ตามสัญญาข้อ 4 และ ข้อ 5 และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ให้แก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน แม้โจทก์ผ่อนเวลาในการชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ก็ยินยอมรับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันต่อไปข้อความดังกล่าวหาได้มีความหมายว่า จำเลยที่ 2 ยินยอมรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ทุกประการโดยไม่จำกัดเวลาและจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นในอนาคตไม่   

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2539
          เงินทุนของรัฐบาลมาเลเซียซึ่งจำเลยที่1ได้รับโอนตรงจากประเทศมาเลเซียเป็นเงินทุนของการให้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาลและถูกควบคุมดำเนินการโดยทางราชการตามระเบียบมิใช่เป็นเรื่องจำเลยที่1ได้รับทุนเป็นส่วนตัวและทุนดังกล่าวเป็นทุนที่รัฐบาลต่างประเทศมอบให้รัฐบาลไทยเพื่อส่งข้าราชการไปศึกษาฝึกอบรมทั้งนี้ไม่ว่าทุนนั้นจะจ่ายผ่านกระทรวงหรือจ่ายให้ผู้รับทุนโดยตรง กรณีที่จำเลยที่1ผิดสัญญาเกี่ยวกับการใช้ทุนความเสียหายดังกล่าวเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างจำเลยที่1ปฏิบัติราชการอยู่และอยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบตามสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่3จะต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2379/2523
            พ. ได้รับทุนซึ่งองค์การอนามัยโลกมอบให้รัฐบาลไทยเพื่อไปศึกษาต่อ ณ ต่างประเทศ จึงถือว่า พ. ได้รับทุนนี้จากรัฐบาลไทยโดยปริยาย เมื่อ พ.ประพฤติผิดสัญญา ด.ย่อมต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้เป็นผู้จัดการมรดกและทายาทของ ด. ได้. แม้ทุนประเภทนี้องค์การอนามัยโลกต้องการให้เปล่าไม่ต้องการเรียกคืนไม่ว่าในกรณีใด ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงความผูกพันตามสัญญาระหว่างโจทก์ผู้ขอทุนกับ พ. ผู้ได้ไปศึกษาต่อด้วยทุนซึ่งองค์การอนามัยโลกมอบให้แก่รัฐบาลไทยนั้น
            นอกจากนี้ยังมีคำพิพากษาอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ อ.342/2557 , อ.625/2550, อ.596/2554

            ไม่ควรค้ำประกันผู้อื่น ถ้าไม่จำเป็น เพราะมีแต่ความรับผิดอย่างเดียว

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 1

Very interesting information! Perfect just what I was looking for! My site: e sabong

โดยคุณ esabong events 17 ต.ค. 2566, 10:10

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก