การวิเคราะห์สินเชื่อ หลัก 5’C|การวิเคราะห์สินเชื่อ หลัก 5’C

การวิเคราะห์สินเชื่อ หลัก 5’C

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การวิเคราะห์สินเชื่อ หลัก 5’C

การวิเคราะห์สินเชื่ออย่างรอบคอบจะช่วยให้ทราบว่า ความเสี่ยงนั้น ยอมรับได้แค่ไหน ถ้าความเสี่ยงมาก

บทความวันที่ 20 พ.ค. 2554, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 41495 ครั้ง


 

การวิเคราะห์สินเชื่อ หลัก 5’C

 

            การวิเคราะห์สินเชื่ออย่างรอบคอบจะช่วยให้ทราบว่า ความเสี่ยงนั้น ยอมรับได้แค่ไหน ถ้าความเสี่ยงมาก ก็ต้องการหลักประกันมาก ถ้าความเสี่ยงน้อย อาจจะไม่ต้องการหลักประกันเลยก็เป็นได้  ในการวิเคราะห์สินเชื่อยังต้องคำนึงถึงข้อมูลประกอบการพิจารณาตามหลัก 5’C ได้แก่

            1. อุปนิสัยของลูกค้า (CHARACTER)

            2. ความสามารถในการชำระหนี้ (CAPACITY)

            3. เงินทุน (CAPITAL)

            4. หลักประกัน (COLLATERALS)

            5. สถานการณ์ (CONDITION)

 

1. อุปนิสัยของลูกค้า (CHARACTER)

อุปนิสัยของลูกค้า  เป็นปัจจัยสำคัญข้อแรกของการพิจารณาตัวผู้กู้ว่าเป็นคนอย่างไร  มีความซื่อสัตย์สุจริตเพียงใด  มีความรู้และประสบการณ์ทางธุรกิจที่ประกอบการขนาดไหน  มีประวัติที่ไม่ดีทางด้านการเงินหรือไม่  หากเป็นลูกค้าเก่าของธนาคารก็จะดูได้จาก ผลการติดต่อกับทางธนาคารที่ผ่านมาว่า  ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือข้อตกลงที่มีไว้กับธนาคารดีหรือไม่  หรืออาจสืบจากวงการธุรกิจไม่ว่าจะเป็น SUPPLIERS หรือ CUSTOMER ของลูกค้าในตลาดว่าเป็นอย่างไร พึงระลึกว่าถ้าคนไม่ดีแล้ว  ให้โครงการดีแค่ไหนก็จะมีปัญหาเกิดขึ้นได้

 

2. ความสามารถในการชำระหนี้ (CAPACITY)

            เป็นหัวใจสำคัญในการพิจารณาสินเชื่อ  เจ้าหน้าที่สินเชื่อต้องศึกษาถึงธุรกิจของลูกค้าว่ามีความสามารถในการชำระหนี้คืนให้กับธนาคารเพียงใด  โดยส่วนใหญ่แล้วควรเป็นรายได้ที่ธุรกิจนั้นสามารถจะทำกำไรเพื่อนำมาชำระหนี้คืนได้  หากวิเคราะห์แล้วพบว่า โครงการนั้น ๆ ไม่สามารถทำกำไรได้เพียงพอกับการชำระหนี้  ก็ไม่ควรพิจารณาให้สินเชื่อไป รายได้ที่จะนำมาชำระหนี้ควรเป็นรายได้สุทธิ  จากการดำเนินธุรกิจหลังจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ แล้ว และควรเป็นรายได้ประที่แน่นอนมากกว่าเป็นรายได้ชั่วครั้งชั่วคราว เช่น รายได้จากค่านายหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้  เจ้าหน้าที่สินเชื่อควรจะต้องติดตามผลด้วยว่ามีการชำระหนี้คืนตามกำหนดหรือไม่ เพราะมักจะเกิดเหตุการณ์ดังนี้ขึ้นเสมอ ๆ คือเมื่อลูกค้ามีรายได้แล้วแทนที่จะนำมาชำระหนี้  กลับนำไปใช้ในทางอื่น เช่น นำไปใช้ในการขยายกิจการโดยนำเงินทุนหมุนเวียนไปใช้ดำเนินการ  ฉะนั้น การกำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืน  จึงเป็นส่วนสำคัญในการปล่อยสินเชื่อด้วย

1.      อุปนิสัยของลูกค้า (CHARACTER)

2.      ความสามารถในการชำระหนี้ (CAPACITY)

3.      เงินทุน(CAPITAL)

4.      หลักประกัน ( COLLATERALS)

5.      สถานการณ์ (CONDITION)

 

1. อุปนิสัยของลูกค้า (CHARACTER)

            อุปนิสัยของลูกค้า เป็นปัจจัยสำคัญข้อแรกของการพิจารณาตัวผู้กู้ว่าเป็นคนอย่างไร  มีความซื่อสัตย์สุจริตเพียงใด  มีความรู้และประสบการณ์ทางธุรกิจที่ประกอบการขนาดไหน  มีประวัติที่ไม่ดีทางด้านการเงินหรือไม่  หากเป็นลูกค้าเก่าของธนาคารก็จะดูได้จาก ผลการติดต่อกับทางธนาคารที่ผ่านมาว่า  ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือข้อตกลงที่มีไว้กับธนาคารดีหรือไม่  หรืออาจสืบจากวงการธุรกิจไม่ว่าจะเป็น SUPPLIERS หรือ CUSTOMER ของลูกค้าในตลาดว่าเป็นอย่างไร  พึงระลึกว่าถ้าคนไม่ดีแล้ว  ให้โครงการดีแค่ไหนก็จะมีปัญหาเกิดขึ้นได้

 

2. ความสามารถในการชำระหนี้ (CAPACITY)

            เป็นหัวใจสำคัญในการพิจารณาสินเชื่อ  เจ้าหน้าที่สินเชื่อต้องศึกษาถึงธุรกิจของลูกค้าว่ามีความสามารถในการชำระหนี้คืนให้กับธนาคารเพียงใด  โดยส่วนใหญ่แล้วควรเป็นรายได้ที่ธุรกิจนั้นสามารถในการชำระหนี้คืนได้  หากวิเคราะห์แล้วพบว่าโครงการนั้น ๆ  ไม่สามารถทำกำไรได้เพียงพอกับการชำระหนี้  ก็ไม่ควรพิจารณาให้สินเชื่อไป  รายได้ที่จะนำมาชำระหนี้ควรเป็นรายได้สุทธิ  จากการดำเนินธุรกิจหลังจากหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆแล้ว  และควรเป็นรายได้ประจำที่แน่นอนมากกว่าเป็นรายได้ชั่วครั้งชั่วคราว  เช่น รายได้จากค่านายหน้าเกี่ยวกับเรื่องหนี้  เจ้าหน้าที่สินเชื่อควรจะต้องติดตามผลด้วยว่ามีการชำระหนี้คืนตามกำหนดหรือไม่  เพราะมักจะเกิดเหตุการณ์ดังนี้ขึ้นเสมอ ๆ  คือเมื่อลูกค้ามีรายได้แล้วแทนที่จะนำมาชำระหนี้ กลับนำไปใช้ทางอื่น เช่น นำไปใช้ในการขยายกิจการโดยนำเงินทุนหมุนเวียนไปใช้ดำเนินการ ฉะนั้น  การกำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืน  จึงเป็นส่วนสำคัญในการปล่อยสินเชื่อด้วย

 

3. เงินทุน(CAPITAL)

            โดยทั่วไปแล้วสถาบันการเงินจะให้สินเชื่อแก่ธุรกิจใดก็ตามต้องพิจารณาด้วยว่า  ผู้กู้ได้นำเงินทุนส่วนตัวมาลงทุนด้วยเท่าไร  เพราะยิ่งผู้กู้นำเงินทุนส่วนตัวมาลงมากเท่าใด  ความเสี่ยงของธนาคารก็น้อยลงเท่านั้น  เพราะการที่ผู้กู้นำเงินทุนส่วนตัวมาลงมากก็จำเป็นอยู่เอง  ที่จะต้องทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับธุรกิจจนสุดความสามารถ ฉะนั้น  สัดส่วนระหว่างเงินทันกับหนี้ (D/E RATIO) จะต้องมาพิจารณาด้วย  ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับธุรกิจแต่ละประเภทว่าควรจะมี D/E RATIO เท่าไร  เช่น ธุรกิจที่มีผลกำไรต่ำ  ก็ควรต้องมีเงินลงทุนสูง เช่น ธุรกิจ APARTNENT ให้เช่า  ซึ่งมีรายรับไม่มากนักเมื่อเทียบกับเงินลงทุน  ผู้กู้คงต้องใช้เงินลงทุนของตนเองเป็นส่วนใหญ่  มองอีกด้านหนึ่ง  ก็คือรายได้ของธุรกิจที่เป็นข้อกำหนดความสามารถในการขอสินเชื่อได้เป็นจำนวนเท่าไร  แต่ในทางธุรกิจแล้วการที่ธุรกิจประสบผลสำเร็จได้นั้น  จะต้องมีเงินทุนเพียงพอในการดำเนินงาน  ดังนั้น  เมื่อไม่สามารถขอสินเชื่อได้ตามที่กำหนด  ผู้กู้ควรเพิ่มทุนเพียงพอ และธนาคารก็ไม่ควรที่จะให้กู้  ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าไม่เพียงพอกับการประกอบธุรกิจ  มิฉะนั้น จะเป็นผลเสียแก่ทั้งสองฝ่าย

 

4. หลักประกัน (COLLATERALS)

            ในการวิเคราะห์สินเชื่อ  ถึงแม้ว่าจำเป็นต้องวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวข้างต้น  จะเป็นหัวใจสำคัญแล้ว  สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ  หลักประกัน  เพราะธุรกิจจะดีเพียงใดก็ตามอาจถูกสภาวะแวดล้อมหรือเหตุอันไม่คาดหมาย  ทำให้ธุรกิจเกิดปัญหาได้  เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่ธนาคารอาจได้รับก็คือหลักประกัน  ซึ่งแล้วแต่การพิจารณาว่าควรมีหลักประกันมากน้อยเพียงไร  โดยพิจารณาจากความเสี่ยง  ถ้ามีความเสี่ยงน้อยหลักประกันก็น้อย  ถ้ามีความเสี่ยงมากหลักประกันก็ควรมากเช่นกัน

            แม้ว่าหลักประกันจะสำคัญมีอยู่บ่อยครั้งที่ธนาคารจะให้สินเชื่อชนิดที่ไม่มีหลักประกัน (CLEAN BASIS) เนื่องจากเห็นว่า ลูกค้ามีฐานะทางการเงินดี  มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับของสังคม  ติดต่อกับธนาคารมาเป็นเวลานาน  และบางครั้งก็ขึ้นอยู่กับประเภทของสินเชื่อที่ขอด้วยว่ามีความเสี่ยงเพียงใด  อาจจะเสี่ยงน้อย เข่น การขอออก L/G (ยื่นซอง) โดยไม่เอางาน  การขายลดงวดงาน  ซึ่งผู้กู้ได้ส่งมอบงานแล้ว  ขอรับเงินเท่านั้น  หรือการเปิด L/C สั่งซื้อเครื่องจักร  ธนาคารอาจเรียกหลักประกันแค่บางส่วน  เพราะจะได้เครื่องจักรมาเป็นหลักประกันอีกส่วนหนึ่ง

 

            หลักประกันที่สถาบันการเงินรับเป็นหลักประกันพอสรุปได้  ดังนี้

            - เงินฝาก, พันธบัตร                             - ที่ดิน

            - อาคาร                                                - เรือ

            - เครื่องจักร                                         - ตั๋วสัญญาใช้เงิน

            - ใบหุ้น                                                - บุคคลหรือนิติบุคคล

            - ทะเบียนรถ                                        - สินค้า

            - สิทธิการเช่า                                       - สิทธิการรับเงิน

            - หนังสือค้ำประกัน (L/G)                   - STAND BY L/C

 

5. สถานการณ์ (CONDITION)

            เป็นสิ่งที่อยู่นอกเหนือการควบคุมอันมีปัจจัยหลายอย่าง  ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดจากภาวะเศรษฐกิจทั้งในและนอกประเทศ  ปัญหาทางด้านนโยบายของรัฐบาล  การเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา  ปัญหาสิ่งแวดล้อม  ความผันผวนของตลาด การขึ้นลงของราคาวัตถุดิบ  เจ้าหน้าที่สินเชื่อควรวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ต่างๆ  เหล่านี้  และคาดหมายสถานการณ์ล่วงหน้าที่เกิดขึ้นกับธุรกิจอยู่เสมอ  หมั่นศึกษาและติดตามข้อมูลข่าวสารอย่างใกล้ชิด  ก็จะสามารถปล่อยสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที  วิธีลดความเสี่ยงอีกประการหนึ่งคือ  ไม่ควรปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งมากจนเกินไป  ควรกระจายไปในธุรกิจหลาย ๆ ประเภท

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 3

 ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ ขวัญ 1 ก.พ. 2558, 16:59

ความคิดเห็นที่ 2

        สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล ง่ายกว่า-ดีกว่า-เร็วกว่า เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย-วงเงิน-โปรโมชั่น สินเชื่อเงินสด-เงินกู้ส่วนบุคคล เงินด่วนทุกธนาคาร ข้อมูลสินเชื่อเงินสดกว่า 100 รายการ สมัครสินเชื่อออนไลน์ คลิก สินเชื่อ เงินกู้ส่วนบุคคล เพื่อดูข้อมูลสินเชื่อได้คะ

โดยคุณ สินเชื่อ เงินกู้ 7 ส.ค. 2556, 08:08

ความคิดเห็นที่ 1

 มีประโยชน์มากครับ ขอให้เจ้าของข้อมูลจงมีบารมีที่สูงขึ้นครับ

โดยคุณ สันติรัก เจริญบุญ 29 เม.ย. 2556, 21:52

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก