การบริการงานสินเชื่อ และขั้นตอนในการอำนวยสินเชื่อ|การบริการงานสินเชื่อ และขั้นตอนในการอำนวยสินเชื่อ

การบริการงานสินเชื่อ และขั้นตอนในการอำนวยสินเชื่อ

  • ทนายคลายทุกข์ ปรึกษากฎหมาย โทร 02-9485700
  • Email: [email protected]
Header Background Image

งานเผยแพร่ความรู้ทางด้าน กฎหมาย การบริหารการจัดการหนี้สินในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน การฝึกอบรมสัมมนาพัฒนาบุคลากร ในการประกอบธุรกิจ หากหน่วยงานของรัฐ บริษัทห้างร้าน มีความสนใจ เชิญทีมงานไปฝึกอบรมสัมมนาหรือต้องการข้อมูลข่าวสาร ติดต่อได้ที่ 02-948-5700 อ่านต่อ

ท่านใดที่สนใจเกี่ยวกับหลักสูตรฝึกอบรมการติดตามหนี้ ทวงหนี้อย่างไรให้ได้ผล ได้เงิน รักษาภาพลักษณ์ รักษาลูกค้า/หลักสูตรการป้องกันและการปราบปรามการทุจริตภายในองค์กร/หลักสูตรกฎหมายแรงงาน สำหรับเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือผู้บริหารบริษัท สนใจโทร.02-9485700 อ่านต่อ

สืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ มีเรื่องคาใจอยากรู้ความจริง โทรมาคุยกับกุ้งได้ที่ 081-625-2161หรือ 089-669-5026 "อย่าปล่อยให้มีเรื่องคาใจ อะไรที่ไม่สบายใจ ต้องหาทางปลดปล่อย สืบให้รู้ความจริง จะได้จบสิ้นกันเสียที สำหรับความทุกข์ที่คาใจมาเป็นเวลานาน อย่าปล่อยให้คนนอกใจลอยนวล" อ่านต่อ

รับแปลเอกสารต่างๆ อ่านต่อ

การบริการงานสินเชื่อ และขั้นตอนในการอำนวยสินเชื่อ

การให้สินเชื่อเป็นธุรกิจ ซึ่งจะต้องขายความเสี่ยงเป็นหลัก เป็นการประกันความเสี่ยงในอนาคต

บทความวันที่ 27 พ.ค. 2554, 00:00

มีผู้อ่านทั้งหมด 53942 ครั้ง


 

การบริการงานสินเชื่อ และขั้นตอนในการอำนวยสินเชื่อ

 

 

ขั้นตอนในการอำนวยสินเชื่อ

การให้สินเชื่อเป็นธุรกิจ  ซึ่งจะต้องขายความเสี่ยงเป็นหลัก  เป็นการประกันความเสี่ยงในอนาคต  ไม่มีใครยืนยันได้ว่า สินเชื่อที่ปล่อยไปนั้น  จะได้รับการชำระคืนโดยครบถ้วน  ฉะนั้น การอำนวยสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ  จะช่วยให้ภาระหนี้เสียในอนาคต  อยู่ในระดับที่พอยอมรับได้  ซึ่งโดยทั่วไปจะมีพอยอมรับได้  ซึ่งโดยทั่วไปจะมีขั้นตอนใหญ่ ๆ ดังนี้

            1) การกำหนดนโยบายสินเชื่อ(CREDIT POLICY)

            2) การวิเคราะห์สินเชื่อ (CREDIT POLICY)

            3) พิธีการทางด้านสินเชื่อ

            4) การสอบทานสินเชื่อ

            5) การแก้ไขหนี้ที่มีปัญหา

 

            1) การกำหนดนโยบายสินเชื่อ(CREDIT POLICY)

            เป็นการกำหนดโดยผู้บริหารของสถาบันการเงิน  เพื่อกำหนดเป้าหมายให้แก่ผู้ปฏิบัติเช่นในปีนี้จะขยายตัวทางด้านสินเชื่อวงเงินเท่าไหร่  อัตราตอบแทนเป็นอย่างไร  และจะปล่อยสินเชื่อให้แก่ธุรกิจใดบ้าง  ซึ่งนโยบายสินเชื่ออาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ตามผลการประกอบการของสถาบันการเงินนั้น ๆ เอง การกำหนดนโยบายสินเชื่อ จะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลัก 3 ข้อ คือ

            1. กำไร (PROFIT)

            2. สภาพคล่อง (LIQUIDITY)

            3. ความเสี่ยง (RISK)

 

            1. การบริการกำไร (PROFIT MANAGEMENT)

            ในการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงินก็เช่นเดียวกับธุรกิจโดยทั่วไป  ที่มีผู้ถือหุ้น  ซึ่งได้นำเงินมาลงทุนโดยหวังผลตอบแทนคือ เงินปันผล  ฉะนั้น  ผู้บริการจำเป็นที่จะต้องตั้งเป้าหมายในการทำกำไร  เป็นหัวใจสำคัญในการบริหารงาน

            รายได้ของสถาบันการเงิน  สถาบันการเงินมีรายได้หลักที่สำคัญ  ดังนี้

1.      ดอกเบี้ย (INTERRST)

2.      ค่าธรรมเนียม (FEE)

3.      รายได้จากการขายหลักทรัพย์

4.      รายได้จากการปริวรรตเงินตรา

5.      รายได้จากการลงทุน

 

2. การบริหารสภาพคล่อง (LIQUIDITY MANAGEMENT)

            ธุรกิจนี้เป็นธุรกิจที่ต้องอาศัยความไว้วางใจของผู้ฝากเงิน  ฉะนั้น  เมื่อใดก็ตามที่ผู้ฝากต้องการถอนเงิน  จะต้องได้รับเงินโดยไม่มีเงื่อนไข  ในขณะที่การปล่อยสินเชื่อนั้น  ไม่สามารถได้รับการชำระเงินคืนจากลูกค้าได้ทันที  สถาบันการเงินจึงต้องบริหารสภาพคล่อง  ให้อยู่ในระดับที่ดีตลอดเวลา  และในขณะเดียวกัน  การดำรงเงินไว้ก็เป็นภาระที่สถาบันการเงิน  จะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ฝากซึ่งหากไม่สามารถปล่อยสินเชื่อได้  ก็จะทำให้ขาดรายได้ไป  ดังนั้น  จึงต้องคำนึงถึง

            MATCHING SOURCES OF FUND  คือ การจัดหาแหล่งเงินให้ได้สัดส่วนกับสินเชื่อที่จะปล่อย  หาแหล่งเงินสำรองในกรณีฉุกเฉิน  ในกรณีนี้  เป็นการปล่อยสินเชื่อวงเงินจำนวนมาก  มีระยะเวลาการชำระเงินต้นระยะยาว  ซึ่งอาจจะต้องหาแหล่งเงินกู้ระยะยาวมาใช้เพิ่ม  เพื่อให้ได้สัดส่วนกัน  การบริหารเงิน  จึงเป็นความสามารถอันหนึ่งของสถาบันการเงิน  เพราะถ้ามีการจัดการที่ดี  จะทำให้ได้ผลกำไรมาก

            MATURITY DISTRIBUTION เป็นการจัดสินเชื่อตามระยะเวลาการชำระเงินต้นที่เหมาะสม คือ มีทั้งสินเชื่อระยะยาว  ระยะปานกลาง  และระยะสั้น  ทั้งนี้ควรมีสินเชื่อที่สามารถเรียกชำระเงินต้นคืนได้ทุกขณะ (CALL LOAN) ด้วย  เพื่อเป็นการดูดซับสภาพคล่องที่มีมากเกินไป

 

            3. การบริหารความเสี่ยง (RISK MANAGEMENT)

            ธุรกิจธนาคาร  เป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นจากการบริการความเสี่ยงเป็นหัวใจสำคัญ  ฉะนั้นถ้าสามารถลดความเสี่ยงลงได้มากเท่าไร  ก็จะมีสถานะมั่นคงมากเท่านั้น  และควรคำนึงถึงด้วยว่า  ถ้าเสี่ยงมาก  ควรได้รับผลตอบแทนมาก  ถ้าเสี่ยงน้อย  ผลตอบแทนน้อย  ก็ไม่เป็นไร  การบริหารความเสี่ยง  มีประเด็นที่ต้องคำนึงถึง คือ

            GOOD QUANLITY OF ASSET คือ การบริหารสินทรัพย์ที่มีคุณภาพดี เลือกลงทุนในธุรกิจที่มีผลตอบแทนสูง  สินเชื่อที่ธนาคารปล่อยก็ถือว่าเป็นสินทรัพย์ด้วย  ฉะนั้น  การปล่อยสินเชื่อที่ดี  ก็จะสามารถลดความเสี่ยงได้

            INDUSTRIAL DISTRIBUTION คือ การกระจายสัดส่วนสินเชื่อใน PORTFOLIO ไปตามประเภทของธุรกิจต่าง ๆ  ไม่ควรปล่อยสินเชื่อธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งมากจนเกินไป  หากธุรกิจนั้น ๆ มีปัญหา  ผลกระทบก็จะรุนแรงตามไปด้วย

           

            2) การวิเคราะห์สินเชื่อ (CREDIT ANALYSIS)

            การวิเคราะห์สินเชื่ออย่างรอบคอบจะช่วยให้ลดจำนวนหนี้ที่มีปัญหาไปได้มาก  ฉะนั้นความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่สินเชื่อ  เป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับองค์กร  ควรมีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ  เมื่อเกิดหนี้ที่มีปัญหาขึ้น  ผลการวิเคราะห์มักพบเสมอว่า  หลายกรณีเกิดจากการที่อนุมัติวงเงินสินเชื่อบกพร่อง  ซึ่งพอสรุปได้ ดังนี้

1.      การจัดวงเงินสินเชื่อไม่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่ใช้

2.      การขาดข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้

3.      การวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้คืนผิดพลาด

4.      การกำหนดระยะเวลาชำระคืนไม่เหมาะสม

5.      ขาดเงื่อนไขในการใช้วงเงินสินเชื่อแต่ละประเภท

6.      ขาดการควบคุมการใช้วงเงินสินเชื่อ

7.      ให้วงเงินสินเชื่อมากหรือน้อยเกินไป

8.      DOUBLE FINANCING

 

3) พิธีการทางด้านสินเชื่อ

            คือขั้นตอนการจัดทำสัญญา  จดจำนอง จำนำ  หลักประกัน  จำเป็นจะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก  เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้น  อาจทำให้ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมาย  ควรดูเงื่อนไขและข้อตกลงในการอนุมัติวงเงินสินเชื่ออย่างละเอียดรอบคอบ  และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามข้อตกลงนั้น  โดยคำนึงถึงปัญหาทางด้านกฎหมายเป็นหลักในการดำเนินการ  หากมีเงื่อนไขที่อาจจะเป็นปัญหาทางด้านกฎหมาย  ต้องสอบถามทางฝ่ายกฎหมายโดยด่วน  และจะพบว่า หากมีความบกพร่องทางด้านนี้  เมื่อเจรจาหนี้กับลูกค้า  จะตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบ และทำให้การแก้ไขหนี้ยากขึ้นมาก

           

            4) การสอบทานสินเชื่อ (CREDIT REVIEW)

            คือ การติดตามผลการใช้วงเงินสินเชื่อ  ที่ได้รับการอนุมัติจากทางธนาคาร  ควรกระทำการสอบทานอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง  เพื่อที่จะได้ทราบว่า ลูกค้าได้ปฎิบัติตรงตามข้อตกลงหรือไม่  สถานะภาพของลูกค้าเป็นอย่างไร  หากลูกค้ามีปัญหาอย่างใด  ก็จะเป็นสัญญาณเตือนภัย (WARNING SIGN) ให้ทราบว่า  ถึงเวลาที่จะเพิ่มสินเชื่อให้กับลูกค้าแล้ว  ก็จะทำให้สามารถรักษาลูกค้าที่ดีไว้กับธนาคารได้ต่อไป

 

            ควรสอบทานสินเชื่อเมื่อไร

            การสอบทานสินเชื่อ  ควรเป็นระบบที่ต่อเนื่องไปโดยตลอด  นับตั้งแต่ลูกค้าได้รับวงเงินสินเชื่อจากทางธนาคาร  ไปจนกว่า  จะยกเลิกวงเงินสินเชื่อทั้งหมด  หากมีกำลังเพียงพอ  ควรสอบทานดังนี้

(1)   EVALUATE NEWLY GRANTED LOAN  เป็นการตรวจสอบการใช้วงเงินสินเชื่อที่

ได้รับอนุมัติใหม่  ว่าตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่  และทำตามข้อตกลงครบถ้วนหรือไม่  โดยตรวจสอบภายในระยะเวลา 1 เดือน  นับแต่วันที่ลูกค้าเริ่มใช้วงเงินสินเชื่อ

(2)   PERIODIC REVIEW (การตรวจสอบตามกำหนดเวลา) คือการสอบทานที่กำหนด 

อาจจะเป็น 6 เดือนต่อครั้งหรือปีละครั้ง

            (3) TRANFER  REVIEW กรณีสอบทาน  เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารในสายงานสินเชื่อ

            (4) CONTINGENCY REVIEW  เป็นการสอบทานเมื่อเกิดเหตุการณ์  ที่จะมีผลกระทบต่อธุรกิจของลูกค้าหรือมีผลกระทบต่อหลักประกันของลูกค้า

 

            5) การแก้ไขหนี้ที่มีปัญหา

            ในการปล่อยสินเชื่อนั้น  แม้ว่าจะมีการวิเคราะห์ที่ดีอย่างไรก็ตาม  แต่ก็มีหนี้บางส่วนที่เป็น หนี้ที่มีปัญหา (PROBLEM LOAN)

            มีผู้บริหารธนาคารใหญ่ท่านหนึ่ง  เคยกล่าวไว้ว่า  การปล่อยสินเชื่อนั้น  เหมือนกันตักน้ำตาลจะต้องมีน้ำตาลบางส่วนล่วงหล่น  แต่จะทำอย่างไร  ให้ส่วนที่มีปัญหานั้น  น้อยที่สุดได้อย่างไรและหากเกิดหนี้ที่มีปัญหาแล้ว  จะต้องบริหารอย่างไร เพื่อให้ธนาคารเสียหายน้อยที่สุด

 

            ความหมายของหนี้ที่มีปัญหา

            คือหนี้ที่เกิดขึ้นเพราะการผิดข้อตกลง (DEFAULT)  กับผู้ให้สินเชื่อ  ซึ่งไม่ใช่เป็นหนี้เสียเสมอไป  หนี้ที่มีปัญหานั้น  มักจะถูกละเลยจากเจ้าหน้าที่สินเชื่อ  จึงทำให้รู้ปัญหานั้นว่าล่าช้า  และไม่ได้รับการแก้ไขตั้งแต่ต้น ทำให้ปัญหาลุกลามจนกว่าจะแก้ไขได้  ฉะนั้น  หากมีการ สอบทานสินเชื่อ (CREDIT REVIEW) โดยสม่ำเสมอแล้ว  ก็สามารถขจัดปัญหาต่างๆ  ตั้งแต่เริ่มต้น  ซึ่งมีโอกาสในการแก้ไขได้ดีกว่า  เปรียบเสมือนคนที่เป็นไข้ที่ได้พบแพทย์ตั้งแต่มีอาการเริ่มแรก  ย่อมมีโอกาสจะรักษาให้หายขาดได้  ดีกว่าปล่อยให้ทรุดหนักจนกว่าจะแก้ไขได้

 

            หากต้องการสุขภาพที่ดี  ควรตรวจร่างกายทุก 6 เดือน

            สินเชื่อก็เช่นเดียวกัน  หากต้องการสินเชื่อที่ดี  ควรตรวจสอบทุก 6 เดือน

 

            ฉะนั้น  จะเห็นได้ว่า  การสอบทานสินเชื่อ  มีความสำคัญกับธนาคารเป็นอย่างมาก  ผู้เขียนเคยเดินทางร่วมกับชมรมผู้บริหารสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทย  ไปดูงานที่ธนาคาร  HANGSENG BANK ที่ฮ่องกง  ซึ่งเขาให้ความสนใจด้านการควบคุมสินเชื่อเป็นอย่างมาก  โดยมีส่วนที่ทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ  เรียกว่า CREDIT CONTROL DEPARTMENT โดยมี 2 ส่วนงาน  ที่สำคัญคือ

1)      FACILITY REVIEW SECTION

2)      RECOVERY SECTION

 

1) FACILITY REVIEW SECTION

            ทำหน้าที่  REVIEW สินเชื่อของลูกค้ารายใหม่  ซึ่งได้รับอนุมติแล้ว  จะส่งเรื่องมาให้ส่วนงานนี้  พิจารณาสอบทานการใช้วงเงินสินเชื่อ  โดยทำหน้าที่อิสระแยกจากฝ่ายสินเชื่อ  เป็นการคานอำนาจของฝ่ายสินเชื่อด้วย

 

            หน้าที่หลักของส่วนงานนี้

            1) ประเมินสถานะภาพของลูกหนี้รายใหม่  รวมทั้งการจัดเกรดของลูกค้า  โดยได้แบ่งระดับชั้นของลูกหนี้ออกเป็น 7 ระดับ ดังนี้

           

            GRADE 1        LOW RIST                             หนี้ความเสี่ยงต่ำ

            GRADE 2        SATISFACTOPY RISK         หนี้เสี่ยงต่ำอยู่ในระดับน่าพอใจ

            GRADE 3        FATR RISK                            หนี้ความเสี่ยงพอสมควร

            GRADE 4        WATCH LIST                        หนี้ที่อยู่ในรายการน่าจับตามอง

            GRADE 5        SUB-STANDARD                 หนี้ต่ำกว่ามาตรฐาน

            GRADE 6        DOUBTFUL & BAD             หนี้สงสัยจะสูญหรือหนี้เสีย

            GRADE 7        LOSS                                      หนี้สูญ

 

            2) ทำรายงานการตรวจสอบอย่างละเอียด  แสดงถึงหนี้ที่มีปัญหา  และแก้ไขหนี้ในเบื้องต้น

            3) วิเคราะห์งบการเงินของลูกค้า  โดยวิเคราะห์ตามระยะเวลาที่กำหนด  หรือรวมทั้งการให้ความคิดเห็น  สถานะทางการเงินและสมรรถนัของธุรกิจ

            4) กระทำการสอบทานสินเชื่อ

            5) ควบคุมดูแลรายงานข้อมูลสินเชื่อ

            6) จัดทำระยะการบันทึกรายละเอียดของลูกค้าและประวัติของลูกค้า

 

2)      RECOVERY SECTION

ส่วนงานแก้ไขหนี้  ซึ่งจะดูแลลูกค้า  ที่จัดอยู่ในระดับ SUB-STANDDARD (GRADE5) ขึ้นไป  ซึ่งถือว่า เป็นหนี้ต่ำกว่ามาตรฐาน  รวมทั้งดำเนินวิธีการเพื่อเรียกหนี้คืนจากลูกหนี้ ตลอดจนดำเนินการทางกฎหมายด้วย

 

ความคิดเห็น

ความคิดเห็นที่ 9

1. loan origination กับ loan review ตัดกันตรงไหนค่ะ

2. credit review หรือ loan review ต่างกันตรงไหนค่ะ

โดยคุณ Y PANJAWASARUCH 4 เม.ย. 2561, 19:30

ความคิดเห็นที่ 8

 การขายสินเชื่อได้ตามกฎหมายต้องสอบอะไรบ้างคะ

โดยคุณ อลิศรา 28 พ.ย. 2559, 22:10

ความคิดเห็นที่ 7

 

โดยคุณ ปัญญา 18 ก.ค. 2559, 19:25

ความคิดเห็นที่ 6

 ขอบคุณค่ะ ได้ความรํรู้มากมายเลยในเรื่องของการทำงานด้านสินเชื่อ

โดยคุณ 19 ส.ค. 2557, 13:37

ความคิดเห็นที่ 5

 ได้ความรู้มากครับผมอยากได้เทคนิคการติดตามหนี้สินครับถ้ามีเอกสารจะดีมากครับ

โดยคุณ คุณไชยา 3 ธ.ค. 2556, 15:19

ความคิดเห็นที่ 4

want to imformation

โดยคุณ Yarlor 28 พ.ย. 2556, 06:40

ความคิดเห็นที่ 3

        สมัครสินเชื่อส่วนบุคคล ง่ายกว่า-ดีกว่า-เร็วกว่า เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ย-วงเงิน-โปรโมชั่น สินเชื่อเงินสด-เงินกู้ส่วนบุคคล เงินด่วนทุกธนาคาร ข้อมูลสินเชื่อเงินสดกว่า 100 รายการ สมัครสินเชื่อออนไลน์ คลิก สินเชื่อ เงินกู้ส่วนบุคคล เพื่อดูข้อมูลสินเชื่อได้คะ

โดยคุณ สินเชื่อ เงินกู้ 7 ส.ค. 2556, 08:09

ความคิดเห็นที่ 2

ขอบคุณนะค่ะสำหรับความรู้นี้ มีประโยชน์มากเลยค่ะ แต่อยากทราบว่าธนาคารพาณิชย์คิดจุดคุ้มทุนและระยะเวลาคืนทุนในการปล่อยสินเชื่อยังไงค่ะ

โดยคุณ พัฒชรี ปงตาคำ 20 ก.ค. 2556, 20:51

ความคิดเห็นที่ 1

อ่านแล้วรู็สึกดีมากๆเลยค่ะ อยากเข้าร่วมอบรมแต่อยู่ไกลถึงเชียงใหม่เลยค่ะ

ไม่ทราบว่าทำหนังสือขายหรือป่าวค่ะ มีหนังสือประเภทนี้หรือป่าวค่ะ

พอดีว่าอยากทำธุรกิจสินเชื่อหน่ะค่ะ แต่ไปดูหนังสือที่B2Sไม่เจอเลยค่ะ

รบกวนชี้แนะด้วยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

โดยคุณ nanchanwan 8 พ.ย. 2554, 16:44

แสดงความเห็น

ข่าวที่มีผู้อ่านมาก